การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
คุณแม่หลายคนอยากมีลูกแฝด และมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตั้งครรภ์แฝดมากมาย คุณแม่ที่ท้องลูกแฝดมีโอกาสท้องแฝดประมาณ 90 % มากกว่าการเกิดแฝดสามหรือแฝดสี่นะคะ ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์แฝดแท้หรือแฝดเทียม ทั้งสองแบบแตกต่างกันอย่างไร สามารถแบ่งการเกิดของคู่แฝดได้เป็น 2 แบบดังนี้ 1. แฝดแท้ เกิดจากการปฏิสนธิไข่ใบเดียวและอสุจิเพียงตัวเดียว แล้วแบ่งตัวเป็นสองส่วนแยกจากกันในภายหลัง ลูกฝาแฝดจะมีหน้าตารูปร่างเหมือนกันนะคะ แฝดเทียม เกิดจากการปฏิสนธิไข่ 2 ใบและอสุจิ 2 ตัวที่แยกกันอยู่ในครรภ์แม่ หน้าตาจึงคล้ายกับพี่น้องคลานตามกันมา ไม่เหมือนเป็นพิมพ์เดียวกันแบบแฝดแท้ อาจเป็นเพศเดียวกันหรือคนละเพศก็ได้ ฝาแฝดจะเกิดเป็นเพศชายหรือหญิงนั้น มีโอกาสเท่า ๆ เหมือนกับการตั้งครรภ์ลูกคนเดียวตามปกติค่ะ และการมีลูกแฝดจะถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้เฉพาะแฝดคนละใบ หรืออาจจะข้ามรุ่นได้ เช่น คุณย่ามีลูกแฝดและข้ามมาเป็นรุ่นหลานที่สามารถให้กำเนิดลูกแฝดได้เช่นกันค่ะ
ปัจจุบันมีฝาแฝดเพิ่มมากขึ้นเป็นเพราะ? ปัจจุบันนี้คุณแม่มีโอกาสตั้งครรภ์ลูกแฝดได้ง่ายขึ้นค่ะ เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยให้คู่รักที่มีบุตรยาก มีโอกาสตั้งครรภ์สูงกว่าสมัยก่อนมาก โดยปกติแพทย์จะใส่ตัวอ่อนสองตัวขึ้นไปเพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จ นั่นกลับกลายเป็นว่าคุณแม่จะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดมากขึ้นไปด้วยค่ะ โดยปกติแล้วการท้องลูกแฝดถือเป็นภาวะการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ มีความเสี่ยงสูงมากว่าเด็กจะคลอดก่อนกำหนด แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้ทารกแฝดมีโอกาสรอดมากขึ้นค่ะ
อยากมีลูกแฝดเพิ่มโอกาสความน่าจะเป็นได้อย่างไร? สำหรับคุณแม่ที่อยากมีลูกแฝดควรรู้ข้อมูลก่อนว่าการตั้งครรภ์แฝดเกิดขึ้นได้อย่างไร ปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์แฝดมีอะไรบ้าง เราได้รวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์มาให้อ่านกันนะคะ • โดยปกติคุณแม่อายุเกิน 35 ปีมีโอกาสตั้งท้องแฝดมากกว่าคุณแม่อายุน้อยค่ะ เพราะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้นกระตุ้นให้ร่างกายผลิตไข่หลายใบ รวมถึงฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) ที่จะไปกระตุ้นการตกไข่เพิ่มโอกาสการตั้งท้องแฝดมากขึ้น • คุณแม่เคยคลอดมาแล้วหลายท้อง จะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดมากขึ้นค่ะ • หากคนในครอบครัวมีประวัติตั้งครรภ์แฝด โอกาสที่คุณแม่จะคลอดลูกแฝดก็มากขึ้น เป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากทางฝั่งแม่ และเป็นการตั้งครรภ์แฝดจากไข่คนละใบ • คุณแม่ที่อยากมีลูกแฝดควรปรึกษาแพทย์ว่ามีทางไหนบ้างทำให้ท้องลูกแฝดได้ โดยทั่วไปจะกินยากระตุ้นรังไข่ให้ไข่ตกมากกว่า 1 ใบ ทำให้มีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์แฝดมากขึ้น • คุณแม่ควรสังเกตการตกไข่และระยะเวลาการมีประจำเดือนอย่างแม่นยำ เพื่อคำนวณเวลามีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีการตกไข่พอดี จะมีโอกาสตั้งครรภ์ง่ายขึ้นค่ะ รู้ได้อย่างไรว่าลูกแฝดกำลังจะมา? คุณแม่ทุกคนเวลาตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย บางคนไม่รู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์แฝด แต่หลายคนสังเกตเห็นสัญญาณบางอย่างที่บอกว่าน่าจะตั้งท้องแฝดได้ ลองสังเกตอาการต่อไปนี้นะคะ 1. อาการแพ้ท้องมากกว่าปกติ คลื่นไส้รุนแรง กินอะไรไม่ค่อยลง เหม็นกลิ่นฉุนง่าย ปวดปัสสาวะบ่อย เห็นได้ชัดว่ามีอาการแพ้ท้องมากกว่าปกติ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้าอกใหญ่ขึ้นผิดปกติ คาดได้ว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์แฝดนะคะ เพราะฮอร์โมน hCG ผลิตออกมามากในขณะกำลังตั้งครรภ์นั่นเอง 2. คุณแม่ท้องใหญ่ น้ำหนักขึ้นเร็วกว่าตอนท้องปกติ เพราะการอุ้มท้องเด็กสองคนทำให้มดลูกขยายเป็นสองเท่า คุณแม่ท้องแฝดจะเห็นหน้าท้องออกชัดเจนตั้งแต่อายุครรภ์ 3 เดือน แต่อาจมีปัจจัยอื่นทำให้ท้องใหญ่ได้เหมือนกัน เช่น การรับประทานอาหารที่มากขึ้นของคุณแม่ 3. คุณแม่รู้สึกว่าเด็กในท้องเคลื่อนไหวเร็วกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณบอกการตั้งครรภ์แฝดนะคะ ปกติแล้วคุณแม่ตั้งครรภ์ธรรมดาจะไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวในท้องจนกว่าอายุครรภ์ครบ 14 หรือ 16 สัปดาห์ แต่สำหรับครรภ์แฝดแล้ว จะรู้สึกว่าลูกในท้องเคลื่อนไหวตั้งแต่ครรภ์ยังไม่ถึง 14 สัปดาห์ 4. การตรวจอัลตราซาวด์จะบอกชัดว่าคุณแม่ตั้งครรภ์แฝดในช่วงอายุครรภ์ 12 - 18 สัปดาห์ค่ะ การตั้งท้องลูกแฝดมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติหรือโรคแทรกซ้อน เช่น ทารกตัวเล็กกว่าอายุครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์แฝดมีภาวะเสี่ยงหลายอย่าง ควรเตรียมตัวก่อนคลอดให้ดีและให้พบแพทย์เพื่อทำการตรวจเป็นประจำนะคะ เพราะมีโอกาสที่เด็กจะคลอดก่อนกำหนดได้ 5. การตรวจครรภ์แฝดอีกวิธี คือตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงแบบดอพเลอร์ (Doppler) คือการฟังเสียงหัวใจที่เต้นแยกกันของเด็กแฝดในครรภ์ได้ชัดเจนค่ะ เรามาดูประเภทของแฝดกันนะคะว่ามีแบบไหนบ้าง ตามนี้เลยค่ะ แฝดแท้ • แฝดแท้จะมีอัตราการเกิดประมาณ 1 ใน 3 ของการตั้งครรภ์แฝดทั้งหมด เกิดจากการปฏิสนธิของไข่ใบเดียวและอสุจิตัวเดียวที่แยกตัวเป็นสองส่วน จึงมีหน้าตารูปร่างเหมือนกันจนแยกไม่ออกค่ะ • ยังไม่มีข้อสรุปใดที่อธิบายได้ว่า แฝดแท้ ในช่วงปฏิสนธิเกิดการแบ่งตัวได้อย่างไร หรืออะไรคือสาเหตุทำให้เกิดแฝดแท้ แฝดเทียม • แฝดเทียมจะมีอัตราการเกิดประมาณ 2 ใน 3 ของการตั้งครรภ์แฝดทั้งหมด เกิดจากการปฏิสนธิของไข่สองใบและอสุจิสองตัว แยกกันฝังตัวในมดลูก โดยปกติแล้วแฝดเทียมจะมีความคล้ายแบบพี่น้องที่เกิดตามกันมาค่ะ • แฝดเทียมอาจมีเพศเดียวกันหรือต่างกันก็ได้ โอกาสเกิดเป็นชายหรือหญิงก็มีเปอร์เซ็นต์เท่ากันนะคะ
ลูกแฝดมีความเสี่ยงอะไรบ้าง? คุณแม่ท้องลูกแฝดควรดูแลตัวเองมากกว่าปกตินะคะ เพราะเป็นภาวะที่มีความเสี่ยง มีโอกาสจะแท้งหรือเกิดโรคแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์แฝดเทียมปลอดภัยกว่าเพราะเด็กทารกแต่ละคนจะอยู่ในรกและถุงน้ำคร่ำคนละชุดแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง แตกต่างจากแฝดแท้ที่อาศัยอยู่ภายในถุงน้ำคร่ำเดียวกันจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายมากกว่าค่ะ โรคและอาการแทรกซ้อนระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์แฝด มีอะไรบ้าง • อาการแพ้ท้องในตอนเช้า