การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
ช่วงตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
ระยะนี้ลูกน้อยในท้องมีพัฒนาการทางร่างกายใหญ่ขึ้น และมดลูกขยายตัวขึ้นทุกวันเพื่อให้พอดีกับตัวทารก ในช่วงตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์คุณแม่จะรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นยึดตึง ไม่ว่าจะช่วงหลัง เชิงกราน ด้านข้างของช่วงท้องหรือแม้กระทั่งขาก็เจ็บปวดไปหมด เป็นผลข้างเคียงจากฮอร์โมนตั้งครรภ์ส่งผลต่อร่างกายทำให้กล้ามเนื้อตึงและปวดเมื่อย คุณแม่ควรควบคุมไม่ให้น้ำหนักตัวมากเกินไป น้ำหนักที่เหมาะสมช่วงตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ควรเพิ่มจากเดิมราว 10-12 กิโลกรัมเท่านั้น โดยรวมทั้งตัวทารก รกและถุงน้ำคร่ำ ปริมาณเลือดและของเหลวที่เพิ่มขึ้นในร่างกาย ตลอดจนเต้านมที่ขยายและไขมันทั้งหมดรวมกันนั่นเอง หากท้องนี้เป็นท้องแรก ทุกครั้งที่มีอาการแปลกใหม่ คุณแม่จะรีบเปิดหนังสือหาข้อมูลเช็คว่าตัวเองปกติหรือไม่ ส่วนคุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาก่อน ผ่านประสบการณ์มาแล้วจะเป็นกังวลน้อยลง อาการวิตกกังวลของคุณแม่ตั้งครรภ์ถือเป็นเรื่องปกติค่ะ ความกังวลช่วยยับยั้งไม่ให้คุณแม่ทำพฤติกรรมเสี่ยงใด ๆ แต่ถ้ากังวลใจมากจนกระทบต่อความสุขในการใช้ชีวิตประจำวัน อาจต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือพูดคุยกับใครสักคนนะคะ
ร่างกายคุณแม่จะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างในช่วงตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์
เรามาดูความเปลี่ยนแปลงในร่างกายของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ไปพร้อมกันเลยค่ะ • เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น มดลูกจะขยายใหญ่และเลื่อนขึ้นไปเบียดปอด คุณแม่หายใจลำบากเนื่องจากปอดขยายไม่เต็มที่ รู้สึกเหมือนต้องการอากาศหายใจมากขึ้น พยายามหายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ จะช่วยให้ดีขึ้นนะคะ คุณแม่รู้สึกหายใจไม่เต็มอิ่มทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรมาก แค่คุยโทรศัพท์ เดินขึ้นบันไดไม่กี่ขั้น หรือเดินเร็ว ๆ ทำให้หายใจเร็วและเหนื่อยหอบง่าย คนท้องควรหลีกเลี่ยงท่างอตัว ไม่ว่าจะนั่ง ยืน หรือเดิน เพราะทำให้ปอดขยายไม่สะดวก คุณแม่ควรหายใจเข้าปอดลึก ๆ เพื่อให้ได้รับออกซิเจนเพียงพอทั้งตัวคุณแม่เองและลูกในท้องนะคะ • ในสัปดาห์นี้อาจมีอาการคันผิวหนังบริเวณหน้าท้องมากขึ้น รู้สึกคล้ายมดไต่คลานบนหน้าท้อง อาการนี้เกิดจากเส้นใยคอลลาเจนผิวหนังชั้นกลางยืดขยายออก แนะนำให้คุณแม่ทาครีมบำรุงผิวนวดท้องหลังอาบน้ำเป็นประจำเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนังช่วยลดอาการคันได้นะคะ หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นและสบู่ที่ทำให้ผิวแห้ง พยายามสวมเสื้อผ้าฝ้ายหรือเส้นใยธรรมชาติที่อ่อนโยนต่อผิวและระบายความร้อนได้ดี • เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์แล้ว ยากที่จะได้นอนหลับเต็มตา ทั้งที่เหนื่อยล้าอ่อนเพลียมาตลอดวันอยากพักผ่อนให้เต็มที่ แต่กลับนอนไม่ค่อยหลับและลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึกหลายครั้ง กว่าจะนอนหลับได้ก็มีเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น หากมีอาการนอนหลับยาก แนะนำให้ดูทีวี ดื่มนม อาบน้ำ หรืออ่านหนังสือ มองหาสิ่งอำนวยความสะดวกสบายเป็นตัวช่วย เช่น ผ้าปูที่นอนสะอาด อากาศบริสุทธิ์ เปิดพัดลมพัดผ่านตัวและหาหมอนมาพิงหลังและหนุนเข่าช่วยให้รู้สึกสบายและหลับง่ายขึ้นค่ะ • แม้ว่าคุณแม่อยากงีบหลับช่วงบ่าย แต่ถ้ามีปัญหานอนไม่หลับตอนกลางคืน แนะนำว่าอย่าหลับตอนบ่ายเลยนะคะ เลือกเข้านอนเร็วแทน ใช้อาการเหนื่อยล้าให้เกิดประโยชน์ดีกว่าค่ะ หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์ก่อนนอนเพราะจะเป็นการกระตุ้นให้ประสาทตื่นตัวจนทำให้หลับยากขึ้นค่ะ • คุณแม่อาจหงุดหงิดกับอาการประสาทมือชาในช่วงสัปดาห์นี้ อาการชา เป็นเหน็บและเจ็บที่นิ้วหรือข้อมือที่บวมเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนของแม่ตั้งครรภ์ส่งผลให้ของเหลวคั่งในร่างกายทำให้เส้นประสาทถูกกดทับทำให้เป็นเหน็บชาและเจ็บปวดที่นิ้วมือและข้อมือบวม อาการนี้บรรเทาได้ด้วยวิธีกายภาพบำบัดหรือรักษาด้วยการใส่เฝือก นอกจากนั้นควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น เวลานอนวางมือบนหมอนเพื่อลดอาการคั่งน้ำ ลดอาการบวม พยายามพักมือไม่ทำอะไรนานเกินไป เลี่ยงหยิบของที่มีน้ำหนักมาก อาการจะดีขึ้นค่ะ
สภาวะอารมณ์ของคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์
เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 27 คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์อย่างไรบ้าง • เมื่อคุณแม่อุ้มท้องมาถึงตอนนี้ควรหาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิ์ในการลาคลอดและวางแผนกลับมาทำงานตามกฎระเบียบของที่ทำงาน วางแผนชีวิตและกำหนดระยะเวลาอย่างรอบคอบตั้งแต่ก่อนคลอดและหลังคลอดเพื่อให้รู้สึกสบายใจหายกังวลค่ะ • คุณแม่อาจเริ่มคิดว่าเมื่อมีลูกเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวอย่างไร สถานภาพจากสองสามีภรรยาจะมีบทบาทใหม่กลายเป็นครอบครัวที่มีสมาชิกสามคน ถ้ามีลูกมาก่อน ต้องจัดสรรปันความรักให้ลงตัวมากที่สุด เพราะคุณพ่อและคุณแม่มีความสำคัญมากในการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้ครอบครัวใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น
พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์
เรามาดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทารกเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 27 ไปพร้อมกันเลยค่ะ • เมื่ออายุครรภ์ถึงสัปดาห์ที่ 27 ทารกในครรภ์ยืดเหยียดตัวมากขึ้น ไม่นอนตัวงอเป็นกุ้งตลอดเวลา ความยาวเฉลี่ยตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้าประมาณ 38 เซนติเมตร ลูกน้อยเติบโตอย่างรวดเร็ว ร่างกายสร้างไขมันสะสมใต้ผิวหนังและรอบอวัยวะสำคัญ ผิวหนังไม่เหี่ยวย่นแล้ว • การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือดวงตาของลูกน้อยเริ่มมีการพัฒนาเรตินาหรือจอประสาทตา สามารถตอบสนองต่อแสงและมองเห็นได้ดียิ่งขึ้น เด็กลืมตาและหลับตาสลับกันมาได้ 2-3 สัปดาห์แล้ว หลังจากนี้จะมีพัฒนาการทางดวงตามากขึ้นเรื่อย ๆ นะคะ • ลูกน้อยเรียนรู้วิธีการดูดนิ้วหัวแม่มือเพื่อเป็นการปลอบตัวเอง ช่วงนี้ทารกในครรภ์ยังคงหายใจผ่านน้ำคร่ำผ่านเข้าออกทางปอด เป็นการฝึกหัดหายใจในครั้งแรก โดยออกซิเจนยังคงส่งผ่านจากแม่สู่ลูกผ่านทางสายรก
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์
1. คุณแม่ควรปรึกษากับทีมแพทย์ว่าตัดสินใจเก็บรกไว้ในธนาคารเลือดเพื่อทำสเต็มเซลล์หรือจะบริจาคแทน ขณะเดียวกันควรคิดว่าตัวเองจะให้นมลูกอย่างไร หากตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณแม่ควรมีทัศนะเชิงบวกกับการให้นมลูก รวมถึงการสนับสนุนจากครอบครัวที่จะช่วยให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเองได้นานขึ้นค่ะ 2. ช่วงนี้เริ่มมองหาโรงพยาบาลและเลือกแผนกคลอดได้แล้วนะคะ บางโรงพยาบาลต้องมีการจองล่วงหน้าก่อนและจัดเตรียมเอกสารหลายอย่าง นอกจากนี้ควรศึกษาเรื่องคาร์ซีทหรือเบาะนั่งนิรภัยในรถยนต์สำหรับเด็ก ดูว่ายี่ห้อไหนพอดีกับรุ่นรถเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยเวลาเดินทาง เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลและคำแนะนำที่เราได้นำมาฝากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 27 ในช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกถึงความอึดอัดไม่สบายตัวไปเกือบทุกส่วนของร่างกาย เช่น ช่วงท้อง ช่วงขา หลัง เชิงกราน ซึ่งเป็นอาการปกติที่เกิดจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นยึดของคนท้อง ช่วงนี้คุณแม่จึงต้องหลีกเลี่ยงการยกของหนัก ส่วนทารกในครรภ์จะเริ่มเหยียดตัวมากขึ้น ไม่นอนตัวงอเป็นกุ้งเหมือนสัปดาห์ก่อนหน้านี้เป็นความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นอันตรายใด ๆ นะคะ คุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลสำหรับการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 28 ว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน เรามีวิธีคำนวณอายุครรภ์อย่างถูกต้องมาฝากค่ะ
ช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ คุณแม่ยังไม่ควรตื่นเต้นมากจนเกินไป เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเอง มาดูกันค่ะว่าคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
การจัดมุมเปลี่ยนผ้าอ้อมในบ้านเป็นเรื่องสำคัญนะคะ เพราะจะต้องเป็นมุมที่สะอาดปลอดภัยกับลูก และยังต้องเป็นมุมที่สามารถทิ้งผ้าอ้อมได้แบบไม่มีส่งกลิ่นและไม่มีเลอะเทอะด้วย Huggies มีวิธีจัดมุมเปลี่ยนผ้าอ้อมในบ้านมาฝากสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือด้วยค่ะ
เข้าสู่ช่วงเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์แล้วนะคะ คุณแม่คงเริ่มสงสัยแล้วว่าลูกน้อยจะหน้าตาเป็นอย่างไร ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำคัญมาก เนื่องจากลูกน้อยในครรภ์จะเจริญเติบโตเร็วมาก เริ่มมีการสร้างอวัยวะต่างๆ เช่น ตา แขน และขา ดังนั้นการรับประทานอาหารและยาของคุณแม่จึงมีผลโดยตรงต่อทารก หากไม่ระมัดระวังให้อาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อ หรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆได้ มาดูกันดีกว่าค่ะว่าอาหารรอะไรที่คุณแม่ควรทานเสริมเพื่อบำรุงร่างกายและเจ้าตัวน้อยในครรภ์
การตั้งครรภ์ถือว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่สุดในชีวิตผู้หญิงคนหนึ่งก็ว่าได้นะคะ ไม่แปลกหรอกค่ะถ้าคุณแม่หลายๆ ท่านจะตื่นเต้นและตื้นตันจนกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งครรภ์ครั้งแรก ทุกอย่างย่อมเป็นเรื่องใหม่ไปหมด มาดูกันดีกว่าค่ะว่าสำหรับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ได้ 1 เดือนมีอะไรที่ควรทราบบ้าง
แม่ท้องแทบทุกคนจะมีอาการเมื่อยล้า หรือปวดตามร่างกายเพราะน้ำหนักตัวที่มากขึ้น พัฒนาการทารกในครรภ์ก็ดีเยี่ยมขึ้นทุกวัน การเล่นโยคะสำหรับแม่ท้องจะช่วยลดความตึงเครียดและเมื่อยล้าของร่างกายได้เป็นอย่างดี แถมยังดีต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ด้วยเหตุผลต่อไปนี้ค่ะ
เมื่อตั้งครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ หรือสัปดาห์แรกของไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายแล้วแม้ท้องโตขึ้นมากแต่ไม่ถึงกับอุ้ยอ้าย มาดูการเปลี่ยนแปลงของคุณแม่กันค่ะ
ในระยะ 3 สัปดาห์แรกนับว่าคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างเป็นทางการแล้วนะคะ สิ่งที่เกิดขึ้นช่วงระยะตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์มีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ
การขับรถระหว่างตั้งครรภ์ ถือเป็นช่วงเวลาที่น่าอึดอัดมากเลยนะคะ โดยเฉพาะช่วงที่คุณแม่ท้องแก่ โดยเมื่อคุณแม่มีหน้าท้องขนาดใหญ่ขึ้น เรามีบทความดีๆ มาฝากค่ะ