การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
ช่วงตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
เมื่อตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ หน้าท้องของคุณแม่จะยื่นออกมาชัดเจนกว่าเดิม แม้ว่าท้องไม่ใหญ่มาก แต่รู้สึกได้ถึงผลกระทบจากการตั้งครรภ์ได้ ทั้งปวดขา ท้องโตเบียดกระเพาะปัสสาวะต้องเข้าห้องน้ำบ่อย หน้าท้องขยาย หรือแม้แต่ผลกระทบต่อสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณแม่มีลูกเล็กที่ต้องดูแลอยู่ด้วย การก้มตัวโน้มลงไปอุ้มจะทำได้ยากขึ้น คุณแม่อาจกังวลว่าลูก ๆ อาจจะเบียดทารกในท้องเวลาที่นั่งทับตักแม่ พยายามอย่ากังวลมากเกินไปนะคะ ธรรมชาติมีกลไกการป้องกันที่จะช่วยปกป้องลูกน้อยในครรภ์ ในความเป็นจริงเมื่อตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ลูกน้อยจะเริ่มดิ้นเมื่อท้องถูกกดแรง ๆ จนแม่สัมผัสได้ถึงแรงเตะได้ เป็นสัญญาณของการแข่งขันกันระหว่างพี่น้องซึ่งเป็นเรื่องปกติที่คุณแม่จะเริ่มคุ้นเคยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ระหว่างตั้งครรภ์มักจะมีอาการปวดหลังบ่อย ๆ เพราะต้องแอ่นหลังเพื่อรักษาสมดุลและรับน้ำหนักท้องที่ถ่วงมาข้างหน้าทำให้กล้ามเนื้อหลังเกร็งมีอาการปวด นอกจากจะเดินแอ่นไปข้างหน้าแล้ว ยังเดินกางขาเพื่อให้เกิดความสมดุลไม่ให้หกล้มง่าย คุณแม่ต้องระมัดระวังเรื่องน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น สวมรองเท้าส้นเตี้ย เวลาลุกขึ้นยืนหรือเอนตัวนอนจะต้องค่อยเป็นค่อยไป พยายามออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังเพื่อรับมือกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตลอด การบริหารอุ้งเชิงกรานให้แข็งแรงอยู่เสมอก็มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่พยุงอวัยวะสำคัญ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ ช่องคลอด และมดลูก คุณแม่ควรบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานด้วยการฝึกกระชับช่องคลอดเพื่อให้มีแรงเบ่งคลอดง่าย หากไอและจามทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ควรปรึกษาแพทย์นะคะ
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์
เรามาดูความเปลี่ยนแปลงในร่างกายของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ไปพร้อมกันเลยค่ะ • อาการมือเท้าและบวมเป็นเรื่องปกติค่ะ เพราะมีปริมาณเลือดและของเหลวไหลเวียนอยู่ภายในร่างกายมากขึ้นทำให้ ขา เท้าและนิ้วบวมใหญ่กว่าปกติ หากคุณแม่รู้สึกว่าแหวนที่สวมแน่นคับนิ้ว ควรถอดออกตอนนี้ไม่เช่นนั้นนิ้วจะบวมจนถอดออกมาไม่ได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า • ถ้าคุณแม่รู้สึกมีอาการร้อนวูบวาบในช่วงไตรมาสที่สามเป็นผลจากอิทธิพลของฮอร์โมนที่ทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง เป็นปัญหาหนึ่งที่พบได้ระหว่างตั้งครรภ์ซึ่งร่างกายจะปรับตัวให้หายไปเองตามธรรมชาติ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พยายามไม่เครียด เพราะจะทำให้อาการแย่ไปกว่าเดิม • คุณแม่รู้สึกว่าหน้าอกหนักและคัดตึงมากขึ้น หลอดเลือดดำขยายตัวจนสังเกตเห็นเส้นเลือดดำใต้ผิวหนังบริเวณเต้านมชัดจน ฐานเต้านมสีคล้ำขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเพื่อเตรียมผลิตน้ำนมให้ลูกน้อยที่กำลังจะคลอดนะคะ คุณแม่ต้องระมัดระวัง ไม่อาบน้ำอุ่นหรือใช้ผลิตภัณฑ์สบู่ที่ทําให้ผิวแห้งและอาจเกิดอาการระคายเคืองได้ ในช่วงไตรมาสที่ 3 การก้มตัวจะยิ่งยากขึ้น ไม่ว่าจะก้มตัวตัดเล็บเท้า ไปช้อปปิ้งซื้อของเตรียมพร้อมสำหรับลูกน้อยก็ควรทำในช่วงนี้นะคะ เพราะหลังจากนั้นคุณแม่จะมีอาการปวดหลังและหน้าท้องใหญ่จนก้มได้ยากยิ่งขึ้น
