การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
เพราะปลาเป็นเนื้อสัตว์ชนิดแรกๆที่คุณแม่ตั้งครรภ์มักจะอยากรับประทานเป็นพิเศษ เพราะเป็นอาหารที่มีคุณค่า ย่อยง่าย ได้ประโยชน์มากมายโดยเฉพาะ กรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งดีต่อสุขภาพแม่และเด็ก หากแต่ปลาบางชนิดก็อาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้เช่นกันนะคะ เรามาดูกันค่ะว่ามีปลาชนิดไหนบ้าง
ปลาที่มีอันตรายต่อสตรีมีครรภ์ อาหารทะเลทุกประเภทเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ดี ให้แร่ธาตุกลุ่มโปรตีน ธาตุเหล็ก และสังกะสี ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและเสริมสร้าง พัฒนาการของทารกในครรภ์ ค่ะ อย่างไรก็ตาม ปลาบางชนิดมีความเสี่ยงที่จะกินในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะวัดพบปรอทในระดับสูง ซึ่งมีผลกระทบต่อพัฒนาการของระบบประสาทและสมองของทารก ควรหลีกเลี่ยงปลาบางสายพันธุ์ที่ระดับสูงในห่วงโซ่อาหาร ทำให้ได้รับสารปรอทสะสมจากปลาเล็กจำนวนมากที่กินเข้าไป เช่น ฉลาม ปลามาร์ลิน ปลาหัวเมือก ปลาฉนาก ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารทะเลที่ไม่ได้ผ่านการปรุงสุก เพราะอาหารทะเลดิบอาจมีแบคทีเรียหรือไวรัสที่อันตราย ส่งผลร้ายต่อเด็กในท้องคุณแม่ เมนูอาหารที่ต้องหลีกเลี่ยงคือซูชิ ซาชิมิ หรือหอยนางรมดิบ เป็นต้น การปรุงอาหารทะเลให้สุกทั่วถึงหมายถึงเนื้อปลาผ่านการปรุงด้วยความร้อนอุณหภูมิ 63 องศาเซลเซียสขึ้นไป และสังเกตจากสีว่าจะต้องเป็นสีทึบไม่ใช่เนื้อปลาใสที่แสดงว่ายังไม่สุกดี การรับประทานหอยควรทำให้สุก ซึ่งเนื้อจะมีสีขาวขุ่น ถ้าเป็นหอยสองฝาอย่างหอยแมลงภู่และหอยนางรมต้องปรุงจนกว่าฝาหอยจะเปิดออกแสดงว่าได้รับความร้อนอย่างทั่วถึง ถ้าฝาหอยไม่เปิดด้วยความร้อนก็ไม่ควรรับประทานนะคะ
ปลาชนิดใดเหมาะกับสตรีมีครรภ์ แนะนำให้รับประทานปลาที่อุดมไปด้วย กรดไขมันโอเมก้า 3 โดยเฉพาะ ได้แก่ ปลาทูกระป๋องหรือสด, แซลมอน, ปลาเทราท์, ปลากระพง, ปลาอินทรีย์, ปลากระบอก, ปลาเฮร์ริ่ง, ปลาพิลชาร์ด, ปลาแอนโชวี่, ปลาซาร์ดีน, ปลาทูน่าปรุงสดระดับปรอทต่ำ หากคุณแม่ไม่ได้เป็นแฟนอาหารทะเลตัวยง ลองรับประทานวอลนัท, เมล็ดเจีย, เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดธัญพืช เมล็ดฟักทอง ล้วนมีกรดโอเมก้า 3 สูงเช่นกันค่ะ
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลา ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมน้ำมันปลามีสองชนิด ขึ้นอยู่กับส่วนของปลาที่ทำ เช่น ตับปลาและตัวปลา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลาที่ทำจากตับปลา เช่น น้ำมันตับปลา มีส่วนประกอบของวิตามินเอที่เป็นอันตรายต่อการบริโภคเมื่อตั้งครรภ์ อาจส่งผลอันตรายต่อลูกในท้อง คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารเสริมประเภทนี้ในระหว่างตั้งครรภ์ ส่วนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลาที่ได้จากร่างกายของปลานั้นมีกรดไขมันที่จำเป็นจาก โอเมก้า 3 ในระดับสูง สารอาหารเหล่านี้จำเป็นสำหรับดวงตาและสมองของลูกน้อย หากอาหารที่รับประทานครอบคลุมกลุ่มอาหารหลากหลาย รวมถึงปลาที่มีโอเมก้า 3 ปริมาณมากแล้ว ไม่จำเป็นต้องทานอาหารเสริมน้ำมันปลาอีกค่ะ การรับประทานน้ำมันปลานั้นต้องรู้ว่ามีอยู่ 2 ประเภท อย่างแรกคือน้ำมันสกัดจากตับปลา หรือเรียกว่า cod liver oil มีปริมาณวิตามินเอเข้มข้น ซึ่งจะช่วยในการบำรุงผิว และวิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียม แต่หากรับประทานมากเกินไปก็จะได้รับอันตรายต่อเด็กด้วยเช่นกันค่ะ เนื่องจากเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันอาจสะสมในร่างกายได้
ข้อดีของ กรดไขมันโอเมก้า 3 สิ่งที่แม่ตั้งครรภ์ควรรู้คือน้ำมันปลาที่มีโอเมก้า 3 สูงนั้นเป็นประโยชน์ตั้งแต่การรับประทานช่วงแรกของการตั้งครรภ์ จนกระทั่งตั้งครรภ์อายุ 7 สัปดาห์ขึ้นไป โดยรับประทานสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง มีผลดีช่วยลดอาการอักเสบของไขข้อระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ด้วย นอกจากนี้ในน้ำมันปลาโอเมก้า 3 ยังมีสาร DHA ระดับสูงช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกทั้งด้านสมองและการมองเห็น รวมทั้งเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้ลูกน้อยในท้องด้วยค่ะ ประโยชน์อีกด้านของการรับประทานน้ำมันปลาที่มีโอเมก้า 3 สูง คือจะช่วยลดการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือดที่อุดตันตามหลอดเลือดต่าง ๆ และยังช่วยลดระดับของไขมันชนิดร้ายหรือไตรกลีเซอไรด์ให้น้อยลงด้วย แต่ข้อเสียที่ต้องระวังก็มี เช่น หากรับประทานน้ำมันปลาจนเลยอายุครรภ์ 6 เดือนขึ้นไปอาจจะทำให้มีภาวะเลือดแข็งตัวช้า เสี่ยงที่จะเสียเลือดมากเวลาคลอดบุตร นอกจากนี้การทานน้ำมันปลายังส่งผลให้หลายคนรู้สึกคลื่นไส้อาเจียนเหม็นคาว หรือถ้าคุณแม่มีอาการแพ้ท้องรุนแรง จะรู้สึกเหม็นคาวมากจนรับประทานไม่ได้ ผู้หญิงตั้งครรภ์บางคนรับประทานน้ำมันปลาไปแล้วเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานมากขึ้น ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่รับประทานได้ปลอดภัยทั่วไป ได้แก่ ปลาซาร์ดีน, ปลาแซลมอน, ปลาทูน่า, ปลากะพงแดง, รวมทั้งกุ้งและปูทะเล นอกจากนี้การรับประทานธัญพืชเช่น ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต อัลมอนด์ ก็จะได้รับโอเมก้า 3 สูงเช่นกัน เมื่ออายุตั้งครรภ์ 5-6 เดือนขึ้นไปคุณแม่ควรงดรับประทานน้ำมันปลาเพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะเลือดไม่แข็งตัวในระหว่างคลอดลูกค่ะ คุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลเพื่อดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงทำความเข้าใจในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน เรามีวิธีคำนวณอายุครรภ์อย่างถูกต้องมาฝากค่ะ
ช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ คุณแม่ยังไม่ควรตื่นเต้นมากจนเกินไป เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเอง มาดูกันค่ะว่าคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 5 สัปดาห์อาจสงสัยว่ามีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับร่างกาย ประจำเดือนมาไม่ตรงเวลาและเลยกำหนดมาอย่างน้อย 1 สัปดาห์แล้ว
เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ คุณแม่ควรวางแผนเมนูอาหารแต่ละมื้อให้มีความหลากหลาย มีความสดใหม่และน่ารับประทานทำให้ไม่รู้สึกเบื่อค่ะ
โบราณว่าไว้ “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ในช่วงท้องแบบนี้การดูแลจิตใจจึงสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการดูแลร่างกายด้านอื่นๆ เลย เพราะอารมณ์ของคุณแม่นั้นมีผลโดยตรงต่อพัฒนาการของเจ้าตัวเล็กในครรภ์ ซึ่งถ้าคุณแม่เครียดมากๆ ทารกก็เสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อย และมีแนวโน้มที่จะงอแง โมโหง่ายมากกว่าเดิมด้วยค่ะ
เข้าสู่ช่วงเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์แล้วนะคะ คุณแม่คงเริ่มสงสัยแล้วว่าลูกน้อยจะหน้าตาเป็นอย่างไร ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำคัญมาก เนื่องจากลูกน้อยในครรภ์จะเจริญเติบโตเร็วมาก เริ่มมีการสร้างอวัยวะต่างๆ เช่น ตา แขน และขา ดังนั้นการรับประทานอาหารและยาของคุณแม่จึงมีผลโดยตรงต่อทารก หากไม่ระมัดระวังให้อาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อ หรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆได้ มาดูกันดีกว่าค่ะว่าอาหารรอะไรที่คุณแม่ควรทานเสริมเพื่อบำรุงร่างกายและเจ้าตัวน้อยในครรภ์
นับตั้งแต่ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์ไปจนครบกำหนดคลอด พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์จะเติบโตเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนแล้ว เรามีคำแนะนำดีๆ สำหรับคุณแม่ค่ะ
ขนาดทารกในครรภ์