การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
เด็กๆ ชื่นชอบที่จะออกไปข้างนอก และสำรวจสถานที่ใหม่ ๆ แต่ในเวลาเดียวกันคุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องสำรวจสถานที่นั้นเช่นเดียวกันค่ะ โดยลองประเมินสภาพแวดล้อมรอบตัวเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น การมองหาทางออกฉุกเฉินของสนามเด็กเล่นในร่มหรือหาทางออกจากรถบัสเพื่อเตรียมรับสถานการณ์คับขันที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาค่ะ
เด็กทุกคนจะต้องถูกจัดที่นั่งให้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมขณะเดินทางด้วยรถยนต์ เพื่อความปลอดภัยของทารกแล้ว คุณพ่อคุณแม่จำเป็นจะต้องมีเบาะนิรภัยหรือคาร์ซีทอยู่ในรถค่ะ เบาะนิรภัยทำหน้าที่เปรียบเหมือนเข็มขัดนิรภัยแต่ใช้ระบบผูกรัดที่ช่วยไม่ให้ทารกกระเด็นออกจากเบาะเมื่อรถเบรคอย่างแรงหรือรถชน ซึ่งทำให้โอกาสในการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตน้อยลงกว่า 50% ค่ะ ในยุโรปการมีคาร์ซีทสำหรับเด็กทารกเป็นเรื่องค่อนข้างเคร่งครัด แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการระบุกฎหมายให้ใช้เบาะนิรภัยอย่างชัดเจน มีเพียงแต่กฎหมายเกี่ยวกับการใช้เข็มขัดนิรภัยเท่านั้น
อย่างไรก็ตามเข็มขัดนิรภัยไม่สามารถใช้กับเด็กแรกเกิดหรือรับรองความปลอดภัยให้กับเด็กได้ 100% ดังนั้นการมี เบาะนิรภัยในรถ จึงปลอดภัยที่สุด การเลือกเบาะนิรภัยที่เหมาะสมกับลูกจะต้องคำนึงจากน้ำหนัก ส่วนสูง ขนาดตัวและอายุของลูกเป็นหลัก ดังนั้นให้คุณพ่อคุณแม่จะต้องตรวจสอบคำแนะนำจากผู้ผลิตและซื่อเบาะที่มีป้ายรับรองผ่านการรับรองด้านความปลอดภัยมาแล้ว โดยเบาะนิรภัยมีการแบ่งประเภทดังนี้ 1. เบาะนิรภัยแบบหันหน้าเข้าหาเบาะ (Rearward-facing baby seat) เบาะนิรภัยประเภทนี้เหมาะกับทารกและเกิดจนถึง 2 ปีหรือน้ำหนัก 0-13 กิโลกรัม ออกแบบมาเพื่อรองรับกระดูกคอและกระดูกสันหลังที่ยังไม่แข็งแรง ซึ่งการหันเข้าหาเบาะหลังจะช่วยให้ลดแรงกระแทกเวลาเบรกกระทันหันหรือเกิดการชนขึ้นมานั่นเองค่ะ 2. เบาะนิรภัยแบบหันหน้าไปทางหน้ารถ (Forward-facing child seat) คาร์ซีทตัวนี้จะติดตั้งกับเบาะหลังและหันหน้าไปทางหน้ารถ เหมาะกับเด็กอายุ 2-11 ปีหรือน้ำหนัก 9-18 กิโลกรัม 3. เบาะนิรภัยแบบผสม (Combination seat) เป็นเบาะนิรภัยที่สามารถหันหน้าและหันหลังได้ เหมาะกับทารกและเกิดจนถึงเด็กอายุ 6 ปี ซึ่งเป็นเบาะที่สามารถใช้ได้นาน ประหยัดและสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามอายุของลูกค่ะ 4. เบาะนิรภัยแบบมีพนักพิงด้านหลัง (High-backed Booster Seat) เบาะที่มีพนักพิงด้านหลังแบบไม่มีสายรัด เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 4-12 ปีหรือน้ำหนัก 15-36 กิโลกรัม ช่วยให้เด็ก ๆ นั่งสบายมากขึ้น และปรับตัวได้ง่ายก่อนที่จะเปลี่ยนไปนั่งเบาะรถยนต์ และใช้เข็มขัดนิรภัยในรถได้แบบผู้ใหญ่ค่ะ หลังจากเลือกคาร์ซีทหรือเบาะนิรภัยกันแล้ว คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด เพราะแต่ละรุ่นและแต่ละยี่ห้ออาจมีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรคำนึงในการใช้เบาะนิรภัยดังต่อไปนี้