สภาวะอารมณ์ของคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์
เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 29 คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์อย่างไรบ้าง • หากเคยมีลูกคลอดก่อนกำหนดมาก่อน รู้สึกกังวลว่าท้องนี้อาจคลอดก่อนกำหนดอีกก็ได้ ควรปรึกษาแพทย์นะคะ • เริ่มจัดลำดับความสำคัญว่าสิ่งใดควรทำก่อนและหลังคลอด วางแผนให้เรียบร้อยนึกถึงสิ่งที่ต้องการจะทำก่อนที่ลูกจะเกิด ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรสำคัญ ๆ อย่างเช่น ย้ายบ้านหรือเริ่มงานใหม่ คุณแม่พยายามอย่าวิตกกังวลมากเกินไปนะคะ ช่วงนี้ใช้ชีวิตที่เรียบง่ายไปก่อนจะดีกว่า • คุณแม่ต้องยอมรับรูปร่างของตัวเอง อย่าไปกังวลเรื่องความสวยงามหรือเครียดเรื่องรูปร่างมากนัก คุณแม่จะสวยอิ่มเอิบตามธรรมชาติของคนเป็นแม่ที่กำลังอุ้มท้องค่ะ • อารมณ์คุณแม่แปรปรวนมากในช่วงไตรมาสที่ 3 อารมณ์ขึ้นลงรุนแรง บ้างก็มีความสุข บ้างก็เศร้า เป็นอิทธิพลของฮอร์โมนทำให้มีอาการเครียดและอารมณ์อ่อนไหวเหมือนกับช่วงก่อนมีประจำเดือน
พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์
เรามาดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทารกเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 29 ไปพร้อมกันเลยค่ะ • ช่วงสัปดาห์นี้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักประมาณ 1.4 กิโลกรัม แต่ยังไม่ถึงครึ่งของน้ำหนักของเด็กแรกคลอดทั่วไป มีปริมาณของไขมันจำนวนมากยังคงสะสมอยู่ใต้ผิวหนัง ถ้าเด็กคลอดก่อนกำหนดในตอนนี้จะดูผอมมาก ตัวเล็ก แขนขายาว • ลูกในท้องดิ้นแรงที่สุดในช่วงตั้งครรภ์ 26-30 สัปดาห์ ในมดลูกยังมีที่ว่างให้ลูกเคลื่อนไหวและขยับตัวให้อยู่ในท่าสบายมากขึ้น • ระบบทางเดินหายใจเด็กมีพัฒนาการมากขึ้น สร้างหลอดลมและถุงลมในปอดเพื่อทำหน้าที่หายใจเอาก๊าซ ออกซิเจนเข้าไปและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ระบบทางเดินหายใจของเด็กใช้เวลาถึง 8 ปีกว่าจะพัฒนาอย่างเต็มที่ ในช่วงของการตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ถือเป็นการเริ่มต้นเท่านั้นเอง • เด็กคลอดก่อนกำหนดจะมีโอกาสรอดชีวิตสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุครรภ์ที่มากขึ้น หากคุณแม่คลอดลูกตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์อาจไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเลยค่ะ • ในระยะนี้แม้แต่แพทย์ก็บอกได้ยากว่าทารกในครรภ์นอนอยู่ท่าใดหรือหันหัวไปทางไหน เพราะศีรษะและก้นขนาดคล้ายกันจนเกิดความสับสนได้ง่าย แทบแยกไม่ออกว่าลูกน้อยหันหน้าไปทางไหน
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์
1. คุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอว่าจำเป็นต้องตรวจหาระดับธาตุเหล็กในเลือดหรือไม่ คุณแม่ต้องเจาะเลือดตรวจ ถ้าธาตุเหล็กต่ำกว่าเกณฑ์ปกติอาจต้องการอาหารเสริมธาตุเหล็ก นอกจากนี้ยังต้องตรวจกรองแอนติบอดี้ ถ้าคุณแม่มีหมู่เลือดแบบ Rh- อาจทำให้ร่างกายของคุณแม่สร้างแอนติบอดี้ที่ส่งผลร้ายต่อทารก ถ้ารุนแรงมากอาจเสียชีวิตได้ 2. ช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่เริ่มคิดชื่อลูกไว้หลายชื่อแต่อาจยังตัดสินใจไม่ได้ บางคนรอเห็นหน้าลูกก่อนจึงคิดชื่อที่เหมาะสม บางครั้งสุดท้ายผลลัพธ์อาจเป็นชื่อที่ไม่ได้คิดไว้ล่วงหน้าก็ได้ 3. คุณแม่ท้องมีโอกาสเป็นริดสีดวงทวาร หรือถ้าเป็นอยู่แล้วอาการจะแย่ยิ่งขึ้น ควรออกกำลังกายกระตุ้นให้ลำไส้เคลื่อนไหวและทำงานได้ดีขึ้น แต่เนื่องจากท้องใหญ่แล้ว เน้นการเล่นโยคะหรือว่ายน้ำเพื่อลดแรงกระแทกจะเป็นวิธีที่ดีและปลอดภัยกว่านะคะ
