การย้ายตัวอ่อนเป็นขั้นตอนต่อไปในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือ การรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ART) เรามีบทความดีๆ...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
ช่วงอายุครรภ์ 5 สัปดาห์มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
ในระยะตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์คุณแม่อาจยังไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ แต่เริ่มสงสัยว่ามีบางอย่างเกิดขึ้นภายในร่างกายตนเอง เนื่องจากประจำเดือนมาล่าช้ากว่าปกติและขาดหายไปนานอย่างน้อย 1 สัปดาห์แล้ว ร่างกายภายนอกอาจดูไม่แตกต่างจากเดิมชัดเจน แต่เริ่มมีอาการแพ้ท้องให้เห็นบ้าง สัปดาห์นี้เป็นช่วงเวลาที่ควรเริ่มทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยการตรวจปัสสาวะจะช่วยยืนยันให้แน่ใจได้ค่ะ ช่วงเวลาเหมาะที่สุดคือตรวจสอบทันทีหลังตื่นนอนตอนเช้า ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนตั้งครรภ์ (HCG) สูงสุดเมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่น ๆ ทำให้ได้ผลตรวจการตั้งครรภ์ที่แม่นยำค่ะ ว่าที่คุณแม่จำนวนมากยังไม่ได้ฝากครรภ์จนกระทั่งพ้นไตรมาสแรก หมายถึงพ้นช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์มาแล้ว หากไปพบคุณหมอหรือพยาบาลผดุงครรภ์ช่วงนี้ จะรู้กำหนดวันคลอดของลูกน้อยได้เลยค่ะ หรืออีกวิธีคือลองตรวจสอบกับเครื่องคำนวณออนไลน์เพื่อคำนวณกำหนดวันคลอด หรือค่า EDD ค่ะ โดยกรอกข้อมูลวันแรกของการมีประจำเดือนรอบสุดท้าย บวกเพิ่ม 9 เดือน และบวกต่อไปอีก 7 วันจะได้กำหนดวันคลอดอย่างแม่นยำ อาการเริ่มแรกของคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป เช่น คลื่นไส้ ปวดปัสสาวะบ่อย แต่ว่าที่คุณแม่หลายท่านยังไม่มีอาการแพ้ท้องในระยะนี้ แค่มีความรู้สึกแปลก ๆ ที่อธิบายไม่ได้ คุณสามีอาจจะเป็นฝ่ายที่สังเกตเห็นได้ว่าคุณแม่มีความรู้สึกอ่อนไหวหรืออารมณ์แปรปรวนมากกว่าปกติ แม้จะยังไม่สังเกตเห็นร่างกายภายนอกเปลี่ยนแปลง แต่ถือว่าเข้าสู่ช่วงเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์แล้วนะคะ ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญที่คุณแม่ต้องเริ่มดูแลตัวเองมากขึ้นไปจนถึงวันคลอดค่ะ
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์
เรามาดูความเปลี่ยนแปลงในร่างกายของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ไปพร้อมกันเลยค่ะ • ในสัปดาห์ที่ 5 คุณแม่อาจไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายภายนอกเลย แต่ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ เพราะว่าโดยธรรมชาติแล้วอาการของคนท้องแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ประสบการณ์ของแต่ละคนจะแตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง • คุณแม่อาจรู้สึกคลื่นไส้โดยเฉพาะช่วงตื่นนอนตอนเช้าหรือท้องว่างเป็นเวลานาน ทำให้อยากอาเจียนและรู้สึกปั่นป่วนในกระเพาะอาหารตลอดทั้งวัน • แม่ท้องส่วนใหญ่มีประสบการณ์แพ้ท้องแบบหน้ามืด เวียนหัว อยากนั่งพัก อาการอาจแย่กว่านี้ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการหน้ามืดและวูบอาจเกิดขึ้นในช่วงระหว่างมื้ออาหาร แต่จะดีขึ้นเมื่อได้รับประทานอาหารเข้าไปค่ะ • ในช่วงนี้คุณแม่มีความรู้สึกไวต่อกลิ่นมากเลยค่ะ จมูกอ่อนไหวต่อกลิ่นบางอย่างเป็นพิเศษ เช่น น้ำหอม อาหาร ควันรถยนต์ หรือแม้แต่กลิ่นตัวของคนอื่นทำให้รู้สึกเวียนหัวอยากอาเจียนได้นะคะ • คุณแม่อาจรู้สึกปวดหน่วงในมดลูกเหมือนช่วงเวลาที่กำลังจะมีประจำเดือน สาเหตุเกิดจากมีปริมาณเลือดไหลเวียนเข้าไปยังมดลูกเพื่อเลี้ยงลูกน้อยในครรภ์มากขึ้นค่ะ • ในช่วงตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์ รกและถุงน้ำคร่ำยังคงพัฒนาและทำหน้าที่หล่อเลี้ยงปกป้องตัวอ่อน ระหว่างที่ทารกกำลังเจริญเติบโตในครรภ์ ถุงน้ำคร่ำในมดลูกจะขยายไปตามขนาดตัวของลูกน้อยค่ะ ซึ่งเป็นเหตุผลอธิบายได้ว่าทำไมคุณแม่ถึงรู้สึกแน่นหน้าอกและหายใจไม่สะดวกนัก • หน้าอกของคุณแม่จะบวม คัดเต้านม และมีความรู้สึกไวกว่าปกติ การนอนคว่ำทับเต้านมอาจจะทำให้เจ็บแปลบได้ค่ะ