คุณแม่จะมีการอาเจียนค่อนข้างรุนแรงกว่าการตั้งครรภ์ปกตินะคะ • มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ • มีอาการครรภ์เป็นพิษ • คลอดก่อนกำหนด โดยปกติอายุครรภ์จะไม่ถึง 38 สัปดาห์ • มีอาการเลือดออก รกขวางปากมดลูก รกลอกตัวก่อนกำหนด โรคแทรกซ้อนของทารกในครรภ์แฝด มีอะไรบ้าง • เมื่อแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย • มีอาการตัวเหลือง เป็นโรคคดีซ่าน • ทารกมีปัญหาด้านการรับสารอาหาร • ทารกอาจต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลหลังจากคลอด • อาจมีปัญหาในเรื่องระดับอุณหภูมิในร่างกาย และระบบน้ำตาลไม่คงที่ • อาจติดเชื้อ หรือป่วยง่าย เนื่องจากทารกบอบบางและอ่อนแอ • มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นแฝดแท้หรือเทียม ตอนแรกเกิดคุณแม่อาจยังไม่รู้ว่าลูกน้อยเป็นแฝดแท้หรือแฝดเทียมนะคะ บางคู่เป็นแฝดแท้แต่คลอดออกมากลับมีเยื่อหุ้มทารกแยกออกจากกัน ซึ่งปกติแล้วถ้าเป็นแฝดแท้เด็กจะใช้รกและถุงน้ำคร่ำเดียวกันค่ะ เพื่อให้มั่นใจ 100 % ว่าเป็นแฝดแท้หรือเทียม คุณแม่สามารถตรวจ DNA พิสูจน์ได้ว่าเป็นแฝดประเภทใด มีเพียงแฝดแท้เท่านั้นที่จะมี DNA เหมือนกันทั้งหมด หรือสามารถตรวจจากกรุ๊ปเลือดได้นะคะ ถ้ามีกรุ๊ปเลือดเดียวกันก็เป็นแฝดแท้นั่นเอง ว่าที่คุณพ่อคุณแม่สามารถอ่านข้อมูลในหัวข้ออื่นๆเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดีๆจากเรานะคะ
การนับวันไข่ตก เป็นสาระประโยชน์ดี ๆ ที่ว่าที่คุณแม่ทุกคนควรรู้ เพื่อให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย หรือช่วงเวลาที่สภาพร่างกายมีความพร้อมและเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น
คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนยังไม่รู้ใช่ไหมว่าผ้าอ้อมเด็กผู้หญิงและผ้าอ้อมเด็กผู้ชายมีความแตกต่างกัน หรือแม้แต่คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกมาแล้วหลายคนก็ยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วผ้าอ้อมเด็กผู้หญิงและผ้าอ้อมเด็กผู้ชายแตกต่างกัน วันนี้
การทำสีผมนั้นปลอดภัยในระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะสีของผมนั้นจะอยู่ที่ส่วนของเส้นผมและหนังศีรษะ อยากรู้ว่าการทำสีผมปลอดภัยหรือไม่ มาดูกันค่ะ
เมื่อใกล้ครบกำหนดคลอดคุณพ่อ คุณแม่ ต่างมีเรื่องที่ต้องเตรียมตัวมากมาย เพื่อรอต้อนรับเจ้าตัวเล็กที่จะลืมตาดูโลกในไม่ช้า มาดูกันค่ะต้องเตรียมอะไรบ้าง
การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี เพื่อการเข้ากับเพื่อนๆต่างชาติ การศึกษาต่อในต่างประเทศ หรือการทำธุรกิจในอนาคต เพราะชื่อคือตัวตนของลูก ความหมายที่ดี ที่ไพเราะก็ช่วยเพิ่มความเป็นศิริมงคลให้กับลูกอีกด้วย
การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์นั้นเป็นกิจกรรมที่คู่รักหลายคู่นิยมปฏิบัตินะคะ เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ถือเป็นการสื่อสารและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก
การรู้จังหวะและช่วงเวลาการตกไข่เป็นสิ่งสำคัญนะคะ เพราะการรู้ช่วงเวลาตกไข่ จะช่วยให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากที่สุดค่ะ
การดูแลสุขภาพในช่องปากระหว่างการตั้งครรภ์อาจจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่คุณแม่จะนึกถึง โดยเฉพาะถ้าคุณกำลังมีอาการแพ้ท้องคลื่นไส้อาเจียน เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