การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
การตั้งครรภ์แฝดสอง หากเราพูดถึง การตั้งครรภ์ลูกแฝด กันแล้ว แฝดสองคือครรภ์แฝดที่เราพบบ่อยมากที่สุดประมาณ 90% และที่เหลืออีก 10% เป็นครรภ์แฝดสามและแฝดสี่ขึ้นไปค่ะ แม้ว่าสมาชิกในครอบครัวของคุณแม่จะไม่มีฝาแฝด แต่คุณแม่ก็ยังมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดได้ค่ะ ทั้งนี้ก็ไม่ได้โชคดีเสมอไปนะคะเพราะ 5% ของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทั้งหมดรวมและคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดได้ 12 สัปดาห์มีความเสี่ยงที่จะไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้ค่ะ แม้ร่างกายของคุณแม่จะสมบูรณ์ก็ตาม
อาการทั่วไปของคุณแม่ตั้งครรภ์แฝดสอง อาการในช่วงแรกดูไม่มีความผิดปกติอะไรเหมือนการตั้งท้องเดี่ยว จนกระทั่งค่าระดับฮอร์โมน HCG (Human Chorionic Gonadotrophin Hormone) พุ่งสูงขึ้น ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้ทำหน้าที่เพื่อแสดงอาการตั้งครรภ์ในระยะแรก เช่น อาการคลื่นไส้และอาเจียนค่ะ • คุณแม่ต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น เนื่องมาจากน้ำหนักของมดลูกที่อยู่บนกระเพาะปัสสาวะค่ะ ซึ่งอาการจะดีขึ้นเมื่อมดลูกเคลื่อนตัวไปยังบริเวณอุ้งเชิงกราน และในระยะที่มดลูกขยายตัวเต็มที่ มดลูกจะไปเบียดกระเพาะปัสสาวะจนไม่เหลือที่ว่างให้กักเก็บปัสสาวะมากนัก ทำให้คุณแม่รู้สึกปวดฉี่บ่อย ๆ ค่ะ • การเคลื่อนไหวในครรภ์แรก ๆ ทารกจะดิ้นและกระดุ๊กกระดิ๊กไปมา แม้กระทั่งตอนมี อายุครรภ์ 15 สัปดาห์ อาการตั้งครรภ์จะแสดงออกมาเร็วกว่าปกติ คุณแม่ที่ ตั้งครรภ์ลูกแฝดสอง จะสังเกตว่าท้องได้เร็วกว่า โดยปกติมดลูกจะยกตัวขึ้น และย้ายออกจากกระดูกเชิงกรานหลังจากตั้งท้องได้ 12 สัปดาห์หรือนานกว่านั้น แต่สำหรับคุณแม่ลูกแฝดวิวัฒนาการตั้งครรภ์จะก้าวกระโดดไปเร็วกว่าครรภ์ปกติมากค่ะ • อาการต่อมา คุณแม่จะมีปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ และรู้สึกหายใจได้ไม่สะดวก ซึ่งเป็นเพราะลูกแฝดเติบโตขึ้นมากจนไปเบียดพื้นที่ที่ปอดขยายตัวค่ะ • มีอาการเส้นเลือดขอด, ริดสีดวงทวาร, ปวดขา, บวมน้ำและเดินลำบากค่ะ
ความแตกต่างของ การตั้งครรภ์แฝดสอง การตั้งครรภ์แฝดสองมีความแตกต่างจากการตั้งครรภ์เดี่ยวเป็นอย่างมาก ทุกอาการคนท้องอาจรุนแรงขึ้นเป็นสองเท่า และมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนก็มากขึ้นเช่นกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าภาวะเช่นนี้จะเกิดขึ้นกับคุณแม่ทุกคนนะคะ อย่างไรก็ตามอย่าลืมให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจครรภ์อย่างละเอียดด้วยค่ะ จนกว่าคุณแม่จะได้รับการอัลตร้าซาวด์อย่างเป็นทางการ คุณแม่อาจยังไม่รู้ว่า ตัวเองกำลังตั้งครรภ์ ลูกแฝดแท้ (แฝดเหมือน) หรือ แฝดเทียม (แฝดไม่เหมือน) แม้การตั้งครรภ์แฝดอาจจะดูไม่แตกต่างจากการตั้งครรภ์เดี่ยวเท่าไหร่นัก แต่อาจมีความเสี่ยงก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ค่ะ หนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้การตั้งครรภ์แฝดเกิดขึ้นได้คืออายุของคุณแม่ที่มากขึ้นค่ะ สำหรับคุณแม่ที่มีอายุเยอะ และมีลูกแล้ว ประสบการณ์ตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่เหล่านี้จะแตกต่างกับคุณแม่ที่มีอายุน้อยที่ตั้งครรภ์ท้องแรกอย่างมากค่ะ ความเหนื่อยล้าและความอ่อนเพลียอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องอุ้มท้องลูกถึงสองคน คุณแม่อาจไม่ได้นอนหลับและพักผ่อนเพียงพอ เมื่อต้องดูแลเด็กน้อยในบ้านทั้งสองคน