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลและคำแนะนำที่เราได้นำมาฝากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29 ในช่วงนี้คุณแม่จะมีอาการมือเท้าบวมอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนั้นยังมีเรื่องที่ต้องระมัดระวังสำหรับคุณแม่ที่เคยคลอดลูกก่อนกำหนดเพราะเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงว่าทารกสามารถคลอดก่อนกำหนดได้ค่ะ คุณแม่ตั้งครรภ์จึงต้องระมัดระวังในการเดินหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ส่วนทารกในครรภ์ช่วงนี้จะมีน้ำหนักเพิ่มและดิ้นแรงที่สุดซึ่งเป็นเรื่องปกติไม่ต้องตกใจไปค่ะคุณแม่ คุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลสำหรับการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 30 ว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะรกสามารถกรองแอลกอฮอล์ที่ส่งผ่านไปสู่ตัวทารกไม่ได้ทั้งหมดค่ะ
เมื่อเริ่มรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่มักจะมีหลายอารมณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความรู้สึกตอบสนองเมื่อรู้ตัวว่าตั้งท้องจะแตกต่างกันไป เรามีคำแนะนำดีๆ ค่ะ
คุณแม่ตั้งครรภ์ในระยะแรกมักประสบปัญหาเดียวกัน นั่นคือ อาการท้องอืด โดยอาการนี้ให้ความรู้สึกเหมือนมีลมในท้องมากกว่าปกติ เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
อาการเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ นับเป็นอาการที่พบได้บ่อยมาก ๆ เลยนะคะ ซึ่ง 1 ใน 3 ของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอาการเลือดออกในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกเรามีคำแนะนำค่ะ
สัปดาห์ที่ 14 เป็นสัปดาห์แรกในไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์นะคะ เป็นช่วงระยะที่คุณแม่ส่วนใหญ่รู้สึกสบายใจที่สุด มาดูกันค่ะว่าช่วงนี้เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
เมื่อตั้งครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ หรือสัปดาห์แรกของไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายแล้วแม้ท้องโตขึ้นมากแต่ไม่ถึงกับอุ้ยอ้าย มาดูการเปลี่ยนแปลงของคุณแม่กันค่ะ
การตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 34 คุณแม่อาจจะรู้สึกอึดอัดมากขึ้น รู้สึกหายใจไม่เต็มปอด มีอาการหายใจตื้นถี่เหมือนคนที่กำลังจะจามเพราะหน้าท้องใหญ่ขึ้น มาดูคำแนะนำกันค่ะ
ความเครียดของแม่ท้องเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความกลัวและความกังวลในช่วงตั้งครรภ์ ความไม่สบายตัว ความปวดเมื่อยร่างกาย อาการเจ็บป่วยต่างๆ ช่วงตั้งครรภ์ แรงกดดันจากคนรอบข้าง รวมถึงความเครียดจากการกลัวการคลอดด้วย ซึ่งความเครียดเหล่านี้ส่งผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์โดยตรง เพราะลูกในท้องจะสัมผัสอารมณ์ของแม่ได้และแสดงอาการออกมาหลายแบบ เช่น ถ้าแม่เครียดมาก นอนไม่หลับ ลูกในท้องก็อาจจะไม่ดิ้น ไม่ขยับตัวเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเช่นกัน ดังนั้นหากแม่ท้องไม่มีความเครียดทารกในครรภ์ก็จะไม่เครียด รู้สึกผ่อนคลายสบายตัว เขาจะอยากขยับตัวเคลื่อนไหวเหมือนกำลังว่ายน้ำในท้องแม่อย่างสบายใจ ดังนั้นหากแม่ท้องมีความเครียดจะต้องรีบกำจัดด้วย 5 วิธีต่อไปนี้ค่ะ
การตั้งครรภ์นับเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น ซึ่งคุณแม่แต่ละท่านมักมีประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน คุณแม่บางท่านมีประสบการณ์ที่ดี และไม่ดีมาดูกันค่ะมีอะไรบ้าง
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090