การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
เข้าสู่ช่วงเดือนที่ 2 ของการตั้งครรภ์แล้วนะคะ คุณแม่คงเริ่มสงสัยแล้วว่าลูกน้อยจะหน้าตาเป็นอย่างไร ช่วงนี้เป็นช่วงที่สำคัญมาก เนื่องจากลูกน้อยในครรภ์จะเจริญเติบโตเร็วมาก เริ่มมีการสร้างอวัยวะต่างๆ เช่น ตา แขน และขา ดังนั้นการรับประทานอาหารและยาของคุณแม่จึงมีผลโดยตรงต่อทารก หากไม่ระมัดระวังให้อาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อ หรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆได้ มาดูกันดีกว่าค่ะว่าอาหารรอะไรที่คุณแม่ควรทานเสริมเพื่อบำรุงร่างกายและเจ้าตัวน้อยในครรภ์
1. ธาตุเหล็ก – โดยปกติแล้วร่างกายของเราควรได้รับธาตุเหล็ก 15 มิลลิกรัม/วัน แต่สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องใช้ถึง 40 มิลลิกรัม/วันเลยทีเดียว คุณแม่สามารถพบอาหารที่มีธาตุเหล็กได้จาก เนื้อสัตว์ ไข่แดง เนื้อปลา ผักใบเขียว ถั่วต่างๆ ผักกาดหอม ฟักทอง ชะอม ใบขึ้นฉ่าย งา ใบกะเพรา เป็นต้น
2. โฟเลต – ร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับโฟเลตที่เพียงพอ เพื่อป้องกันการพิการของเจ้าตัวน้อย เพราะโฟเลตส่งผลโดยตรงต่อระบบประสาทและสมองนั่นเองค่ะ ดังนั้นคุณแม่ควรรับประทาน บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วลิสง ส้ม มะนาว มะเขือเทศ เมล็ดทานตะวัน ธัญพืชไม่ขัดสี เป็นต้น เพื่อเสริมโฟเลตให้แก่ร่างกาย
3. แคลเซียม – ทารกในครรภ์มีความจำเป็นต้องดึงเอาแคลเซียมในร่างกายของเราไปใช้จำนวนมาก คุณแม่จึงมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนได้ ดังนั้นควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น งา คะน้า บรอกโคลี ข้าวโอ๊ต ปลาซาดีน นมถั่วเหลือง อัลมอลด์ เต้าหู้ เป็นต้น
ข้อควรระวังสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คือ “ตับ” เป็นอาหารอีกชนิดที่มีธาตุเหล็กและโฟเลตสูง แต่ในขณะเดียวกันก็มีสารเรตินที่เสี่ยงต่อการแท้งอยู่สูงมาก ในช่วงไตรมาสแรกจึงยังไม่ควรทานตับ นอกจากนี้อาหารดิบๆ บุหรี่ และแอลกอฮอล์ก็ควรงดไปก่อนเช่นกันค่ะ
สำหรับคุณแม่เอง ช่วงนี้ฮอร์โมนในร่างกายก็กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่มากทีเดียวค่ะ ส่งผลให้อ่อนเพลียและเหนื่อยง่ายกว่าปกติ รวมไปถึงเริ่มมีอาการท้องผูกร่วมด้วย บางรายเริ่มที่จะแพ้ท้องอย่างเห็นได้ชัด แนะนำให้ดื่มน้ำก่อนหรือหลังทานอาหารครึ่งชั่วโมงนะคะ
การเตรียมความพร้อมในระหว่างตั้งครรภ์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม รวมถึงความพร้อมหลังการตั้งครรภ์ด้วยเช่นการเลืออกผ้าอ้อมที่ช่วยลดปัญหาผดผื่นผ้าอ้อมจากฮักกี้ส์ ด้วยมาตราฐานที่ผ่านการทดสอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาแล้ว จึงมั่นใจได้ว่าลูกน้อยจะสบายตัวยิ่งกว่าเดิม คุณแม่สามารถติดตามสาระดีๆ ที่ควรทราบตั้งแต่ตั้งครรภ์จนลูกน้อยอายุ 3 ขวบได้เสมอที่ www.huggies.co.th เลยค่ะ
การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน เรามีวิธีคำนวณอายุครรภ์อย่างถูกต้องมาฝากค่ะ
ช่วงตั้งครรภ์ 2 สัปดาห์ คุณแม่ยังไม่ควรตื่นเต้นมากจนเกินไป เพราะเป็นช่วงเริ่มต้นเท่านั้นเอง มาดูกันค่ะว่าคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
การที่ลูกของคุณเติบโตขึ้น คุณเริ่มรู้สึกสบายใจที่จะซื้อสินค้าเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์อาบน้ำจนถึงผลิตภัณฑ์ซักผ้าสูตรอ่อนละมุน ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งในรายชื่อสิ่งของที่ต้องซื้อเข้าบ้าน (หลังจากคุณเพียรคัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้เจ้าตัวเล็ก)
อาหารที่คุณแม่แม่รับประทานตอนท้องมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ รวมถึงการเคลื่อนไหวและโต้ตอบของลูกน้อยในครรภ์ด้วยค่ะ
หลายครอบครัวที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ มุ่งเน้นเรื่องสุขภาพของแม่ตั้งครรภ์ สุขภาพของทารกในครรภ์ พัฒนาการทารกในครรภ์เป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงแล้วสุขภาพจิตของแม่ท้องก็สำคัญต่อทารกในครรภ์มากไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะจริงๆ แล้วร่างกายส่งผลถึงจิตใจ และจิตใจส่งผลถึงร่างกาย ซึ่งอาจสังเกตได้ หากแม่ท้องเครียด ไม่สบายใจก็จะทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง ทารกในครรภ์ก็จะซึมเศร้า ดิ้นน้อยลง และไม่แข็งแรงตามไปด้วย
ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ อาการท้องเสียจะเกิดขึ้นได้บ่อยเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องอาหารการกินและการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
อาการเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ นับเป็นอาการที่พบได้บ่อยมาก ๆ เลยนะคะ ซึ่ง 1 ใน 3 ของคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอาการเลือดออกในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกเรามีคำแนะนำค่ะ
พัฒนาการทารกในครรภ์เดือนที่ 9 หรือราวสัปดาห์ที่ 38-40 เป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่คุณแม่ลุ้นที่สุดเพราะจะถึงเวลาที่ได้เห็นหน้าลูกน้อย ทารกในครรภ์ที่ถนอมกล่อมเกลี้ยง เอาใจใส่กันมาถึง 9 เดือน ลูกน้อยทารกในครรภ์จะเริ่มโตขึ้นมามีขนาดประมาณลูกขนุน หรือ ประมาณ 51 เซนติเมตร หนักราว 3,300 กรัม
ในระยะ 3 สัปดาห์แรกนับว่าคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างเป็นทางการแล้วนะคะ สิ่งที่เกิดขึ้นช่วงระยะตั้งครรภ์ 3 สัปดาห์มีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