การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ควรตรวจอัลตร้าซาวด์อย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อเดือนนะคะ ซึ่งอาจจะเป็นช่วงระยะตั้งแต่แรกเริ่มของการตั้งครรภ์หรืออาจจะเริ่มต้นประมาณ ตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ ขึ้นไปก็ได้ค่ะ การตรวจอัลตราซาวน์นี้จะช่วยประเมินภาวะการตั้งครรภ์ของตัวคุณแม่เอง และจะได้แอบตรวจสอบการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยด้วยเช่นกันว่าเป็นอย่างไรค่ะ
การตรวจอัลตร้าซาวด์ มีเป้าหมายเพื่อคำนวณวันครบกำหนดคลอด โดยทั่วไปแล้วจะตรวจวินิจฉัยในไตรมาสแรกเพื่อหาความผิดปกติของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะตรวจอัลตร้าซาวด์ประมาณสัปดาห์ที่ 18-20 แต่ถ้าแพทย์มีความกังวลว่าทารกมีความเสี่ยงในระยะไตรมาสที่สามอาจแนะนำให้คุณแม่ตรวจอัลตร้าซาวด์เพิ่มในช่วงนี้ เพราะบางครั้งอาจพบว่าเด็กอยู่ในภาวะวิกฤต จึงอาจจำเป็นต้องผ่าคลอดออกมาโดยเร็วเพื่อเลี้ยงในตู้อบจะปลอดภัยมากกว่าที่จะอยู่ในมดลูกแม่ แม้ว่าการคลอดก่อนกำหนดจะมีความเสี่ยง แต่เป็นเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้เด็กมีอัตรารอดตายที่มากขึ้นเช่นกันนะคะ ซึ่งโดยทั่วไปการวัดขนาด น้ำหนักและการเจริญเติบโตของทารก รวมถึงปริมาณของน้ำคร่ำเป็นวิธีประเมินสมบูรณ์ปลอดภัยของลูกน้อยได้เป็นอย่างดีค่ะ
การตรวจอัลตร้าซาวด์ทารกคืออะไร? การตรวจอัลตร้าซาวด์การตั้งครรภ์ คือการใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์ส่งคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านมดลูกเพื่อตรวจดูทารกในครรภ์ คลื่นเสียงมีความถี่สูงกว่าที่หูมนุษย์จะได้ยิน คลื่นเสียงจะปล่อยออกจากคริสตัลขนาดเล็กที่สั่นสะเทือนอยู่ในหัวตรวจทรานสดิวเซอร์ เป็นวิธีการตรวจที่เงียบและไม่เจ็บปวดทั้งกับแม่และเด็กค่ะ ระหว่างการตรวจอัลตร้าซาวด์ คลื่นเสียงจะกระทบกับตัวเด็กแล้วจะเกิดการสะท้อนกลับออกมาแปลงผลลัพธ์เป็นภาพบนหน้าจอให้เห็นแบบเรียลไทม์ทันที มองเห็นเด็กเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ และเตะท้องแม่ได้อย่างชัดเจน
การตรวจอัลตราซาวด์จะทาเจลอุ่นใสบนหน้าท้องแม่ช่วยลดการเสียดสีระหว่างอุปกรณ์และผิวหนัง และช่วยให้การส่งคลื่นเสียงความถี่สูงได้ดีขึ้น เห็นภาพเนื้อเยื่อบริเวณที่แข็งหนา เช่น กระดูก แสดงผลเป็นสีขาว เนื้อเยื่อที่บางกว่าจะแสดงผลเป็นสีเทา น้ำคร่ำจะปรากฏเป็นสีดำ ความเข้มของเฉดสีขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ตรวจว่ามีความทึบมากหรือน้อยค่ะ
จะเห็นอะไรบ้างจาก การตรวจอัลตร้าซาวด์? คุณแม่จะเห็นรายละเอียดของทารกในครรภ์ ทั้งรูปร่างและอวัยวะภายในทั้งหมด เช่น สมอง หัวใจ ปอด ไต ตับ กระเพาะอาหาร ตลอดจนไขสันหลัง แขนขา อวัยวะเพศและการเคลื่อนไหวของเด็ก คุณแม่จะได้รับภาพถ่ายอัลตร้าซาวด์ 1-2 รูปกลับบ้านไปด้วย แต่ภาพจากการสแกนไม่ได้มีความละเอียดเหมือนกับรูปถ่ายจากล้องนะคะ และโดยปกติแพทย์ พยาบาลมักจะไม่อนุญาตให้ถ่ายคลิปวิดีโอ เพราะมีความเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องหากแพทย์ตรวจไม่พบภาวะแทรกซ้อน อย่างไรก็ตามควรสอบถามผู้ที่ตรวจอัลตร้าซาวด์ว่าจะขอถ่ายไปเป็นที่ระลึกได้หรือไม่ก่อนนะคะ
