การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
การแข่งขันระหว่างพี่น้องเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับทุกครอบครัว แม้มันอาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกหงุดหงิดและทุกข์ใจไปบ้าง แต่มันคือส่วนหนึ่งของชีวิตครอบครัวค่ะ มีสาเหตุมากมายที่เป็นต้นเหตุของความอิจฉาในพี่น้อง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องตระหนักไว้ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติและไม่สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นได้เลย อันที่จริงการชิงดีชิงเด่นในพี่น้องก็มีประโยชน์ในเวลาเดียวกันนะคะ เพราะเมื่อพวกเขาทะเลาะกันแล้ว พวกเขาจะได้เรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างการทำตัวให้ฉลาดและการทำตัวให้รู้สึกเจ็บปวดซึ่งพูดอีกทางหนึ่งคือความนึกคิดในการใช้สติปัญญาและอารมณ์ในการตัดสินปัญหาค่ะ จากความขัดแย้งของเด็ก ๆ ที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ทำให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะยืนหยัด ปกป้องตัวเองและรู้จักที่จะเห็นอกเห็นใจคนอื่น ในบางครั้งความรู้สึกอิจฉาในความสามารถของเด็กคนอื่นก็กลายเป็นแรงผลักดันให้พวกเขามีแรงบันดาลใจที่จะทำสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น จนไปสู่การยืนหยัดเพื่อตัวเองและประสบความสำเร็จในที่สุด ความอิจฉาในพี่น้องช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ที่จะแสดงออกถึงความขัดแย้ง และความสามารถในการหาวิธีแก้ไขปัญหาที่สร้างสรรค์ในการจัดการปมขัดแย้งกับผู้อื่นได้ค่ะ
อุปนิสัยส่วนตัว: อุปนิสัยส่วนตัวของเด็ก ๆ มีอิทธิพลสำคัญในการกระตุ้นการแข่งขันในพี่น้อง ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่มีนิสัยขี้กังวลมากเกินไปจะทะเลาะกับเด็กที่ต่อต้านขอบเขตการเลี้ยงดูของพ่อแม่ พวกเขาอาจจะแสดงออกถึงความกลัวหรือความกังวลต่อพี่น้องคนนั้น ๆ ซึ่งมักจะก่อให้เกิดความขัดแย้งอยู่เสมอ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องคอยวางตัวออกห่าง และปล่อยให้พี่น้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเข้าหากันเองค่ะ การเติบโต: เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เด็ก ๆ จะก้าวผ่านเหตุการณ์สำคัญที่แตกต่างกัน ความต้องการของพวกเขาจะเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงอายุ เด็กวัยหัดเดินอาจเกิดข้อสงสัยว่า ทำไมเด็กทารกถึงได้รับความสนใจมากกว่าพวกเขา จนเป็นเหตุให้เกิดการพฤติกรรรมถดถอย และแสดงความก้าวร้าวต่อทารก ความเข้าใจและการเบี่ยงเบนความสนใจมีบทบาทสำคัญเมื่อต้องรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้ค่ะ การจัดการปัญหาของผู้ปกครอง: เด็ก ๆ เปรียบเสมือนฟองน้ำที่ซึมซับสิ่งรอบตัวได้เป็นอย่างดี หากพวกเขาเห็นคุณพ่อคุณแม่จัดการกับการปะทะคารมไปในทางลบหรือใช้ความรุนแรง พวกเขาจะซึมซับและเลียนแบบพฤติกรรมจากผู้ปกครองเป็นต้นแบบค่ะ เป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้ใหญ่ในบ้านจะต้องแก้ไขความขัดแย้งไปในทางที่ดี เพื่อเป็นการถ่ายทอดพฤติกรรมเชิงบวกให้กับเด็ก ๆ ค่ะ ความใส่ใจ: เมื่อเด็ก ๆ ป่วยพวกเขาต้องการความใส่ใจจากเราเป็นพิเศษ เป็นเรื่องยากสำหรับลูก ๆ ที่ต้องรับมือสถานการณ์ที่พี่น้องคนใดคนหนึ่งเกิดอาการป่วยและได้รับความสนใจจากพ่อแม่เป็นพิเศษ เด็ก ๆ จะเรียกร้องความสนใจและ ทำตัวเรื่องเยอะเพื่อให้พ่อแม่สนใจพวกเขาหรือทำไปเพราะเกิดความกลัวค่ะ คุณพ่อคุณแม่ต้องมั่นใจว่า เด็ก ๆ จะได้รับความสนใจเป็นพิเศษในช่วงนี้
