การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
ช่วงตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
เมื่อตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ การทรงตัวของคุณแม่จะเปลี่ยนไปค่ะ ช่วงนี้เลยเป็นช่วงที่ต้องพยายามระมัดระวังในการเคลื่อนไหวให้ดีเข้าไว้จะช่วยหลีกเลี่ยงอาการปวดหลังและกล้ามเนื้อตึงได้ค่ะ แต่ถ้าจำเป็นต้องยกของหนัก คุณแม่อย่าลืมงอเข่าเพื่อใช้กล้ามเนื้อต้นขาช่วยพยุงตัวนะคะ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์บางคน จะมีอาการปวดเส้นประสาทไซแอติกซึ่งจะเป็นปัญหารุนแรงขึ้นค่ะเพราะเส้นประสาทที่ว่านี้มีอยู่ตลอดแนวกระดูกสันหลังผ่านสะโพกลงไปตลอดความยาวของขาแต่ละข้าง เมื่อน้ำหนักของมดลูกและทารกกดเส้นประสาท ช่วงนี้คุณแม่อาจรู้สึกเหมือนโดนเข็มหมุดหรือเข็มเย็บผ้าทิ่มหรือปวดรุนแรงบริเวณช่วงล่างหรือขา วิธีช่วยบรรเทาอาการปวดแบบนี้ให้ลองทิ้งน้ำหนักลงไปที่ขาข้างเดียวนะคะ ส่วนเวลานอนหลับให้ใช้หมอนหลาย ๆ ใบรองรับน้ำหนักขาช่วงบนบริเวณหัวเข่า วิธีนี้จะช่วยผ่อนคลายอาการปวดเส้นประสาทไซแอติกได้ค่ะ นอกจากนั้นให้หลีกเลี่ยงการวางหมอนไว้หลังหัวเข่าหรือนอนในท่าเดิมเป็นเวลานานนะคะ เพราะจะทำให้เลือดมากองรวมกันและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด สำหรับการนั่งขอแนะนำให้คุณแม่ยกขาวางไว้กับเก้าอี้เล็ก ๆ ที่เอาไว้รองขาด้วยนะคะ นอกจากนั้นตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์เป็นต้นไป คุณแม่บางคนต้องใส่ผ้ารัดเอวสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์เพื่อรองรับน้ำหนักของท้อง แต่ยังมีชั้นในรองรับอีกหลายชนิดที่ช่วยให้คุณแม่สบายตัวขึ้นด้วยค่ะ ขอบอกเลยว่ามันเป็นเรื่องที่มีแต่คุณแม่ตั้งครรภ์กับคุณพ่อเท่านั้นที่จำเป็นต้องรู้
คุณแม่ อุ้มหนูหน่อยค่ะ!
หากคุณแม่มีลูกอีกคนอยู่ในช่วงวัยหัดเดินที่เรียกร้องให้อุ้มตลอดเวลา ควรบอกให้ลูกปีนไปบนตักจากนั้นให้โอบตัวลูกเอาไว้ค่ะเพื่อความปลอดภัยหรือหากต้องไปข้างนอกให้ใช้รถเข็นเด็กเป็นตัวช่วยแทนหรือจะให้ลูกนั่งอยู่ในรถเข็นช้อปปิ้งก็ได้นะคะ อีกวิธีถ้าต้องออกไปข้างนอกควรชวนคุณพ่อไปด้วยกันนอกจากการดูแลตัวเองเมื่อลูกขอให้อุ้มขณะตั้งครรภ์แล้ว การเล่นพิลาทิส โยคะ แอโรบิกน้ำและกายภาพบำบัดจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อของคุณแม่ได้ดีค่ะ
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์
เรามาดูความเปลี่ยนแปลงในร่างกายของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ไปพร้อมกันเลยค่ะ • เมื่อตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ จะมีช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่ทำให้คุณแม่หลายคนประหลาดใจค่ะ เช่น คุณแม่อาจจะยังไม่ดูเหมือนตั้งครรภ์แต่เสื้อผ้าที่ใส่ตามปกติจะเริ่มคับจนเกินไป จะไม่สามารถใส่เสื้อผ้าที่เคยใส่พอดีได้เพราะช่วงนี้พุงและหน้าอกเปลี่ยนแปลงเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น ช่วงนี้เรียกได้ว่าคุณแม่จะรู้สึกว่าการแต่งตัวอาจกลายเป็นเรื่องยากขึ้นมากเลยค่ะ บางคนน้ำตาแทบไหลเพราะพยายามตัดสินใจว่าจะใส่เสื้อตัวไหนดีและเสื้อตัวไหนที่เหมาะและพร้อมไปช้อปปิ้ง! แต่เชื่อเถอะค่ะว่าการบำบัดเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วยการช้อปปิ้งสามารถช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ดีมากเลยทีเดียว • ในสัปดาห์นี้ คุณแม่อาจรู้สึกกลัวเล็กน้อยและสงสัยในการตัดสินใจที่จะเป็นแม่ อาจสงสัยความสามารถของตัวเอง เริ่มตั้งคำถามว่าคู่รักพร้อมหรือไม่ ขบคิดและกังวลเรื่องการเลี้ยงดูลูกน้อยหรือแม้แต่สงสัยว่าคุณจะเลี้ยงลูกได้ไหม ความกลัวและความสงสัยเหล่านี้เป็นเรื่องปกตินะคะ ทางออกที่จะช่วยให้คุณแม่สบายใจขึ้นคือให้คุยกับใครสักคนหรือนั่งนิ่ง ๆ ให้รู้สึกผ่อนคลายทำความเข้าใจว่าความกังวลเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงตั้งครรภ์แทบทุกคน • หากคุณแม่เป็นคนใช้ชีวิตอิสระมาตลอด ช่วงเวลานี้อาจเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายเลยค่ะเพราะอาจมาถึงขั้นที่คุณแม่ต้องขอความช่วยเหลือ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าการตั้งครรภ์จะเปลี่ยนให้คุณเป็นคนที่ต้องคอยพึ่งพาคนอื่นหรือมีความสามารถน้อยลงนะคะ แต่การตั้งครรภ์เป็นประสบการณ์ร่วมระหว่างคุณแม่กับคุณพ่อที่ต้องแชร์ทุกช่วงเวลาด้วยกัน
พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์
เรามาดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทารกเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 17 ไปพร้อมกันเลยค่ะ • ช่วงนี้เจ้าตัวน้อยจะเติบโตเร็วมากค่ะ น้ำหนักของทารกเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าและจากศีรษะถึงส่วนล่างสุดมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร • ในช่วงนี้เจ้าตัวน้อยยังผอมมากค่ะ ผิวหนังจะแผ่ตรึงอยู่ทั่วร่างกายน้อย ๆ ของเขา หลอดเลือดซึ่งคอยลำเลียงเลือดที่ประกอบไปด้วยออกซิเจนไป จะทำให้มองเห็นได้ผ่านทางผิวหนังโปร่งแสง ช่วงนี้ถ้าวัดอัตราการเต้นของหัวใจของคุณแม่ (ง่าย ๆ เพียงแค่กำหนดความรู้สึกไปที่ข้อมือด้านในฝั่งเดียวกับนิ้วหัวแม่มือ) และนำอัตรานั้นไปคูณสอง คุณแม่ก็พอจะทราบค่ะว่าเจ้าตัวน้อยในครรภ์มีอัตราการเต้นของหัวใจเท่าไหร่ • เจ้าตัวน้อยมีขาแล้วนะคะในช่วงสัปดาห์ที่ 17 ซึ่งเกือบจะไม่สมส่วนเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย แต่ขาเหล่านี้จะยาวกว่าแขนและงอบริเวณหัวเข่าและข้อเท้า ช่วงนี้แคลเซียมจะเริ่มสะสมตัวอยู่ในกระดูก ดังนั้นให้คุณแม่ทานอาหารประเภทนมเป็นประจำค่ะ • ในขั้นนี้เมื่อทำอัลตราซาวด์ จะเห็นได้ชัดค่ะว่าเจ้าตัวน้อยในครรภ์เป็นเพศอะไร หากเป็นเด็กผู้หญิงรังไข่ของเขาจะประกอบไปด้วยไข่ทุกใบที่ทารกจะมีตลอดชีวิตคือ ประมาณ 3 ล้านใบ หากเป็นเด็กผู้ชายแขนขาจะยังอยู่ในตำแหน่งเหนือท้องของทารก หัวนมขนาดเล็ก ๆ จะเริ่มมองเห็นได้ตรงบริเวณผนังหน้าอกของเขาค่ะ • ฟันหลัก ฟันทารกหรือฟันน้ำนมจะเริ่มก่อตัวขึ้นในเหงือกและทำหน้าที่สำคัญต่อพัฒนาการ ของช่องปากของเจ้าตัวน้อย