การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
ถึงตอนนี้เหลือเวลาอีกแค่ประมาณ 4 สัปดาห์เท่านั้นก็จะถึงกำหนดคลอดแล้วนะคะ ทารกในครรภ์กำลังเติบโตและเตรียมพร้อมที่จะออกมาลืมตาดูโลกแล้ว ในช่วงอายุครรภ์ 36 สัปดาห์คุณแม่อาจรู้สึกเหมือนสงบสุขก่อนพายุจะมา เข้าใจได้ว่าคุณแม่หลายท่านกำลังนับถอยหลังรออุ้มลูกน้อยในอ้อมอกทุกวันอย่างแน่นอน แต่กำหนดคลอดก็ยังมาไม่ถึง คุณแม่หลายคนเริ่มพักผ่อนและพยายามใช้ช่วง 2-3 อาทิตย์ที่เหลือนี้อย่างมีความสุขกับลูกน้อยในครรภ์ อาจจะรู้สึกอยากทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ ทิ้งข้าวของบางอย่างออกไปเลย เพราะเชื่อว่าในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังจากที่ลูกคลอดแล้ว ชีวิตของคุณพ่อคุณแม่อาจจะยุ่งจนไม่มีเวลาทำงานบ้านเลยเชียวล่ะค่ะ
ระยะนี้คุณแม่อาจจะรู้สึกอยากทำอะไรวุ่นวายไปหมด ส่งผลให้คนรอบข้างอาจจะรู้สึกกดดันหรืออึดอัดได้นะคะ ลองใจเย็นๆทำในสิ่งที่ต้องทำให้เสร็จไปทีละอย่าง ถ้าเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวยื่นมือเข้าช่วยเหลือ อยากช่วยแบ่งเบาภาระจัดบ้าน ดูแลทำความสะอาด ก็อย่าพึ่งรีบร้อนตอบปฏิเสธไปนะคะ เพราะแม้ว่าเค้าจะไม่ได้ทำสะอาดอย่างที่คุณแม่ตั้งใจแต่จริงๆแล้วเป็นสิ่งที่สามารถช่วยคุณแม่ได้เป็นอย่างดี เพราะทุกคนเข้าใจในความรู้สึกอยากจัดระเบียบสิ่งแวดล้อมรอบตัวของคุณแม่เหมือนช่วงที่แม่นกพยายามเตรียมรังให้พร้อมดูแลลูกและฟักไข่อย่างดีที่สุด เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามสัญชาติญาณของความเป็นแม่ โดยเฉพาะในช่วงท้ายก่อนถึงกำหนดคลอด นับว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับแม่ทุกคนค่ะ
ในช่วงสัปดาห์นี้คุณแม่อาจมีอาการนอนหลับยากขึ้น และแทบจะนอนท่าทางปกติไม่ได้เลย เพราะหน้าท้องมีขนาดใหญ่มากและกดทับตัวทำให้ปวดหลังและอึดอัดนอนไม่สบาย แนะนำให้นอนตะแคงข้างด้านใดด้านหนึ่ง แต่คุณแม่ก็อาจมีอาการปวดสะโพกและต้นขาแทน วิธีที่ดีคือใช้หมอนที่ออกแบบมาสำหรับแม่ตั้งครรภ์ทุกครั้งที่นอนเตียง และใช้เบาะรองบริเวณช่วงก้นจะช่วยบรรเทาได้ดีทีเดียวค่ะ
คุณแม่อาจลุกเข้าห้องน้ำ คืนละ 2-3 ครั้งเพราะมดลูกขยายใหญ่ขึ้นจนเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เก็บปริมาณปัสสาวะได้ไม่มากอย่างที่เคยค่ะ จึงจำเป็นต้องเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ทั้งนี้คุณแม่ก็ควรต้องระมัดระวังอย่าลุกจากที่นอนเร็วเกินไป เพราะอาจทำให้ความดันตกลงอย่างรวดเร็ว มีอาการวูบหน้ามืดได้ ควรเปิดไฟห้องน้ำเอาไว้ในตลอดตอนกลางคืนนะคะ เพื่อช่วยให้มองเห็นทางเดินชัดขึ้น เพราะหน้าท้องใหญ่จนบังไม่เห็นเท้าอาจทำให้คุณแม่เดินพลาดซุ่มซ่ามบ่อยครั้ง ควรระมัดระวังเวลาหยิบจับสิ่งของหรือการเดินในที่มืด อาจจะสะดุดล้มหรือลื่นได้ง่ายด้วยค่ะ