การแนะนำทารกในฐานะสมาชิกคนใหม่ของบ้านคือช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกคนโตทุกคนเสมอ ซึ่งจากสถานการณ์ที่ตึงเครียดอยู่แล้วอาจจะทำให้ทุกอย่างแย่ลงกว่าเดิม อย่างไรก็ตามไม่มีใครอยากใช้ชีวิตในสงครามอารมณ์ไปตลอดหรอกค่ะ นักจิตวิทยาชี้ว่า หากคุณพ่อคุณแม่ไม่จัดการปัญหาการแข่งขันระหว่างพี่น้องในทางที่เหมาะสม มันอาจทำให้ลูกคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองไม่มีกำลังใจที่จะสานสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องต่อ จนกลายเป็นปัญหาระยะยาวไปจนโตได้ค่ะ ความสามัคคีคือหนึ่งในกลยุทธ์ที่ช่วยเยียวยาสถานการณ์เช่นนี้ได้ อย่างน้อยการก่อให้เกิดความสามัคคีในลูก ๆ ก็ช่วยฟื้นฟูในความสัมพันธ์ในครอบครัวให้ดีขึ้นได้ค่ะ
• เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน และยากที่คุณพ่อคุณแม่จะเลี้ยงพวกเขาให้เหมือนกันได้ อย่างเช่น วิธีการจัดการกับเด็ก 4 ขวบและ 2 ขวบจะมีความแตกต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติค่ะ • อย่าเปรียบเทียบความสำเร็จของลูกกับลูกอีกคน การที่เราตั้งเป้าหมายและความหวังโดยคำนึงถึงความต้องการและความสามารถของลูกแต่ละคนเป็นหลักจะช่วยให้ลดความขุ่นเคืองระหว่างพี่น้องได้ค่ะ • ส่งเสริมและสนับสนุนความสนใจของลูกแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น หากลูกคนหนึ่งชอบระบายสี อีกคนชอบอ่านนิทาน ปริ้นท์ภาพระบายสีจากอินเตอร์เน็ตออกมา และนั่งระบายสีกับลูก ในเวลาเดียวกันลูกคุณก็สามารถนั่งฟังลูกอีกคนเล่านิทานได้ค่ะ • ทำตัวให้ใจกว้างด้วยการชมเชยลูก โดยใช้คำพูดที่ชมเชยเขาทั้งคู่ให้เท่ากัน ๆ อย่างการชมว่า ชอบเห็นลูกทั้งสองคนอยู่ด้วยกัน ลูกทำได้ดีทั้งคู่เลย เป็นต้น • หลีกเลี่ยงการจับผิดลูกเมื่อลูกทะเลาะกัน ในฐานะที่คุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ตัดสิน คุณจะต้องใจเย็นและสงบสติอารมณ์เข้าไว้ กระตุ้นให้ลูก ๆ เรียนรู้ที่จะเดินหนีเพื่อเลี่ยงการปะทะ และกลับมาประนีประนอมซึ่งกันและกันเมื่ออารมณ์เย็นลง • รับรู้ถึงความโกรธของพวกเขา ทำให้ลูกรู้ว่า ความรู้สึกของพวกเขาเป็นสิ่งที่มีเหตุผล แต่ต้องเรียนรู้ที่จะจัดการมันอย่างถูกวิธี อย่างเช่น หากลูกเอาของเล่นของลูกอีกคนแล้วทำให้คุณรู้ว่า เขาโกรธแต่เขาจะเอาของตัวเองกลับมาโดยใช้กำลังไม่ได้ • เชื่อสัญชาตญาณของตัวเอง การทะเลาะกันระหว่างพี่น้องเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และคุณพ่อคุณแม่ควรจะส่งเสริมให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะแยกตัวเองออกมา อย่างไรก็ตามคุณต้องเข้ามาเป็นตัวกลาง คิดอ่านและเข้าจัดการปัญหาเมื่อจำเป็น
