การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
ในระยะตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ผ่านมาเพียงครึ่งทางของไตรมาสแรก แม้ว่าอาการท้องยังไม่ชัดเจน คุณแม่บางคนยังไม่รู้สึกว่าท้องใหญ่ขึ้น แต่ภายในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ถ้าเปรียบเทียบขนาดของลูกน้อยกับกับอาหาร ในระยะนี้ทารกมีขนาดเท่ากับเมล็ดข้าวโพด ราสเบอร์รี่ องุ่น ถั่ว ผลบลูเบอร์รี่ แม้แต่มดลูกก็มีขนาดเท่ากับส้มขนาดกลาง เปรียบเทียบแบบนี้แล้วคงเห็นภาพชัดขึ้น
ขนาดตัวของลูกน้อยใหญ่ขึ้นถึง 10,000 เท่าจากช่วงเริ่มตั้งครรภ์ ตัวอ่อนทารกยังคงเล็กมาก คุณแม่ยังไม่รู้สึกว่าลูกน้อยจะเคลื่อนที่ไปมาอยู่ในมดลูกของคุณแม่ เป็นช่วงที่กำลังจะก้าวผ่านไปสู่ไตรมาสที่สอง
ระยะตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 7 คุณแม่อาจมีอาการท้องผูกบ่อย อิทธิพลจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวช้าลง ควรดื่มน้ำมาก ๆ และรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงช่วยแก้ ปัญหาท้องผูก ได้
อาการแพ้ท้อง ในช่วงแรกก็ยังมีอยู่ ทั้งคลื่นไส้อาเจียน พะอืดพะอม เหม็นกลิ่นอาหารบางอย่าง อาจมีอาการแสบร้อนกลางอก หรือกรดไหลย้อนเกิดขึ้นได้เกือบตลอดทั้งวัน
อาการน้ำลายสอทำให้ต้องกลืนน้ำลายตลอดเวลา หรือเตรียมถุงสำหรับบ้วนทิ้ง ควรดูแลสุขภาพฟัน ความสะอาดภายในช่องปาก แปรงฟันทุกครั้งหลังอาหาร เวลาแปรงลิ้นอาจทำให้รู้สึกพะอืดพะอมอยากอาเจียน
อิทธิผลจากฮอร์โมนตั้งครรภ์ทำให้เกิด ปัญหาสิวอักเสบ นะคะ ร่างกายไวต่อความร้อนเป็นพิเศษ เนื่องจากมีการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายมากขึ้น และฮอร์โมนยังเพิ่มระดับของอุณหภูมิร่างกายด้วย
คุณแม่อาจรู้สึกแน่นท้องเล็กน้อย แม้ว่าในระยะสัปดาห์ที่ 12 มดลูกยังไม่เคลื่อนตัวสูงขึ้นไปอยู่เหนือเชิงกราน แม่ท้องบางคนอาจมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเพียงไม่กี่กิโลกรัมในไตรมาสแรก บางคนน้ำหนักลดลง เห็นได้ว่าแต่ละคนมีอาการแตกต่างกันไป
คนท้องมักจะรู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา ไม่สำคัญว่าจะนอนหลับมากหรือน้อยแค่ไหน อาการอ่อนเพลียเป็นเรื่องปกติของผู้หญิงท้อง แต่หลังจากพ้นไตรมาสแรกไปแล้วอาการจะดีขึ้นเองค่ะ
ช่วงสัปดาห์นี้อารมณ์ของคุณแม่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก หน้าท้องยังไม่ใหญ่ขึ้นในช่วงตั้งครรภ์อ่อน ๆ แต่มีอาการแพ้ท้องให้เห็นแล้ว
หากเพื่อนกำลังลุ้นมีลูกเหมือนกันแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ตัวคุณแม่เองอาจจะรู้สึกสงสารเห็นใจเพื่อน แต่ไม่ต้องรู้สึกผิดในใจนะคะ ยินดีกับตัวเองได้เต็มที่เลยค่ะ
คุณแม่อาจกังวลว่าจะเป็นพ่อแม่อย่างไร จะเลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่อย่างไร พ่อแม่ควรปรึกษากันและเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองว่าจะเป็นพ่อแม่ที่ดีได้ ลองคุยกับพ่อแม่ของตัวเองหรือคุณแม่คนอื่นที่มีประสบการณ์เลี้ยงลูกมาแล้วนะคะ ว่าเคยรู้สึกแบบเดียวกันหรือไม่ และควรทำอย่างไร
ในช่วงนี้กระดูกของทารกเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ใบหน้าของเด็กเริ่มเห็นลักษณะของจมูกชัดเจนขึ้น ด้านหลังของกะโหลกศีรษะมีพัฒนาการเร็วกว่าด้านหน้า ปากและลิ้นเริ่มมากพร้อมกับแขนและขาซึ่งตอนนี้ยังมีขนาดสั้นเหมือนพายเล็ก ๆ อยู่ด้านข้างลำตัว มองเห็นลักษณะเป็นแขนขาชัดเจนขึ้น
การเจริญเติบโตในช่วงนี้ส่วนใหญ่เป็นพัฒนาการของสมอง เซลล์สมองแยกตัวประมาณ 100 เซลล์ต่อนาที ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมคุณแม่รู้สึกหิวบ่อย เพราะร่างกายใช้พลังงานมากมายในการสร้างอวัยวะและเซลล์ต่าง ๆ
ต่อมเพศของทารกเริ่มมีพัฒนาการเกิดขึ้นแล้วนะคะ แต่ยังเร็วเกินไปที่จะ อัลตราซาวนด์ เห็นเพศของทารกว่าเป็นเด็กผู้ชายหรือเด็กผู้หญิง
ไตของลูกน้อยอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว แม้จะยังทำหน้าที่กรองของเหลวจากเลือดไม่ได้ แต่ในไม่ช้าจะเริ่มผลิตปัสสาวะจากน้ำคร่ำที่เด็กกลืนเข้าไปในร่างกายตลอด 7 เดือนที่อยู่ในท้องแม่ค่ะ
