การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
คุณแม่ตั้งครรภ์ในระยะแรกมักประสบปัญหาเดียวกัน นั่นคือ อาการท้องอืด ใช่ไหมคะ โดยอาการนี้ให้ความรู้สึกเหมือนมีลมในท้องมากกว่าปกติ ทำให้คุณแม่ไม่สบายตัว เวลาสวมใส่เสื้อผ้าก็รู้สึกลำบากอึดอัดไปหมด ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและฮอร์โมนอื่นในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรกนั่นเองค่ะ
สำหรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนนั้น มีประโยชน์ในการทำให้การตั้งครรภ์สุขภาพดีทั้งคุณแม่และคุณลูก แต่ก็ทำให้มีปัญหาการย่อยตามมา เนื่องจากโปรเจสเตอโรนทำให้กล้ามเนื้อเรียบมีอาการคลายตัวลง ซึ่งรวมไปถึงกล้ามเนื้อเรียบในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เคลื่อนไหวช้าลงด้วย จึงทำให้มีอาหารติดอยู่ในทางเดินอาหารนานขึ้น ก่อนที่จะดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ระบบเลือดและเกิดการสร้างแก๊สตามมา ทำให้คุณแม่ไม่สบายตัว โดยเฉพาะภายหลังรับประทานอาหารมื้อใหญ่ อาหารที่ย่อยยากหรืออาหารรสจัด เป็นต้น
สาเหตุอาการท้องอืดของคุณแม่ตั้งครรภ์อาจเกิดจากปัจจัยอื่นนอกจากการมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูง เพราะบางครั้งเกิดจากการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด การคลื่นไส้หรือการรับประทานอาหารบางอย่างที่ทำให้เกิดการสร้างแก๊สได้มากกว่าปกติ นอกจากนี้การรับประทานอาหารอย่างรวดเร็วยังทำให้ลมเข้าระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดลมขึ้นได้ เมื่อรวมกับแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารจะทำให้เกิดการผลิตแก๊สออกมา ทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัดมากกว่าปกติ
นอกจากนี้ การรับประทานอาหารบางอย่าง เช่น นมที่มีน้ำตาลแลคโตสหรือผลิตภัณฑ์นมอื่น ๆ ที่ทำให้การย่อยไม่ดี จึงเกิดเป็นแก๊สและทำให้รู้สึกแน่นท้อง เนื่องจากขาดเอนไซม์ที่ชื่อว่าแลคเตส ในการย่อยน้ำตาลแลคโตสนั่นเอง รวมถึงอาหารบางอย่างเป็นอาหารที่ย่อยยากโดยธรรมชาติ หลังจากรับประทานเข้าไปแล้ว อาจทำให้เกิดการผลิตแก๊สปริมาณมาก เช่น บล็อกโคลี่ ผักกะหล่ำ ผักคะน้า ถั่ว หัวหอม ธัญพืช ข้าวโอ๊ต เป็นต้น
-อันดับแรกควรพิจารณาว่าคุณแม่รับประทานอาหารชนิดใดบ้าง ดังนั้น ควรจดบันทึกและหลีกเลี่ยงการรับประทานหรือควรรับประทานให้น้อยลง -แม้ผักจะเป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการท้องอืด แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ควรตัดการรับประทานผักบางชนิดออก เพราะผักมีประโยชน์ในการให้วิตามิน เกลือแร่ โดยคุณแม่สามารถลดอาการท้องอืดได้โดยการรับประทานอาหารแต่ละมื้อน้อยลง แต่รับประทานบ่อยขึ้น เพราะการรับประทานอาหารแต่ละมื้อน้อยลง จะทำให้ปริมาณอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหาร เคลื่อนสู่ลำไส้ทีละน้อย การผลิตแก๊สต่าง ๆ จะมีโอกาสเกิดน้อยลงตามไปด้วย นอกจากนี้ ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อลดปริมาณอากาศที่กลืนเข้าไปโดยไม่รู้ตัว -การเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การออกกำลังกาย การเดิน การยืดเส้นภายหลังรับประทานอาหาร จะช่วยให้การขับลมสะดวกยิ่งขึ้น - แม้ถั่วจะเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ดี แต่กลับสร้างแก๊สในร่างกายได้ ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานมากเกินไป -หากคุณแม่ปวดท้องอย่างรุนแรงหรือเป็นตะคริวพร้อมกับอาการท้องอืดแน่นท้อง ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและการรักษาอย่างดีที่สุด คุณแม่สามารถอาการอื่นๆในช่วงตั้งครรภ์ได้ที่ อาการท้องผูก อาการตกขาว การเป็นตะคริว ปัญหาผมร่วง การวางแผนเมนูอาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ Huggies และหากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะรกสามารถกรองแอลกอฮอล์ที่ส่งผ่านไปสู่ตัวทารกไม่ได้ทั้งหมดค่ะ
เมื่อเริ่มรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่มักจะมีหลายอารมณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความรู้สึกตอบสนองเมื่อรู้ตัวว่าตั้งท้องจะแตกต่างกันไป เรามีคำแนะนำดีๆ ค่ะ
หมู่เลือด ABO ที่ไม่เข้ากัน อาการนี้ถือเป็นอาการแทรกซ้อนอย่างหนึ่งที่เกิดได้ในช่วงตั้งครรภ์ โดยเกิดจากภูมิต้านทานของคุณแม่ เรามีบทความดีๆ มาฝากค่ะ
การเป็น ตะคริวในช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ นั้น ถือเป็นอาการที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์เลยทีเดียวค่ะ โดยผู้หญิงส่วนใหญ่จะเป็นตะคริวเล็กน้อย เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
เมื่ออายุครรภ์ 16 สัปดาห์ คุณแม่อาจนัดพบแพทย์ก่อนคลอดไปแล้ว 2 ครั้ง เพราะจะต้องผ่านการทดสอบเลือดเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจเช็คสภาพร่างกายซึ่งจำเป็นอย่างมากค่ะ
การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน เรามีวิธีคำนวณอายุครรภ์อย่างถูกต้องมาฝากค่ะ
ในช่วงตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์ หลังจากไข่ผสมกับอสุจิเกิดการปฏิสนธิเข้าสู่ช่วงเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ มาดูกันค่ะว่าคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
ปัญหาท้องผูกในระหว่างตั้งครรภ์ นับเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์เลยนะคะ แต่กลับกลายเป็นว่าไม่ค่อยมีใครกล้าพูดเรื่องนี้ เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090