การย้ายตัวอ่อนเป็นขั้นตอนต่อไปในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือ การรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ART) เรามีบทความดีๆ...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
การตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรกระหว่างสัปดาห์ที่ 1-13 หรือประมาณ 3 เดือนนั้น อย่างน้อยประมาณเดือนครึ่งว่าที่คุณแม่หลายท่านอาจไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่ค่ะ โดยสัปดาห์แรกคุณแม่อาจยังคิดว่าต้องมีประจำเดือนมาด้วยซ้ำ เพราะรอบเดือนเป็นตัวระบุเวลาช่วงของการตกไข่ได้แม่นยำ ช่วงเวลาการตกไข่ของผู้หญิงส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นนับจากวันแรกของการมีประจำเดือนรอบก่อนประมาณ 14 วัน อาจคลาดเคลื่อนได้ มาก่อนหรือหลัง 2-3 วัน ซึ่งเวลาจะแตกต่างกันไปตามวงจรรอบเดือนของผู้หญิงแต่ละคน ช่วยในการคำนวณเวลามีเพศสัมพันธ์เพื่อให้ตั้งครรภ์ง่ายขึ้นค่ะ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตั้งครรภ์เปรียบเทียบระหว่างอายุครรภ์ (Gestational Age) และอายุตัวอ่อนมนุษย์ (Fetal Age) โดยอายุครรภ์จะนับตั้งแต่วันแรกที่เริ่มมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย ส่วนอายุของตัวอ่อนในครรภ์หมายถึงอายุแท้จริงของทารก ซึ่งเริ่มนับเมื่อเกิดการปฏิสนธิของเซลล์ไข่และอสุจิแล้ว ในระยะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์จะพูดถึงข้อมูลเกี่ยวกับอายุครรภ์เป็นส่วนใหญ่นะคะ
ช่วงไตรมาสแรก คุณแม่จะรู้สึกอย่างไร ช่วงท้ายของไตรมาสแรกผู้หญิงส่วนใหญ่ที่มั่นใจแล้วว่าตนเองตั้งครรภ์แน่นอน หากยังไม่ได้นัดพบแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ แนะนำว่าควรไปตรวจร่างกายได้แล้ว สัญญาณบ่งบอกอาการคนท้องเริ่มแรกได้กล่าวถึงไว้ในหัวข้อการตั้งครรภ์ระยะ 6 สัปดาห์ มีวิธีสังเกตง่าย ๆ ดังนี้ • หน้าอกเปลี่ยนแปลง มีอาการคัดตึงเต้านม ความรู้สึกไวมากกว่าปกติ บริเวณฐานของหัวนมสีเข้มขึ้น โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณหัวนมของว่าที่คุณแม่ค่ะ • ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เป็นเพราะปริมาณเลือดหล่อเลี้ยงบริเวณมดลูกมากขึ้น กดทับกระเพาะปัสสาวะทำให้คุณแม่ท้องต้องเข้าห้องน้ำบ่อย • รู้สึกอ่อนเพลียง่าย หมดแรง อยากนอนหลับมากขึ้น บางครั้งอาจเวียนหัวหรืออ่อนเพลียเนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำด้วยค่ะ • คลื่นไส้แพ้ท้อง ไม่จำกัดเฉพาะตอนช่วงเช้าเท่านั้น บางคนมีอาการแพ้ท้องตลอดทั้งวันค่ะ • หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวนมากกว่าปกติ อ่อนไหวน้ำตาไหลง่าย • เป็นธรรมดาที่คุณแม่มือใหม่จะวิตกกังวลเรื่องการแท้งบุตร ซึ่งอาจเกิดขึ้นบ่อยในช่วงหลายสัปดาห์แรก ผู้หญิงส่วนใหญ่จะรู้สึกผ่อนคลายสบายใจมากเพื่อผ่านพ้นไตรมาสแรกไปแล้ว
ตั้งครรภ์ระยะแรกมีลักษณะอย่างไร ในช่วงตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 12 มดลูกของคุณแม่จะเริ่มดันพ้นอุ้งเชิงกรานและหน้าท้องยื่นออกมาบริเวณใต้สะดือ แม้ว่าคนอื่นยังไม่สังเกตเห็น แต่ถ้าคุณแม่เคยมีลูกมาแล้วจะเห็นหน้าท้องยื่นชัดเจนเร็วขึ้นค่ะ หน้าอกอาจขยายมากขึ้น แนะนำให้เตรียมพร้อมซื้อเสื้อในใหม่ขนาดใหญ่กว่าเดิมนะคะ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมหัวข้อการตั้งครรภ์ระยะ 13 สัปดาห์
