การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
ช่วงอายุครรภ์ 6 สัปดาห์มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
ถ้าในขณะนี้คุณแม่ยังไม่ได้ตรวจการตั้งครรภ์ เราแนะนำว่าคุณแม่ควรตรวจได้แล้วนะคะ โดยซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตัวเองจากซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านขายยาเภสัชกร ราคาจะอยู่ที่ 300-600 บาท ในชุดทดสอบจะมีอุปกรณ์ตรวจมาให้พร้อมสรรพ เรียนรู้วิธีการใช้ได้อย่างง่ายดาย สามีภรรยาบางคู่ถ่ายวิดีโอหรือถ่ายรูปเก็บช่วงเวลาประทับใจขณะตรวจตั้งครรภ์ด้วย โดยเฉพาะถ้าตรวจผลลัพธ์เป็นบวก หมายความว่าท้อง กลายเป็นความทรงจำดี ๆ ที่จะเก็บกอดไว้ตลอดไป เมื่อคุณแม่มีตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ลูกน้อยมีขนาดตัวให้วัดได้แล้ว แต่เนื่องจากทารกในครรภ์ อยู่ในท่าขดตัวและงอช่วงเข่าเข้ามากลางตัวลักษณะคล้ายกุ้ง ไม่ได้อยู่ในท่าเหยียดตรงจึงวัดจากปลายศีรษะถึงปลายเท้าได้ไม่แม่นยำเหมือนเด็กทารกหลังคลอด ดังนั้นการตรวจวัดขนาดตัวของเด็กในระยะตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ที่ถูกต้องมากที่สุด ก็คือ คุณหมอจะตรวจดูด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์และวัดความยาวจากศีรษะจนถึงช่วงล่างสุดของสะโพก ในช่วงตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์โดยเฉลี่ยแล้ว เด็กจะมีขนาดตัวประมาณ 5-6 มิลลิเมตรเท่านั้นเองค่ะ ส่วนหัวของเด็กยังคงมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับส่วนลำตัว คุณแม่จะเริ่มเห็นได้แล้วว่ามีรอยพับเล็ก ๆ ตรงบริเวณใบหน้าและกราม ขณะเดียวกันด้านข้างของร่างกายเริ่มเห็นปุ่มเล็ก ๆ ซึ่งจะพัฒนาต่อไปกลายเป็นแขนและขาในที่สุด สองข้างของศีรษะมีรูเล็ก ๆ ที่จะกลายเป็นช่องหูต่อไป หน้าตาของลูกยังเห็นไม่ชัดนะคะ เพราะเป็นระยะเริ่มแรกของการพัฒนาตัวอ่อน โดยเริ่มจากดวงตาและจมูกก่อน อวัยวะสำคัญหลายอย่างกำลังพัฒนา การตรวจอัลตร้าซาวด์แบบนี้ ช่วยคุณแม่ยืนยันได้ชัดว่าในท้องมีเด็กน้อยกำลังเติบโตจริง ๆ เป็นข่าวดีของครอบครัว โดยเฉพาะคุณแม่ที่หวังอยากมีลูกมานานแล้ว
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์
เรามาดูความเปลี่ยนแปลงในร่างกายของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ไปพร้อมกันเลยค่ะ • อาการที่เกิดขึ้นกับคุณแม่จะคล้ายสัปดาห์ที่ผ่านมา แพ้ท้องหนักกว่าเดิม คลื่นไส้มากขึ้น ประสาทรับกลิ่นไวมากขึ้น โดยเฉพาะกลิ่นอาหารหรือกลิ่นคนรอบข้าง รู้สึกเหนื่อยเพลียมากขึ้น ทำอะไรนิดหน่อยก็จะเหนื่อยหรือหมดแรงง่าย ขอให้คุณแม่ทำใจให้สบายอย่าเครียดนะคะ พักผ่อนมาก ๆ ก็จะสบายขึ้นค่ะ เวลาแพ้ท้องบางครั้งรู้สึกผะอืดผะอม อยากอาเจียนตอนท้องว่าง บางครั้งคุณแม่นึกอยากกินอาหารแปลก ๆ ที่ปกติแล้ว ไม่เคยชอบหรือรู้สึกอยากรับประทานมาก่อน เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา อาหารทะเล ผัก ผลไม้ หรือแม้แต่น้ำแข็งก้อนสำหรับเคี้ยวเล่น กลับกลายเป็นของโปรดในช่วงตั้งท้องก็เป็นได้ • นอกจากนี้ หน้าอกและหัวนมของคุณแม่จะมีความรู้สึกไวต่อสิ่งกระตุ้นมากขึ้น อาจเห็นเส้นเลือดขยายเป็นสีน้ำเงินใต้ผิวหนังทรวงอก