การย้ายตัวอ่อนเป็นขั้นตอนต่อไปในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือ การรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ART) เรามีบทความดีๆ...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
ช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง
ช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ คุณแม่ยังไม่ควรตื่นเต้นมากจนเกินไป เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเองค่ะ ยังไม่สามารถมั่นใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ บางท่านอาจยังไม่รู้ตัวว่ามีการตั้งครรภ์ ยังต้องรอเวลาอีกเล็กน้อยก่อนที่จะมั่นใจได้ว่าตั้งครรภ์แล้วจริง ๆ เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและซับซ้อนเกิดขึ้นมากมายภายในสมองและระบบการสืบพันธุ์ของคุณแม่ แม้ว่าจะมองไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นด้วยตาแต่อาจจะเริ่มรู้สึกถึงได้ หลังจากผ่านระยะตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ขึ้นไป คุณแม่จะเริ่มมีอาการคนท้องหลายอย่างที่เป็นสัญญาณให้แน่ใจว่าเป็นการตั้งครรภ์ 100%
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการตกไข่
ในแต่ละเดือนรังไข่ที่อยู่ด้านซ้ายและขวาของมดลูกข้างใดข้างหนึ่งจะปล่อยไข่ที่เจริญเติบโตเต็มที่ออกมา โดยจะมีไข่เพียงฟองเดียวเท่านั้นที่เป็นไข่สุกเต็มวัยพร้อมปฏิสนธิ รังไข่แต่ละด้านปล่อยไข่ออกมาสลับกัน แต่คุณแม่บางคนอาจมีไข่ตกพร้อมกันมากกว่าหนึ่งฟอง ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ลูกแฝดแบบไข่หลายใบได้ค่ะ ไข่เจริญเติบโตอยู่ในของเหลวภายในถุงรังไข่หรือเรียกว่าฟอลลิเคิล ซึ่งตามปกติเมื่อไข่สุกแล้วถุงน้ำที่ล้อมรอบไข่จะแตกออกแล้วปล่อยไข่ออกมาแล้วไหลเข้าไปในท่อนำไข่ค่ะ แม้ว่าในร่างกายของผู้หญิงเราจะมีไข่จำนวนมากที่เติบโตเป็นไข่สุกเต็มที่ ในจำนวนไข่ประมาณ 20 ฟองก็จะมีเพียงหนึ่งฟองเท่านั้นที่พร้อมจะปล่อยออกมาเพื่อให้ได้รับการปฏิสนธิในแต่ละเดือน ในขณะที่ถุงรังไข่ทำหน้าที่เก็บรักษาไข่ที่กำลังเจริญเติบโต เยื่อบุโพรงมดลูกจะก่อตัวหนาขึ้นเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างนั้นฮอร์โมนเอสโตรเจนจะถูกปล่อยออกมาจากเซลล์ในถุงรังไข่และมีการเปลี่ยนแปลงในมดลูกเตรียมพร้อมให้ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วมาฝังตัวที่ผนังโพรงมดลูก ซึ่งจะนับว่าเป็นสัปดาห์ที่สามของการตั้งครรภ์ ถ้าคุณแม่คุณพ่อไม่ได้ปฏิบัติภารกิจหรือไข่กับอสุจิไม่ปฏิสนธิกันเป็นตัวอ่อนหลังจากไข่พ้นระยะ 24 ชั่วโมงไปแล้ว ผนังเยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดลอกแล้วกลายเป็นเลือดออกมาทางช่องคลอดตามช่วงของรอบเดือนถัดมา โดยปกติจะเกิดขึ้นใน 2 สัปดาห์หลังจากการตกไข่นั่นเอง
เมื่อไหร่ที่ผู้หญิงจะมีการตกไข่
ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีวงจรรอบเดือนระหว่าง 28-32 วัน อาจบวกหรือลบ 2-3 วัน ถือเป็นเรื่องปกติค่ะ ขึ้นอยู่กับระบบสืบพันธุ์ของแต่ละคน การตกไข่มักเกิดขึ้นประมาณวันที่ 14 นับวันที่ประจำเดือนมาวันแรกในรอบที่แล้ว สำหรับคุณแม่ที่มีวงจรรอบเดือนห่างกันมากหรือน้อยกว่า 28 วัน การนับระยะเวลาการตกไข่จะแตกต่างออกไปไม่ตรงตามเกณฑ์มาตรฐานนี้นะคะ