• ตรวจสอบฐานของเบาะนิรภัยเป็นประจำ เพื่อไม่ให้อุปกรณ์หมุนหรือหลุดออกจากที่นั่ง ปรับสายรัดให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับขนาดตัวของเด็กตามที่ผู้ผลิตออกแบบมา ซึ่งทำให้หัวเข็มขัดและตะขอเกี่ยวทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ • เบาะนิรภัยควรถูกติดตั้งอย่างเหมาะสม ถ้ามีสายก็เอาสายยึดกับด้านหลังของเบาะไว้ให้แน่น • อย่าติดตั้งเบาะนิรภัยไว้ที่เบาะหน้าหากรถมีระบบถุงลมนิรภัย แต่ในกรณีที่ต้องใช้เบาะหน้า ให้เลื่อนเบาะหน้าไปข้างหลังให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ • หากลูกต้องการความสนใจในขณะที่กำลังขับรถ ให้จอดรถแวะข้างทางก่อนค่ะ • อย่าทิ้งลูกให้อยู่ในรถเพียงลำพัง • ใช้ระบบปุ่มล็อคกันเด็กเปิดประตูจนกว่าลูกจะมีอายุอย่างน้อย 6 ปีค่ะ • ปฏิบัติตามกฎหมายจราจร และปลูกฝังเรื่องนี้ให้กับลูก สอนให้ลูกสังเกตถนนข้างทางและสัญญาณไฟจราจรเสมอเมื่อพาเขาออกนอกบ้านค่ะ • หากคุณพ่อคุณแม่กำลังเลือกซื้อเบาะนิรภัยมือสอง คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับประวัติการใช้งานของมัน อย่าใช้หรือซื้อเบาะนิรภัยที่เคยมีประวัติเกี่ยวกับอุบัติเหตุมาก่อน เช็คสายรัดและเบาะป้องกันต่าง ๆ ว่า สมบูรณ์ไม่สึกหรอหรือเสียหายค่ะ
• ตรวจสอบเบรกให้ดี และใช้งานได้เมื่อคุณพ่อคุณแม่ต้องเบรกรถเข็น • ตรวจสอบระบบเข็มขัดรัด 5 จุดในเบาะนิรภัยว่า ทำงานได้ดีและปลอดภัยหรือไม่ • อย่าใส่ของในรถเข็นมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้รถเข็นพลิกคว่ำได้ • จำไว้ว่า รถเข็นจะยื่นหน้าออกจากตัวเราเวลาใช้งาน เมื่ออยู่บนท้องถนนให้เข็นรถเข็นชิดริมทาง และเช็ครถให้ดีก่อนข้ามถนนก่อนเสมอ จากนั้นก็ค่อยเข็นรถชิดฝั่งถนนต่อค่ะ • นำรถเข็นออกมาจากหลังรถก่อนที่จะพาลูกออกมาจากรถค่ะ
• ไม่สายเกินไปที่คุณพ่อคุณแม่จะสอนทารกหรือลูกวัยหัดเดินว่า ไม่ควรเข้าหาคนแปลกหน้าหรือไปไหนกับคนอื่นโดยที่คุณพ่อคุณแม่ยังไม่ได้อนุญาตค่ะ • หากคุณพ่อคุณแม่พลัดหลังกับลูกวัยหัดเดิน ให้สอนพวกเขาเข้าหาคุณแม่ของเด็กคนอื่น ๆ เพื่อขอความช่วยเหลือ • หากคุณพ่อคุณแม่กำลังจะไปสถานที่คนชุกชมหรือวุ่นวาย เช่น ตลาดหรืองานเทศกาลต่าง ๆ ให้คุณพ่อคุณแม่เขียนเบอร์โทรศัพท์ตัวใหญ่ ๆ ไว้ที่แขนของพวกเขา เพื่อรองรับกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดค่ะ • อย่าเขียนชื่อลูกไว้ โดยเฉพาะชื่อและนามสกุลเต็มในที่ที่เห็นได้ชัดเจนอย่างกระเป๋าของพวกเขา เนื่องจากเด็ก ๆ อาจโดนหลอกล่อเพื่อให้พวกเขาเดินตามหรือตอบรับมิจฉาชีพที่พยายามสร้างความคุ้นเคยโดยใช้ชื่อของพวกเขาค่ะ