ในวันเวลาที่สะดวก คุณแม่ลองดึงเสื้อขึ้นอาจจะเห็นว่าทารกกำลังเคลื่อนไหวอยู่ที่ผิวท้อง อาจมองเห็นลักษณะนูนแหลมเกิดจากเท้าเล็กๆ ศอก หรือหัวเข่าของเด็กดันท้องออกมา คุณแม่ลองใช้นิ้วมือลูบเพื่อตอบสนองการเคลื่อนไหวของลูก จะได้รู้ว่าลูกเองก็รู้สึกได้และขยับตัวตอบสนองกับคุณแม่เช่นกันนะคะ ควรให้คุณพ่อมีส่วนร่วมกับประสบการณ์พิเศษนี้ด้วย ได้เห็นว่าลูกน้อยตอบสนองอย่างไร จะได้รู้สึกว่ามีส่วนร่วมกับการตั้งครรภ์ด้วย ยิ่งถ้าพูดคุยกับลูกผ่านผนังหน้าท้อง ทารกน้อยจะยิ่งตอบสนองกับเสียงได้ดีขึ้นค่ะ
ในระยะนี้กระดูกบริเวณหัวเหน่าเริ่มขยายออกจากกัน เพื่อเตรียมพร้อมก่อนคลอด ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บปวดบ้าง คุณแม่อาจจับลูบคลำหลังช่วงล่างบ่อยๆโดยไม่รู้ตัว รวมทั้งบริเวณก้น สะโพก และหากคุณแม่ปวดหลังปวดสะโพกบ่อย ลองอาบน้ำอุ่น แช่น้ำอุ่นที่ไม่ร้อนมาก หรือนวดผ่อนคลาย เลือกทำในสิ่งที่ชอบจะทำให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้นค่ะ
ในช่วงสัปดาห์นี้ถ้าลูกน้อยเริ่มเอาหัวลงไปในอุ้งเชิงกรานแล้ว คุณแม่อาจจะหายใจสะดวกขึ้น เพราะปอดและกะบังลมขยายได้มากกว่าเดิมเล็กน้อยและเริ่มขยับมาอยู่ในตำแหน่งปกติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีค่ะ
สภาวะอารมณ์ของคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณแม่จะรู้สึกสัมผัสใกล้ชิดกับลูกมากขึ้นนะคะ ถ้าคุณแม่เจ็บปวดทรมานกับการตั้งครรภ์ เมื่อเข้าสู่การเดือนที่ 9 อาจจะรู้สึกไม่สบายตัวเอามาก ๆ จนรู้สึกเหมือนว่าการตั้งครรภ์ช่างยาวนานไม่สิ้นสุดเสียที แต่ถ้าคุณแม่เคยมีลูกมาก่อน อาจจะรู้สึกดี และคิดว่าอีกเพียง 2-3 สัปดาห์เท่านั้นก็จะได้เห็นหน้าลูกคนนี้แล้ว คงตื่นเต้นกันไม่ใช่น้อยเลยทีเดียวค่ะ
ในช่วงสัปดาห์นี้อาจถึงเวลาที่จะต้องวางแผนและนับถอยหลังอย่างจริงจังแล้วนะคะ ลองดูว่าคุณแม่เหลืองานอะไรที่ต้องทำและมีอะไรที่ต้องเตรียมอีกบ้าง แนะนำว่าก่อนไปคลอดลูกควรทำทุกอย่างให้เสร็จก่อนถึงวันคลอด และสิ่งหนึ่งที่ต้องไม่ลืมคือ คุณแม่ทำทุกอย่างด้วยตัวเองคนเดียวไม่ได้แล้วนะคะ บางครั้งต้องขอให้คุณแม่หรือลูกคนโตหรือสามีช่วยทำอะไรบ้างจะดีกว่าค่ะ
คุณแม่อาจต้องยื่นใบลาคลอดในช่วงสัปดาห์นี้เพื่อให้สมองปลอดโปร่งไม่ต้องกังวลเรื่องงานอีก บางคนอาจรู้สึกโล่งใจ บางคนรู้สึกไม่ดี เพราะเป็นผู้หญิงทำงานมาโดยตลอด อยากจะทำงานไปจนถึงนาทีสุดท้าย แต่การเป็นแม่คนเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญที่สุด หลังจากนี้คุณแม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวเองนะคะ
พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ น้ำหนักตัวของลูกน้อยจะอยู่ที่ 2.7 กิโลกรัม ความยาวประมาณ 51 เซนติเมตร ถ้าลูกคลอดก่อนกำหนดในช่วงสัปดาห์นี้ ไม่จำเป็นต้องเข้าตู้อบหรือได้รับการดูแลใด ๆ เป็นพิเศษนะคะ เพราะทารกตัวน้อยหายใจได้ด้วยตัวเองแล้ว และดูดนมแม่ได้เองด้วยเช่นกันค่ะ
ในระบบทางเดินอาหารและลำไส้ของเด็กจะมีขี้เทาที่มีความเหนียวสีเข้มดำ เรียกว่าเป็นอุจจาระแรกที่เกิดจากน้ำคร่ำที่ทารกกลืนลงไปในช่วงที่อยู่ในท้องแม่ ผสมกับเซลล์ต่าง ๆ เช่น ผิวหนัง เส้นขน เยื่อบุในทางเดินอาหารของตัวทารกเองรวมกันค่ะ
เด็กบางคนขับถ่ายขี้เทาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ จะเกิดปัญหาสำลักขี้เทาของตัวเอง เรียกว่าภาวะสูดสำลักขี้เทา เป็นอาการผิดปกติที่พบได้ในทารกแรกเกิด สาเหตุเกิดจากทารกขาดเลือดไปเลี้ยง หรือแม่มีโรคประจำตัว หรือเป็นเพราะปัจจัยอื่น ๆ ที่กระทบต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงทารกผ่านสายสะดือ ทำให้เด็กถ่ายขี้เทาออกมาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ค่ะ ผลเสียคือเด็กแรกคลอดจะมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ มีอาการหายใจหอบคล้ายกับปอดอักเสบ เนื่องจากการสูดสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันทางเดินหายใจ ต้องให้แพทย์รักษานะคะ
ส่วนกะโหลกศีรษะของทารกมีโครงสร้างที่ซับซ้อน กระดูกกะโหลกยังไม่เชื่อมติดเป็นแผ่นเดียวกัน จนกว่าเด็กจะคลอดออกมาแล้ว ในระหว่างคลอดกะโหลกของเด็กจึงยืดหยุ่นทำให้เพื่อให้เคลื่อนผ่านช่องคลอดของแม่ออกมาได้ ถ้าเป็นการตั้งครรภ์ลูกคนแรก ในช่วงนี้ลูกมักจะกลับหัวลงมาอยู่ในตำแหน่งที่พร้อมจะคลอดแล้ว แต่เพราะเวลานี้มดลูกไม่มีพื้นที่ว่างเหลือมากนัก การขยับตัวค่อนข้างยากและอึดอัด หากเด็กอยู่ในท่าอื่นที่ไม่ใช่เอาหัวลง หรือคลอดท่าก้น คุณแม่อาจจะปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ที่ฝากครรภ์เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและแนะนำว่าจะต้องใช้วิธีการผ่าตัดคลอดหรือไม่
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณแม่ต้องแปรงฟันเป็นประจำนะคะ เพราะการคลอดก่อนกำหนดส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อภายในเหงือกค่ะ ควรใช้ไหมขัดฟันวันละ 2 ครั้งและตรวจช่องปากกับทันตแพทย์สม่ำเสมอ ถ้าไม่ได้ตรวจฟันนานแล้ว ควรทำการนัดในช่วงสัปดาห์นี้เลยค่ะ แบคทีเรียทำให้ฟันผุติดต่อกันได้ อาจแพร่กระจายเชื้อผ่านทางน้ำลายและลมหายใจไปติดเชื้อในช่องปากของทารกได้
