การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
ช่วงตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
ในช่วงสัปดาห์นี้คุณแม่อาจจะฝันแปลก ๆ เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดกับคุณแม่ระยะตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 อาจจะฝันดีฝันถึงเรื่องน่าอัศจรรย์สดใสเหมือนอยู่ในโลกแห่งจินตนาการ ในวันถัดไปอาจฝันว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่แปลกประหลาดที่สุด ไม่เหมือนกับสถานที่ไหนที่เคยพบเห็นในชีวิตประจำวันเลย คุณแม่อาจฝันถึงลูกในท้องด้วยนะคะ ไม่ต้องไปตีความว่าเป็นสัญญาณเตือนหรือฝันเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้านะคะ ความฝันเป็นเพียงกระบวนการอย่างหนึ่งของสมองเพื่อประมวลผลและขจัดข้อมูลส่วนเกินในสมองออกไป ทำให้สมองมีพื้นที่ว่างมากขึ้น รับข้อมูลใหม่ในวันถัดไปได้มากขึ้นนั่นเองค่ะ
สิ่งผิดปกติที่สามารถเกิดขึ้นกับคุณแม่ในช่วงนี้
บางครั้งคุณแม่ตื่นกลางดึกไม่ใช่สะดุ้งตื่นเพราะความฝันแต่เป็นเพราะอาการปวดขาและเป็นตะคริว คุณแม่ตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์เป็นตะคริวน่องและขาช่วงล่าง เป็นอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อที่ต้องแบกรับน้ำหนักตัวคุณแม่และลูกน้อยในท้องตลอดวัน การเป็นตะคริวในตอนกลางคืนเกิดขึ้นได้บ่อย เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงทำให้เกิดอาการปวดตึงและเป็นตะคริว ลองเหยียดขาออกมาให้สุด ใช้มือค่อย ๆ ดัดนิ้วเท้าไปข้างหน้า จับนิ้วดัดไปมาและนวดน่องเบา ๆ ยืดกล้ามเนื้อให้ผ่อนคลาย เมื่อหายปวดแล้วค่อยกลับไปนอนต่อ อาการตะคริวอาจเกิดจากการขาดแคลเซียม แมกนีเซียมหรือร่างกายขาดเกลือ ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทารกในท้องดึงไปจากตัวคุณแม่เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ถ้าไม่อยากเป็นตะคริวตอนกลางคืน คุณแม่ควรดื่มน้ำมาก ๆ และรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อก่อนนอน ช่วยให้เลือดไหลเวียนสะดวก หากยังคงเป็นตะคริวบ่อยควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาค่ะ
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์
เรามาดูความเปลี่ยนแปลงในร่างกายของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์ไปพร้อมกันเลยค่ะ • ตอนนี้หน้าท้องของคุณแม่ยื่นออกมามาก ตำแหน่งมดลูกเลื่อนขึ้นไปอยู่เหนือสะดือแล้ว หน้าท้องออกมาชัดเจนจนยากจะซ่อนหรือปกปิดจากสายตาผู้คน และอาจเกิดคำถามว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ใช่ไหม • คุณแม่รู้สึกถึงอาการชาและเหมือนมีเข็มตำปลายนิ้วหรือมือ เป็นอาการปกติของคุณแม่ในช่วงนี้เรียกว่าอาการประสาทมือชา พบบ่อยที่สุดที่ตำแหน่งนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ เกิดจากเส้นประสาทบริเวณนั้นถูกกดทับจึงมีอาการชาและเจ็บเหมือนมีเข็มทิ่ม ต้องใช้วิธีการนวดกายภาพบำบัด บางครั้งต้องเข้าเฝือกเพื่อบรรเทาอาการปวดและชา • คุณแม่อาจมีอาการปวดหัว หรือเริ่มปวดหัวในอีกสองสามสัปดาห์ข้างหน้า เป็นเพราะอิทธิพลของฮอร์โมนตั้งครรภ์ที่เพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง คุณแม่ควรดื่มน้ำมาก ๆ หรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีอากาศร้อน หากรู้สึกปวดหัว แนะนำให้นอนในห้องมืดและใช้ผ้าเย็นปิดบริเวณดวงตาช่วยบรรเทาอาการปวดได้ บางครั้งกินอาหารมื้อเบา ๆ ก็ลดปวดได้ผลกับคุณแม่บางท่านนะคะ ถ้ามีอาการปวดหัวกะทันหันและสายตาพร่ามัวด้วย แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ดีกว่าค่ะ • ช่วงนี้อาจสังเกตเห็นตกขาวเพิ่มขึ้น ในระหว่างตั้งครรภ์ปกติแล้วจะมีของเหลวสีขาวใสและไม่มีกลิ่น คุณแม่ตั้งครรภ์หลายท่านต้องใช้แผ่นอนามัยแบบบางตลอดทั้งวัน เสี่ยงที่จะติดเชื้อราในช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นหากรู้สึกคันและมีอาการแสบร้อนควรไปตรวจรักษาใช้ยาที่ปลอดภัยกับคุณแม่ตั้งครรภ์นะคะ • อาการเจ็บท้องหลอกอาจเกิดขึ้นในระยะนี้ เกิดจากมดลูกบีบหดตัวมากกว่าปกติ แต่ไม่ได้ปวดมากเหมือนตอนคลอดจริง คุณแม่อาจจะรู้สึกอาการเจ็บท้องหลอกหลังจากออกกำลังกาย มีเพศสัมพันธ์หรือยกของหนัก แต่ไม่ได้เป็นสัญญาณว่าคุณแม่จะคลอดก่อนกำหนดนะคะ
สภาวะอารมณ์ของคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์
เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 23 คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์อย่างไรบ้าง • ช่วงนี้คุณแม่เริ่มตื่นเต้นเพราะรู้สึกผูกพันกับลูกมากขึ้น รู้สึกเมื่อลูกน้อยในท้องเคลื่อนไหวและสื่อสารกับคุณแม่ได้มากขึ้น สัมผัสความรู้สึกของความเป็นแม่ได้มากขึ้น สามีเริ่มมีอาการตื่นเต้นและเอาใจใส่คุณแม่มากขึ้นเมื่อเห็นหน้าท้องใหญ่ขึ้นทุกวัน คุณแม่หลายท่านยอมรับว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการตั้งครรภ์ เราขอให้มีความสุขกับช่วงเวลานี้ให้มาก ๆ นะคะ • แต่สำหรับแม่บางท่านอาจรู้สึกกังวล หลังจากคุณแม่ตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์เมื่อสองสามสัปดาห์ก่อนแล้วตรวจพบปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้ ทำให้คุณแม่เครียด เป็นกังวลมากขึ้น โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ ควรพูดคุยปรึกษากับแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์เพื่อคลายความกังวลนะคะ
พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์
เรามาดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทารกเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 23 ไปพร้อมกันเลยค่ะ • ในขณะนี้ทารกในท้องของคุณแม่มีน้ำหนักประมาณ 500 กรัม ความยาวจากศีรษะถึงสะโพกประมาณ 20 เซนติเมตร ชั้นผิวหนังของเด็กเติบโตแบ่งเซลล์จำนวนมาก ผิวหนังดูเหี่ยวย่นเพราะมีผิวหนังมากกว่าชั้นไขมันใต้ผิวหนัง • ร่างกายของลูกน้อยเริ่มสร้างอวัยวะภายในที่สำคัญ เช่น ปอดและสารลดแรงตึงผิวเคลือบบริเวณถุงลมเล็ก ๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของปอดเมื่อทารกเริ่มหายใจด้วยตัวเอง มีหลอดเลือดฝอยบริเวณรอบ ๆ ทางเดินหายใจ • ในสัปดาห์นี้คุณแม่จะเห็นห้องหัวใจของทารกและเส้นเลือดใหญ่ที่หัวใจจากการทำอัลตราซาวด์นะคะ แม้ว่าหัวใจจะยังเล็กมาก แต่เป็นอวัยวะที่สำคัญ ระยะนี้หัวใจมีขนาดเท่ากับผลวอลนัทเท่านั้น มีการพัฒนาการของหูเต็มที่และทำงานได้ดี ลูกน้อยเริ่มได้ยินเสียงแล้วและมีอาการตอบสนองหากมีเสียงดังกะทันหัน เช่น สุนัขเห่า เสียงประตูปิด เสียงท่อรถดัง ทารกจะดิ้นให้คุณแม่รู้สึกได้เลยค่ะ ในช่วงตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์ โครงสร้างกระดูกมีความแข็งแรงมากขึ้น คุณแม่จะต้องรับประทานอาหารหรือนมที่มีแคลเซียมเสริมปริมาณให้เพียงพอทุกวันด้วยนะคะ • ในสัปดาห์นี้ลูกน้อยเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อทั้งหมดได้แล้ว สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี คุณแม่จะมีความรู้สึกว่าลูกน้อยแข็งแรงขึ้นมากเลยค่ะ