• ตรวจสอบสถานที่นั้น ๆ อย่างรวดเร็วว่า สวนสาธารณะและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในสภาพดี ไม่มีแมลงหรือสัตว์ที่เป็นอันตรายซ่อนอยู่ หากสถานที่นั้นมีทรายก็ให้เช็คทรายว่า มีของมีคมหรือไม่ • พยายามสอนลูกให้ใส่รองเท้าไว้เสมอ • ตั้งกฎให้ลูกใส่หมวกและทาครีมกันแดดเมื่อออกไปเล่นข้างนอก • พยายามเลือกสวนสาธารณะที่มีรั้วกั้น และมีพื้นที่เล่นสำหรับเด็กหัดเดินไว้ต่างหาก ซึ่งช่วยให้วันที่ออกไปเล่นข้างนอกผ่อนคลายและวุ่นวายน้อยลงค่ะ • การสอดส่องดูแลเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะแต่ละกิจกรรมที่เด็ก ๆ ทำล้วนแฝงด้วยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีเด็กโตเล่นด้วย ซึ่งพวกเขามีพัฒนาการที่โตกว่าและมีการเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่วเด็กเล็กค่ะ • การนั่งชิงช้าเป็นหนึ่งกิจกรรมโปรดในสวนสาธารณะของคนส่วนใหญ่ สอนลูก ๆ ให้อยู่ห่างจากชิงช้าเมื่อมีคนเล่นอยู่ค่ะ • สอนและระวังไม่ให้ลูก ๆ เข้าใกล้เตาปิ้งในสวนสาธารณะ เพราะมันอาจจะยังร้อนอยู่จากการใช้งานครั้งก่อนหน้านี้ค่ะ
• สัตว์ที่ดูสงบและเป็นมิตรก็อาจเข้าโจมตีและทำร้ายเด็กตามสัญชาตญาณได้ • สอนลูก ๆ ให้รักสัตว์ นอกจากนี้ยังต้องสอนให้พวกเขาเล่นกับสัตว์ที่มีเจ้าของ และสามารถเล่นได้ต่อเมื่อเจ้าของอนุญาตเท่านั้น
คุณแม่ที่กำลังเลี้ยงทารกแรกคลอดหรือเด็กเล็ก สามารถติดตามอ่านข้อมูลเกี่ยวข้องได้ที่บทความ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยสำหรับเด็ก รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ ที่เรื่องสารอาหารและโภชนาการที่ครบถ้วนเป็นนั้นสำคัญมาก
ในช่วงที่ลูกยังเป็นทารกหรือเป็นเด็กเล็กนั้น ถือว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย บทความนี้เราจึงได้รวบรวม “โรคฮิต” มีอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
เด็กนมแม่มักจะอุจจาระบ่อยและเหลวนุ่ม เนื่องจากนมแม่ย่อยง่าย ดูดซึมไวจึงขับถ่ายได้ไวและบ่อย แต่บางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย คือ อุจจาระบ่อยจนก้นแดง ซึ่งเรื่องนี้คุณแม่สามารถแก้ไขและป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยวิธีต่อไปนี้ค่ะ
คุณพ่อคุณแม่ทุกคนคงเคยเห็นตารางพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยที่แปะไว้ในห้องคุณหมอเด็กกันแล้วใช่ไหมคะ ถ้าอยากช่วยให้กล้ามเนื้อของลูกน้อยมีพัฒนาการสมวัย ลองทำกิจกรรมเหล่านี้ดูค่ะ
“วัคซีน”ถือเป็นเกราะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในกรณีของทารกหรือเด็กเล็กที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันมากพอ เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
เมื่อลูกลืมตาดูโลก สำหรับคุณแม่ที่ต้องทำงานก็คงต้องกลับไปทำงาน มาดูกันว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรและ ต้องเตรียมของเด็กอ่อนชิ้นไหนบ้าง ไปดูกันค่ะ
สำหรับคนเป็นพ่อแม่แล้ว ไม่มีสิ่งใดที่จะสร้างความสุขความชื่นใจให้ได้เท่ากับการที่ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดี ร่าเริง แข็งแรง และเติบโตขึ้นตามวัย