ช่วงนี้ฟลูออไรด์ที่คุณแม่ได้รับจากการดื่มน้ำจะ ช่วยสร้างเคลือบฟันที่แข็งแรงบนฟันเหล่านี้รวมไปถึงฟันแท้ได้ค่ะ • เจ้าตัวน้อยในครรภ์สามารถหาว ยืดตัวและทำหน้าบูดบึ้งได้นะคะ แต่เขาจะยังหลับเป็นเวลานานและจะมีช่วงเวลาที่ต้องการขยับตัวและบริหารกล้ามเนื้อค่ะ • ในช่วงนี้ เจ้าตัวน้อยในครรภ์เริ่มมีลายนิ้วมือแล้ว ซึ่งจะเป็นสิ่งหนึ่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแยกความแตกต่างระหว่างเจ้าตัวน้อยของคุณแม่ออกจากคนอื่น ๆ ได้อย่างแท้จริงค่ะ
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์
1. ในช่วงนี้คุณแม่พยายามอย่าลุกขึ้นเร็วเกินไปนะคะเพราะหากคุณแม่นั่งมาพักหนึ่งการทิ้งตัวลงนาน ๆ ความดันโลหิตจะลดลงโดยอัตโนมัติและการลุกขึ้นในทันทีอาจทำให้เป็นลมหน้ามืดได้ เพื่อความปลอดภัยขอแนะนำให้เปลี่ยนอิริยาบถเป็นท่ายืนให้ช้าลงเพื่อให้ร่างกายมีเวลาได้ปรับตัว 2. หากสวมแว่น ให้คุณแม่เข้ารับการตรวจสายตากับผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดสายตา เพราะอาจต้องใช้เลนส์ใหม่ นอกจากนั้นหากปกติใส่คอนแทคเลนส์คุณแม่อาจไม่สามารถใช้คอนแทคเลนส์อันเดิมได้ แต่คุณแม่สบายใจได้นะคะเพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับดวงตาเป็นเรื่องปกติในช่วงที่ตั้งครรภ์ อาการดังกล่าวจะหายไปเองเมื่อเจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลกค่ะ 3. คุณแม่ควรใส่ใจต่อสุขอนามัย หากเป็นผื่นบริเวณต่างๆ ในขาหนีบ ใต้หน้าอก ในรักแร้ เป็นผดผื่นที่ได้รับผลกระทบจากความร้อนและผิวหนังที่ถูกันให้คุณแม่อาบน้ำให้บ่อยเท่าที่จำเป็นและเปลี่ยนชุดชั้นในบ่อย ๆ นะคะ ส่วนการใส่เสื้อผ้าควรเป็นเสื้อผ้าฝ้ายเพื่อช่วยระบายอากาศและเพื่อให้ผิวกักเก็บน้ำได้ดียิ่งขึ้นค่ะ 4. ตอนนอนให้คุณแม่พยายามนึกถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในท้อง อาจรู้สึกได้ถึงการที่ลูกน้อยในครรภ์ขยับตัวไปมาอย่างรวดเร็วเป็นครั้งแรก แต่หากไม่รู้สึกอะไรในช่วงนี้ก็ไม่ต้องกังวลนะคะ เพราะช่วงสัปดาห์ที่ 18 เป็นช่วงที่ทารกขยับตัวไปมาอย่างรวดเร็วบ่อยที่สุด เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลและคำแนะนำที่เราได้นำมาฝากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 17 ในช่วงนี้คุณแม่ต้องระมัดระวังเรื่องการขยับตัวหรือยกของที่มีน้ำหนักมาก ควรใส่ผ้ารัดเอวสำหรับคนท้องและคุณพ่อต้องคอยช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด ระยะนี้ลูกน้อยจะเกิดการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว คุณแม่อาจทำอัลตราซาวด์เพื่อจะได้เห็นลูกรักในครรภ์เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงได้นะคะ คุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลสำหรับการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 18 ว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะรกสามารถกรองแอลกอฮอล์ที่ส่งผ่านไปสู่ตัวทารกไม่ได้ทั้งหมดค่ะ