สภาวะอารมณ์ของคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์
เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 5 คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์อย่างไรบ้าง • คุณแม่อาจรู้สึกเหนื่อย อ่อนล้าเล็กน้อย มีแนวโน้มอ่อนไหวง่าย เกิดอารมณ์แปรปรวนในช่วงสัปดาห์นี้ ทั้งตื่นเต้น มีความสุข วิตกกังวล ความรู้สึกผิด อารมณ์ทั้งหมดจะประดังเข้ามาในเวลาเดียวกัน หากคุณแม่ตั้งใจวางแผนมีลูก ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ คุณกำลังจะเป็นคุณแม่แล้ว สำหรับคุณแม่บางคนที่ไม่ได้ตั้งใจอยากมีลูก อาจไม่ดีใจที่รู้ว่ากำลังตั้งครรภ์และอาจรู้สึกเครียดและเสียใจที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมก็เป็นได้ค่ะ • คุณแม่มือใหม่อาจลังเลว่าจะเก็บงำข่าวดีเรื่องตั้งครรภ์ไว้ก่อน หรือประกาศตัวไปเลยและปรึกษาหาประสบการณ์จากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์คนอื่น ๆ คิดหาวิธีที่พอใจที่สุดและไม่ต้องเครียดมากเกินไปนะคะ คุณแม่หลายท่านพบว่าการตั้งท้องเป็นช่วงเวลาพิเศษ จึงยังไม่อยากบอกให้ใครรู้ในทันที ต้องการเก็บช่วงเวลาล้ำค่าไว้เป็นความลับระหว่างคุณแม่และเจ้าตัวน้อยเท่านั้น หรือคุณแม่บางท่านก็มีการถือเคล็ดว่าจะต้องตั้งครรภ์ผ่านช่วง 3 เดือนไปแล้วจึงจะบอกคนอื่นๆว่าท้องแล้วนั่นเอง • เป็นธรรมดาของช่วงเวลาที่กำลังตั้งครรภ์ที่จะเป็นห่วงกังวลไปทุกเรื่อง เป็นห่วงสุขภาพของตัวเองและห่วงใยลูกน้อยว่าจะแข็งแรงสมบูรณ์ดีไหม เพราะคุณแม่ต้องพบกับประสบการณ์แปลกใหม่ครั้งแรกและครั้งสำคัญในชีวิต บางคนวิตกว่าสามีจะรู้สึกอย่างไร กังวลไปถึงเรื่องการตั้งครรภ์จะกระทบต่อความสัมพันธ์กับคู่ชีวิต พยายามทำใจให้สบาย อย่าเครียดนะคะ แนะนำให้โฟกัสไปที่การดูแลตัวเองให้ดีตลอดการตั้งครรภ์ดีกว่าค่ะ • หลายคนไม่มั่นใจว่าควรจะบอกข่าวดีกับครอบครัวหรือเพื่อนสนิทเมื่อไร เพราะในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ยังมีความเสี่ยงต่อการแท้ง คุณแม่คุณพ่อพูดคุยตกลงกันให้ดีนะคะ หลายคู่รอจนกระทั่งอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ ซึ่งพ้นระยะเสี่ยงแท้งบุตรไปแล้ว จึงค่อยบอกข่าวดีให้คนอื่นได้รับรู้ค่ะ
พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงตั้งครรภ์ 5 สัปดาห์
เรามาดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทารกเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 5 ไปพร้อมกันเลยค่ะ • ในช่วงนี้ลูกน้อยของคุณแม่มีขนาดเท่ากับเมล็ดส้ม เริ่มเห็นตัวเด็กทารกในครรภ์ด้วยการตรวจอัลตราซาวด์ค่ะ ทารกมีลักษณะคล้ายลูกอ๊อด หัวใจเริ่มเต้นสูบฉีดเลือดไหลเวียนในตัวร่างกายเล็ก ๆ แล้ว เห็นสัญญาณชีพจากการเต้นของหัวใจ คุณหมออาจให้ลองฟังเสียงหัวใจของลูกน้อยเต้นเป็นครั้งแรกด้วยค่ะ • หัวใจทารกมีขนาดเล็กและยังไม่แบ่ง 4 ห้องชัดเจนแบบคนที่โตเต็มที่ แต่หลอดเลือดหัวใจทำงานสมบูรณ์ตามพัฒนาการและส่งผ่านเลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ในช่วงสัปดาห์ที่ 5 สมองและไขสันหลังของลูกน้อยเริ่มพัฒนาแล้ว แต่ยังเปิดอยู่และจะปิดสนิทในภายหลังค่ะ
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในช่วงครรภ์ 5 สัปดาห์
