การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
การเป็น ตะคริวในช่วงตั้งครรภ์อ่อน ๆ นั้น ถือเป็นอาการที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์เลยทีเดียวค่ะ โดยผู้หญิงส่วนใหญ่จะเป็นตะคริวเล็กน้อยจนแทบไม่ทันสังเกตและอาการจะดีขึ้นเองโดยแทบไม่ต้องทำอะไรเลย แต่ในบางกรณีอาจเป็นตะคริวบริเวณมดลูก ซึ่งนี่คือสัญญาณที่แสดงถึงอาการแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ ดังนั้น จึงต้องรีบพบแพทย์ที่คุณแม่ได้ฝากครรภ์ไว้ เพื่อเข้ารับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป โดยเฉพาะผู้หญิงที่เคยมีปัญหาระหว่างตั้งครรภ์ เช่น เคยมี การแท้ง หรือการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งคุณแม่เหล่านี้ควรระวังตัวเองให้มากยิ่งขึ้น และต้องเตือนตัวเองว่าการตั้งครรภ์แต่ละครั้งจะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน โดยการที่จะมีสุขภาพดีในช่วงตั้งครรภ์ได้นั้น คุณแม่ต้องควบคุมความเครียด ตรวจครรภ์เป็นระยะตามที่แพทย์นัด รวมถึงดูแลองค์ประกอบอื่น ๆ ให้ดีในระหว่างการตั้งครรภ์นั่นเองค่ะ
-สาเหตุแรกที่ทำให้เกิดตะคริวระหว่างการตั้งครรภ์ คือ การที่กล้ามเนื้อและเอ็นบริเวณมดลูก ขยายตัวตามขนาดเด็ก จนทำให้เกิดอาการปวดและรู้สึกไม่สบายท้อง โดยมักมีอาการในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 ซึ่งการที่มีเลือดไปเลี้ยงมดลูกมากขึ้นจะทำให้รู้สึกหนักบริเวณหน้าท้องและรู้สึกอึดอัด เป็นผลทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องช่วงล่างเป็นตะคริวได้ ซึ่งอาจจะเกิดได้หลายจุด ไม่ว่าจะเป็นด้านซ้าย ด้านขวา หรือด้านใดด้านหนึ่งของท้องคุณแม่ค่ะ -การมีถุงซีสต์ที่เรียกว่า คอร์ปัสลูเทียม (Corpus luteal cyst) ซึ่งเป็นถุงน้ำที่ปกติแล้วจะต้องละลายหายไปหลังจากมีการปล่อยไข่ออกให้ไปปฏิสนธิกับสเปิร์ม แต่หากเกิดกรณีที่ถุงนี้ไม่สลายตัวไปจะทำให้เกิดการสะสมของเหลวบางอย่างในถุงน้ำ ทำให้เกิดเป็นซีสต์ขึ้นมา ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดตะคริวได้เช่นกัน -การมีเลือดออกจากช่องคลอดจะไม่เกี่ยวกับการเป็นตะคริว หากเกิดในช่วงที่ตัวอ่อนฝังตัวอยู่ที่ผนังของมดลูกหลังการปฏิสนธิ หรือที่เรียกว่า Implantation Bleeding บางคนอาจคุ้นหูว่าเลือดล้างหน้าเด็ก แต่หากไม่ใช่กรณีนี้และคุณแม่สังเกตว่ามีเลือดไหลออกมาปริมาณมากและต่อเนื่องหลายวัน รวมถึงมีอาการปวดร่วมด้วย แนะนำให้รีบพบแพทย์ -คุณแม่บางคนมดลูกไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมของอุ้งเชิงกราน โดยอาจยื่นมาข้างหน้า อยู่ในตำแหน่งเหนือกระเพาะปัสสาวะหรือตำแหน่งด้านหลัง เมื่อขยายตัวจะทำให้เบียดอวัยวะอื่น เป็นผลทำให้เกิดการกระตุ้นระบบประสาท และทำให้เป็นตะคริวได้ -การเป็นตะคริวเล็กน้อยจะมีอาการคล้ายการปวดท้องเวลามีประจำเดือนที่มีสาเหตุมาจากการบีบตัวของมดลูกในระดับน้อย ทำให้ปวดหน่วงที่บริเวณเชิงกราน บางครั้งอาจทำให้รู้สึกปวดด้านซ้ายหรือด้านขวาไม่เท่ากัน -บางครั้งการเป็นตะคริว อาจเกิดจากการยืนเป็นเวลานาน ๆ โดนอาจเป็นเฉพาะช่วงท้ายของวัน นอกจากนี้ การที่มีแรงกดทับที่ท้องอย่างกะทันหัน เช่น การไอ การจาม การหัวเราะ ก็อาจทำให้เป็นตะคริวได้เช่นกันค่ะ -คุณแม่หลายคนบรรยายความรู้สึกการเป็นตะคริวแตกต่างกัน เช่น รู้สึกปวดแปล๊บ ๆ หรือปวดตื้อ ๆ และคุณแม่บางท่านอาจไม่รู้สึกอะไรเลยก็เป็นไปได้เช่นกันค่ะ -การเป็นตะคริวช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกนั้น เกิดจากการบีบตัวของมดลูก แม้ว่าในช่วงแรกเด็กจะมีขนาดตัวที่เล็กมาก แต่เลือดและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คุณแม่เป็นตะคริว -เมื่อร่างกายคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย เพื่อเตรียมพร้อมให้เด็กเติบโตและระดับการยืดหดของกล้ามเนื้อที่มดลูกก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลทำให้เป็นตะคริวได้
