การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
ผงชูรสหรือโมโนโซเดียมกลูตาเมต (MSG) เป็นที่นิยมใส่อาหารให้รสชาติดีขึ้น ผงชูรสอันตรายหรือไม่ เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานานหลายสิบปีเลยนะคะ หลายคนอ้างว่าเกิดปฏิกิริยาไม่ดีหลังรับประทานอาหารที่ใส่ผงชูรสปริมาณมาก นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 มีการศึกษาวิจัยเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคหลายร้อยกรณี ซึ่งผลเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าผงชูรสไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ปัจจุบันผลการศึกษานี้ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ยอมรับเป็นเอกฉันท์แล้วค่ะ
ผงชูรสเป็นเกลือชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เรียกว่ากลูตาเมต มีลักษณะเป็นผลึกใสดูคล้ายกับน้ำตาลทรายสีขาวบริสุทธิ์ กลูตาเมตเพิ่มรสชาติกลมกล่อมในอาหารและซอส
หากคุณผู้หญิงกังวลว่าอาหารที่ใส่ผลชูรสจะเกิดโทษต่อร่างกายคุณแม่และทารกในระหว่างตั้งครรภ์ ลองสังเกตร่างกายของคุณเองนะคะว่ากินผงชูรสแล้วส่งผลอย่างไร เป็นทางที่ดีที่สุดที่จะพิสูจน์ว่าคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงผงชูรสระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่ค่ะ
โทษของการรับประทานผงชูรสระหว่างตั้งครรภ์ แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนคำร้องว่าผงชูรสทำเกิดอาการเจ็บป่วย แต่หลายคนที่มีอาการแพ้ง่าย รวมถึงหญิงมีครรภ์ อาจเกิดอาการแพ้ได้ ผู้ที่แพ้ผงชูรสจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว เวียนหัว นอนไม่หลับ ชีพจรเต้นเร็ว คอแห้งกระหายน้ำผิดปกติ นอนหลับฝันร้ายฝันผวา แม้ว่าก่อนตั้งครรภ์จะไม่มีอาการแพ้ผงชูรสมาก่อน แต่มีโอกาสเกิดอาการแพ้ระหว่างตั้งครรภ์ หลีกเลี่ยงได้ก็ควรงดเว้นอาหารที่ใส่ผงชูรสเติมแต่รสชาตินะคะ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่และลูกน้อยค่ะ
ทางเลือกปลอดภัยที่สุด ผงชูรสไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคถ้าใส่ปริมาณพอเหมาะ และผงชูรสไม่ใช่สารห้ามใช้ในอาหารไม่ว่าประเทศใดในโลกในกรณีที่คุณไม่แพ้ผงชูรสและไม่ได้ตั้งครรภ์ ทั้งนี้ไม่มีความจำเป็นจะต้องงดผงชูรสตั้งแต่เวลานี้ เว้นแต่คุณแม่เกิดอาการแพ้อย่างใดอย่างหนึ่งจึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงนะคะ หากยังกังวลเรื่องผงชูรสที่อยู่ในอาหารแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพค่ะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่คุณแม่ซื้ออาหารที่ปรุงสำเร็จนอกบ้าน หากมีความกังวลสงสัยก็ควรถามแม่ค้าเลยค่ะว่าใส่ผงชูรสหรือไม่ เพราะผงชูรสเป็นสารเติมแต่งที่ใช้ในอาหารได้ทุกวัน ซึ่งแม่ค้าโดยมากก็ทำอาหารแต่งเติมด้วยผงชูรสเป็นประจำอยู่แล้ว
นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมหลายชนิดในอาหารทั่วไปที่มีข้อกังขาว่ามีผงชูรสผสมอยู่หรือสารเติมแต่งที่คล้ายกัน เช่น โปรตีนไฮโดรไลเสตจากถั่วเหลือง, ผัก, ข้าวโพด, ยีสต์, หรือสารสกัดจากโปรตีน และยีสต์ออโตไลเสต โปรดระมัดระวังผลิตภัณฑ์อาหารที่ติดฉลาก “ไม่ใส่ผงชูรส” อาหารบางอย่างอาจมีส่วนผสมข้างต้นที่จะต้องระมัดระวังเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีอาการแพ้ผงชูรสอยู่ด้วย
ผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิดมีผงชูรสเป็นส่วนประกอบปริมาณสูง ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแต่งกลิ่น ซุปกระป๋องและแบบซอง, ข้าวอบกรอบปรุงรส, มันฝรั่งทอดและข้าวโพดทอดปรุงรส, สเปรดชีสบางยี่ห้อ, ซอสหอยนางรม และซีอิ๊ว ล้วนใส่ผงชูรสทั้งนั้น
นอกจากนี้ยังมีกลูตาเมตรูปแบบอื่น ๆ ที่มีอยู่ในอาหารตามธรรมชาติ รวมถึงอาหารสดหลายชนิด เช่น เนื้อ, ปลา, ผลิตภัณฑ์นม, ผักและผลไม้ การบริโภคกลูตาเมตรูปแบบนี้ปรุงรสอร่อยกลมกล่อมและแทบไม่มีความเสี่ยงใดๆต่อสุขภาพหากได้รับไม่เกินปริมาณที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดต่อวันนะคะ
ข้อมูลเกี่ยวกับผงชูรส ผงชูรสประกอบไปด้วยเกลือโซเดียมปริมาณสูง กระทรวงสาธารณสุขแนะนำว่าในแต่ละวันเราควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2.4 กรัมค่ะ เพราะโซเดียมส่งผลโดยตรงต่อโรคความดันโลหิตสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในสมองแตก ส่วนกลูตาเมตเป็นรูปแบบเกลือทางเคมี แม้จะเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสร้างเองได้ แต่ถ้ารับประทานกลูตาเมตในรูปแบบผงชูรสอาจมีผลกระทบรุนแรงกว่า มีผลกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้นอนไม่หลับ และหากคุณแม่หรือคนในครอบครัวมีอาการแพ้ผงชูรสร่วมด้วย อาจทำเกิดอาการผิดปกติได้มากกว่านั้น เช่น ตาบวม หน้าบวม ปากบวม ลิ้นชา หรือหลอดลมบวม หอบ แน่นหน้าอก และทางที่ดีที่สุดคุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีผงชูรสในช่วงระยะนี้นะคะ
เมนูอาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่อยากกินและเสี่ยงอันตรายจากผงชูรส มีดังนี้ – แหนม หญิงตั้งครรภ์มีอาการแพ้ท้อง อาเจียน อยากกินแหนมรสชาติเปรี้ยว ๆ เผ็ด ๆ คุณแม่ที่ตั้งท้องต้องระมัดระวังไม่รับประทานมากเกินไป ไม่ควรกินแหนมดิบเพราะเสี่ยงติดเชื้อในทางเดินอาหาร – อาหารกระป๋อง ปลากระป๋องถือว่าเป็นอีกเมนูหนึ่งที่ผู้หญิงท้องอาจอยากรับประทานมากขึ้น ซึ่งจะมีรสชาติที่กลมกล่อม เนื่องจากมีการใส่ผงชูรสลงไป จึงไม่ควรรับประทานบ่อย – ส้มตำ หญิงมีครรภ์บางรายอยากกินส้มตำ โดยเฉพาะส้มตำใส่ปูม้าสด ปูเค็ม เสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ คนท้องต้องระมัดระวังความสะอาดและบอกแม่ค้าว่าไม่ใส่ผงชูรสด้วยนะคะ
ปริมาณผงชูรสที่เหมาะสมคือน้ำหนัก 50 กิโลกรัมต่อผงชูรส 2 ช้อนชาหรือน้อยกว่าต่อวัน การรับประทานอาหารปรุงสำเร็จนอกบ้านจึงมีโอกาสได้รับผงชูรสมากเกินไปเช่นเดียวกันค่ะ หากเป็นไปได้คุณแม่ควรทำอาหารรับประทานเอง หรือบอกแม่ค้าว่าไม่ใส่ผงชูรสค่ะ
ผงชูรสแท้ทำมาจากมันสำปะหลังและกากน้ำตาล รวมถึงใช้สารเคมีหลายชนิดทำปฏิกิริยา เช่น ยูเรีย, กรดเกลือ, กรดกำมะถัน และโซดาไฟ ในการผลิตผงชูรสที่มีลักษณะเป็นผลึกใสคล้ายน้ำตาล รายการการศึกษาพบว่าการรับประทานผงชูรสมากเกินไปทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง ระหว่างคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่ภูมิต้านทานอ่อนแอเพราะร่างกายใช้พลังงานมาก สารอาหารถูกดูดซึมไปเลี้ยงดูลูกในท้อง ถ้าเป็นไปได้คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่ผงชูรสในระหว่างตั้งครรภ์จะดีที่สุดนะคะ
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หรือกำลังวางแผนมีลูก สามารถติดตามอ่านข้อมูลเกี่ยวกับ อาหารคนท้องรวมถึงหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะรกสามารถกรองแอลกอฮอล์ที่ส่งผ่านไปสู่ตัวทารกไม่ได้ทั้งหมดค่ะ
เมื่อเริ่มรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่มักจะมีหลายอารมณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความรู้สึกตอบสนองเมื่อรู้ตัวว่าตั้งท้องจะแตกต่างกันไป เรามีคำแนะนำดีๆ ค่ะ
อาการปวดหลัง ถือเป็นเรื่องปกติอย่างยิ่งของคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยการปวดหลังบริเวณช่วงล่าง แน่นอนว่านอกจากจะส่งผลกระทบด้านจิตใจคุณแม่แล้วยังกระทบด้านอื่นๆ
ปัญหาท้องผูกในระหว่างตั้งครรภ์ นับเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์เลยนะคะ แต่กลับกลายเป็นว่าไม่ค่อยมีใครกล้าพูดเรื่องนี้ เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
การตรวจอัลตร้าซาวด์ภาพ 2 มิติเป็นมาตรฐานในการตรวจหญิงตั้งครรภ์เพื่อประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของแม่และทารก เรามีข้อมูลดีๆ มาฝากกันค่ะ
ทุกวันนี้ยังมีความคิดที่ขัดแย้งกันอยู่ว่า การเปิดเพลงหรือไม่เปิดเพลงจะมีผลต่อภาวะความฉลาดของเด็กในท้องหรือไม่ เรามีบทความดีๆ มาฝากค่ะ
พัฒนาการทารกในครรภ์จะดีได้ไม่ใช่แค่แม่ต้องกินอาหารดี ออกกำลังกายดี สภาพแวดล้อมดี และพักผ่อนดีเท่านั้นนะคะ คุณแม่ยังสามารถส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ได้ด้วยการพูดคุยกับลูกในท้อง ซึ่งการคุยกับลูกในท้องก็ไม่ใช่เรื่องยากหรือแปลกเลยสักนิด ลองทำตามวิธีที่เราแนะนำดูค่ะ
ในระยะ 3 สัปดาห์แรกนับว่าคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างเป็นทางการแล้วนะคะ สิ่งที่เกิดขึ้นช่วงระยะตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์มีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ
การเล่นโยคะถือเป็นวิธีออกกำลังกายที่ดีมากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์เพราะโยคะไม่เพียงเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อคุณแม่เท่านั้น แต่ยังจะช่วยให้จิตใจสงบ
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090