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 23 สัปดาห์
1. แม้ว่าคุณแม่จะเหนื่อยแค่ไหน พยายามทำกายบริหารยืดกล้ามเนื้อก่อนนอนทุกครั้งนะคะ เพื่อลดอาการเป็นตะคริวและทำให้หลับสบายขึ้น พยายามไม่ให้มีสิ่งกีดขวางข้างเตียงนอนเผื่อเวลาที่ต้องลุกมาปัสสาวะบ่อย ๆ ตอนกลางคืน 2. คุณแม่ควรไปตรวจสุขภาพตามนัดทุกเดือนจนกว่าจะคลอด ทำเครื่องหมายไว้ในปฏิทินและในไดอารี่เพื่อป้องกันไม่ให้พลาดนัด 3. นอกจากนั้นควรหาซื้อหนังสือสอนทำอาหารเพื่อทำเมนูโปรดที่เหมาะกับการแช่แข็ง เมื่อรู้สึกหิวก็นำมาอุ่นในไมโครเวฟรับประทานแบบง่าย ๆ ได้ทุกเวลาเลยค่ะ เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลและคำแนะนำที่เราได้นำมาฝากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 23 ในช่วงนี้คุณแม่จะตื่นกลางดึกบ่อยเพราะมีอาการตะคริวจากการที่ร่างกายขาดแคลเซียม เพื่อลดอาการเหล่านี้คุณแม่ควรดื่มน้ำให้มากและทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการตามคำแนะนำของคุณหมอ นอกจากนั้นช่วงนี้จะเป็นช่วงที่คุณแม่หลายท่านยกให้เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการตั้งครรภ์เพราะเป็นช่วงที่คุณพ่อและคุณแม่จะคอยเติมความรักความอบอุ่นให้กันและกันพร้อมกับลูกน้องในครรภ์ด้วยนะคะ คุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลสำหรับการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 24 ว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน เรามีวิธีคำนวณอายุครรภ์อย่างถูกต้องมาฝากค่ะ
ช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ คุณแม่ยังไม่ควรตื่นเต้นมากจนเกินไป เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเอง มาดูกันค่ะว่าคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 6 เดือนแล้วอาจตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำทุกเดือนตลอดช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ เรามีคำแนะนำดีๆ สำหรับคุณแม่ค่ะ
ในช่วงตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์ หลังจากไข่ผสมกับอสุจิเกิดการปฏิสนธิเข้าสู่ช่วงเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ มาดูกันค่ะว่าคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
Linea Nigra คือเส้นแนวตั้งน้ำตาลหรือสีดำที่เกิดขึ้นกลางท้องของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ ประมาณ 75% ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จะเกิดเส้นแนวตั้งบนหน้าท้อง
เมื่อยามตั้งครรภ์ แน่นอนว่าคุณแม่มักมีเรื่องที่ต้องทำมากมายและต้องรับผิดชอบหลายอย่าง จึงทำให้คุณแม่บางรายเกิดอาการเครียดระหว่างตั้งครรภ์ได้ค่ะ
แคลเซียมเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับแม่ท้องและพัฒนาการทรกในครรภ์ เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะดึงแคลเซียมจากร่างกายแม่ไปสร้างกระดูกและฟันของตัวเองด้วย ดังนั้นหากแม่ท้องไม่ทานอาหารที่มีแคลเซียมเยอะๆ ร่างกายก็จะมีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อการดูแลกระดูกและฟันของตัวเอง รวมไปถึงลูกก็จะดึงแคลเซียมไปได้น้อยมากจนส่งผลต่อพัฒนาการของเขาเช่นกัน
การเจ็บท้องคลอดลูกมักเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสเดือนสุดท้าย หรือประมาณสัปดาห์ที่ 38-40 อาการต่อไปนี่คืออาการเจ็บครรภ์คลอดในระยะที่สองที่คุณแม่ต้องเจอค่ะ