ภาวะแทรกซ้อนของ การตั้งครรภ์แฝด ความเสี่ยงต่อคุณแม่และลูกแฝดในครรภ์จะสูงกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เดี่ยวเป็นอย่างมาก ความเสี่ยงเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ในขณะทารกก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และร่างกายของคุณก็จะปรับสภาพเพื่อรองรับครรภ์แฝดค่ะ • การแท้งลูกคนเดียวหรือทั้งสองคน • การคลอดก่อนกำหนด ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาระหว่างการตั้งครรภ์แฝด และคาดว่า คุณแม่ท้องแฝดที่มีโอกาสคลอดหลังมีอายุครรภ์ 38 สัปดาห์มีน้อยกว่า 50% ของคุณแม่ครรภ์แฝดทั้งหมด • ความผิดปกติในครรภ์แฝด แฝดแท้มีโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติได้มากกว่าแฝดเทียม • แฝดติดกัน คุณพ่อคุณแม่จะได้รับการวินิจฉัยเรื่องนี้จากแพทย์ในระหว่างการอัลตร้าซาวด์ • อายุครรภ์น้อยและมดลูกขยายตัวไม่เต็มที่ ทารกแฝดจะตัวเล็ก และมีน้ำหนักแรกเกิดเบากว่าทารกเดี่ยวที่มีอายุครรภ์เท่ากัน • มีความเสี่ยงกว่าที่จะต้องได้รับ การผ่าคลอด หรือใช้ความช่วยเหลือระหว่างคลอด รวมถึงการใช้คีมและเครื่องสุญญากาศ คุณแม่ครรภ์แฝดที่คลอดลูกผ่านทางช่องคลอดโดยทั่วไปจะต้องใช้ยาระงับปวดและต้องมีการตัดฝีเย็บร่วมด้วย เนื่องจากการคลอดต้องถูกควบคุมโดยแพทย์และพยาบาลผดุงครรภ์เพื่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด แพทย์จะพิจารณาทำคลอดทางช่องคลอดได้ ก็ต่อเมื่อแฝดคนแรกมีศีรษะเป็นส่วนนำ (ศีรษะกลับลงสู่อุ้งเชิงกราน) และศีรษะของแฝดคนที่สองจะต้องตัวไม่ใหญ่กว่าคนแรกมาก เช่น มีน้ำหนักตัวมากกว่าแฝดคนแรก 500 กรัม • การเสียชีวิตของหนึ่งในฝาแฝดอาจเกิดขึ้นได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์ แต่ระยะที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือภายในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ • มีความเสี่ยงต่อการ เป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ มากขึ้น อาจก่อให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ, ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ (PIH), ครรภ์แฝดน้ำ (มีจำนวนน้ำคร่ำมากผิดปกติ) และโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก • สายสะดือย้อยและท่าคลอดจะเกิดขึ้นเมื่อสายสะดืออยู่ต่ำกว่าส่วนนำของทารกในครรภ์ ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลผ่านไปยังทารกคนใดคนหนึ่งหรือทารกทั้งสองได้
การดูแลเป็นพิเศษระหว่างตั้งครรภ์แฝด คุณแม่จะต้องไปพบแพทย์เพื่ออัลตร้าซาวด์และเช็คสภาพร่างกายขณะตั้งครรภ์บ่อยกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เดี่ยวสำหรับการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดเมื่อ ตั้งครรภ์ 18 สัปดาห์ แพทยจะทำการตรวจครรภ์อย่างละเอียดและใช้เวลานานสำหรับการวินิจฉัย โดยเฉพาะทารกที่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน คุณแม่อาจต้องการการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหรือ Doppler ultrasound เพื่อตรวจสอบการไหลเวียนของเลือดผ่านสายสะดือของทารกแต่ละคน และต้องตรวจสอบปริมาณน้ำคร่ำ เพื่อตรวจประสิทธิภาพการทำงานของไตทารกด้วยค่ะ โดยปกติแล้วทารกฝาแฝดจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ควบคู่กันไป จนกว่าพวกเขาจะมีอายุครรภ์ระหว่าง 32 และ 35 สัปดาห์ หลังจากระยะนี้พื้นที่ในครรภ์จะกลายเป็นใหญ่สำหรับพวกเขา เนื่องจากไม่มีพื้นที่มากพอให้ทารกทั้งสองเติบโตไปพร้อม ๆ กัน คุณแม่จะเริ่มอึดอัดมาก ๆ และรู้สึกว่า เด็ก ๆ อยากจะออกมาจากท้องเต็มที่ เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถขยับร่างกายได้ตามต้องการ ผิวแตกลายจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่สาม อันเป็นผลมาจากเส้นใยคอลลาเจนในผิวที่ฉีกขาด เพราะผิวหนังไม่สามารถยืดออกได้อีกต่อไป คุณแม่อาจถูกกักตัวให้พักผ่อนอยู่ในบ้านหรือโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจ ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะสามารถวัดความดันโลหิตได้เป็นประจำ และลดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ค่ะ หากคุณแม่อยู่ในหมู่เลือดที่เป็นลบ คุณแม่อาจต้องได้รับการป้องกันการเกิด Anti-D หรือภาวะเม็ดเลือดแดงแตกของทารกในครรภ์ระหว่างไตรมาสที่สองและสาม คุณแม่ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ ซึ่งการรักษานี้ไม่ตายตัวสำหรับคุณแม่ทุกคนเสมอไป หากคุณแม่มีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด คุณแม่จะต้องได้รับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์อย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งไปช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของปอดของทารกในครรภ์ ซึ่งช่วยให้พวกเขามีแนวโน้มไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายหลังคลอดค่ะ ในระหว่างตั้งครรภ์ควรทำอย่างไรบ้าง เนื่องจากความเสี่ยงต่อการคลอดลูกที่สูงขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ จึงทำให้คุณแม่รู้สึกถูกมองข้ามได้ง่ายดาย จุดมุ่งหมายขอเจ้าหน้าสูติแพทย์อาจเน้นไปที่ การตั้งครรภ์กับลูกแฝด จึงอาจทำให้คุณแม่รู้สึกว่า ตัวเองไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร แม้เจ้าหน้าที่จะใช้ความพยายามเป็นอย่างมากที่จะไม่ทำให้คุณแม่รู้สึกว่าโดนละเลย แต่เหตุการณ์เช่นนี้ก็ยังคงเกิดขึ้นค่ะ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทุกคนจึงต้องเรียกร้องสิทธิให้กับตัวเอง เพื่อให้อยู่ในความดูแลของแพทย์เหล่านี้ค่ะ • ดูแลตัวเองด้วยวิธีง่าย ๆ เช่น รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ พักผ่อนและนอนได้อย่างเพียงพอและมีคุณภาพ ออกกำลังกายเป็นประจำ การดูแลสุขภาพเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากระหว่างการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีลูกถึงสองคนค่ะ • คุณแม่อาจได้รับความรู้จากการพบนักโภชนาการ ซึ่งสำคัญมากที่คุณแม่จะต้องได้รับโฟเลต, โปรตีน, ธาตุเหล็กและสารอาหารที่เพียงพอที่จะช่วยสนับสนุนสุขภาพการครรภ์ที่ดีค่ะ • ใช้เวลาแบบสบาย ๆ เข้าไว้ เนื่องจากร่างกายของคุณแม่ต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อเติบโตและเลี้ยงดูทารกทั้งสองจนกว่าจะคลอด ซึ่งบางครั้งอาจทำให้คุณแม่รู้สึกเหนื่อย