และในช่วงเวลาบ่ายคุณแม่ควรหาเวลาพักผ่อนและงีบหลับบ้าง แต่ไม่ควรหลับนานเป็นชั่วโมงนะคะ ถ้านอนหลับนานเกินไปในช่วงบ่ายอาจะทำให้หลับยากตอนกลางคืน อาจจะฝันร้ายด้วย ควรนอนตามตารางเวลาอย่างเหมาะสมนะคะ
เวลาสำคัญใกล้เข้ามาทุกทีแล้วนะคะ คุณแม่หลายท่านอาจกำลังมีความกังวลใจว่า คลอดลูกเจ็บไหม? จะมีสัญญาณเตือนเจ็บครรภ์คลอดอย่างไร? สิ่งของที่เตรียมคลอดพร้อมแล้วรึยังนะ? ลองกดไปอ่านดูในแต่ละหัวข้อที่คุณแม่กำลังสงสัยอยู่ รวมถึงศึกษาในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies ได้ตลอดเวลาเลยค่ะ หรือหากคุณแม่มีคำถามข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน เรามีวิธีคำนวณอายุครรภ์อย่างถูกต้องมาฝากค่ะ
ช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ คุณแม่ยังไม่ควรตื่นเต้นมากจนเกินไป เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเอง มาดูกันค่ะว่าคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
คุณแม่ ๆ ลองคิดดูสิว่า ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่เหมาะสมแทบจะเป็นเครื่องแต่งกายชิ้นสำคัญที่สุดตลอด 2-3 ขวบปีแรกในชีวิตของลูกเลยไม่ใช่หรือ
อาหารทะเลทุกประเภทเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ดี ให้แร่ธาตุกลุ่มโปรตีน ธาตุเหล็ก และสังกะสี ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและเสริมสร้าง พัฒนาการของทารกในครรภ์ค่ะ
ขนาดทารกในครรภ์เดือนที่ 7
การตั้งครรภ์นับเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น ซึ่งคุณแม่แต่ละท่านมักมีประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน คุณแม่บางท่านมีประสบการณ์ที่ดี และไม่ดีมาดูกันค่ะมีอะไรบ้าง
พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนที่ 9 หรือราวสัปดาห์ที่ 38-40 เป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่คุณแม่ลุ้นที่สุดเพราะจะถึงเวลาที่ได้เห็นหน้าลูกน้อย ทารกในครรภ์ที่ถนอมกล่อมเกลี้ยง เอาใจใส่กันมาถึง 9 เดือน ลูกน้อยทารกในครรภ์จะเริ่มโตขึ้นมามีขนาดประมาณลูกขนุน หรือ ประมาณ 51 เซนติเมตร หนักราว 3,300 กรัม
พัฒนาการของทารกในครรภ์ที่คุณแม่สามารถทำได้ด้วยวิธีง่ายๆ ทำได้ทุกวันและทำได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นสมองของทารกในครรภ์ได้อย่างดี นั่นคือ การลูบท้องเบาๆ แล้วทำไมการลูบหน้าท้องถึงช่วยให้พัฒนาการทารกในครรภ์ดีได้ และต้องลูบหน้าท้องอย่างไร มาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันค่ะ