การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นปัญหาสุขภาพที่จัดกลุ่มแยกออกมาจากเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 โดยจะเกิดขึ้นระหว่างคุณแม่ตั้งครรภ์เท่านั้น หลังคลอดก็จะหายจากเบาหวานค่ะ คุณแม่เคยที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์มาก่อนมีโอกาสเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากขึ้น ผู้หญิงราว 5% เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในจำนวนนั้น 10-15% แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 หมายถึงร่างกายสร้างอินซูลินไม่เพียงพอหรือการตอบสนองต่ออินซูลินไม่ดีพอ หลังจากเด็กคลอดแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดของแม่จะกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติค่ะ
โรคเบาหวานเกิดจากร่างกายคนเราผลิตฮอร์โมนอินซูลินน้อยกว่าปกติ หรืออินซูลินทำงานไม่มีประสิทธิภาพทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ร่างกายต้องการอินซูลินเพื่อให้กลูโคสในกระแสเลือดเคลื่อนย้ายไปเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกายและใช้เป็นพลังงาน เมื่อเป็นโรคเบาหวาน มีระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไปอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ค่ะ
ในระหว่างตั้งครรภ์ รกทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนออกมาในช่วงตั้งครรภ์เพื่อให้เด็กทารกเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ แต่ฮอร์โมนการตั้งครรภ์อาจมีฤทธิ์ต้านต่อทำให้ประสิทธิภาพของอินซูลินลดลง ในภาวะปกติฮอร์โมนอินซูลินของแม่และระดับน้ำตาลในเลือดจะคงที่ ไม่สูงหรือต่ำมากเกินไป แต่คุณแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ระดับน้ำตาลในเลือดจะพุ่งสูงมาก จึงต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดลงหรือฉีดอินซูลินเข้าไป หรือต้องใช้ทั้ง 2 วิธีรวมกัน
-ผู้หญิงตั้งท้องที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป -มีประวัติความเสี่ยงตามเชื้อชาติและพันธุกรรม เช่น ออสเตรเลีย, เอเชีย, ฟิลิปปินส์, อินเดีย, จีน, ตะวันออกกลาง หรือเวียดนาม -ผู้หญิงที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 แล้ว สถิติการวิจัยพบว่าผู้หญิงที่ประวัติครอบครัวมีคนเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 รวมถึงผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ การมีค่าดัชนีมวลกายสูง หมายถึงปริมาณไขมันในร่างกายมากเป็นตัวบ่งชี้หนึ่งว่ามีโอกาสเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มากขึ้น
ในระยะ ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 10 เป็นช่วงเวลาที่ฮอร์โมนการตั้งครรภ์เริ่มส่งผลกระทบต่อการผลิตอินซูลินนะคะ คุณแม่ควรตรวจคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ซึ่งเป็นการทดสอบพิเศษสำหรับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะมีประวัติเป็นเบาหวานมาก่อนหรือไม่เคยเป็นก็ตาม แนะนำให้ตรวจในช่วงอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ แต่เป็นไปได้ว่าแพทย์อาจวินิจฉัยก่อนหรือหลังจากช่วงเวลานี้ การตรวจพบเบาหวานอย่างรวดเร็วจะได้รับมืออย่างเหมาะสมต่อไป เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ร่างกายของคุณแม่ต้องการน้ำตาลเพื่อเป็นแหล่งพลังงาน ถ้าฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอหรือทำงานได้ไม่ดีพอ จะส่งผลต่อสุขภาพทั้งแม่และเด็กด้วยค่ะ
