การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
ช่วงอายุครรภ์ 30 สัปดาห์มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ 30 สัปดาห์ ถือได้ว่าเริ่มนับถอยหลังแล้ว เพราะผ่านมาถึงระยะ 3 ใน 4 ของการตั้งครรภ์ เหลือเพียงแค่ 10 สัปดาห์เท่านั้นก็ถึงกำหนดคลอด หลังจากนี้เวลาจะติดปีกบินไปอย่างรวดเร็วเลยทีเดียว ช่วงนี้คุณแม่รู้สึกได้ว่าตัวเองมีอารมณ์อ่อนไหวมาก เริ่มจับจ้องคุณแม่ที่กำลังอุ้มท้องท่านอื่น ๆ และเด็กเล็ก ๆ อยู่เสมอ สนใจอยากฟังประสบการณ์การตั้งครรภ์ของท่านอื่น ๆ แม้แต่การดูข่าวหรือฟังเรื่องเศร้าก็อาจกระตุ้นอารมณ์อ่อนไหว เกิดความเห็นอกเห็นใจและน้ำตาคลอได้ง่าย ๆ ค่ะ การที่มีความรู้สึกอ่อนโยนอ่อนไหวง่ายขึ้นนี้ จะเป็นผลดีทำให้คุณแม่สามารถที่จะเลี้ยงดูลูกด้วยความอ่อนโยนมากยิ่งขึ้น เป็นเรื่องปกติที่คนท้องจะรู้สึกอ่อนไหวทางอารมณ์มากขึ้นในระยะนี้ ไม่ได้เสี่ยงภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แต่เป็นสัญชาตญาณตามธรรมชาติที่คุณแม่จะรู้สึกอ่อนโยนและเลี้ยงดูลูกน้อยง่ายขึ้น
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่ในช่วงอายุครรภ์ 30 สัปดาห์
เรามาดูความเปลี่ยนแปลงในร่างกายของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 30 สัปดาห์ไปพร้อมกันเลยค่ะ • คุณแม่จะปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากมดลูกขนาดใหญ่เบียดกระเพาะปัสสาวะทำให้ปวดถี่กว่าปกติ แม้ว่าจะมีปริมาณปัสสาวะไม่มากก็รู้สึกปวดได้ค่ะ ปวดแล้วควรเข้าห้องน้ำเลยนะคะ อย่าอั้นไว้ ระมัดระวังอย่ารีบร้อนจนเสี่ยงอันตราย ทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำต้องปัสสาวะออกมาให้สุดเพื่อลดความเสี่ยงเป็นโรคทางเดินปัสสาวะติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์นะคะ • อาการนอนไม่หลับเวลากลางคืนเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในช่วงไตรมาส 3 แม้ว่าจะเหนื่อยขนาดไหนก็ยังนอนหลับยาก เป็นปัญหาที่รับมือได้ยากและอาจเกิดผลเสียต่อคุณแม่และลูกน้อยนะคะ คุณแม่จำเป็นต้องปรับพฤติกรรมก่อนนอน งดดื่มกาแฟตอนบ่าย นอนเตียงสะอาดในห้องที่เงียบสงบเพื่อให้หลับง่าย เปิดพัดลมหมุนวนหรือเปิดเพลงเบา ๆ ให้ผ่อนคลายช่วยให้หลับง่ายขึ้นด้วย • ไม่แนะนำให้ใช้ยาระงับประสาท ยาคลายเครียดหรือยานอนหลับระหว่างตั้งครรภ์นะคะ เนื่องจากมีอันตรายมากเกินไป อาจเสี่ยงต่อสุขภาพของลูกในท้องค่ะ • คุณแม่ลองดื่มนม นอนตะแคงใช้หมอนข้างหนุนขาให้สูงขึ้น ในห้องนอนไม่ควรมีโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์นะคะ งดใช้โทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ก่อนนอนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพราะจะทำให้หลับยาก ควรพักผ่อนในห้องนอนที่เงียบสงบมากที่สุดช่วยให้หลับง่ายและหลับสนิทด้วยค่ะ • เมื่ออายุครรภ์ 30 สัปดาห์คุณแม่อาจมีปัญหาเส้นเลือดขอดที่ขา