พัฒนาการของทารกในครรภ์ในแต่ละสัปดาห์
•ตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ เริ่มมีการปฏิสนธิเกิดขึ้นในท่อนำไข่แล้ว แต่ไม่มีสัญญาณชัดเจน คุณแม่ส่วนใหญ่จึงไม่ทราบว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 6-12 วันกว่าไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะเคลื่อนตัวจากท่อนำไข่ไปยังมดลูก • ตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์ เมื่อไข่ที่ปฏิสนธิเคลื่อนตัวมาหยุดอยู่บริเวณผนังมดลูก จะส่งสัญญาณให้ร่างกายของคุณแม่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนมากขึ้น ฮอร์โมนทั้งสองชนิดมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ให้มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ คุณแม่บางคนอาจสังเกตเห็นเลือดออกเล็กน้อยในระหว่างที่ตัวอ่อนฝังอยู่ในเยื่อบุมดลูก ซึ่งจะมีการทำลายเนื้อเยื่อและเส้นเลือด ทำให้เลือดไหลออกมานั่นเองค่ะ • ตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์ ในช่วงสัปดาห์ที่ 4 เริ่มมีการสร้างรกแล้ว ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการผลิตฮอร์โมนตั้งครรภ์ที่ช่วยหล่อเลี้ยงทารกในท้องแม่และกระตุ้นการผลิตนมให้ลูกน้อย ระยะนี้ตัวอ่อนมีขนาดเล็กกว่าเมล็ดข้าวนะคะ แต่ละเซลล์ในตัวอ่อนเริ่มแบ่งแยกหน้าที่เฉพาะกันแล้วค่ะ • ตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ คุณแม่ฟังเสียงหัวใจเต้นของลูกน้อยผ่านอัลตร้าซาวด์ได้แล้ว ตัวอ่อนเริ่มมีดวงตาและหู มีเนื้อเยื่อนูนออกมาด้านข้างซึ่งจะกลายเป็นแขนและขาต่อไป • ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ ถ้าคุณแม่ยังไม่ได้ทดสอบการตั้งครรภ์ จนถึงตอนนี้ควรตรวจสอบการตั้งครรภ์ในทันที ในช่วงสัปดาห์นี้ลูกน้อยจะโตขึ้นจนตรวจเห็นได้เครื่องอัลตร้าซาวด์แล้วนะคะ แพทย์จะวัดตั้งแต่ศีรษะไปจนถึงบั้นท้าย ในสัปดาห์ที่ 6 ความยาวโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 5-6 มิลลิเมตร • ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ คุณแม่ตั้งครรภ์มาถึงครึ่งทางของระยะไตรมาสแรกแล้วนะคะ ลูกน้อยในท้องเติบโตขึ้นถึง 10,000 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงแรกที่มีการปฏิสนธิ ช่วงนี้เด็กทารกจะมีพัฒนาการทางสมองเป็นส่วนใหญ่ มีเซลล์สมองใหม่ประมาณ 100 เซลล์ทุกนาทีเลยทีเดียวค่ะ • ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ สัปดาห์นี้ลูกน้อยมีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เรียกว่าเป็นทารกในครรภ์ได้เต็มตัวแล้วค่ะ ในช่วงนี้เริ่มมีการสร้างลิ้นหัวใจและระบบทางเดินหายใจเพื่อให้อากาศไหลเวียนจากลำคอไปยังปอด จะสังเกตเห็นนิ้วมือ นิ้วเท้า ริมฝีปาก เปลือกตาและขาชัดเจนยิ่งขึ้นค่ะ • ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ เริ่มเห็นปากและลิ้น มือที่เคยเป็นพังผืดติดกันเริ่มแยกออกมาเป็นแต่ละนิ้วแล้ว เมื่อตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์จะเห็นว่าทารกในครรภ์เคลื่อนไหวและกระตุกเบา ๆ • ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์ ในระยะนี้หัวใจแบ่งออกเป็น 4 ห้อง เมื่อใช้เครื่องตรวจอัลตราซาวด์แบบ Doppler ฟัง คุณแม่จะได้ยินเสียงเต้นของหัวใจค่ะ อวัยวะต่าง ๆ ของทารกพัฒนาไปเรื่อย ๆ สมองยังคงมีขนาดใหญ่ ส่วนระบบการย่อยอาหารกำลังพัฒนาต่อไปอีก • ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์ ลูกเริ่มมีอวัยวะเพศแล้วนะคะ แต่ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่าเป็นชายหรือหญิง ส่วนดวงตาจะมีพัฒนาการเต็มที่ มีเส้นผมและขนบาง ๆ ปกคลุมทั่วร่างกาย ใบหน้าของลูกมองดูคล้ายกับเด็กทารก • ตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ ตัวอ่อนเติบโตอย่างสมบูรณ์ อวัยวะสำคัญทั้งหมดและระบบประสาทเริ่มมีพัฒนาการแล้ว มีกระดูกตามส่วนต่าง ๆ ยังเป็นกระดูกอ่อนซึ่งเริ่มจะแข็งขึ้น ลำตัวทารกเริ่มยืดออก ไม่งอเป็นกุ้งเหมือนแต่ก่อนนะคะ • ตั้งครรภ์ 13 สัปดาห์ ลูกน้อยของคุณแม่มีขนาดใกล้เคียงกับผลลูกพีช อวัยวะภายในช่องท้องที่เริ่มสร้างขึ้นมาจากเซลล์นอกผิวหนังกำลังเริ่มเคลื่อนกลับเข้าไปอยู่ภายในร่างกายตามตำแหน่งที่ควรจะเป็นค่ะ
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกสามารถติดตามอ่านข้อมูลเพื่อเตรียมตัวและวางแผนการตั้งครรภ์ รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะรกสามารถกรองแอลกอฮอล์ที่ส่งผ่านไปสู่ตัวทารกไม่ได้ทั้งหมดค่ะ
เมื่อเริ่มรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่มักจะมีหลายอารมณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความรู้สึกตอบสนองเมื่อรู้ตัวว่าตั้งท้องจะแตกต่างกันไป เรามีคำแนะนำดีๆ ค่ะ
ทุกเรื่องการตั้งครรภ์ที่คุณควรรู้ พบกับบทความเกี่ยวกับ การวางแผนการตั้งครรภ์ เคล็ดลับและข้อควรรู้ต่างๆ มากมาย
เมื่อตั้งครรภ์ แม่ทุกคนหวังจะดูแลลูกน้อยมีพัฒนาการในครรภ์เติบโต และลืมตาดูโลกด้วยความแข็งแรงในทุกๆ ด้าน นอกจากพัฒนาการทารกในครรภ์ ความสมบูรณ์แข็งแรงของลูกที่แม่ใส่ใจแล้ว “ความฉลาด” ของลูกเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่พ่อแม่ให้ความสำคัญ และคุณแม่สามารถกระตุ้นการทำงานของสมองทารกในครรภ์ได้ด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะเมนูปลาที่มีกรดดีเอชเอ ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองสมองและสายตา ซึ่งพบอยู่มากในกลุ่มไขมันโอเมก้า 3 เรามาดูตัวอย่างเมนูปลาสำหรับแม่ตั้งครรภ์เพื่อบำรุงสมองและพัฒนาการทารกในครรภ์ 5 เมนูเด็ดๆ กันค่ะ
การตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 34 คุณแม่อาจจะรู้สึกอึดอัดมากขึ้น รู้สึกหายใจไม่เต็มปอด มีอาการหายใจตื้นถี่เหมือนคนที่กำลังจะจามเพราะหน้าท้องใหญ่ขึ้น มาดูคำแนะนำกันค่ะ
พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนที่ 9 หรือราวสัปดาห์ที่ 38-40 เป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่คุณแม่ลุ้นที่สุดเพราะจะถึงเวลาที่ได้เห็นหน้าลูกน้อย ทารกในครรภ์ที่ถนอมกล่อมเกลี้ยง เอาใจใส่กันมาถึง 9 เดือน ลูกน้อยทารกในครรภ์จะเริ่มโตขึ้นมามีขนาดประมาณลูกขนุน หรือ ประมาณ 51 เซนติเมตร หนักราว 3,300 กรัม
ช่วงนี้คุณแม่จะมีหน้าท้องใหญ่ที่ใหญ่ขึ้นมาก คุณแม่รู้สึกตลอดเวลาว่ากำลังอุ้มท้องอยู่ มีสัญญาณหลายอย่าง เรามีเคล็ดลับดีๆ มาฝากคุณแม่ค่ะ
คุณพ่อคุณแม่ทุกคนคงเคยเห็นตารางพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยที่แปะไว้ในห้องคุณหมอเด็กกันแล้วใช่ไหมคะ ถ้าอยากช่วยให้กล้ามเนื้อของลูกน้อยมีพัฒนาการสมวัย ลองทำกิจกรรมเหล่านี้ดูค่ะ
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090