คุณแม่ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพในช่องปาก เนื่องจากเหงือกและฟันจะมีปัญหาได้ง่ายในช่วงตั้งครรภ์ หากสุขอนามัยช่องปากไม่ดีและปัญหาโรคเหงือกเป็นสาเหตุของการคลอดก่อนกำหนดและเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ สิ่งสำคัญคือต้องแจ้งทันตแพทย์ว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่ เพื่อการตรวจเอกซเรย์อาจมีความเสี่ยงต่อทารกในท้องค่ะ
คุณแม่ควรกินขิงมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากขิง เช่น ขนมปังบิสกิตรสขิง เบียร์ขิง ลูกอมรสขิง ช่วยลดอาการท้องอืดแน่นท้อง ต้องระวังเรื่องกินของขบเคี้ยวบ่อยและมากเกินไปในระหว่างมื้ออาหาร หากคุณแม่ติดชาหรือกาแฟ ลองชาสมุนไพรหรือชาเปปเปอร์มินท์แทน ใส่น้ำแข็งเพื่อเพิ่มความสดชื่น มีขนมหรืออาหารที่มีรสชาติเค็มเล็กน้อยช่วยแก้แพ้ท้องได้ดีด้วย
การรับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ ดีต่อร่างกายคุณแม่ตั้งครรภ์ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สม่ำเสมอ ป้องกันอาการน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งทำให้เวียนศีรษะได้ด้วย ควรรับประทานอาหารกลุ่มที่มีวิตามินบีสูง เพราะว่าเป็นวิตามินที่สำคัญต่อการเสริมสร้างสมองและระบบประสาท เน้นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและจำเป็นต่อร่างกายทั้งแม่และลูก
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ สามารถติดตามอ่านข้อมูลเกี่ยวข้องได้ที่บทความ การดูแลสุขภาพช่องปากระหว่างตั้งครรภ์ อาการคนท้อง และ อาหารคนท้อง รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน เรามีวิธีคำนวณอายุครรภ์อย่างถูกต้องมาฝากค่ะ
ช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ คุณแม่ยังไม่ควรตื่นเต้นมากจนเกินไป เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเอง มาดูกันค่ะว่าคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
การที่ลูกของคุณเติบโตขึ้น คุณเริ่มรู้สึกสบายใจที่จะซื้อสินค้าเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์อาบน้ำจนถึงผลิตภัณฑ์ซักผ้าสูตรอ่อนละมุน ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งในรายชื่อสิ่งของที่ต้องซื้อเข้าบ้าน (หลังจากคุณเพียรคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้เจ้าตัวเล็ก)
การเป็น ตะคริวในช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ นั้น ถือเป็นอาการที่พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์เลยทีเดียวค่ะ โดยผู้หญิงส่วนใหญ่จะเป็นตะคริวเล็กน้อย เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
นับตั้งแต่ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์ไปจนครบกำหนดคลอด พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์จะเติบโตเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนแล้ว เรามีคำแนะนำดีๆ สำหรับคุณแม่ค่ะ
ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ อาการท้องเสียจะเกิดขึ้นได้บ่อยเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องอาหารการกินและการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
เราเชื่อว่า 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ยากที่สุดของคุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่ ดังนั้น วันนี้ฮักกี้ส์มีคำแนะนำดีดีและพัฒนาการของลูกน้อยมาฝากกัน
การตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรกระหว่างสัปดาห์ที่ 1-13 หรือประมาณ 3 เดือนนั้น คุณแม่หลายท่านอาจไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่ เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
ใกล้สิ้นสุดไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์แล้วช่วงเวลาสองสามเดือนแรกที่ลำบากที่สุดกำลังจะผ่านพ้นไป มาดูกันค่ะว่าช่วงนี้คุณแม่และลูกน้อยเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง