การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
คุณแม่เริ่มเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์แล้วนะคะ ผ่านพ้นช่วงที่ร่างกายคุณแม่ทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างอวัยวะและระบบสำคัญต่าง ๆ ในร่างกายของลูกน้อยให้อยู่ในตำแหน่งเหมาะสมและพร้อมที่จะพัฒนาเติบโตอย่างเต็มที่ต่อไป เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ขนาดของเด็กในครรภ์จะเติบโตเพิ่มเป็น 3-4 เท่า ลักษณะของเด็กทารกจะดูคล้ายคนตัวเล็กมากขึ้น หลังจากนี้ไปผู้หญิงส่วนใหญ่จะรู้สึกสบายกว่าเดิม เพราะอาการอ่อนเพลียคลื่นไส้ในช่วงเริ่มตั้งครรภ์จะลดลงจนเกือบกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ร่างกายปรับตัวได้ดี แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงอีกหลายอย่างที่จะเกิดขึ้นต่อไป
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของคุณแม่ เมื่อย่างเข้าไตรมาสที่ 2 คงยากที่จะปิดบังหน้าท้องที่ขยายใหญ่ขึ้น หากคุณแม่เคยมีลูกมาก่อน คงพอจะคาดเดาอายุครรภ์และขนาดท้องได้ถูกต้อง ในระยะนี้อวัยวะที่มีการเปลี่ยนแปลงมากคือมดลูกซึ่งก่อนหน้านี้เคยอยู่ในอุ้งเชิงกรานที่ช่วยปกป้องมดลูกไม่ให้ถูกกระทบกระเทือน พออายุครรภ์มากขึ้น มดลูกจะขยับตำแหน่งสูงขึ้นจนพ้นเหนือกระดูกเชิงกราน และเติบโตเหนือสะดือขึ้นไปเรื่อย ๆ เพื่อให้หน้าท้องขยายใหญ่ได้มากขึ้นค่ะ คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะถ้าท้องไม่ใหญ่ คนอื่นมองไม่รู้ว่าท้อง ระยะการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 ไม่ได้บอกว่าพัฒนาการของลูกในท้องเป็นอย่างไร ลูกจะตัวโตหรือสุขภาพดีหรือไม่ ถ้าท้องยังไม่ออกคุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลเลยนะคะ
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในระยะไตรมาสที่ 2 คุณแม่อาจเริ่มอาการคัดจมูกในช่วงหลายสัปดาห์แรกนะคะ ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีความชื้นต่ำหรืออยู่ในห้องที่เปิดแอร์ ซึ่งจะกระตุ้นให้อาการกำเริบหนักขึ้น ควรวางชามใส่น้ำหรือหรือใช้เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศช่วยให้หายใจสบายมากขึ้นค่ะ ขนาดและรูปร่างของคุณแม่จะเปลี่ยนไปในช่วง 2-3 เดือนจากนี้ไป ลักษณะหน้าท้องของแม่แต่ละคนไม่เหมือนกันนะคะ หลายคนบอกว่ารูปร่างท้องบอกเพศของเด็กได้ แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนความเชื่อนี้ ขอให้คิดว่าเป็นเรื่องสนุกไปแล้วกัน การตรวจอัลตราซาวด์จะได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำกว่านะคะ นับจากสัปดาห์ที่ 26 เป็นไปต้นไปคุณแม่จะสัมผัสถึงอาการเจ็บท้องหลอก ซึ่งเกิดจากการบีบหดตัวของมดลูกที่ไม่เจ็บปวดมาก เป็นกระบวนการตามธรรมชาติเพื่อเตรียมความพร้อมของมดลูกก่อนคลอดจริง และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดด้วย ถ้าคุณแม่เคยมีลูกมาก่อนจะรับรู้และเข้าใจอาการเจ็บท้องหลอกได้เร็วมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ในระยะไตรมาสที่ 2 คุณแม่ควรเริ่มจะจดบันทึกสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์แรกของไตรมาสที่ 2 คุณแม่อาจมีอาการหลงลืมหรือความจำเสื่อมชั่วคราวในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นอาการที่พบได้บ่อย ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าวิตกกังวลแต่อย่างใด อย่าคิดหรือทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน ยิ้มและหัวเราะตัวเองได้เพื่อให้อารมณ์ขันช่วยให้คุณแม่อารมณ์ดีขึ้นค่ะ ช่วงนี้คุณแม่อาจวิตกกังวลว่าลูกยังปลอดภัยดี ถ้ามีความผิดปกติจะรับมืออย่างไร ตั้งครรภ์มาถึงไตรมาสที่ 2 แล้ว ไม่สามารถที่จะย้อนเวลาถอยหลังกลับไปได้ คุณแม่ควรควบคุมอารมณ์ให้นิ่ง มั่นใจว่าธรรมชาติจะสร้างสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกและตัวคุณแม่เอง ไม่มีอะไรที่จะต้องกังวลมากเกินไป
คำแนะนำสำหรับการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 คุณควรพบแพทย์ตามนัดเป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพ ตรวจอัลตราซาวด์ จะได้เห็นพัฒนาการของลูกน้อยและรคัดกรองสำหรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเป็นประจำ และทุก ๆ ครั้งก็จะได้มีการตรวจคัดกรองความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ทั้งน้ำหนัก ขนาดหน้าท้อง ความดันเลือด และตรวจปัสสาวะ โดยปกติจะตรวจทุก 4 สัปดาห์หรือตลอดช่วงไตรมาสที่ 2 คนท้องควรพิถีพิถันเรื่องอาหารมากขึ้น ใส่ใจในเรื่องของคุณภาพอาหาร ไม่จำเป็นต้องรับประทานเพิ่มเผื่อสองคน แต่ละมื้อรับประทานคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ธาตุเหล็กและแคลเซียมอย่างเพียงพอ อย่าลืมว่าอาหารที่รับประทานเข้าไปจะส่งผ่านจากคุณแม่ไปยังลูกน้อยและส่งเสริมพัฒนาการให้ลูกเติบโตแข็งแรง หลายคนคาดว่าน้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 แต่คุณแม่ส่วนใหญ่กลับพบว่าน้ำหนักของตัวเองไม่เพิ่มจากช่วงไตรมาสแรก บางครั้งน้ำหนักลดลงเพราะอาการแพ้ท้องหรือเบื่ออาหาร ในทางกลับกันอย่าเครียดเกินไปหากน้ำหนักตัวเพิ่ม คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักเพิ่มขึ้นระหว่าง 10-12 กิโลกรัม ถ้ามากกว่านั้นอาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น เป็นเบาหวาน หรือความดันสูง ซึ่งเป็นอันตรายต่อเด็กในท้องค่ะ
การเปลี่ยนแปลงของทารกในท้องในไตรมาสที่ 2 พัฒนาการในแต่ละสัปดาห์ มีดังนี้ • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 14 ลูกน้อยมีขนาดเท่ากำปั้น เปลือกตาพัฒนาเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่ลืมตาไม่ได้เพราะยังติดกันเป็นแผ่นเดียว ปกปิดลูกนัยน์ตาซึ่งจะเป็นลักษณะแบบนี้ไปตลอดไตรมาสที่ 2 ค่ะ • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 15 สัปดาห์นี้ลูกน้อยกลืนของเหลวเข้าปากได้แล้ว โดยกลืนน้ำคร่ำในรกและขับถ่ายออกมาทางไต หากทารกในครรภ์มีปัญหาเกี่ยวกับไตจะเห็นความผิดปกติได้ในช่วงนี้ และส่งผลให้ปอดมีพัฒนาการมากขึ้นด้วยค่ะ • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 16 สัปดาห์นี้ขนาดตัวทารกในครรภ์มีความยาวเกือบ 13 เซนติเมตร ลูกน้อยเคลื่อนไหวเร็วขึ้น สลับกับนอนหลับนิ่ง ๆ การขยับตัวทำให้กล้ามเนื้อของเด็กเติบโตแข็งแรงและกระตุ้นระบบประสาททำงานเชื่อมโยงกับสมอง เส้นประสาท ไขสันหลัง กล้ามเนื้อได้ดีขึ้น • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 17 ลำตัวของเด็กเริ่มเหยียดออกและขายาวขึ้น มีคิ้วและขนตาขึ้นมาแล้ว ขนเส้นเล็กอ่อนนุ่มขึ้นทั่วตัวซึ่งจะหลุดร่วงไปในช่วงใกล้คลอด เว้นเสียแต่ว่าเด็กคลอดลูกก่อนกำหนดจะเห็นขนเหล่านี้บนร่างกาย ซึ่งจะหลุดร่วงไปในไม่กี่สัปดาห์หลังคลอดค่ะ • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 18 หากครั้งนี้เป็นท้องแรก คุณแม่จะเริ่มสังเกตว่าลูกเริ่มเคลื่อนไหวแล้ว แต่ถ้าคุณแม่เคยตั้งครรภ์มาก่อน จะรับรู้ได้เร็วกว่า อาจสัมผัสถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในท้องตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 14 เลยทีเดียว • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 19 สัปดาห์นี้ลูกน้อยมีขนาดเท่ามะม่วงหรือใหญ่กว่า ผิวหนังมีไขสีขาวปกคลุมรอบตัวซึ่งทำหน้าที่ปกป้องผิวบอบบางของเด็กทารกไปจนกระทั่งคลอดค่ะ • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 20 ลูกน้อยมีความยาวประมาณ 21 เซนติเมตร ถ้าหากตรวจอัลตร้าซาวด์เป็นไปได้ว่าจะเห็นเพศของลูกได้แล้วนะคะ ในระยะนี้มดลูกจะขยับตำแหน่งสูงขึ้นจนอยู่ระดับสะดือ • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 21 เด็กทารกจะมีขนาดเท่ากับผลกล้วยแล้ว แขนและขาพัฒนาสมส่วนมากขึ้น คุณแม่จะรู้สึกว่าเด็กทารกเตะแข็งแรงและจงใจเตะมากขึ้น ไม่ใช่แค่ดิ้นตามสัญชาตญาณเหมือนแต่ก่อน • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 22 ลูกน้อยเริ่มได้ยินเสียงรอบตัวมากขึ้น