การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
ช่วงตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
ช่วงตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์ ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์เคลื่อนที่จากท่อนำไข่มาถึงมดลูกแล้วนะคะ เตรียมฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูกต่อไปอีกประมาณ 36 สัปดาห์นับจากนี้จนกำหนดคลอด ช่วงที่ตัวอ่อนฝังตัวเข้ากับผนังมดลูกจะมีเลือดออกเล็กน้อยในสัปดาห์ที่ 4 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะสังเกตและแยกแยะได้ค่ะ เพราะมีปริมาณเลือดน้อยมาก ไม่เหมือนกับการมีเลือดประจำเดือน เป็นผลจากการที่ตัวอ่อนแทรกตัวเข้าไปในผนังมดลูกจะทำให้เนื้อเยื่อและเส้นเลือดบางส่วนเสียหาย เลือดที่ไหลออกมาทางช่องคลอดในระยะนี้จึงเป็นเรื่องปกติค่ะ คุณแม่หลายท่านอาจสังเกตเห็นรอยหยดเลือดกะปริบกะปรอยเปื้อนกางเกงใน บอกได้ทันทีเลยว่าเป็นช่วงที่ลูกน้อยกำลังฝังตัวในครรภ์ ซึ่งไม่ผิดปกติและไม่มีอันตรายอะไรนะคะ
คุณแม่ควรดีใจได้หรือยังว่ากำลังจะมีน้อง
คุณแม่เริ่มสงสัยว่าตัวเองตั้งครรภ์ เพราะประจำเดือนขาดหรือมาช้ากว่ากำหนดในสัปดาห์นี้ แนะนำให้คุณแม่ตรวจเช็คปฏิทินรอบเดือนให้แน่ใจ อาจมีอาการตั้งครรภ์ระยะแรกบางอย่างเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายเปลี่ยนแปลงไปจากปกติเล็กน้อย แต่ถ้ายังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ ถือเป็นเรื่องปกติเหมือนกัน แม้ว่าจะตั้งครรภ์อย่างเป็นทางการ 4 สัปดาห์แล้ว แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่คุณแม่จะยังไม่มีความรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ค่ะ ในระยะตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์ คุณแม่เช็คให้แน่ใจว่าตั้งครรภ์หรือไม่ด้วยการทดสอบเลือดหรือปัสสาวะได้ค่ะ คุณแม่สามารถซื้อชุดตรวจการตั้งครรภ์ที่ร้านขายยามาตรวจการตั้งครรภ์เพื่อทดสอบหาฮอร์โมน hCG หรือ Human Chorionic Gonadotrophin Hormone ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่บ่งบอกว่ามีการตั้งครรภ์นะคะ หรือจะไปขอตรวจที่โรงพยาบาลก็ได้ค่ะ แนะนำว่าควรตรวจปัสสาวะในช่วงเวลาเช้าหลังตื่นนอนทันที เพราะความเข้มข้นของฮอร์โมน HCG จะอยู่ที่ระดับสูงสุด จะให้ผลตรวจที่แม่นยำที่สุด ในปัจจุบันชุดตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองมีความแม่นยำมาก วิธีใช้ชุดตรวจการตั้งครรภ์จะทดสอบโดยการเก็บปัสสาวะลงในถ้วย จุ่มแผ่นกระดาษทดสอบการตั้งครรภ์ลงในปัสสาวะ รออ่านผลการทดสอบการตั้งครรภ์ภายในเวลาที่กำหนด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง หากแถบสีขึ้น 2 ขีดแสดงว่าตั้งครรภ์ แต่ถ้าขึ้น 1 ขีดหมายถึงไม่ได้ตั้งครรภ์นะคะ
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์
เรามาดูความเปลี่ยนแปลงในร่างกายของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์ไปพร้อมกันเลยค่ะ • ในระยะตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์คุณแม่จะรู้สึกปวดเกร็งบริเวณอุ้งเชิงกราน รู้สึกว่าแน่นท้อง ท้องอืด และมีลมในท้องมากกว่าปกติค่ะ • คุณแม่ส่วนใหญ่มีอาการแพ้ท้องแล้ว เริ่มคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัวในช่วงเวลาเช้า โดยเฉพาะในช่วงที่ท้องว่างไม่ได้รับประทานอะไรเป็นเวลานาน รู้สึกเหม็นกลิ่นอาหารหรือแค่นึกถึงเมนูอาหารบางรายการก็รู้สึกคลื่นไส้ อยากอาเจียนแล้ว ทั้งที่ปกติเคยชอบรับประทาน แม้แต่กลิ่นกาแฟ กลิ่นปลา กลิ่นเนื้อสัตว์ หรือแม้แต่กลิ่นอาหารสัตว์เลี้ยงอาจกระตุ้นให้รู้สึกคลื่นไส้อาเจียนขึ้นมาได้เหมือนกันนะคะ • เริ่มมีอาการคัดตึงเต้านม หน้าอกอ่อนนุ่มและมีความรู้สึกไวที่หัวนมมากกว่าปกติ หากคุณแม่เป็นคนหน้าอกเล็ก จะรู้สึกทันทีว่าเต้านมใหญ่ขึ้นและมีรูปร่างกลมขึ้น • เมื่อตั้งครรภ์จะรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ และกลั้นปัสสาวะได้ไม่นานอย่างที่เคย แม้เวลาเข้าห้องน้ำมีปัสสาวะออกมาเล็กน้อย เป็นเพราะการสร้างเลือดและของเหลวเพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ มดลูกขยายใหญ่ขึ้นเบียดกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อยค่ะ • คุณแม่อาจสังเกตได้ว่ามีเลือดออกกระปริบกระปรอยทางช่องคลอดระหว่างการตั้งครรภ์ พบได้บ่อยในช่วงสัปดาห์ที่ 4 เพราะตัวอ่อนฝังตัวเข้ากับผนังมดลูกนั่นเอง
สภาวะอารมณ์ของคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์
เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 4 คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์อย่างไรบ้าง • คุณแม่อาจรู้สึกหวั่นไหวและตื่นเต้นเป็นพิเศษในช่วงรอลุ้นว่าตั้งครรภ์จริงหรือไม่ เมื่อประจำเดือนเริ่มขาดก็มักจะเข้าห้องน้ำเพื่อเช็คผลจากปัสสาวะดูบ่อย ๆ • มีความรู้สึกเหมือนผู้หญิงช่วงก่อนมีประจำเดือน หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวนบ่อยง่าย • หากคุณแม่คาดหวังกับการมีลูกไว้สูง แต่ผลทดสอบการตั้งครรภ์ออกมาเป็นลบอาจจะรู้สึกผิดหวังเสียใจ ควรคุยปรับทุกข์กับสามีหรือเพื่อนสนิทเพื่อให้มีกำลังใจมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าคุณแม่ไม่ได้วางแผนจะมีลูก แต่ผลทดสอบออกมาว่าตั้งครรภ์ อาจมีความกังวลถึงอนาคต ควรหาผู้ที่สามารถปรึกษาและพูดคุยถึงปัญหาได้อย่างสบายใจนะคะ อย่ามัวเก็บไว้คนเดียวอาจจะทำให้ยิ่งรู้สึกหดหู่ได้ค่ะ
พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงตั้งครรภ์ 4 สัปดาห์
ในช่วงเวลานี้ทารกในครรภ์จะมีขนาดเท่ากับเมล็ดงาดำนะคะ ยังแทบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ในสัปดาห์ที่ 4 ของการตั้งครรภ์ยังเป็นช่วงแรกของการตั้งครรภ์และขั้นตอนการแบ่งตัวของเซลล์ยังคงดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ
1. เซลล์ชั้นนอกเรียกว่า Ectoderm จะพัฒนากลายเป็นผิวหนัง ดวงตา ผม ระบบประสาท สมอง รวมถึงชั้นเคลือบฟัน หรือที่เรียกว่า Enamel 2. เซลล์ชั้นกลางเรียกว่า Mesoderm จะพัฒนากลายเป็นกระดูก กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อและระบบหลอดเลือด 3. เซลล์ชั้นในเรียกว่า Endoderm จะพัฒนากลายเป็นอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย
เมื่อเซลล์แยกประเภทเป็นอวัยวะต่าง ๆ แล้ว จะเปลี่ยนเป็นเซลล์ประเภทอื่นไม่ได้อีก แต่ละอวัยวะจะเริ่มทำงานตามหน้าที่ของตัวเอง
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในช่วงครรภ์ 4 สัปดาห์
• คุณแม่ควรซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาตรวจปัสสาวะด้วยตนเอง เลือกมา 1-2 ยี่ห้อ โดยไม่ต้องเน้นราคาแพงนะคะ ผลิตภัณฑ์ราคาแพงที่สุดไม่จำเป็นต้องดีที่สุดเสมอไป ควรเลือกชุดตรวจที่มีอุปกรณ์ทดสอบ 2 แท่งเพื่อให้ทดสอบซ้ำช่วยยืนยันได้แม่นยำขึ้น แต่ถ้าอายุครรภ์น้อยกว่านี้ ระดับฮอร์โมน hCG ยังค่อนข้างต่ำ อาจทดสอบได้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาด ต้องรอเวลาอีกระยะจึงทดสอบใหม่ให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องค่ะ • ช่วงนี้มีความมั่นใจว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรไปพบแพทย์เพื่อเตรียมฝากครรภ์นะคะ อาจจะปรึกษากับแพทย์ทั่วไปก่อน