เมื่อเริ่มรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่มักจะมีหลายอารมณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความรู้สึกตอบสนองเมื่อรู้ตัวว่าตั้งท้องจะแตกต่างกันไป เรามีคำแนะนำดีๆ ค่ะ
ปัญหาท้องผูกในระหว่างตั้งครรภ์ นับเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์เลยนะคะ แต่กลับกลายเป็นว่าไม่ค่อยมีใครกล้าพูดเรื่องนี้ เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 13 สัปดาห์ ถือว่าผ่านพ้นช่วงสุดท้ายของไตรมาสแรกไปอย่างรวดเร็ว อาการแพ้ท้องที่เคยเป็นหนักในระยะแรกเริ่มดีขึ้น เรามีคำแนะนำดีๆ ค่ะ
ความเครียดของแม่ท้องเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความกลัวและความกังวลในช่วงตั้งครรภ์ ความไม่สบายตัว ความปวดเมื่อยร่างกาย อาการเจ็บป่วยต่างๆ ช่วงตั้งครรภ์ แรงกดดันจากคนรอบข้าง รวมถึงความเครียดจากการกลัวการคลอดด้วย ซึ่งความเครียดเหล่านี้ส่งผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์โดยตรง เพราะลูกในท้องจะสัมผัสอารมณ์ของแม่ได้และแสดงอาการออกมาหลายแบบ เช่น ถ้าแม่เครียดมาก นอนไม่หลับ ลูกในท้องก็อาจจะไม่ดิ้น ไม่ขยับตัวเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเช่นกัน ดังนั้นหากแม่ท้องไม่มีความเครียดทารกในครรภ์ก็จะไม่เครียด รู้สึกผ่อนคลายสบายตัว เขาจะอยากขยับตัวเคลื่อนไหวเหมือนกำลังว่ายน้ำในท้องแม่อย่างสบายใจ ดังนั้นหากแม่ท้องมีความเครียดจะต้องรีบกำจัดด้วย 5 วิธีต่อไปนี้ค่ะ
การตั้งครรภ์นับเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น ซึ่งคุณแม่แต่ละท่านมักมีประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน คุณแม่บางท่านมีประสบการณ์ที่ดี และไม่ดีมาดูกันค่ะมีอะไรบ้าง
อาหารที่คุณแม่แม่รับประทานตอนท้องมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ รวมถึงการเคลื่อนไหวและโต้ตอบของลูกน้อยในครรภ์ด้วยค่ะ
พัฒนาการของทารกในครรภ์ไม่ว่าจะเป็นด้านสมอง ร่างกาย จะได้รับการพัฒนาเมื่อคุณแม่ได้กระตุ้น การกระตุ้นสมองของลูกให้โตไวอีกหนึ่งวิธีที่คุณแม่สามารถทำได้โดยการอ่านหนังสือให้ทารกในครรภ์ฟัง นอกจากลูกจะได้พัฒนาการที่ดีจากการอ่านหนังสือของคุณแม่แล้ว การที่>ทารกในครรภ์ได้ยินเสียงคุณแม่จะทำให้ลูกรู้สึกคุ้นชินเสียงของคุณแม่ตั้งแต่ในครรภ์ ได้รับความรู้สึกของความรักผ่านเส้นเสียงและความรู้สึกระหว่างที่คุณแม่กำลังนั่งอ่านหนังสือ ลูกที่คุ้นเคยกับเสียงและความอ่อนโยนของแม่จะเป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย ไม่โยเย ยิ่งหากคุณแม่เป็นนักเล่าเรื่องที่ใช้เสียงสูงต่ำเหมือนการเล่านิทานให้เด็กๆ ฟัง และใช้มือลูบท้องไปด้วย หรือใช้นิ้วไต่เล่นไปบนท้อง ยิ่งเหมือนเป็นการเล่นกับลูกในท้องให้เขาตื่นตัว มีการเคลื่อนไหวตอบสนองกับเสียงและการเล่นบนท้องของแม่ไปในตัวค่ะ
การเป็น ตะคริวในช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ นั้น ถือเป็นอาการที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์เลยทีเดียวค่ะ โดยผู้หญิงส่วนใหญ่จะเป็นตะคริวเล็กน้อย เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090