การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
ในระยะ 3 สัปดาห์แรกนับว่าคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างเป็นทางการแล้วนะคะ สิ่งที่เกิดขึ้นช่วงระยะตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์คือ สเปิร์มตัวหนึ่งจากฝ่ายคุณพ่อเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ของคุณแม่เรียบร้อยและอยู่ในช่วงเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ บางครั้งถ้าหากไข่ 2 ฟองได้รับการปฏิสนธิในเวลาเดียวกัน คุณแม่จะ ตั้งครรภ์ฝาแฝด ที่ไม่เหมือนกัน ให้กำเนิดลูกแฝดแบบไข่คนละใบ กระบวนการปฏิสนธิจะอยู่ในท่อนำไข่ จากนั้นจะแปรสภาพเป็นตัวอ่อนระยะต้นและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์คุณแม่จะยังไม่รู้สึกว่าฮอร์โมนการตั้งครรภ์เริ่มมีผลกระทบต่อร่างกายนะคะ
การปฏิสนธิไข่และสเปิร์มรวมกันใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง มีอสุจิเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่เจาะผ่านเข้าไปรวมตัวกับนิวเคลียสในไข่ได้ น้ำอสุจิของเพศชายมีสเปิร์มจำนวนหลายล้านตัว หลังจากสเปิร์มตัวที่แข็งแรงและว่ายเร็วที่สุดหนึ่งตัวเจาะเข้าไปได้สำเร็จแล้ว ไข่จะสร้างผนังป้องกันรอบตัวทำให้สเปิร์มตัวอื่นเจาะเข้าไปไม่ได้อีก จากนั้นไข่และสเปิร์มที่ปฏิสนธิแล้วจะเริ่มแบ่งเซลล์ออกเป็นสองส่วนทันที
ไข่ที่ปฏิสนธิในระยะแรก ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า “ไซโกต” ซึ่งจะแบ่งเซลล์เป็นทวีคูณไปเรื่อย ๆ เพิ่มจาก 2 เซลล์กลายเป็น 12 เซลล์ในวันที่ 3 โดยตัวอ่อนในระยะไซโกตยังอยู่ในท่อนำไข่ ก่อนจะค่อย ๆ เคลื่อนตัวลงมาสู่ผนังมดลูกที่อยู่ด้านล่างและเจริญเติบโตต่อไปอีก 37 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น
ภายในท่อนำไข่มีเซลล์ขนอ่อนขนาดเล็กเรียกว่า cilia เรียงอยู่ในท่อและโบกพัดไซโกตเคลื่อนที่มาถึงมดลูก เซลล์ขนเหล่านี้ช่วยไม่ให้ไซโกตตกค้างอยู่ในตำแหน่งอื่นนอกโพรงมดลูกที่แคบและตัวอ่อนเติบโตไม่ได้ เป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกซึ่งทำให้เกิดการแท้งตามมาได้ โดยปกติใช้เวลาประมาณ 60 วันกว่าไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะเคลื่อนไปถึงมดลูก ถึงตอนนั้นไซโกตแบ่งตัวออกเป็น 60 เซลล์แล้ว แต่ละเซลล์มีบทบาทและหน้าที่สำคัญเฉพาะตัว เซลล์ชั้นนอกจะพัฒนาขึ้นกลายเป็นรก ส่วนเซลล์ชั้นในจะเติบโตเป็นร่างกายทารกต่อไป
ประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากที่ไข่เกิดการปฏิสนธิในท่อนำไข่แล้ว ตัวอ่อนระยะแรกจะฝังตัวอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูก ในระยะนี้เซลล์ตัวอ่อนมีจำนวนประมาณ 100 เซลล์ เรียกว่าตัวอ่อนในระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) หมายถึงตัวอ่อนในระยะการฝังตัวนั่นเอง
ในระยะแรกของการเป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์ที่ชื่อว่า Human Chorionic Gonadotropin Hormone หรือ HCG ซึ่งจะตรวจพบฮอร์โมนนี้ในปัสสาวะหรือเลือด โดยซื้อชุดตรวจการตั้งครรภ์ที่จำหน่ายในท้องตลาดมาตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง ถ้าระดับฮอร์โมน HCG น้อยจนตรวจไม่พบแสดงว่าไม่มีการฝังตัวของตัวอ่อนในมดลูก และผนังมดลูกจะลอกหลุดออกมาเป็นเลือดประจำเดือนในรอบเดือนถัดไปนั่นเอง
ระยะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่ แม้จะคาดหวังไว้และหยุดวิธีการคุมกำเนิดทุกทางแล้ว แต่ยังต้องรอไปอีกราวสองสามสัปดาห์ก่อนที่คุณแม่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ผู้หญิงบางคนเชื่อว่าตนเองมีความรู้สึกไวและบอกได้ทันทีว่าเริ่มตั้งครรภ์แล้ว บางคนรู้สึกว่ามีรสชาติแปร่ง ๆ ในปาก สัมผัสถึงความผิดปกติต่าง ๆ ความจริงแล้วในระยะตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์แรกระดับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนตั้งครรภ์ไม่มากพอจนสังเกตได้ว่าตั้งท้องแล้ว แต่ถึงอย่างนั้นผู้หญิงหลายคนยังยืนยันว่ารู้สึกทันทีเมื่อเริ่มตั้งครรภ์
กระบวนการตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมาดีแล้ว คุณแม่ไม่จำเป็นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษทั้งเรื่องการออกกำลังกาย ไม่ต้องเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน หากไข่และสเปิร์มเกิดการปฏิสนธิแล้ว ร่างกายจะทำงานโดยอัตโนมัติ รู้แล้วว่าจะต้องเคลื่อนไปที่ไหนและต้องทำอะไรต่อไป ร่างกายจะผลิตฮอร์โมน HCG มีการเปลี่ยนแปลงในร่างกายตามมาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน
คุณแม่สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บทความ ตั้งครรภ์ 1 เดือน
ในช่วงการตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์ เป็นช่วงที่คุณแม่ต้องลุ้นอย่างมากเลยว่ากำลังตั้งครรภ์จริงหรือไม่ ขอให้คุณแม่ใจเย็นนะคะ ระยะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงด้านใด ๆ ก็ตาม เป็นช่วงเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาของลูกน้อย ไม่ควรรีบร้อน
ตอนนี้ลูกน้อยในครรภ์มีขนาดตัวเท่าหัวเข็มหมุดเท่านั้น มีลักษณะของกลุ่มเซลล์เล็ก ๆ ยังมองไม่ออกว่าจะเติบโตมาเป็นอย่างไร เซลล์จะแบ่งตัวทวีคูณอย่างรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมงในแต่ละวัน
ถ้าคุณแม่กำลังจะไปตรวจเช็คสุขภาพปากและฟัน ควรบอกทันตแพทย์ให้รู้ว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจเอกซเรย์ซึ่งอาจเสี่ยงอันตรายในระยะแรกของการตั้งครรภ์ อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของทารกได้
ระมัดระวังทุกอย่างอยู่รอบตัว ทั้งสิ่งแวดล้อมและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจกระทบต่อการเติบโตของตัวอ่อน เช่น ยาฆ่าแมลง สารพิษ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการแบ่งตัวของเซลล์ นอกจากนั้นควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการกินยาต่าง ๆ ยกเว้นแต่ปรึกษากับแพทย์แล้วว่าใช้ได้สำหรับผู้หญิงกำลังตั้งครรภ์ อย่าลืมเริ่มรับประทานวิตามินก่อนคลอดด้วย การเสริมกรดโฟลิก เพื่อความสมบูรณ์ของตัวอ่อนในครรภ์คุณแม่ค่ะ รอจนอายุครรภ์มากขึ้น ในสัปดาห์ที่ 4 จะเห็นได้ชัดขึ้นว่ามีการฝังตัวของตัวอ่อนเกิดขึ้นแล้ว
อย่าลืมปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะมีการออกกำลังกายใด ๆ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ อย่าบังคับหรือกดดันตัวเองมากในระหว่างการออกกำลังกาย และถ้ารู้สึกเจ็บก็ให้หยุดก่อนและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์ สามารถติดตามอ่านข้อมูลเกี่ยวข้องได้ที่บทความ ตั้งครรภ์ 1 เดือน, อาการคนท้อง และ อาหารคนท้อง รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน เรามีวิธีคำนวณอายุครรภ์อย่างถูกต้องมาฝากค่ะ
ช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ คุณแม่ยังไม่ควรตื่นเต้นมากจนเกินไป เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเอง มาดูกันค่ะว่าคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
นมแม่เป็นอาหารที่มีประโยชน์ที่สุดในโลก และเป็นอาหารที่ลูกแรกเกิดควรได้กินต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน นมแม่เป็นอาหารที่ย่อยและดูดซึมได้ง่ายจึงทำให้ขับถ่ายได้ดี แต่เมื่อขับถ่ายดีแบบนี้จึงคุณแม่มือใหม่หลายคนก็ยังตกใจว่าลูกกินนมแม่แล้วถ่ายเหลวด้วย เป็นเพราะอะไร และควรต้องดูแลอะไรเป็นพิเศษไหม เรื่องนี้ Huggies มีคำตอบและคำแนะนำค่ะ
ตั้งครรภ์ 17 สัปดาห์ การทรงตัวของคุณแม่จะเปลี่ยนไปค่ะ ช่วงนี้เลยเป็นช่วงที่ต้องพยายามระมัดระวังในการเคลื่อนไหวให้ดี มาดูกันว่า ต้องดูแลตัวเองอย่างไรกัน
อาหารทะเลทุกประเภทเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ดี ให้แร่ธาตุกลุ่มโปรตีน ธาตุเหล็ก และสังกะสี ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและเสริมสร้าง พัฒนาการของทารกในครรภ์ค่ะ
เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ 6 สัปดาห์ ลูกน้อยมีขนาดตัวให้วัดได้แล้ว แต่เนื่องจากทารกในครรภ์ อยู่ในท่าขดตัว วัดได้ยาก มาดูกันค่ะว่าลูกน้อยมีพัฒนาการเป็นอย่างไร
ในระยะนี้ถือว่าเข้าสู่ช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก คุณแม่แน่ใจแล้วว่ากำลังตั้งครรภ์ ช่วงตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ มาดูกันค่ะลูกน้อยมีพัฒนาการอะไรบ้าง
เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ โภชนาการที่ดี เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่เพราะอาหารคนท้องที่ดีจะทำให้ร่างกายคุณแม่แข็งแรง และยังช่วยบำรุงลูกน้อยในครรภ์อีกด้วยค่ะ
เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 13 สัปดาห์ ถือว่าผ่านพ้นช่วงสุดท้ายของไตรมาสแรกไปอย่างรวดเร็ว อาการแพ้ท้องที่เคยเป็นหนักในระยะแรกเริ่มดีขึ้น เรามีคำแนะนำดีๆ ค่ะ