หน้าอกทั้งสองข้างตัดตึงและขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะนี้ด้วย หัวนมมีสีเข้มขึ้น คุณแม่อาจจะต้องเลือกชุดชั้นในสำหรับแม่ท้องที่สวมใส่สบาย ไม่อึดอัด และรองรับเต้านมที่ขยายใหญ่และหนักขึ้นได้ดี • คุณแม่อาจสังเกตเห็นว่ามีตกขาวออกมามากขึ้น ถ้าปริมาณมากผิดปกติ มีอาการคัน หรือมีกลิ่นแปลก ๆ ให้แจ้งคุณหมอที่ฝากครรภ์อยู่ หรือตรวจกับแพทย์ทั่วไปนะคะ เพราะคุณแม่อาจเป็นโรคเชื้อราในช่องคลอดก็ได้ คุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ เป็นอาการปกติที่พบได้บ่อยเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนตั้งครรภ์ทำให้เชื้อแบคทีเรียที่ดีในช่องคลอดมีปริมาณน้อยลง ทำให้ปริมาณแบคทีเรียภายในช่องคลอดเสียสมดุล รวมถึงค่าความเป็นกรดด่างหรือค่า pH ในช่องคลอดเปลี่ยนแปลงไป โดยลดสภาพความเป็นกรดทำให้แบคทีเรียเสียสมดุลและเกิดการติดเชื้อภายในช่องคลอดได้ง่ายนั่นเอง • คุณแม่อาจรู้สึกว่าตัวเองกลืนน้ำลายบ่อยขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์บางคนเกิดปัญหาน้ำลายมากและต้องกลืนอยู่ตลอดเวลา เป็นอาการที่พบบ่อยและจะกลับมาเป็นปกติหลังจากอายุครรภ์มากกว่านี้ค่ะ • คุณแม่หลายคนอาจมีอาการปวดหัวบ่อยในช่วงตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์เราแนะนำว่าพยายามอย่ากินยานะคะ เพื่อเลี่ยงผลกระทบกับลูกน้อยในท้อง ลองหาวิธีบรรเทาอาการปวดหัวอย่างง่าย ๆ เช่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มที่ช่วยให้รู้สึกสดชื่น รวมถึงอาบน้ำอุ่นด้วยค่ะ วิธีนวดคลึงหนังศีรษะช่วยลดอาการปวดหัวได้ดีมากเลยค่ะ • ถ้าคุณแม่เคยมีลูกมาก่อน อาจจะรู้สึกว่าเสื้อผ้าที่สวมใส่คับแน่นขึ้น โดยเฉพาะรอบเอวและรอบอก ไม่ใช่เพราะขนาดของทารก อายุครรภ์เท่านี้ลูกน้อยยังตัวเล็กมากเลยนะคะ แต่เป็นอาการตามธรรมชาติของคุณแม่ที่เคยมีลูกแล้วทำให้คุณแม่อวบเร็วขึ้นค่ะ
สภาวะอารมณ์ของคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์
เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 6 คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์อย่างไรบ้าง • เมื่อตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์คุณแม่ควรอยากหยุดพฤติกรรมที่มีผลเสียต่อลูกน้อยในครรภ์ คุณแม่ควรเลิกสูบหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยาเสพติด ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงต่าง ๆ มากมายกับคุณแม่และทารกในครรภ์ ในระยะนี้ลูกน้อยของคุณแม่อยู่ในช่วงการพัฒนาที่สำคัญนะคะ พยายามลดและเลิกทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์เพื่อสุขภาพของลูกที่คุณรักนะคะ • ในช่วงตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์คุณแม่จะเกิดความกังวลอยู่บ้างทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ แม้ว่าประจำเดือนจะไม่มาเกิน 2 สัปดาห์ไปแล้ว และตรวจตั้งครรภ์แล้วว่าท้องจริง ๆ แต่คุณแม่ก็ยังกลัวว่าจะเกิดการแท้งลูก โดยเฉพาะในช่วง 12 สัปดาห์แรกหรือไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ค่ะ เมื่อเริ่มรู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์ คุณแม่กังวลว่าถ้าบอกกับคนรอบข้างไปแล้วเกิดแท้งลูกขึ้นมาจะทำอย่างไร แนะนำว่าควรคุยกับคุณพ่อนะคะว่าเมื่อไรเป็นจังหวะเหมาะที่จะบอกข่าวดีกับคนอื่นค่ะ
พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์
เรามาดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทารกเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 6 ไปพร้อมกันเลยค่ะ • ในช่วงสัปดาห์นี้ลูกน้อยของคุณแม่ยังมีขนาดเล็กมากนะคะ ดูคล้ายกับลูกอ๊อดตัวเล็กเท่านั้นเอง มีส่วนหัว ลำตัวและปุ่มเล็ก ๆ ที่กำลังจะเติบโตเป็นแขนขาต่อไป แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ ทารกจะมีลักษณะเหมือนลูกอ๊อดแบบนี้ไม่นานนะคะ หลังจากผ่านอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 6 ไปแล้วลูกน้อยจะเติบโตรวดเร็วมาก แม้แต่เวลาคุณแม่หลับแล้ว พัฒนาการของลูกก็ยังดำเนินต่อไปค่ะ • ช่วงนี้คุณแม่มองเห็นการเต้นของของหัวใจทารกในครรภ์จากการตรวจอัลตร้าซาวด์นะคะ เรียกว่าเป็นครั้งแรกที่จะได้เห็นหัวใจดวงน้อย ๆ เต้นตุบ ๆ ขณะเดียวกันอวัยวะภายในร่างกายที่สำคัญของลูกน้อยเริ่มสร้างขึ้นมาตามลำดับ แม้ว่าช่วงตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ทารกในครรภ์มีขนาดตัวเล็กมากเท่าลูกอ๊อดเท่านั้น แต่ในลำตัวเริ่มสร้างตับ ไต และปอด คุณแม่ไม่ต้องประหลาดใจว่า ทำไมช่วงนี้ถึงรู้สึกเหนื่อยมากผิดปกติ นั่นก็เพราะว่าพลังงานของคุณแม่ถูกใช้ไปในการสร้างอวัยวะใหม่ของลูกน้อยตลอดเวลานั่นเอง • เมื่อตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์เป็นระยะที่ทารกเริ่มมีกราม คางและแก้มแล้ว มีขนาดเล็กจิ๋วตามสัดส่วนของร่างกาย และจะค่อย ๆ เห็นชัดเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์
1. เพราะคนท้องหิวบ่อย เราแนะนำให้คุณแม่พกขนมขบเคี้ยวติดกระเป๋าไว้นะคะ ควรเลือกขนมที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ขนมปังแครกเกอร์โรยเกลือ ขนมปังบิสกิตรสหวาน และดื่มน้ำมาก ๆ ค่ะ แก้อาการวิงเวียนคลื่นไส้ได้ดีนะคะ 2. หากคุณแม่รู้สึกคลื่นไส้อาเจียนบ่อย ๆ เวลาเดินทางไปไหนมาไหน อย่าลืมพกถุงอาเจียนไว้ในรถด้วย ถ้ามีอาการคลื่นไส้อาเจียนจะเกิดความสะดวก คุณแม่ไม่ต้องรู้สึกว่าต้องอายเวลามีอาการแพ้ท้องอาเจียนต่อหน้าคนอื่นนะคะ ถือเป็นเรื่องธรรมชาติของคุณแม่ตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่แล้วแพ้ท้องในระยะแรกและหลังจากเข้าสู่ไตรมาสสองแล้วอาการแพ้ท้องจะหายไปค่ะ 3. นอกจากนี้ ต้องหลีกเลี่ยงสารพิษ สารเคมี การตรวจเอกซเรย์ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ ในช่วงตั้งครรภ์ 6 สัปดาห์ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของอวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญ ถ้าน้ำหนักคุณแม่ลดน้อยลงไป เพราะอาการแพ้ท้องคลื่นไส้อาเจียน อาจทำให้น้ำหนักหายไปเยอะ แต่ยังมีเวลาตั้งครรภ์อีกนาน น้ำหนักตัวคุณแม่จะเพิ่มกลับคืนมาอย่างแน่นอนในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลและคำแนะนำที่เราได้นำมาฝากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 6 ในช่วงนี้คุณแม่ต้องกินวิตามิน กรดโฟลิก และอาหารเสริมธาตุเหล็ก ให้ครบถ้วนตามที่คุณหมอแนะนำนะคะ สารอาหารเหล่านี้มีความจำเป็นต่อแม่ตั้งครรภ์มากนะคะ ช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้นอยากทราบว่าอาหารอะไรที่มีประโยชน์ ปรึกษาคุณหมอและเภสัชกรดีที่สุดค่ะ คุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลสำหรับการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 7 ว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะรกสามารถกรองแอลกอฮอล์ที่ส่งผ่านไปสู่ตัวทารกไม่ได้ทั้งหมดค่ะ