เนื่องจากมดลูกโตขึ้นกดทับเส้นเลือดใหญ่ในอุ้งเชิงกราน อาการจะยิ่งแย่ลง อาจมีเส้นเลือดขอดควบคู่กับเป็นริดสีดวงทวารด้วย คุณแม่ควรสวมใส่ชุดชั้นในที่ผลิตจากเส้นใยไลคราหรือถุงน่องรักษาเส้นเลือดขอด อาบน้ำอุ่น และเลี่ยงการยืนนาน ๆ ช่วยป้องกันเส้นเลือดขอดได้ด้วย • คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักตัวเอง ไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินไปและการยกขาสูง ๆ ก็จะทำให้ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเส้นเลือดขอดได้ด้วย ยกขาและเท้าสูงทุกครั้งที่ทำได้เพื่อลดอาการบวมและเลือดคั่ง โดยปกติอาการเส้นเลือดขอดจะบรรเทาและจางหายไปได้หลังคลอด แต่บางคนก็ไม่จางหายไปค่ะ
สภาวะอารมณ์ของคุณแม่ช่วงอายุครรภ์ 30 สัปดาห์
เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 30 คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์อย่างไรบ้าง • ถ้าคุณแม่ยังคงทำงานอยู่จนถึงช่วงสัปดาห์นี้ จะควบคุมสติและสมาธิในการทำงานยากมากขึ้น ถ้าเป็นไปได้ลองปรับช่วงเวลาทำงานสั้นลงหรือเปลี่ยนเป็นการทำงานแบบพาร์ทไทม์จนกว่าจะถึงเวลาคลอด อาจเสนอขอเป็นการทำงานที่บ้านหรือทำงานตำแหน่งอื่นไปก่อนในช่วงสองสามสัปดาห์ที่เหลือ ซึ่งอาจจะต้องใช้ใบรับรองแพทย์เพื่อยืนยันว่าควรลดชั่วโมงทำงานค่ะ • ถ้าคุณแม่มีลูกคนโตที่ต้องดูแล จะหยุดพักไม่ได้ พยายามใช้เวลางีบตอนบ่ายหรือปรับตัวนอนเวลาเดียวกับเด็ก ๆ ควรคุยกับสามีว่าจะช่วยกันดูแลลูกอย่างไรเพื่อให้คุณแม่ได้พักผ่อนเพียงพอ อาการอ่อนเพลียมีผลต่ออารมณ์ทำให้คุณแม่หงุดหงิดง่ายและกระทบต่อบรรยากาศภายในบ้านด้วย จึงต้องพักผ่อนให้เพียงพอนะคะ • คุณแม่ควรแบ่งปันอารมณ์ความรู้สึกกับสามีเสมอ ขณะนี้ตั้งท้องมาได้พักใหญ่แล้ว ควรจะพากันไปพบคุณหมอทุกครั้งที่มีนัดเพื่อที่จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของคุณแม่และลูกน้อยพร้อม ๆ กัน เป็นการเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก • ในช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ คุณแม่จะรู้สึกว่าไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย ยากที่ใจจะจดจ่ออยู่กับงาน ลองฝึกใช้เทคนิคจับเวลาเป็นชั่วโมง แบ่งงานเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ แล้วทำงานให้สำเร็จไปตามเป้าหมายระยะสั้น จะได้ผลดีขึ้นมากทีเดียวเลยค่ะ
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในช่วงอายุครรภ์ 30 สัปดาห์
1. คุณแม่ควรจดคำถามที่สงสัยเพื่อถามคุณหมอในวันที่นัดหมาย คุณแม่อุ้มท้องจะมีความจำสั้น หลงลืมง่าย อาจลืมสิ่งสำคัญทำให้หงุดหงิดและโกรธตัวเอง ถ้ามีคำถามก็ไม่ต้องเขินอายที่จะถามคุณหมอนะคะ 2. การอ่านหนังสือหรือดูเว็บไซต์เกี่ยวกับการดูแลทารกแรกคลอดช่วยให้วางแผนเลี้ยงลูกได้ง่ายขึ้น 3. ควรเตรียมของใช้สำหรับเด็ก เปล รถเข็นเด็ก อุปกรณ์อาบน้ำและเสื้อผ้า ครบถ้วนแล้วก็เตรียมตัวไปคลอดได้อย่างสบายใจเลยค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลและคำแนะนำที่เราได้นำมาฝากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 30 ในช่วงนี้ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่อย่างเห็นได้ชัดคือมีอาการนอนไม่ค่อยหลับเวลากลางคืน จึงเป็นช่วงที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้หลับง่ายขึ้น เช่น งดดื่มกาแฟตอนบ่าย นอนเตียงสะอาด เปิดเพลงคลอเบา ๆ ให้รู้สึกผ่อนคลาย นอกจากนั้นสิ่งสำคัญในช่วงนี้คุณแม่ควรเริ่มสื่อสารด้วยการพูดคุยกับลูกน้อย ร้องเพลง เล่านิทานเพราะเป็นช่วงที่ทารกเริ่มมีพัฒนาการและสื่อสัมพันธ์กับแม่กว่าทุกช่วงที่ผ่านมาค่ะ
คุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลสำหรับการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 31 ว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน เรามีวิธีคำนวณอายุครรภ์อย่างถูกต้องมาฝากค่ะ
ช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ คุณแม่ยังไม่ควรตื่นเต้นมากจนเกินไป เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเอง มาดูกันค่ะว่าคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
การเลือกผ้าอ้อมเด็ก หรือซื้อผ้าอ้อมเด็กให้ลูก นอกจากคุณสมบัติที่ดีและราคาที่เหมาะสมแล้ว คุณแม่ยังต้องคำนึงถึงอายุและรูปร่างของลูกด้วย เพราะหากเลือกผ้าอ้อมที่ไม่เหมาะสมอาจจะส่งผลต่อพัฒนาการเด็กได้ค่ะ
ในช่วงอายุครรภ์ 36 สัปดาห์คุณแม่อาจรู้สึกเหมือนสงบสุขก่อนพายุจะมา เข้าใจได้ว่าคุณแม่หลายท่านกำลังนับถอยหลังรออุ้มลูกน้อยในอ้อมอกทุกวันอย่างแน่นอน
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 22 สัปดาห์ เปลือกตาของทารกในครรภ์ยังคงปิดสนิท แต่สามารถแยกแยะได้แล้วว่าช่วงไหนสว่างหรือมืดมาดูกันค่ะว่าทารกน้อยมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง
แม่ท้องแทบทุกคนจะมีอาการเมื่อยล้า หรือปวดตามร่างกายเพราะน้ำหนักตัวที่มากขึ้น พัฒนาการทารกในครรภ์ก็ดีเยี่ยมขึ้นทุกวัน การเล่นโยคะสำหรับแม่ท้องจะช่วยลดความตึงเครียดและเมื่อยล้าของร่างกายได้เป็นอย่างดี แถมยังดีต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ด้วยเหตุผลต่อไปนี้ค่ะ
วิตามินบำรุงและอาหารเสริมที่จำเป็นช่วยเพิ่มสมดุลทางโภชนาการให้คุณแม่และลูกน้อยตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ เรามีเคล็ดลับดีๆ มาฝากคุณแม่ค่ะ
โรคอีสุกอีใสถือเป็นโรคที่เกิดได้ทุกช่วงวัยโดยเกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาที่ทำให้เกิดตุ่มน้ำพองทั่วร่างกาย และจะทำให้เกิดปัญหามากหากเกิดในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์
การตั้งท้องสำหรับคู่รักบางคู่ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ถูกวางแผนมาก่อน แม้ว่าทุกวันนี้มีการคุมกำเนิดหลายวิธีด้วยกัน มาดูกันค่ะว่าจะมีวิธีรับมืออย่างไร