สิ่งที่บ่งบอกว่าผู้หญิงอยู่ในช่วงตกไข่
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่คุณผู้หญิงจะสังเกตตัวเองได้ว่าอยู่ในช่วงตกไข่ มีดังต่อไปนี้ • ผู้หญิงบางคนมีความรู้สึกรับรู้กลิ่นไวและละเอียดอ่อนกว่าปกติ • บางคนรู้สึกถึงการตกไข่จากอาการปวดท้องน้อย ระดับปวดหน่วง ๆ จนถึงปวดมากเป็นพัก ๆ • สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของมูกปากมดลูก มีเมือกมากผิดปกติ ตกขาวมีลักษณะเป็นเหมือนไข่ขาวและลื่นมากกว่าปกติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นกลไกอัตโนมัติตามธรรมชาติ เพื่อกระตุ้นให้สเปิร์มว่ายน้ำได้ง่ายขึ้นและเข้าไปผสมไข่ได้ง่าย มีโอกาสตั้งครรภ์มากยิ่งขึ้น • คุณผู้หญิงหลายท่านมีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น มีความรักและความต้องการสามีมากกว่าปกติ ถือเป็นกลไกธรรมชาติกระตุ้นให้คู่รักมีเพศสัมพันธ์กันในช่วงจังหวะที่ดีที่สุด ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ง่าย • หากทำการทดสอบน้ำลายและปัสสาวะจะตรวจพบความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแสดงว่าคุณผู้หญิงกำลังอยู่ในช่วงตกไข่ ปัจจุบันมีชุดทดสอบการตกไข่ตก ที่เรียกว่า Ovulation Test หาซื้อได้จากร้านขายยา เหมาะกับคุณผู้หญิงที่วางแผนตั้งครรภ์นะคะ จะได้รู้ว่าควรหลับนอนกับสามีวันไหนเพื่อให้มีเปอร์เซ็นต์ตั้งครรภ์สูงขึ้นค่ะ • สังเกตได้จากอุณหภูมิของร่างกายจะสูงกว่าปกตินะคะ โดยทั่วไปอุณหภูมิในช่วงตกไข่จะสูงขึ้น 2 องศาจากอุณหภูมิปกติ ขอแนะนำให้คุณผู้หญิงจดบันทึกอุณหภูมิตลอดระยะเวลา 2-3 เดือน ในวันที่อุณหภูมิร่างกายสูงเป็นพิเศษคือวันตกไข่ของตัวเองนะคะ เพื่อให้รู้ว่าสามีภรรยาควรมีเพศสัมพันธ์กันในวันไหนจะมีโอกาสตั้งครรภ์มากที่สุด
หลังจากไข่ตกแล้ว จะมีช่วงเวลารอการปฏิสนธิในร่างกายผู้หญิงได้ 12-24 ชั่วโมงเท่านั้น ส่วนอสุจิของคุณผู้ชายจะอยู่รอดในร่างกายคุณผู้หญิงนานประมาณ 3-5 วัน หมายความว่าคู่รักจะนอนด้วยกันก่อนวันตกไข่ประมาณ 2-3 วัน อสุจิจะยังคงมีชีวิตอยู่รอดในมดลูกรอผสมกับไข่ได้อีกหลายวันเลยค่ะ
การปฏิสนธิคืออะไร
การปฏิสนธิหมายถึงเชื้ออสุจิของผู้ชายผสมกับไข่ของผู้หญิง ไข่จะพบกับอสุจิเกิดการปฏิสนธิขึ้นในท่อนำไข่กลายเป็นตัวอ่อนที่จะฝังตัวในมดลูก ซึ่งจะเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ 3 ของการตั้งครรภ์นะคะ เมื่อมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ไข่ที่ผสมแล้วเรียกว่าไซโกต (zygote) จะเคลื่อนที่จากท่อนำไข่ลงไปยังมดลูก ผนังมดลูกจะหนาตัวขึ้นเพื่อรองรับการฝังตัวของไข่ ระหว่างนี้ไซโกตเริ่มแบ่งอย่างรวดเร็วเป็นเซลล์เล็ก ๆ จำนวนมาก หากกลุ่มเซลล์ไม่เดินทางไปยังมดลูก แต่ฝังตัวที่บริเวณอื่น เช่น ท่อนำไข่ เรียกว่าท้องนอกมดลูก เสี่ยงต่อการแท้งหรือเป็นอันตราย ควรรีบเข้าพบคุณหมอนะคะ
ความสัมพันธ์ระหว่างการตกไข่คุณแม่และอสุจิของคุณพ่อ
เมื่อวางแผนจะมีลูก ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการตกไข่ คำนวณวันตกไข่ให้ถูกต้องนะคะ อีกส่วนหนึ่งเป็นเรื่องปริมาณของน้ำอสุจิ ซึ่งหลั่งออกมาแต่ละครั้งจะมีตัวอสุจิอยู่ประมาณ 100-300 ล้านตัว มีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่ว่ายเข้าไปผสมกับไข่ของคุณแม่และเกิดการปฏิสนธิได้อย่างสมบูรณ์ ก่อนที่จะไปฝังตัวและตั้งครรภ์ หลังจากนั้นไข่จะเปลี่ยนแปลงทำให้อสุจิตัวอื่นเจาะเข้าไปไม่ได้อีก คุณผู้หญิงที่ต้องการมีลูก อย่าเพิ่งคิดกังวลมากเกินไปนะคะ หากยังตั้งท้องไม่สำเร็จในเดือนแรก ควรพยายามให้มากขึ้นค่ะ ทำความเข้าใจวงจรรอบเดือนของตัวเองและสังเกตลักษณะการมีประจำเดือนเพื่อนับวันตกไข่ที่แม่นยำทำให้เลือกวันมีเพศสัมพันธ์ได้เหมาะเจาะและมีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากที่สุด จากผลสำรวจพบว่าคุณแม่ที่มีวงจรรอบเดือนสม่ำเสมอประมาณ 20% มีโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จภายใน 12 เดือนแรกที่วางแผนมีลูกค่ะ
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์
เราแนะนำให้คุณแม่ดูสัญญาณของการตกไข่นะคะ ตรวจสอบกับปฏิทินรอบเดือนที่เคยบันทึกไว้ว่ามีรอบเดือนครั้งล่าสุดวันใด รอบเดือนมาครั้งละกี่วัน การตกไข่มักจะเกิดขึ้นช่วงตรงกลางระหว่างรอบเดือน เริ่มนับจากวันแรกที่มีประจำเดือนนั่นเอง
สภาวะอารมณ์ของคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์
เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์อย่างไรบ้าง คุณแม่ท้องอาจรู้สึกมีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น รู้สึกว่าคู่สมรสมีความดึงดูดทางเพศมากกว่าปกติ เพราะฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงทำให้อารมณ์เปลี่ยนด้วย หากไม่มีอาการผิดปกติของการตั้งครรภ์ คุณแม่ไม่ได้มีอาการแพ้ท้องมาก การมีเพศสัมพันธ์ช่วงนี้สามารถมีได้ตามปกติเลยค่ะ
พัฒนาการทารกในครรภ์ช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์
เรามาดูความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับทารกเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 ไปพร้อมกันเลยค่ะ ในระยะนี้ทารกยังไม่มีการเจริญเติบโตให้เห็นชัดเจนนะคะ เพราะเป็นระยะแรก แม้ว่าคุณแม่จะตั้งครรภ์อย่างเป็นทางการสองสัปดาห์ก็ตาม หลังการปฏิสนธิที่ไข่กับสเปิร์มผสมกัน ลักษณะทางพันธุกรรมของลูกน้อยจะได้รับจากเซลล์เดียวของแม่ตั้งแต่ตอนเป็นไข่แล้ว ส่วนโครโมโซมของคุณพ่อเป็นตัวกำหนดเพศของลูกน้อยค่ะ
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์
1. คุณแม่คุณพ่อควรอยู่ห่างไกลจากบุหรี่นะคะ สารนิโคตินในบุหรี่ไม่เพียงเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์เท่านั้น แต่ยังจะส่งผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ทั้งของผู้หญิงและผู้ชาย ปริมาณอสุจิน้อยกว่าปกติ เสี่ยงหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ลดโอกาสตั้งครรภ์ของคุณแม่ ทำให้มีโอกาสเป็นหมันและเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรอีกด้วยค่ะ 2. ถ้าคุณแม่ตั้งใจมีลูกมาก จะต้องนับวันตกไข่อย่างแม่นยำและวางแผนกำหนดวันให้ดีนะคะ เพื่อที่จะมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาเหมาะสมช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์มากขึ้นค่ะ 3. คุณแม่ท้องอย่าลืมบำรุงสุขภาพตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์นะคะ เริ่มทานวิตามิน รวมถึงกรดโฟลิกตั้งแต่เนิ่น ๆ ปริมาณที่แนะนำขณะตั้งครรภ์คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ได้กรดโฟลิกไม่ต่ำกว่า 500 ไมโครกรัมต่อวัน เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ที่สมบูรณ์ แข็งแรง และปลอดภัย
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลและคำแนะนำที่เราได้นำมาฝากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 2 ในช่วงนี้แม้จะยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนักและคุณแม่บางท่านอาจยังไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่ มีเพียงวิธีการตรวจเท่านั้นที่จะสามารถทำให้แน่ใจได้ว่ามีเจ้าตัวน้อยอยู่ในท้องของคุณแม่แล้ว การใช้แผ่นตรวจด้วยตัวเองเป็นวิธีการที่ง่าย ประหยัด และยังสามารถเชื่อผลลัพธ์ที่ได้เกือบ 100% ระยะนี้แม้จะตั้งท้องแล้วแต่ก็ยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ยกเว้นในกรณีของคุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรงต้องเข้าพบคุณหมอเพื่อการดูแลอย่างใกล้ชิดค่ะ คุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลสำหรับการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 3 ว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์ เพราะรกสามารถกรองแอลกอฮอล์ที่ส่งผ่านไปสู่ตัวทารกไม่ได้ทั้งหมดค่ะ
เมื่อเริ่มรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่มือใหม่มักจะมีหลายอารมณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความรู้สึกตอบสนองเมื่อรู้ตัวว่าตั้งท้องจะแตกต่างกันไป เรามีคำแนะนำดีๆ ค่ะ
เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ 6 สัปดาห์ ลูกน้อยมีขนาดตัวให้วัดได้แล้ว แต่เนื่องจากทารกในครรภ์ อยู่ในท่าขดตัว วัดได้ยาก มาดูกันค่ะว่าลูกน้อยมีพัฒนาการเป็นอย่างไร
การตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 34 คุณแม่อาจจะรู้สึกอึดอัดมากขึ้น รู้สึกหายใจไม่เต็มปอด มีอาการหายใจตื้นถี่เหมือนคนที่กำลังจะจามเพราะหน้าท้องใหญ่ขึ้น มาดูคำแนะนำกันค่ะ
การตรวจอัลตราซาวด์ 4 มิติ ใช้เทคโนโลยีการสแกนแบบ 3 มิติที่มีการประมวลผลซับซ้อนขึ้น สร้างภาพเคลื่อนไหวซึ่งนับเป็นมิติที่ 4 นั่นเองค่ะ
คุณพ่อคุณแม่ทุกคนคงเคยเห็นตารางพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยที่แปะไว้ในห้องคุณหมอเด็กกันแล้วใช่ไหมคะ ถ้าอยากช่วยให้กล้ามเนื้อของลูกน้อยมีพัฒนาการสมวัย ลองทำกิจกรรมเหล่านี้ดูค่ะ
เมื่อยามตั้งครรภ์ แน่นอนว่าคุณแม่มักมีเรื่องที่ต้องทำมากมายและต้องรับผิดชอบหลายอย่าง จึงทำให้คุณแม่บางรายเกิดอาการเครียดระหว่างตั้งครรภ์ได้ค่ะ
การตั้งท้องสำหรับคู่รักบางคู่ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ถูกวางแผนมาก่อน แม้ว่าทุกวันนี้มีการคุมกำเนิดหลายวิธีด้วยกัน มาดูกันค่ะว่าจะมีวิธีรับมืออย่างไร
ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ อาการท้องเสียจะเกิดขึ้นได้บ่อยเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องอาหารการกินและการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090