จากนั้นจึงฝากครรภ์กับพยาบาลผดุงครรภ์หรือสูติแพทย์ให้ช่วยดูแลสุขภาพครรภ์อย่างต่อเนื่องจนถึงกำหนดคลอดค่ะ • ในระยะนี้คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงสภาพอากาศร้อนนะคะ เนื่องจากอุณหภูมิสูงอาจส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการตั้งครรภ์ได้ค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลและคำแนะนำที่เราได้นำมาฝากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 4 ในช่วงนี้ก็ยังอยู่ในช่วงลุ้นทั้งคุณพ่อและคุณแม่ ทางที่ดีนอกจากการตรวจด้วยตนเองแล้วก็ยังสามารถเดินทางไปตรวจกับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้แน่ใจว่าผลตรวจที่ได้นั้นเป็นการตั้งครรภ์จริงหรือไม่ ระยะนี้คุณแม่อาจเกิดความกังวลเพราะความคาดหวังอยากมีเจ้าตัวน้อย ควรทำใจให้สบาย ผ่อนคลายให้มากที่สุดค่ะ คุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลสำหรับการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 5 ว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน เรามีวิธีคำนวณอายุครรภ์อย่างถูกต้องมาฝากค่ะ
ช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ คุณแม่ยังไม่ควรตื่นเต้นมากจนเกินไป เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเอง มาดูกันค่ะว่าคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
“ทารกมีผิวบอบบางมาก และบางครั้งแม้ว่าเราจะพยายามอย่างดีที่สุดแล้ว ก็ยังอาจเกิดผื่นผ้าอ้อมขึ้นได้” นายแพทย์ Lawrence F. Eichenfield แห่งสถาบันผิวหนังของอเมริกากล่าว
ในระยะตั้งครรภ์ 19 สัปดาห์ คุณแม่อุ้มท้องมาถึงครึ่งทางแล้วนะคะ มีการเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้นในร่างกายของคุณแม่และเด็กทารก เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนพยายามหาวิธีทำให้ลูกฉลาดได้ตั้งแต่ในท้อง จริงๆ แล้วการทำให้ลูกฉลาดตั้งแต่ในท้องอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่การช่วยกระตุ้นและส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ การทำงานของสมอง และการจดจำ แม่ท้องสามารถทำได้ เพื่อให้เขาคลอดออกมามีความพร้อมในการเรียนรู้ที่พ่อแม่จะช่วยส่งเสริมกันต่อไป หนึ่งในวิธีกระตุ้นและส่งเสริมการทำงานของสมองทารกในครรภ์ และพัฒนาการทารกในครรภ์คือการได้รับสารอาหารที่มีชื่อว่า โคลีน สารอาหารนี้คืออะไร ดีอย่างไร และหาทานได้จากอาหารแหล่งใดบ้าง เรามีคำตอบค่ะ
อาหารที่คุณแม่แม่รับประทานตอนท้องมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ รวมถึงการเคลื่อนไหวและโต้ตอบของลูกน้อยในครรภ์ด้วยค่ะ
คุณแม่ตั้งครรภ์ในระยะแรกมักประสบปัญหาเดียวกัน นั่นคือ อาการท้องอืด โดยอาการนี้ให้ความรู้สึกเหมือนมีลมในท้องมากกว่าปกติ เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
เมื่อคุณแม่รู้สึกไม่สบายตัวในระหว่างตั้งครรภ์ การฝังเข็มอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัยและไม่มีการสูญเสียเลือด เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
แคลเซียมเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับแม่ท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์ เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะดึงแคลเซียมจากร่างกายแม่ไปสร้างกระดูกและฟันของตัวเองด้วย ดังนั้นหากแม่ท้องไม่ทานอาหารที่มีแคลเซียมเยอะๆ ร่างกายก็จะมีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อการดูแลกระดูกและฟันของตัวเอง รวมไปถึงลูกก็จะดึงแคลเซียมไปได้น้อยมากจนส่งผลต่อพัฒนาการของเขาเช่นกัน