คุณแม่ควรเปิดเพลงให้ลูกฟังหรือชวนคุณพ่อพูดคุยกับลูกทางหน้าท้อง ทำให้เด็กคุ้นเคยและจำเสียงพ่อแม่ได้ • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 23 ในเดือนต่อไปน้ำหนักตัวของลูกจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ไขมันเข้ามาเติมเต็มทำให้ผิวตึงดูมีเนื้อมีหนังขึ้น หน้าท้องของคุณแม่จะใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 24 ลูกน้อยมีความยาวประมาณ 22 เซนติเมตร ทารกหายใจเอาน้ำคร่ำเข้าและออกจากปอด กระตุ้นระบบหายและปอดให้ทำงาน ในช่วงนี้พลังงานของร่างกายแม่ถูกใช้งานหนักเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของทารกภายในครรภ์ มีการสะสมไขมัน สร้างขนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะขนคิ้ว ขนตาและเส้นผม • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25 ปอดเป็นอวัยวะสำคัญที่มีการพัฒนาอย่างมากตลอดช่วงสัปดาห์นี้ ถุงลมในปอดกำลังพัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมให้ทารกหายใจได้เองตั้งแต่แรกเกิดค่ะ • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26 ดวงตาของทารกในครรภ์มองเห็นได้แล้วนะคะ ดวงตาเคลื่อนไหวได้มากขึ้น เมื่อคุณแม่เดินออกไปกลางแจ้งมีแสงแดดจ้า ลูกจะตอบสนองต่อการสัมผัสผ่านผนังหน้าท้องของคุณแม่ ในช่วงนี้ลูกน้อยมีขนาดตัวใหญ่เกือบเต็มรกที่ห่อหุ้มอยู่แล้วนะคะ • ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 27 เด็กในท้องจะเคลื่อนไหวบ่อยมาก ทั้งการเตะ เหยียดแขนขา ลูกน้อยยังเริ่มฝึกการหายใจแล้วด้วย หากเด็กคลอดก่อนกำหนดในช่วงสัปดาห์นี้จะหายใจได้เองแล้ว บางครั้งคุณแม่รู้สึกได้ว่าหน้าท้องขยับขึ้นลงเป็นจังหวะซึ่งอาจเป็นเพราะลูกน้อยกำลังสะอึกอยู่ก็เป็นได้ค่ะ
หากคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 สามารถติดตามอ่านข้อมูลเพื่อเตรียมตัวในไตรมาสที่ 3 รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน เรามีวิธีคำนวณอายุครรภ์อย่างถูกต้องมาฝากค่ะ
ช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ คุณแม่ยังไม่ควรตื่นเต้นมากจนเกินไป เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเอง มาดูกันค่ะว่าคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
แม่ตั้งครรภ์ที่เตรียมซื้อผ้าอ้อมเด็กไว้รอรับลูกแรกเกิดและแม่ลูกอ่อนที่มีลูกเล็ก อาจจะเคยสงสัยหรือคำนวณไม่ถูกว่าควรจะต้องซื้อผ้าอ้อมตุนไว้ให้ลูกเท่าไหร่ดี เตรียมไว้เท่าไหร่ถึงจะพอ เรามีคำแนะนำในการซื้อผ้าอ้อมเด็กมาตุนไว้สำหรับลูกมาบอกค่ะ
ช่วงนี้คุณแม่จะมีหน้าท้องใหญ่ที่ใหญ่ขึ้นมาก คุณแม่รู้สึกตลอดเวลาว่ากำลังอุ้มท้องอยู่ มีสัญญาณหลายอย่าง เรามีเคล็ดลับดีๆ มาฝากคุณแม่ค่ะ
ในระยะ 3 สัปดาห์แรกนับว่าคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างเป็นทางการแล้วนะคะ สิ่งที่เกิดขึ้นช่วงระยะตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์มีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ
การเป็น ตะคริวในช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ นั้น ถือเป็นอาการที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์เลยทีเดียวค่ะ โดยผู้หญิงส่วนใหญ่จะเป็นตะคริวเล็กน้อย เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
ในระยะตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์ ถือเป็นช่วงเวลาสุดพิเศษสำหรับคุณแม่ที่จะเห็นท้องใหญ่ชัดเจนจนสังเกตเห็นได้ว่าตั้งท้องแล้วนะคะ มาดูกันคุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
ในช่วงสัปดาห์นี้เวลาคุณแม่ส่องกระจกจะเห็นรูปร่างขยายใหญ่ขึ้น เปลี่ยนไปจากเดิมเรื่อย ๆ และดูเต็มอิ่ม โดยเฉพาะสะโพก ต้นขา มาดูกันว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
การตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 34 คุณแม่อาจจะรู้สึกอึดอัดมากขึ้น รู้สึกหายใจไม่เต็มปอด มีอาการหายใจตื้นถี่เหมือนคนที่กำลังจะจามเพราะหน้าท้องใหญ่ขึ้น มาดูคำแนะนำกันค่ะ