การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
โรคอีสุกอีใส ถือเป็นโรคที่เกิดได้ทุกช่วงวัยเลยนะคะ โดยเกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาที่ทำให้เกิดตุ่มน้ำพองทั่วร่างกาย และจะทำให้เกิดปัญหามากหากเกิดในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งหากคุณแม่ตั้งครรภ์เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนแล้ว โอกาสที่คุณแม่จะเป็นซ้ำอีกจะน้อยมาก ๆ เนื่องจากคุณแม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อแล้ว หลังจากที่คุณแม่เป็นอีสุกอีใสครั้งแรก ร่างกายของคุณแม่จะผลิตแอนติบอดี ซึ่งเป็นโปรตีนในระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้สามารถตรวจจับเชื้อไวรัสนี้ได้ ทำให้คุณแม่ไม่มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้อีกค่ะ แต่หากคุณแม่เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มเป็นอีสุกอีใสครั้งที่ 2 โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ ก็อาจทำให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับอันตรายได้ค่ะ สำหรับการเป็นอีสุกอีใสจะส่งผลค่อนข้างร้ายแรง เนื่องจากทำให้คุณแม่ไวต่อเชื้อโรคบางอย่าง เช่น โรคปอดบวม ซึ่งการเป็นอีสุกอีใสทำให้เด็กมีความเสี่ยง โดยหากคุณแม่ได้รับเชื้อช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เด็กจะเกิดการพัฒนาการของอวัยวะผิดปกติหรือเรียกว่า Fetal Varicella Syndrome ซึ่งจะมีอาการแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น มีแผลตามตัว พิการในการมองเห็น แขนและขาพัฒนาไม่สมบูรณ์ สมองพิการตั้งแต่ระดับเล็กน้อยถึงมากและทำให้เกิด ภาวะคลอดก่อนกำหนด ได้ค่ะ สำหรับคุณแม่ท่านใดที่คิดว่าติดเชื้อไวรัสนี้ระหว่าง การตั้งครรภ์ ควรรีบแจ้งแพทย์ที่ฝากครรภ์โดยด่วน เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย ทั้งนี้ หากคุณแม่ไม่มั่นใจว่าเคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนหรือไม่ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับคนที่คาดว่าน่าจะเป็นอีสุกอีใสจะดีกว่าค่ะ
โรคอีสุกอีใสจะแสดงอาการเหมือนกันไม่ว่าขณะตั้งครรภ์หรือไม่ตั้งครรภ์ นั่นคือ การเกิดตุ่มคัน ซึ่งอาจมีเลือดออกหรือไม่ก็ได้ หายใจติดขัด เจ็บที่หน้าอก อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง มีไข้สูง มีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งอาการเลือดออกทางช่องคลอดถือเป็นสัญญาณอันตรายมาก คุณแม่จึงต้องรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุดค่ะ และเมื่อโรคอีสุกอีใสระหว่างตั้งครรภ์ส่งผลเสียต่อคุณแม่และลูกน้อยมากขนาดนี้ เพราะฉะนั้นคุณแม่ต้องระวังตัวเองอย่างยิ่งในการอยู่ในที่ชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อไวรัสอีสุกอีใสนะคะ
หากคุณแม่มีไข้ควรใช้ยาพาราเซตามอลในขนาดต่ำที่สุด เพื่อบรรเทาอาการไข้ สามารถทายาคาลาไมน์โลชั่นแก้คัน โดยแต้มบริเวณที่เป็นตุ่มคัน ดื่มน้ำให้เพียงพอ พักผ่อนให้มาก แพทย์อาจเลือกสั่งยาชนิดที่เหมาะสมกับคุณแม่ เนื่องจากต้องเลือกใช้ยาให้เหมาะกับระยะการตั้งครรภ์ VZIG เป็นอิมมูโนโกลบูลิน ซึ่งเป็นแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสอีสุกอีใส เมื่อฉีดเข้าร่างกายจะทำให้คุณแม่ได้รับภูมิต้านทานสูงขึ้นทันที โดยไม่เป็นอันตรายอีกด้วยนะคะ ยาต้านเชื้อไวรัสที่ชื่อว่าอะไซโคเวีย เป็นตัวเลือกหนึ่งที่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ หากเป็นในช่วง 24 ชั่วโมงแรก แต่หากคุณแม่อยู่ในช่วงของการตั้งครรภ์ การใช้อะไซโคเวียในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก หรือช่วง 1-3 เดือนแรก ยานี้อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด เพราะอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการเด็ก ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าควรเลือกใช้ยาอะไรดี เพื่อให้ได้ยาที่ปลอดภัยที่สุดต่อเด็กในท้อง การได้รับวัคซีนต่อต้านเชื้อไวรัสอีสุกอีใส ถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยกรณียังไม่ตั้งครรภ์ แต่หากตั้งครรภ์แล้ว แพทย์ต้องเช็คก่อนว่าร่างกายคุณแม่นั้นมีการตอบสนองต่อเชื้อนี้มากน้อยอย่างไร โดยใช้วิธีทดสอบทางเลือดนั่นเองค่ะ การได้รับภูมิจาก VZIG ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุด สำหรับกรณีที่คุณแม่ได้สัมผัสเชื้อเข้าร่างกายไปแล้ว เพราะฉะนั้นควรรีบพบแพทย์ในทันทีค่ะ
การเป็นอีสุกอีใสนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นครั้งเดียวในชีวิต ยกเว้นกรณีที่การติดเชื้อครั้งแรกมีอาการน้อย ทำให้ภูมิต้านทานในร่างกายที่สร้างขึ้นมาต่อต้านเชื้อไวรัสชนิดนี้มีปริมาณน้อยเกินกว่าที่จะปกป้องร่างกายไปได้ตลอดชีวิตได้ค่ะ ปัจจุบันเรามีวัคซีนที่ฉีดให้กับคนที่ต้องการป้องกันโรคนี้ โดยจะฉีดด้วยกันทั้งสิ้น 2 ครั้ง ห่างกันประมาณ 4-8 สัปดาห์ กรณีที่เป็นอีสุกอีใสแล้ว เชื้อนี้จะซ่อนอยู่ในปมประสาทร่างกาย ซึ่งจะแสดงอาการออกมาหากร่างกายอ่อนแอ โดยแสดงออกมาในรูปแบบโรคงูสวัด ซึ่งปัจจุบันก็มีวัคซีนสำหรับฉีดป้องกันงูสวัด โดยใช้ฉีดในผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ภูมิต้านทานต่ำ เป็นโรคมะเร็ง หรือใช้ยาในการกดภูมิรักษาโรคต่าง ๆ
คุณแม่กำลังตั้งครรภ์สามารถติดตามอ่านข้อมูลเกี่ยวกับโรคอื่นๆในระหว่างตั้งครรภ์ได้ที่ โรคอิสุกอีใสในช่วงตั้งครรภ์ และ โรคเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงทำความเข้าใจในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะรกสามารถกรองแอลกอฮอล์ที่ส่งผ่านไปสู่ตัวทารกไม่ได้ทั้งหมดค่ะ
เมื่อเริ่มรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่มักจะมีหลายอารมณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความรู้สึกตอบสนองเมื่อรู้ตัวว่าตั้งท้องจะแตกต่างกันไป เรามีคำแนะนำดีๆ ค่ะ
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 13 สัปดาห์ ถือว่าผ่านพ้นช่วงสุดท้ายของไตรมาสแรกไปอย่างรวดเร็ว อาการแพ้ท้องที่เคยเป็นหนักในระยะแรกเริ่มดีขึ้น เรามีคำแนะนำดีๆ ค่ะ
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 22 สัปดาห์ เปลือกตาของทารกในครรภ์ยังคงปิดสนิท แต่สามารถแยกแยะได้แล้วว่าช่วงไหนสว่างหรือมืดมาดูกันค่ะว่าทารกน้อยมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง
ในสัปดาห์นี้ ลูกน้อยในท้องคุณแม่มีน้ำหนักต่ำกว่า 100 กรัมเล็กน้อยค่ะ ทารกยังมีขนาดเล็กมากนะคะ มาดูกันค่ะว่าช่วงนี้คุณแม่และลูกน้อยเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
แม่ท้องแทบทุกคนจะมีอาการเมื่อยล้า หรือปวดตามร่างกายเพราะน้ำหนักตัวที่มากขึ้น พัฒนาการทารกในครรภ์ก็ดีเยี่ยมขึ้นทุกวัน การเล่นโยคะสำหรับแม่ท้องจะช่วยลดความตึงเครียดและเมื่อยล้าของร่างกายได้เป็นอย่างดี แถมยังดีต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ด้วยเหตุผลต่อไปนี้ค่ะ
ผู้หญิงส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์และจะเริ่มรู้ตัวเมื่อเข้าสู่ช่วงสัปดาห์ที่ 6 แล้วเพราะบางคนไม่มีอาการคนท้องใดๆ เลยอาจจะยังไม่รู้ตัวในช่วงแรกค่ะ
ทุกเรื่องการตั้งครรภ์ที่คุณควรรู้ พบกับบทความเกี่ยวกับ การวางแผนการตั้งครรภ์ เคล็ดลับและข้อควรรู้ต่างๆ มากมาย
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090