• การเตรียมพร้อมรับทารกน้อยเข้าคือการพูดคุยกับลูก ๆ ว่า คุณกำลังอุ้มท้องน้องของเขาอยู่ ทางที่ดีคุณสามารถโชว์รูปอัลตร้าซาวด์ให้ดูด้วยก็ได้ค่ะ • ให้พวกเขาลูบคลำและสัมผัสท้องที่มีลูกน้อย และให้พวกเขาช่วยเลือกซื้อเสื้อผ้าใหม่สำหรับเจ้าตัวเล็กด้วยค่ะ • ใช้ตุ๊กตาที่ลูกชอบแสดงบทบาทสมมุติ ใส่เสื้อผ้าและเลี้ยงดูตุ๊กตาเพื่อให้เขาได้เห็นวิธีการต่าง ๆ ที่คุณจะเลี้ยงดูทารกคนใหม่ค่ะ • หากเด็ก ๆ ยอมอ่อนข้อให้ คุณพ่อคุณแม่ต้องแสดงอ่อนโยน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเน้นย้ำและกำชับพวกเขาด้วยค่ะ • บ่อยครั้งที่ยากที่คุณพ่อคุณแม่จะหาจังหวะเวลาดี ๆ ที่จะได้อยู่กับลูกและทารกน้อยไปพร้อม ๆ กัน วางกล่องของเล่นไว้ข้าง ๆ ที่ที่คุณแม่ใช้ป้อนนมลูกน้อย ชวนลูกของคุณมานั่งข้าง ๆ และอ่านหนังสือที่เขาชอบให้ฟังในระหว่างที่คุณกำลังให้นมลูกค่ะ
คุณพ่อคุณแม่ต้องจำไว้ว่า การขอความช่วยเหลือจากภายนอกก็สำคัญเช่นกัน ซึ่งต้องปฏิบัติทันทีเมื่อเกิดความรุนแรง การใช้อาวุธ การสื่อสารด้วยถ้อยคำที่ไม่ดีหรือการข่มขู่ต่าง ๆ ต่อทารกค่ะ อาการข่มเหงในพี่น้อง เช่น ลูกคนหนึ่งเลี่ยงการปะทะอีกคนอยากเอาชนะ รูปแบบการกินและการนอนที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดหรือแสดงอำนาจข่มขู่เวลาที่เล่นด้วยกัน หากสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น คุณพ่อคุณแม่และครอบครัวต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ไขสถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้น นอกเหนือจากคำแนะนำเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะขอคำปรึกษาและคำแนะนำจากแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปค่ะ แต่ละครอบครัวก็มีลักษณะเฉพาะที่ต่างกันไป การหาทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดในการจัดการความขัดแย้งนี้ต้องอาศัยความอดทนและใช้เวลาสักหน่อยค่ะ สำหรับบางครอบครัวอาจต้องขอความช่วยเหลือจากมืออาชีพเพื่อช่วยจัดการข้อตกลงในครอบครัว แต่สำหรับครอบครัวส่วนใหญ่แล้ว ความเข้าใจและความมั่นคงของการแข่งขันในพี่น้องอาจช่วยจัดการปัญหานี้ได้อย่างเหมาะสม และช่วยฟื้นฟูความสามัคคีในครอบครัวค่ะ
คุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
การท่องเที่ยวของคุณแม่ตั้งครรภ์จะไม่แนะนำให้ท่องเที่ยวในประเทศโซนร้อน โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา เรามีคำแนะนำดีๆ สำหรับคุณแม่มาฝากค่ะ
ในระยะตั้งครรภ์ 31 สัปดาห์ ถือเป็นช่วงเวลาสุดพิเศษสำหรับคุณแม่ที่จะเห็นท้องใหญ่ชัดเจนจนสังเกตเห็นได้ว่าตั้งท้องแล้วนะคะ มาดูกันคุณแม่เปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
เด็กนมแม่มักจะอุจจาระบ่อยและเหลวนุ่ม เนื่องจากนมแม่ย่อยง่าย ดูดซึมไวจึงขับถ่ายได้ไวและบ่อย แต่บางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย คือ อุจจาระบ่อยจนก้นแดง ซึ่งเรื่องนี้คุณแม่สามารถแก้ไขและป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยวิธีต่อไปนี้ค่ะ
เด็กและสัตว์เลี้ยงสามารถสร้างความสัมพันธ์สุดมหัศจรรย์แก่กันและกันได้ รวมถึงมีความผูกพันที่แสนพิเศษ เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากกันค่ะ
อาจารย์แพทย์หญิงดวงรัตน์ วังเกล็ดแก้ว
คุณพ่อคุณแม่ทุกคนคงเคยเห็นตารางพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยที่แปะไว้ในห้องคุณหมอเด็กกันแล้วใช่ไหมคะ ถ้าอยากช่วยให้กล้ามเนื้อของลูกน้อยมีพัฒนาการสมวัย ลองทำกิจกรรมเหล่านี้ดูค่ะ
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090