- การที่มีเลือดออกมาเรื่อย ๆ หรือเลือดไหลออกมามากขึ้น รวมถึงอาการปวดแบบเฉียบพลัน เช่น อาการปวดหนักบริเวณหน้าท้องช่วงล่าง หรือปวดบริเวณหัวไหล่ เป็นต้น - อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นจนเป็นไข้ - รู้สึกปวดขณะที่กำลังปัสสาวะ จนทำให้คุณแม่ยิ่งต้องเร่งการปัสสาวะ มันอาจเป็นสัญญาณบอกได้ว่าคุณแม่อาจจะกำลังแท้งลูก ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ และมันเป็นเรื่องยากที่จะจัดการได้ โดยประมาณ 1 ใน 4 ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงต่อการแท้งลูก ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ เช่น มีความผิดปกติของระดับ DNA โครโมโซม ซึ่งทำให้ตัวอ่อนไม่สมบูรณ์จึงถูกขับออกจากร่างกาย และมีการลอกตัวของมดลูก ในบางกรณีการเป็นตะคริวเป็นสัญญาณว่าไข่ที่ได้รับการปฏิสนธินั้นไม่ได้ฝังตัวในมดลูก แต่ว่าไปอยู่ในตำแหน่งอื่น เช่น ท่อนำไข่ ซึ่งเรียกว่าเป็นการท้องนอกมดลูก ซึ่งบริเวณนี้จะไม่มีพื้นที่ให้ไข่เจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนได้และต้องตรวจโดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งการตั้งครรภ์นั้นจะเกิดได้ เมื่อมีการฝังตัวในมดลูก เพราะกล้ามเนื้อที่มดลูกสามารถขยายตัวตามขนาดเด็กได้ - การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือ Ectopic Pregnancy เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เพราะอาจจะทำให้เด็กถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยตัวอ่อนจะต้องมีการกำจัดออก บางกรณีอาจทำให้ท่อนำไข่แตกปริได้และหากภาวะนี้เกิดขึ้นอาจทำให้คุณแม่มีอาการช็อก เสียเลือดมากและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยผู้หญิงที่มีการผ่าตัดบริเวณท่อนำไข่ 1-2 ข้าง มีโอกาสพบปัญหาในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป ดังนั้น การท้องนอกมดลูก และตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ๆ จึงเป็นผลดีที่ทำให้กำจัดตัวอ่อนออกไปยังตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงลดความเสี่ยงการเกิดภาวะท่อนำไข่แตกปรินั่นเองค่ะ โดยการท้องนอกมดลูกจะมีอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลัน คุณแม่จะรู้สึกปวดมาก มีเลือดออกทางช่องคลอด มีอาการบวมที่ท้อง ท้องอืด ปวดบริเวณไหล่ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการส่งสัญญาณการปวดจากมดลูกไปที่ไหล่ นอกจากนี้ยังมีอาการปวดท้องเกร็งช่วงล่าง และรู้สึกวิงเวียนศีรษะอีกด้วยค่ะ
- การเป็นไส้ติ่ง นิ่วในถุงน้ำดี การติดเชื้อ แสบร้อนบริเวณอก อาหารไม่ย่อยจากกรดไหลย้อน ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ติดเชื้อในไต ติดเชื้อที่ตับอ่อน อาการท้องผูก รวมถึงการมีลมดันแน่นก็ทำให้เป็นตะคริวได้ ซึ่งโดยมากจะพบบริเวณด้านซ้ายหรือด้านขวาของคุณแม่ตั้งครรภ์ และเกิดในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยจะมีอาการปวดหนักๆ หรือปวดแบบแปล๊บ ๆ - การมีเพศสัมพันธ์หรือการถึงจุดสุดยอดทางเพศ คือสาเหตุหนึ่งของการเกิดตะคริว เพราะทำให้เส้นเลือดบริเวณเชิงกรานเกิดการโป่งจึงทำให้มีอาการปวดได้ ดังนั้น การถึงจุดสุดยอดทางเพศจะทำให้มดลูกบีบตัวในช่วงเวลาสั้น ๆ และทำให้เป็นตะคริวตามมาค่ะ