การตรวจอัลตร้าซาวด์ในช่วงตั้งครรภ์ทำให้แม่และเด็กเจ็บหรือไม่? ทุกวันนี้การตรวจอัลตร้าซาวด์ยังไม่พบอันตรายต่อแม่และลูกนะคะ เพราะส่งคลื่นความถี่ผ่านผิวหนังบนหน้าท้องหรือช่องคลอด ไม่ใช่วิธีการผ่าตัด ไม่ทำให้เกิดการเสียเลือดเสียเนื้อ และไม่ได้ใช้รังสีเหมือนเอ็กซเรย์ จึงเป็นวิธีการวินิจฉัยในระหว่างการตั้งครรภ์ที่ถือว่าปลอดภัยมากค่ะ เทคโนโลยีการตรวจอัลตร้าซาวด์ในทุกวันนี้มีการตรวจสอบและควบคุมอย่างดี รวมถึงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวด เนื่องจากหญิงมีครรภ์นิยมตรวจอัลตร้าซาวด์มากขึ้น จึงต้องศึกษาปัจจัยเสี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดความวิตกกังวล
ทำไมคุณแม่ถึงต้องตรวจอัลตร้าซาวด์ระหว่างตั้งท้อง? มีเหตุผลมากมายที่แม่ท้องนิยมตรวจอัลตร้าซาวด์ทารกในครรภ์ เหตุผลที่พบบ่อยที่สุดคือตรวจวินิจฉัยว่าในท้องเกิดอะไรบ้าง ประเมินอายุของทารกว่าอายุประมาณกี่สัปดาห์แล้ว พร้อมทั้งตรวจสอบการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ตรวจสอบจำนวนทารกในท้องแม่ และเช็คตำแหน่งของรกว่าเหมาะสมหรือไม่ นอกจากนี้ยังตรวจวัดค่า Nuchal translucency หรือ NT จากน้ำที่สะสมบริเวณด้านหลังค้นคอของทารกเพื่อตรวจคัดกรองอาการดาวน์ซินโดรมหรือภาวะผิดปกติอื่น ๆ ซึ่งจะตรวจระหว่างสัปดาห์ที่ 11-14 รวมถึงตรวจคัดกรองความพิการ เช่น ความผิดปกติของกระดูกสันหลัง
และการตรวจอัลตร้าซาวด์สามารถช่วยประเมินเพศของทารกได้ แม้จะไม่ใช่เหตุผลหลักของอัลตร้าซาวด์ก็ตาม ซึ่งจะตรวจเพศของลูกได้ชัดเจนและแม่นยำใน ช่วงตั้งครรภ์สัปดาห์ที่20 นอกจากนี้ยังใช้ในการประเมินสาเหตุของภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ เช่น มีเลือดออก ทารกเคลื่อนไหวน้อยลง หรือแม่รู้สึกเจ็บปวด สามารถใช้ตรวจพิสูจน์ยืนยันว่าท้องนอกมดลูก ซึ่งส่วนใหญ่ตัวอ่อนยังเกาะและเติบโตบริเวณท่อนำไข่ สามารถตรวจเช็คได้ว่ามีถุงน้ำหรือพังผืดอยู่ในมดลูกหรือไม่ได้ด้วยค่ะ
ตรวจอัลตร้าซาวด์ที่ไหนดี? คุณแม่สามารถไปตรวจในโรงพยาบาลชั้นนำและศูนย์สุขภาพชุมชนที่มีคลินิกให้บริการตรวจอัลตร้าซาวด์ด้วยอุปกรณ์ทันสมัย หรือตรวจที่ศูนย์ดูแลแม่และเด็กได้โดยตรงค่ะ ขั้นตอนการตรวจใช้เวลาประมาณ 30 นาที ใช้วิธีตรวจอัลตราซาวน์ผ่านหน้าท้องหรือช่องคลอดก็ได้ หากมีการสแกนช่องท้องอาจใช้เวลาราว 1 ชั่วโมง ควรมีเวลาในการตรวจได้นานถึง 1 ชั่วโมง คุณแม่ไม่ต้องรีบนะคะ ควรมีสมาธิกับจดจ่อกับการตรวจให้มากที่สุด เพราะถ้าเครียดหรือวิตกกังวล อาจจะไม่ได้เห็นรายละเอียดมากเท่าที่ต้องการค่ะ
จะรู้ผลตรวจอัลตร้าซาวด์เมื่อไร? เมื่อใช้หัวตรวจบนหน้าท้อง ผลตรวจอัลตร้าซาวด์จะปรากฏบนหน้าจอในทันที คุณแม่จะเห็นลูกน้อยภายในท้อง ถ้าพบข้อสงสัยในระหว่างการตรวจ แพทย์จะขอความเห็นจากทีมแพทย์ช่วยทำการวินิจฉัย และอาจจำเป็นต้องใช้เวลาตรวจมากขึ้น เพราะถ้ามีสิ่งใดผิดแปลกไปแพทยจะต้องมีคำอธิบายให้ชัดเจนเพื่อคลายความวิตกกังวลของคุณแม่แน่นอนค่ะ และผลการตรวจสแกนที่ผิดปกติจะถูกส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเฉพาะทางอธิบายข้อมูล และหากมีภาวะแทรกซ้อนจะตรวจพบได้ในระหว่างการทำอัลตร้าซาวด์นั่นเอง เป็นเหตุผลว่าทำไมการตรวจอัลตร้าซาวด์จึงสำคัญนะคะ