โดยปกติสูตินรีแพทย์หรือผดุงครรภ์จะสั่งตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในช่วงตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 26-28 โดยใช้วิธีเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลกลูโคส (GCT) ถ้าผลออกมาผิดปกติจะตรวจเพิ่มเติมโดยรับประทานน้ำตาลกลูโคสเพิ่มและเจาะเลือดตรวจซ้ำอีกครั้ง (OGTT) หลังจากตรวจครั้งแรกผ่านไป 1-2 ชั่วโมง เพื่อดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดเป็นอย่างไร ร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินอย่างไร เพื่อที่จะยืนยันว่าเป็นเบาหวานจริง อีกวิธีคือการทดสอบวัดระดับกลูโคสในปัสสาวะของคนท้อง การวัดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดจะมีหน่วยเป็นมิลลิโมลต่อลิตร ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ (BSL) อยู่ระหว่าง 4-6 มิลลิโมลต่อลิตร หลังจากงดน้ำงดอาหารก่อนตรวจประมาณ 2 ชั่วโมง และรับประทานอาหารแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ค่าเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 4-7 มิลลิโมลต่อลิตร ตัวเลขนี้ถือเป็นเกณฑ์ปกติ แต่ระดับกลูโคสในเลือดของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันได้
คนท้องอาจไม่รู้ตัวเองเป็นเบาหวาน เว้นแต่จะตรวจคัดกรองจากปัสสาวะหรือเจาะเลือดวัดจึงจะบอกได้ชัดเจนว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ บางคนอาจมีอาการคล้ายกับคนเป็นเบาหวานประเภท 1 หรือ 2 ดังนี้ • กระหายน้ำมาก ต้องตื่นขึ้นมาดื่มน้ำตอนกลางคืน • ปัสสาวะปริมาณมากผิดปกติ แม้ว่าโดยปกติคนท้องมักจะ ปวดปัสสาวะบ่อยระหว่างตั้งครรภ์ แต่ก็เป็นสัญญาณเตือนของเบาหวานได้เหมือนกัน • ติดเชื้อราในช่องคลอด ทำให้มีตกขาวได้ง่าย ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ครีมหรือยาเหน็บช่วย • เป็นแผลแล้วหายช้า เนื่องจากว่าระดับน้ำตาลสูงทำให้ติดเชื้อได้ง่าย • น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย
หากเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี มีการตรวจอย่างสม่ำเสมอ จะถือว่าไม่เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายทั้งต่อตัวแม่และทารก จะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ และเพิ่มอินซูลินตามความจำเป็น ขึ้นอยู่กับแต่ละคน อาจต้องใช้เวลาปรับขนาดให้เหมาะสมในแต่ละวัน จะต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิดและเข้มงวดตลอดการตั้งครรภ์ แม้แต่ในระหว่างคลอดที่ใช้เวลานานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ถ้าคุณแม่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
ถ้าคุณแม่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ลูกในท้องก็มีแนวโน้มตัวใหญ่ด้วยค่ะ เนื่องจากปริมาณกลูโคสที่ส่งผ่านทางรกเข้าสู่กระแสเลือดของทารก ทำให้ผลิตฮอร์โมนอินซูลินมากขึ้นสะสมเป็นไขมันในตัวเด็กมากกว่าปกติ เด็กที่เกิดจากแม่ที่เป็นเบาหวานมักจะมีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัมตั้งแต่แรกคลอด ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา แพทย์จึงต้องเฝ้าติดตามผลน้ำตาลในเลือดและสังเกตสุขภาพของทารก แม้ว่าลูกจะไม่ได้เป็นเบาหวานโดยตรงค่ะ
อาจสังเกตเห็นว่าทารกมีปัญหาน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดของแม่สูงกว่าปกติก่อนที่ทารกจะเกิด แม้ว่าคุณแม่จะเป็นเบาหวานง แต่ลูกน้อยไม่ได้เป็นเบาหวานไปด้วยนะคะ ป้อนนมตามปกติและบ่อยครั้ง ไม่มีผลเสียและระดับน้ำตาลในเลือดยังมีแนวโน้มคงที่ ปัญหาจะเกิดเฉพาะกับทารกที่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในช่วง 4-6 ชั่วโมงแรกหลังคลอด แพทย์จึงต้องทดสอบระดับน้ำตาลของทารกบ่อย ๆ ตั้งแต่แรกคลอดและตรวจอย่างสม่ำเสมอตลอด 24 ชั่วโมงแรก
คุณแม่ต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเองโดยใช้เครื่องมือตรวจเลือดพิเศษที่เรียกว่ากลูโคมิเตอร์ ซื้อจากโรงพยาบาลและร้านขายยาขนาดใหญ่ ในระยะแรกของการรักษาให้บันทึกผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแล้วนำไปให้แพทย์ทำการวินิจฉัยตามกำหนดนัดหมายและปรับขนาดอินซูลินให้เหมาะสมต่อไป
นักโภชนาการจะแนะนำเรื่องการบริโภคอาหารที่เหมาะสม สิ่งที่รับประทานได้ อะไรที่ต้องหลีกเลี่ยง แนวทางการรับประทานที่แนะนำโดยทั่วไป มีดังนี้ • กินสามมื้อต่อวัน รวมถึงรับประทานอาหารว่างก่อนนอน • คุณแม่อาจต้องดื่มน้ำชาตอนเช้าและบ่าย • รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำและมีเส้นใยสูง • ต้องแน่ใจว่าได้รับแคลเซียมและธาตุเหล็กเพียงพอ • คำนวณปริมาณน้ำตาลที่ควรรับประทาน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานซึ่งจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง • ลองรับประทานอาหารหลายประเภท ทำให้ไม่รู้สึกเบื่ออาหาร
วิธีช่วยลดเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ได้ดี คือพยายามออกกำลังกายมากขึ้น ช่วยให้คุณแม่ควบคุมระดับน้ำตาลดีขึ้น รวมถึงควบคุมน้ำหนักและมีสุขภาพโดยรวมดีขึ้นด้วย การฉีดฮอร์โมนอินซูลิน จำเป็นต่อเมื่อการควบคุมอาหารและออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อินซูลินที่ฉีดไม่สามารถผ่านรกไปสู่ทารก มีผลเฉพาะต่อตัวแม่เท่านั้น จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์ที่กำลังเจริญเติบโต
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และกำลังสงสัยว่ามีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน สามารถติดตามอ่านข้อมูลเกี่ยวข้องได้ที่บทความ อาหารคนท้อง และ การลดน้ำหนักหลังตั้งครรภ์ รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะรกสามารถกรองแอลกอฮอล์ที่ส่งผ่านไปสู่ตัวทารกไม่ได้ทั้งหมดค่ะ
เมื่อเริ่มรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่มักจะมีหลายอารมณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความรู้สึกตอบสนองเมื่อรู้ตัวว่าตั้งท้องจะแตกต่างกันไป เรามีคำแนะนำดีๆ ค่ะ
เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ โภชนาการที่ดี เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่เพราะอาหารคนท้องที่ดีจะทำให้ร่างกายคุณแม่แข็งแรง และยังช่วยบำรุงลูกน้อยในครรภ์อีกด้วยค่ะ
ยินดีด้วยค่ะคุณแม่กับการตั้งครรภ์มาได้ยาวนานถึง 40 สัปดาห์แม้ว่าคุณแม่อาจจะเคยคิดว่าน่าจะได้คลอดลูกก่อนที่จะอายุครรภ์ถึง 40 สัปดาห์ คุณแม่เตรียมตัวอย่างไรบ้างมาดูกันค่ะ
คุณพ่อคุณแม่ทุกคนคงเคยเห็นตารางพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยที่แปะไว้ในห้องคุณหมอเด็กกันแล้วใช่ไหมคะ ถ้าอยากช่วยให้กล้ามเนื้อของลูกน้อยมีพัฒนาการสมวัย ลองทำกิจกรรมเหล่านี้ดูค่ะ
ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ อาการท้องเสียจะเกิดขึ้นได้บ่อยเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องอาหารการกินและการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
ในช่วงสัปดาห์นี้คุณแม่อาจจะฝันแปลก ๆ เป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดกับคุณแม่ระยะตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 มาดูกันค่ะว่าคุณแม่และทารกในครรภ์เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
เมื่อตั้งครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ หรือสัปดาห์แรกของไตรมาสที่ 3 ซึ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายแล้วแม้ท้องโตขึ้นมากแต่ไม่ถึงกับอุ้ยอ้าย มาดูการเปลี่ยนแปลงของคุณแม่กันค่ะ
วิตามินบำรุงและอาหารเสริมที่จำเป็นช่วยเพิ่มสมดุลทางโภชนาการให้คุณแม่และลูกน้อยตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ เรามีเคล็ดลับดีๆ มาฝากคุณแม่ค่ะ
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090