แม้ว่าคุณแม่จะไม่ได้ทำอะไรมากมายก็ตาม • วางแผนการลาคลอด ไว้ล่วงหน้า คุณแม่อาจรู้สึกเหนื่อยมากเกินไปที่จะทำงานในช่วงไตรมาสที่สอง คุณแม่สามารถสอบถามเรื่องการลาได้กับผู้จัดการฝ่ายบุคคลของบริษัท ซึ่งคุณแม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์เพื่อยืนยัน เพราะฉะนั้นจะปล่อยเวลาให้ล่วงเลยจนตัวเองรู้สึกเหนื่อยล้ามากจนเกินไป วางแผนล่วงหน้า และแจ้งให้หัวหน้าของทราบว่า คุณแม่จะลาคลอดเร็วขึ้นกว่าคุณแม่คนอื่น ๆ ที่ลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรอย่างเดียวค่ะ • คุณพ่อคุณแม่อาจปรึกษาผู้ปกครองคนอื่น ๆ ที่เคยมีลูกแฝดก่อนคลอดจากสมาคมต่าง ๆ รวมถึงเพจในเฟสบุ๊คเพื่อขอคำแนะนำจากพวกเขาค่ะ • พูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกต่าง ๆ สำหรับการคลอด อ่านข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วนและถามทุกคำถามที่สงสัย ความกลัวและความวิตกกังวลสามารถแก้ได้ด้วยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญค่ะ • หากคุณแม่มีลูกคนอื่น ๆ คุณแม่ต้องทำการจัดระเบียบชีวิตต่าง ๆ รวมถึงให้การดูแลที่น่าไว้วางใจและสนับสนุนพวกเขาอย่างทั่วถึง นอกจากนี้คุณแม่ควรใช้เวลาไปกับคุณพ่อให้เต็มที่ก่อนคลอด ซึ่งจะช่วยให้คุณทั้งสองมีความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นค่ะ
หากคุณแม่วางแผนตั้งครรภ์ท้องแฝดสามารถติดตามอ่านข้อมูลเพื่อเตรียมตัว รวมถึงทำความเข้าใจในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี เพื่อการเข้ากับเพื่อนๆต่างชาติ การศึกษาต่อในต่างประเทศ หรือการทำธุรกิจในอนาคต เพราะชื่อคือตัวตนของลูก ความหมายที่ดี ที่ไพเราะก็ช่วยเพิ่มความเป็นศิริมงคลให้กับลูกอีกด้วย
การย้ายตัวอ่อนเป็นขั้นตอนต่อไปในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือ การรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ART) เรามีบทความดีๆ มาฝากกันค่ะ
อาการเจ็บครรภ์คลอดคือความเจ็บปวดที่คุณแม่ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ความเจ็บนี้อาจจะเป็นความรู้สึกเจ็บที่สุด มาดูวิธีบรรเทาอาการกันค่ะ
คู่สมรสหลายคู่ที่อยากมีลูกกำลังมองหาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อโอกาสการตั้งครรภ์ จะพบว่ามีหลายวิธีที่ช่วยให้คุณผู้หญิงตั้งท้องได้สำเร็จ เรามีคำแนะนำดีๆ ค่ะ
โอกาสการเกิดลูกแฝดสองมีมากกว่าแฝดประเภทอื่นๆ หลายเท่า โดยอัตราการเกิดแฝดสองคิดเป็น 90% เรามีคำแนะนำมาฝากกันค่ะ
การรู้จังหวะและช่วงเวลาการตกไข่เป็นสิ่งสำคัญนะคะ เพราะการรู้ช่วงเวลาตกไข่ จะช่วยให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากที่สุดค่ะ
ถ้าคุณพยายามจะมีลูกมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่เห็นวี่แววว่าจะเจ้าตัวน้อยจะมาเสียที ไม่ต้องกังวลนะคะ เรามีวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากมากฝากค่ะ
คุณผู้หญิงหลายคนคิดว่าสิวช่วงวัยรุ่นจะผ่านพ้นไปตามอายุ แต่ความจริง การเป็นสิวหรือสิวอักเสบเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
เมื่อลูกน้อยในครรภ์เจริญเติบโต รวมถึงอายุครรภ์มากขึ้นหน้าท้องก็จะมีขนาดน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกมีอาการปวดหลัง เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090