-เมื่อมดลูกขยายตัวและถูกรองรับด้วยกระดูกบริเวณเชิงกราน โดยเอ็นและกล้ามเนื้อจะช่วยรองรับน้ำหนักของมดลูก -การปรับเปลี่ยนท่านอนก็ช่วยลดการเกิดตะคริวได้ โดยการนอนตะแคงให้ขาพาดอยู่บนหมอนข้าง หรือการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ รวมถึงการออกกำลังกายเบา ๆ ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน -การอาบน้ำอุ่น ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไปและการนวดหน้าท้อง ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยได้ -การปัสสาวะออกจะทำให้กระเพาะปัสสาวะว่าง ระบบลำไส้ก็จะถูกเบียดน้อยลง ส่งผลให้เป็นตะคริวน้อยลงได้ ที่สำคัญควรระมัดระวังปัญหาท้องผูกในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ และควรดื่มน้ำให้เพียงพอ - คุณแม่ควรเน้นรับประทานผักผลไม้สด หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้งขัดสี ขนมปังที่ทำจากแป้งขาว ข้าว เส้นพาสต้า ที่มีกากใยน้อย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ท้องผูก - การนั่งหรือการนอนนาน ๆ อาจทำให้เกิดตะคริวได้ ดังนั้น อย่าลืมยืดเหยียดเพื่อคลายกล้ามเนื้อบ้าง - การทำสมาธิ ฝึกจิตใจให้สงบ จะทำให้ผ่อนคลายและลดการเกิดตะคริวได้เช่นกัน - อย่าลืมใช้ที่พักเท้าเมื่อต้องนั่งบนเก้าอี้ - หากคุณแม่เป็นตะคริวในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก ๆ แนะนำให้รีบพบแพทย์ เพราะนี่อาจเป็นสัญญานของอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
คุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และหากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน เรามีวิธีคำนวณอายุครรภ์อย่างถูกต้องมาฝากค่ะ
ช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ คุณแม่ยังไม่ควรตื่นเต้นมากจนเกินไป เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเอง มาดูกันค่ะว่าคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
คุณพ่อคุณแม่ที่มีทั้งลูกสาวลูกชายคงรีบพยักหน้าเห็นด้วยในเรื่องที่ว่าลูกน้อยเพศชายและเพศหญิงมีข้อแตกต่างกันเป็นอย่างมาก และหลายๆ ข้อแตกต่างนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่เกี่ยวกับการทำงานของร่างกายมนุษย์ นั่นก็คือการอุจจาระและปัสสาวะ
คุณแม่ตั้งครรภ์ในระยะแรกมักประสบปัญหาเดียวกัน นั่นคือ อาการท้องอืด โดยอาการนี้ให้ความรู้สึกเหมือนมีลมในท้องมากกว่าปกติ เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
การแท้งลูกคือการสูญเสียเด็กในท้องก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์แม้ว่าการแท้งประมาณ 98% เกิดในช่วง 13 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
การตรวจอัลตราซาวด์ 3 มิติ มีขั้นตอนที่ไม่แตกต่างจากการตรวจอัลตราซาวด์ 2 มิติ แต่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงกว่ากันมากเพื่อให้ได้ภาพละเอียดและชัดเจนสูงขึ้น
ตอนนี้คุณแม่เข้าใกล้ช่วงสุดท้ายที่จะคลอดลูกแล้วนะคะ ในสัปดาห์หน้าคุณจะเข้าสู่ระยะที่ทางการแพทย์เรียกว่า เทอม term ซึ่งถ้าทารกคลอดในช่วงที่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์
ผู้หญิงเราเมื่อเข้าสู่ช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในระหว่างตั้งท้องค่ะ
อาการปวดหลัง ถือเป็นเรื่องปกติอย่างยิ่งของคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยการปวดหลังบริเวณช่วงล่าง แน่นอนว่านอกจากจะส่งผลกระทบด้านจิตใจคุณแม่แล้วยังกระทบด้านอื่นๆ