1. คุณแม่ควรรับประทานวิตามินบำรุงเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะกรดโฟลิกที่สำคัญมากต่อการพัฒนาสมองและไขสันหลังของลูกน้อย ในช่วงสัปดาห์ที่ 5 ท่อประสาทของทารกในสมองและไขสันหลังยังเปิดอยู่ แต่จะปิดในสัปดาห์ถัดไปค่ะ 2. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาทุกประเภทนะคะ เว้นแต่แพทย์หรือเภสัชกรจะรับรองความปลอดภัย เนื่องจากยาบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ได้ค่ะ 3. คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์พยายามพักผ่อนให้มากนะคะ คุณแม่อาจรู้สึกอ่อนเพลียมาก เพราะร่างกายกำลังเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหลายอย่าง บวกกับความเครียดความกังวลด้วย ในช่วงตั้งครรภ์ควรเอนตัวพักผ่อนนอนหลับให้มาก จะส่งผลดีต่อร่างกายคุณแม่รวมไปถึงลูกน้อยในครรภ์ด้วยค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลและคำแนะนำที่เราได้นำมาฝากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 5 ในช่วงนี้เมื่อคุณแม่ได้ผลตรวจที่แน่ชัดแล้วว่าตั้งครรภ์ หรือเริ่มมีอาการที่บ่งบอกได้ เช่น คลื่นไส้ ปวดปัสสาวะบ่อย ประจำเดือนไม่มาตามปกติ ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อฝากครรภ์และปรึกษาเพิ่มเติมเพื่อเตรียมรับมือกับอาการที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้และต่อไปตลอดการตั้งครรภ์ หากเกิดความกังวลกับเรื่องนี้ คุณแม่ควรหากิจกรรมที่น่าสนใจหากร่างกายยังไม่มีอาการแพ้ท้องมาก แต่ก็ยังควรเป็นกิจกรรมเบาๆนะคะ เช่น ช้อปปิ้ง นัดทานข้าวกับเพื่อน พาคุณสามีไปเที่ยวในที่แปลกใหม่ เพื่อลดความเครียดให้กับตัวคุณแม่เองค่ะ คุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลสำหรับการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 6 ว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะรกสามารถกรองแอลกอฮอล์ที่ส่งผ่านไปสู่ตัวทารกไม่ได้ทั้งหมดค่ะ
เมื่อเริ่มรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่มักจะมีหลายอารมณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความรู้สึกตอบสนองเมื่อรู้ตัวว่าตั้งท้องจะแตกต่างกันไป เรามีคำแนะนำดีๆ ค่ะ
การย้ายตัวอ่อนเป็นขั้นตอนต่อไปในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือ การรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ART) เรามีบทความดีๆ มาฝากกันค่ะ
โบราณว่าไว้ “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ในช่วงท้องแบบนี้การดูแลจิตใจจึงสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการดูแลร่างกายด้านอื่นๆ เลย เพราะอารมณ์ของคุณแม่นั้นมีผลโดยตรงต่อพัฒนาการของเจ้าตัวเล็กในครรภ์ ซึ่งถ้าคุณแม่เครียดมากๆ ทารกก็เสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อย และมีแนวโน้มที่จะงอแง โมโหง่ายมากกว่าเดิมด้วยค่ะ
ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรระมัดระวัง โรคติดเชื้อลิสเทอเรีย (Listeria) ที่เป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกค่ะ เรามี คำแนะนำดีๆ สำหรับคุณแม่มาฝากกันค่ะ
พัฒนาการของทารกในครรภ์ที่คุณแม่สามารถทำได้ด้วยวิธีง่ายๆ ทำได้ทุกวันและทำได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นสมองของทารกในครรภ์ได้อย่างดี นั่นคือ การลูบท้องเบาๆ แล้วทำไมการลูบหน้าท้องถึงช่วยให้พัฒนาการทารกในครรภ์ดีได้ และต้องลูบหน้าท้องอย่างไร มาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันค่ะ
เพื่อเป็นการเอาใจคุณแม่มือใหม่ที่กำลังอยู่ในช่วงเวลาให้นมเจ้าตัวน้อย ลองมาติดตามกันนะคะว่ามีอะไรที่คุณแม่ควรรู้และระวัง รวมถึงมี ท่า ให้ นม ใดบ้างที่ถูกต้องและช่วยให้ลูกรักดื่มนมจากเต้าได้ง่ายยิ่งขึ้นค่ะ
ช่วงเวลาที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้นนอกจากจะทานอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายแล้ว ยังมีอาหารบางประเภทที่คุณแม่มักอยากทานโดยไม่รู้ตัว แต่รู้หรือไม่ว่าการที่แม่ตั้งครรภ์ทานจุกจิกเป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้พัฒนาการทารกในครรภ์ช้าเพราะขาดสารอาหารที่จำเป็น โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสสุดท้าย
เมื่อตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์เท่ากับคุณแม่ผ่านมาเพียงครึ่งทางของไตรมาสแรก อาจจะไม่ได้รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ลูกน้อยมีพัฒนาการ มาดูว่ามีอะไรบ้าง
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090