การตรวจอัลตร้าซาวด์บอกได้ว่าลูกเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงใช่ไหม? โดยปกติการตรวจอัลตร้าซาวด์ระบุเพศชายหรือหญิงได้แต่ไม่รับประกันผล 100% นะคะ เพราะบางครั้งเด็กนอนในตำแหน่งที่มองเห็นอวัยวะเพศไม่ชัดเจน ถ้าขาเด็กไขว้กันก็จะมองไม่เห็น โดยทั่วไปแล้วในช่วงตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์จะใช้วิธีการตรวจที่เรียกว่าสกรีนนิ่งอัลตร้าซาวด์จะทำให้เห็นเพศของทารกได้ค่ะ กรณีที่คุณแม่ยังไม่อยากรู้ว่าลูกเป็นชายหรือหญิง ต้องการลุ้นในนาทีสุดท้าย ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนทำการตรวจนะคะ และความจริงแล้วจุดประสงค์ของการตรวจอัลตร้าซาวด์ไม่ใช่การพิสูจน์เพศของทารกนะคะ แต่เครื่องมือนี้มุ่งประเมินพัฒนาการของทารกและวินิจฉัยอาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ค่ะ
การตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอดคืออะไร? วิธีการตรวจอัลตร้าซาวด์ด้วยการสอดอุปกรณ์เข้าไปทางช่องคลอดของคุณแม่จะชัดกว่าการตรวจผ่านผนังหน้าท้อง ในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงระยะแรกหรือมีภาวะอ้วนน้ำหนักเกินทำให้เห็นภาพไม่ชัดเจนนัก โดยปกติการตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอดไม่มีอาการเจ็บปวดและไม่เป็นอันตรายต่อทารก มักทำในช่วงที่อายุครรภ์ระหว่าง 7-12 สัปดาห์ค่ะ
การตรวจอัลตร้าซาวด์ในระหว่างตั้งครรภ์นั้นอาจเห็นลัพธ์ไม่ชัดเจน 100% และอาจตรวจคัดกรองความผิดปกติได้ไม่ครบทุกอย่าง อาจมีการแสดงผลผิดพลาดซึ่งส่วนหนึ่งอาจเกิดจากข้อจำกัดของอุปกรณ์, เทคโนโลยีหรือความผิดพลาดของมนุษย์ได้เช่นกันค่ะ ทั้งนี้ทุกขั้นตอนในการตรวจและการให้คำแนะนำควรเป็นไปตามสูตินรีแพทย์ผู้ดูแลนะคะ หากคุณแม่มีข้อสงสัยหรือกังวลใจใดๆควรพูดคุยและปรึกษาคุณหมอ เพื่อไม่ให้คุณแม่กังวลจนเกินไปค่ะ สำหรับคุณแม่มือใหม่คนไหนอยากทำความเข้าใจและอยากศึกษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในหัวข้ออื่น ๆ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน เรามีวิธีคำนวณอายุครรภ์อย่างถูกต้องมาฝากค่ะ
ช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ คุณแม่ยังไม่ควรตื่นเต้นมากจนเกินไป เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเอง มาดูกันค่ะว่าคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
คุณแม่ทั้งหลายมีทักษะผ้าอ้อมเป็นอย่างไรกันบ้าง? คุณแม่ อาจจะสามารถใส่ผ้าอ้อมเสร็จได้ในอึดใจเดียว แต่คุณแม่มั่นใจแล้วหรือยังว่าใส่ถูกจริงๆ
ขนาดทารกในครรภ์
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ ถือว่าพบได้บ่อย เพราะผู้หญิงท้องต้องได้รับไอโอดีนมากกว่าคนทั่วไป เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
เมื่อตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์เท่ากับคุณแม่ผ่านมาเพียงครึ่งทางของไตรมาสแรก อาจจะไม่ได้รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ลูกน้อยมีพัฒนาการ มาดูว่ามีอะไรบ้าง
แม่ท้องแทบทุกคนจะมีอาการเมื่อยล้า หรือปวดตามร่างกายเพราะน้ำหนักตัวที่มากขึ้น พัฒนาการทารกในครรภ์ก็ดีเยี่ยมขึ้นทุกวัน การเล่นโยคะสำหรับแม่ท้องจะช่วยลดความตึงเครียดและเมื่อยล้าของร่างกายได้เป็นอย่างดี แถมยังดีต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ด้วยเหตุผลต่อไปนี้ค่ะ
ในช่วงสัปดาห์นี้เวลาคุณแม่ส่องกระจกจะเห็นรูปร่างขยายใหญ่ขึ้น เปลี่ยนไปจากเดิมเรื่อย ๆ และดูเต็มอิ่ม โดยเฉพาะสะโพก ต้นขา มาดูกันว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
เมื่อตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์เท่ากับว่าคุณแม่ผ่านมาครึ่งทางของการตั้งท้องแล้ว โดยเฉลี่ยระยะเวลาตั้งครรภ์ประมาณ 40 สัปดาห์ คุณแม่ต้องเตรียมพร้อมอย่างไรเรามีคำตอบ