การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
แคลเซียมเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับแม่ท้องและพัฒนาการทรกในครรภ์ เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะดึงแคลเซียมจากร่างกายแม่ไปสร้างกระดูกและฟันของตัวเองด้วย ดังนั้นหากแม่ท้องไม่ทานอาหารที่มีแคลเซียมเยอะๆ ร่างกายก็จะมีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อการดูแลกระดูกและฟันของตัวเอง รวมไปถึงลูกก็จะดึงแคลเซียมไปได้น้อยมากจนส่งผลต่อพัฒนาการของเขาเช่นกัน
แม่ตั้งครรภ์ต้องรับแคลเซียมมากกว่าปกติจริงหรือไม่? ในช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้น ทารกในครรภ์จะดูดซึมแคลเซียมผ่านคุณแม่ เพราะช่วงเวลาที่ทารกอยู่ในครรภ์นั้นเป็นช่วงที่มีการพัฒนาการสูงมาก ร่างกายของลูกในครรภ์ต้องการการเจริญเติบโต สร้างกระดูก สร้างกล้ามเนื้อ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องบำรุงร่างกายเป็นพิเศษ เมื่อทารกในครรภ์ดูดซึมแคลเซียมผ่านคุณแม่ความหนาแน่นของมวลกระดูกคุณแม่จะลดลง เสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้ แต่เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับแคลเซียลที่เพียงพอ จะช่วยให้ลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ลดการเกิดตะคริวได้อีกด้วย แม่ตั้งครรภ์นั้นควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม
พบแคลเซียมได้จากไหนบ้าง? เมื่อร่างกายไม่สามารถสร้างแคลเซียมได้เอง ดังนั้นต้องอาศัยอาหารเหล่านี้มาเติมเต็มได้แก่ นม โยเกิร์ต ชีส ปลาตัวเล็ก กุ้งฝอย ธัญพืชต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง เต้าหู้ ผักใบเขียว ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากพืชผักได้น้อยกว่านมและก้างปลา ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ทำได้โดยดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว แบ่งเป็นนมวัว 1 แก้ว และนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมอีก 1แก้ว ปลาที่กินทั้งกระดูก เช่น ปลาข้าวสาร ปลาตัวเล็ก กินร่วมกับข้าว ไข่ 1 ฟอง ธัญพืชต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง ผักใบเขียว ผลไม้ 2-3 ชนิด และเลือกอาหารไทยๆ ที่มีกะปิเป็นส่วนประกอบ เช่น แกงเลียง ต้มส้ม แกงเผ็ดต่างๆ เป็นต้น
การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน เรามีวิธีคำนวณอายุครรภ์อย่างถูกต้องมาฝากค่ะ
ช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ คุณแม่ยังไม่ควรตื่นเต้นมากจนเกินไป เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเอง มาดูกันค่ะว่าคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
คุณแม่ ๆ ลองคิดดูสิว่า ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่เหมาะสมแทบจะเป็นเครื่องแต่งกายชิ้นสำคัญที่สุดตลอด 2-3 ขวบปีแรกในชีวิตของลูกเลยไม่ใช่หรือ
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 22 สัปดาห์ เปลือกตาของทารกในครรภ์ยังคงปิดสนิท แต่สามารถแยกแยะได้แล้วว่าช่วงไหนสว่างหรือมืดมาดูกันค่ะว่าทารกน้อยมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง
เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ 30 สัปดาห์ ถือได้ว่าเริ่มนับถอยหลังแล้ว เพราะผ่านมาถึงระยะ 3 ใน 4 ของการตั้งครรภ์ เหลือเพียง 10 สัปดาห์ ก็ถึงกำหนดคลอดแล้วค่ะ
คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 6 เดือนแล้วอาจตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำทุกเดือนตลอดช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ เรามีคำแนะนำดีๆ สำหรับคุณแม่ค่ะ
นับตั้งแต่ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์ไปจนครบกำหนดคลอด พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์จะเติบโตเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนแล้ว เรามีคำแนะนำดีๆ สำหรับคุณแม่ค่ะ
ชีสเป็นแหล่งรวมแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แคลเซียม, ฟอสฟอรัส, แมกนีเซียม และวิตามินบี 12 ซึ่งเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงค่ะ
เมื่อตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ หน้าท้องของคุณแม่จะยื่นออกมาชัดเจนกว่าเดิม แม้ว่าท้องไม่ใหญ่มาก แต่รู้สึกได้ถึงผลกระทบ คุณแม่ต้องดูแลตัวอย่างไรเรามีคำแนะนำค่ะ