เมื่อเริ่มรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่มักจะมีหลายอารมณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความรู้สึกตอบสนองเมื่อรู้ตัวว่าตั้งท้องจะแตกต่างกันไป เรามีคำแนะนำดีๆ ค่ะ
ภัยอันตรายรอบข้างเป็นสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องระวังให้ทารกในครรภ์เป็นพิเศษ แต่คุณแม่รู้หรือไม่ว่ามี 3 สิ่งที่อันตรายจนสามารถทำลายสมองและพัฒนาการทารกในครรภ์ได้ 3 สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงในการขัดขวางพัฒนาการทารกในครรภ์คือสิ่งต่อไปนี้
เพื่อเป็นการเอาใจคุณแม่มือใหม่ที่กำลังอยู่ในช่วงเวลาให้นมเจ้าตัวน้อย ลองมาติดตามกันนะคะว่ามีอะไรที่คุณแม่ควรรู้และระวัง รวมถึงมี ท่า ให้ นม ใดบ้างที่ถูกต้องและช่วยให้ลูกรักดื่มนมจากเต้าได้ง่ายยิ่งขึ้นค่ะ
คุณแม่ตั้งครรภ์ในระยะแรกมักประสบปัญหาเดียวกัน นั่นคือ อาการท้องอืด โดยอาการนี้ให้ความรู้สึกเหมือนมีลมในท้องมากกว่าปกติ เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
ระยะนี้ลูกน้อยในท้องมีพัฒนาการทางร่างกายใหญ่ขึ้นและมดลูกขยายตัวขึ้นทุกวันเพื่อให้พอดีกับตัวทารกในช่วงตั้งครรภ์ 27 สัปดาห์ เรามีคำแนะนำดีๆ สำหรับคุณแม่ค่ะ
พัฒนาการทารกในครรภ์จะดีได้ไม่ใช่แค่แม่ต้องกินอาหารดี ออกกำลังกายดี สภาพแวดล้อมดี และพักผ่อนดีเท่านั้นนะคะ คุณแม่ยังสามารถส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์ได้ด้วยการพูดคุยกับลูกในท้อง ซึ่งการคุยกับลูกในท้องก็ไม่ใช่เรื่องยากหรือแปลกเลยสักนิด ลองทำตามวิธีที่เราแนะนำดูค่ะ
การนอนหลับที่ดีระหว่างตั้งครรภ์นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก แม้จะเป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ยากเนื่องจากร่างกายของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลง เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
ความเครียดของแม่ท้องเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความกลัวและความกังวลในช่วงตั้งครรภ์ ความไม่สบายตัว ความปวดเมื่อยร่างกาย อาการเจ็บป่วยต่างๆ ช่วงตั้งครรภ์ แรงกดดันจากคนรอบข้าง รวมถึงความเครียดจากการกลัวการคลอดด้วย ซึ่งความเครียดเหล่านี้ส่งผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์โดยตรง เพราะลูกในท้องจะสัมผัสอารมณ์ของแม่ได้และแสดงอาการออกมาหลายแบบ เช่น ถ้าแม่เครียดมาก นอนไม่หลับ ลูกในท้องก็อาจจะไม่ดิ้น ไม่ขยับตัวเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเช่นกัน ดังนั้นหากแม่ท้องไม่มีความเครียดทารกในครรภ์ก็จะไม่เครียด รู้สึกผ่อนคลายสบายตัว เขาจะอยากขยับตัวเคลื่อนไหวเหมือนกำลังว่ายน้ำในท้องแม่อย่างสบายใจ ดังนั้นหากแม่ท้องมีความเครียดจะต้องรีบกำจัดด้วย 5 วิธีต่อไปนี้ค่ะ
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090