การย้ายตัวอ่อนเป็นขั้นตอนต่อไปในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือ การรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ART) เรามีบทความดีๆ...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
คุณพ่อคุณแม่ทุกคนคงเคยเห็นตารางพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยที่แปะไว้ในห้องคุณหมอเด็กกันแล้วใช่ไหมคะ ถ้าอยากช่วยให้กล้ามเนื้อของลูกน้อยมีพัฒนาการสมวัย ลองทำกิจกรรมเหล่านี้ดูค่ะ
หลังคลอด - 1 เดือน: หันหน้า สมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาให้ข้อมูลว่า เด็กในวัยนี้ควรขยับหันหัวจากด้านหนึ่งไปอีกด้านขณะนอนคว่ำได้ แม้ประสาทสัมผัสทางตาของเด็กน้อยจะยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่ประสาทหูจะใช้ได้เต็มประสิทธิภาพแล้ว
ช่วงนี้ ลูกน้อยจะนอนหงายแทบทั้งวันทั้งคืน ดังนั้น ผ้าอ้อมที่ใช้ควรมีแผ่นซึบซับพิเศษด้านหลัง เช่น ผ้าอ้อมแบบเทป ฮักกี้ส์ อัลตร้า โกลด์ ไซส์แรกเกิด และ S สำหรับทารกแรกเกิดโดยเฉพาะ
กิจกรรม : เขย่าของเล่นมีเสียงข้าง ๆ หูลูกน้อยจากข้างหนึ่งไปอีกข้าง จะถือของเล่นผ่านหน้าลูกช้า ๆ เพื่อกระตุ้นประสาทตาด้วยก็ได้
2 - 4 เดือน: ชันคอ ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า เด็กวัยนี้ควรเริ่มเกร็งคอตั้งขึ้นขณะนอนคว่ำได้แล้ว
กิจกรรม : ตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับ “ฝึกลูกนอนคว่ำ” (tummy-time) โดยการจับลูกอยู่ในท่านอนคว่ำแล้วล่อเขาด้วยของเล่นหรือเสียงต่าง ๆ เด็กน้อยจะพยายามชูคอขึ้นแป๊บนึง ข้อควรระวัง คือ อย่าฝึกลูกนอนคว่ำทันทีหลังให้นมเสร็จ
3 - 7 เดือน: พลิกตัว เด็กอายุประมาณ 6 เดือนควรจะสามารถพลิกตัวจากท่านอนหงายเป็นนอนคว่ำและพลิกกลับมานอนหงายได้ ผ้าอ้อมฮักกี้ส์ อัลตร้า โกลด์ ออกแบบมาให้กระชับพอดีตัวและช่วยให้ลูกน้อยของคุณเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ
กิจกรรม : กระตุ้นให้ลูกพลิกตัวโดยการยื่นของเล่นมาไว้ข้างที่ลูกมักพลิกตัว หรือไม่ก็นอนหงายข้างๆ ตัวลูกแล้วกระตุ้นให้ลูกพลิกตัวเข้ามาหาคุณ
5 - 9 เดือน: เริ่มนั่ง เมื่อลูกอายุได้ 6 เดือน เขาควรจะสามารถนั่งด้วยตัวเองได้เป็นเวลาสั้น ๆ ไม่กี่วินาที พออายุได้ 9 เดือน เขาควรนั่งเองได้โดยไม่ต้องช่วยพยุงแล้ว
กิจกรรม : ถ้าลูกคอแข็ง ตั้งคอเองได้เมื่อไร คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยพยุงลูกน้อยให้นั่งได้เลยค่ะ แต่ต้องระวังด้วยว่า อย่าฝืนลูกให้นั่งนานจนเกินไป
6 - 12 เดือน: คลาน ช่วงวัยนี้ เด็กจะเริ่มคลานไปมาได้แล้ว จำไว้ คุณต้องคอยจับตาดูเขาไว้อย่าให้ละสายตาเด็ดขาด! มาถึงตอนนี้ เปลี่ยนมาใช้กางเกงผ้าอ้อม ฮักกี้ส์ อัลตร้า โกลด์ดีกว่าค่ะเพื่อให้เด็กน้อยเคลื่อนไหวได้คล่องตัวมากขึ้น กางเกงผ้าอ้อมรุ่นนี้ได้รับการออกแบบมาให้นุ่มกระชับและยืดหยุ่นตามการเคลื่อนไหวของเด็กวัยนี้
กิจกรรม : การปล่อยให้เด็กเคลื่อนที่อย่างมีอิสระถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการเด็ก คุณพ่อคุณแม่อาจลองพาลูกไปเข้าคลาสโยคะเด็กอ่อนเพื่อกระตุ้นการเคลื่อนไหวหลาย ๆ ทิศทาง โรงเรียนโยคะบางแห่งรับเด็กอายุเริ่มต้นแค่ 6 สัปดาห์ก็มี แต่ทางที่ดีควรรอให้ลูกสามารถควบคุมหัวได้ดีก่อนค่ะ
คลาสในฝันสำหรับเด็กวัยนี้ คือ คลาสที่ผสมผสานระหว่างดนตรีและการเคลื่อนไหว การเข้าคลาสยังช่วยสร้างช่วงเวลาแห่งความผูกพันของคู่แม่ลูกได้ดีอีกด้วย
7 - 13 เดือน: ยืนและเดิน หลังเด็กน้อยเริ่มคลานได้ 1-2 เดือน เขาจะเริ่มอยากลุกขึ้นยืนด้วยตัวเองแล้ว ถ้าลูกยืนได้เมื่อไร อีกไม่นานเขาก็จะเริ่มเดินและวิ่งได้ คุณพ่อคุณแม่เตรียมถ่ายวิดีโอได้เลย!
กิจกรรม : เด็กน้อยต้องมีที่ยึดเกาะตอนหัดยืน ฉะนั้น ต้องมั่นใจว่าเฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นรอบตัวลูกจะไม่ล้มมาทับตัวลูก ช่วงหัดเดินก้าวแรกๆ คุณควรจับมือทั้งสองข้างของลูกไว้ เมื่อลูกเริ่มยืนได้โดยไม่ต้องการคนช่วย พ่อแม่ก็ยังคงต้องเฝ้าดูอยู่ช้างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกหกล้มบาดเจ็บ
อายุ (เดือน)
สิ่งที่เด็กควรทำได้
กิจกรรม
หลังคลอด -1 เดือน
หันหน้า
พูดกับลูกเพื่อให้เขาหันหน้าตามเสียงคุณ
2-4
ชันคอ
ฝึกลูกนอนคว่ำ
3-7
พลิกตัว
ล่อด้วยของเล่น
5-9
เริ่มนั่ง
ช่วยพยุงลูกจนกว่าจะนั่งเองได้
6-12
คลาน
คลาสเบบี้โยคะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
7-13
หัดยืนและเดิน
วางลูกไว้ข้าง ๆ สิ่งที่ช่วยพยุงตัว
PopupSummary
มาถึงตอนนี้เราอยู่ในฐานะของคุณพ่อคุณแม่ ก็ได้เวลาที่จะมอบช่วงเวลาความสุขของการเล่นน้ำให้กับลูกบ้างแล้วค่ะ และไม่ใช่แค่เพียงความสนุกเท่านั้นที่ลูกจะได้รับ เพราะเจ้าตัวเล็กก็จะได้เสริมสร้างพัฒนาการในเวลาเดียวกันด้วย
ในวัยนี้เจ้าตัวเล็กควรจะก้าวเดินโดยที่ไม่มีใครคอยช่วยจับหรือพยุง หรือเริ่มวิ่งระยะสั้นๆได้
ลูกน้อยวัย 22 เดือน
พัฒนาการร่างกายเริ่มซับซ้อนขึ้นสัมพันธ์กับพัฒนาการทางสมองที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว
กล้ามเนื้อลูกน้อยค่อยๆ พัฒนาและแข็งแรงมากขึ้น ลูกสามารถยกของที่มีน้ำหนักได้มากขึ้น
ลูกน้อยวัย 23 เดือน
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090