การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
สำหรับคู่รักที่อยากมีลูก การนับวันไข่ตกอย่างถูกต้องเป็นวิธีที่จะช่วยให้มีลูกได้เองตามธรรมชาติ ว่าที่คุณแม่ควรทำความเข้าใจและนับวันไข่ตกของตัวเอง ซึ่งแต่ละคนจะไม่เท่ากันนะคะ เตรียมตัวสะกิดว่าที่คุณพ่อปฏิบัติภารกิจในช่วงวันตกไข่ให้แม่นยำ ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้ค่ะ เมื่อรู้วันไข่ตกที่แน่นอนแล้ว ควรนัดแนะวันเวลากับคู่ครองให้ดีก่อนวันไข่ตกจริงสัก 1-2 วัน เพื่อให้อสุจิกับไข่มาเจอกันในสภาพที่พร้อมเต็ม จะทำให้มีโอกาสสำเร็จสูงขึ้นค่ะ
การนับระยะไข่ตก (รอบเดือน) เพื่อตั้งครรภ์ มี 4 ระยะด้วยกันดังนี้ 1. ระยะมีประจำเดือน (Menstruation) 2. ระยะก่อนไข่ตก (Proliferative phase) 3. ระยะวันไข่ตก (Ovulation) 4. ระยะหลังไข่ตก (Secretory phase) ผู้หญิงเรามีรอบเดือนเป็นประจำทุกเดือน ก่อนช่วงเวลาไข่ตก ผนังมดลูกจะหนาขึ้นเพื่อเตรียมรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน เป็นช่วงเวลาเหมาะที่คู่รักจะมีเพศสัมพันธ์กันค่ะ ถ้าคุณผู้ชายไม่ขยันทำการบ้าน ปล่อยให้เวลาล่วงเลยพ้นช่วงไปแล้ว ผนังมดลูกจะสลายตัวออกมาเป็นประจำเดือน ต้องมารอลุ้นกันรอบใหม่เมื่อวงจรการตกไข่วนกลับมาอีกนะคะ ทั้งนี้ การตกไข่และรอบเดือนของผู้หญิงเกิดจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง โดยเฉพาะเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เป็นฮอร์โมนสำคัญที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ค่ะ
ระยะเวลาการตกไข่ การคำนวณระยะเวลาการตกไข่เป็นสิ่งที่คุณผู้หญิงทุกคนควรทราบ ผู้หญิงแต่ละคนมีระยะเวลาการมีประจำเดือนแตกต่างกัน หากว่าที่คุณแม่อยากมีลูกต้องเข้าใจกลไกในร่างกายของตัวเองนะคะ รู้ว่าช่วงไหนไข่ตกเพื่อจะมีโอกาสท้องได้มากขึ้นค่ะ • รอบเดือนของผู้หญิงมีระยะเวลาเฉลี่ย 28 วัน แต่ละคนอาจไม่เท่ากัน อาจมีช่วงเวลาประมาณ 21-35 วัน ลองตรวจสอบตัวเองกันนะคะ • ผู้หญิงส่วนใหญ่มีรอบเดือนสม่ำเสมอ ในกรณีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น เพราะความเครียด อาการเจ็บป่วย หรือออกกำลังกายหนักเกินไปอาจมีผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้เช่นกัน • รอบเดือนมาไม่ตรงวันเดียวกัน แต่วงจรหลังวันไข่ตกจะไม่เปลี่ยนแปลง คืออยู่ระหว่าง 10-16 วัน ซึ่งคุณผู้หญิงสามารถนับวันไข่ตกของตัวเองอย่างแม่นยำได้นะคะ วิธีการ “นับวันไข่ตก” ก่อนอื่นต้องรู้ว่าระยะเวลารอบเดือนของตัวเองมีกี่วัน จึงจะนับวันไข่ตกได้แม่นยำ และรู้ช่วงเวลาที่ควรมีเพศสัมพันธ์เพื่อให้มีโอกาสตั้งท้องง่ายขึ้นด้วย โดยช่วงจังหวะไข่ตกคือวันที่ 14 ของรอบเดือน คู่รักควรมีเซ็กซ์กันในช่วงวันที่ไข่สุกจะทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากที่สุด คุณผู้หญิงที่อยากท้องเร็วจะต้องจับตาสัญญาณของการตกไข่และสัญญาณทางร่างกายของตัวเองกันให้ดีนะคะ
วงจรการตกไข่ : ระยะแรก – ระยะมีประจำเดือน (Menstruation) ช่วงแรกของวงจรการตกไข่ เริ่มตั้งแต่วันแรกของการมีรอบเดือนไปจนถึงวันตกไข่ มีข้อสังเกตตามนี้ค่ะ • รอบการตกไข่เริ่มต้นนับจากวันแรกที่มีประจำเดือน ผู้หญิงบางคนอาจมีเลือดหยดออกมาเล็กน้อยช่วงก่อนเป็นประจำเดือน ให้นับเป็นวันแรกของรอบเดือนนะคะ • หากไม่มีการปฏิสนธิ เยื่อบุโพรงมดลูกจะสลายหลุดลอกออก มีลักษณะเลือดผสมกับเมือก เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีประจำเดือน • โดยเฉลี่ยคุณผู้หญิงจะมีประจำเดือน 3-7 วัน ปริมาณเลือดในแต่ละรอบราว 35 มิลลิลิตร วงจรการตกไข่ : ระยะที่สอง – ระยะก่อนไข่ตก (Proliferative phase) ระยะก่อนไข่ตกเป็นช่วงครึ่งแรกของรอบเดือนค่ะ เป็นช่วงที่รังไข่จะพัฒนาถุงไข่และฟองไข่เพื่อรอรับการผสมกับอสุจิ ซึ่งมีหลายฟองแต่จะมีไข่เพียงใบเดียวเท่านั้นที่ถูกเลือกและพัฒนาให้สมบูรณ์ที่สุด • วงจรการตกไข่มักจะกล่าวรวมระยะแรกและระยะที่สองเข้าด้วยกัน เพื่อให้เข้าใจง่าย เริ่มตั้งแต่ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงในช่วงต้นรอบเดือนไปจนถึงการกระตุ้นฮอร์โมนให้เกิดการตกไข่นั่นเองค่ะ • ระยะก่อนไข่ตกเป็นช่วงที่ร่างกายคุณผู้หญิงผลิตฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) มากขึ้นเพื่อกระตุ้นฮอร์โมนให้เกิดการตกไข่ • ผู้หญิงที่มีประจำเดือนปกติจะมีรอบเดือนเฉลี่ย 28 วัน และตกไข่ในวันที่ 14 แต่รอบเดือนของผู้หญิงแต่ละคนมีระยะสั้นยาวต่างกัน บางคนรอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ควรสังเกตสัญญาณของแต่ละเดือนเพื่อสามารถคำนวณหาวันตกไข่ได้แม่นยำยิ่งขึ้นนะคะ • ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลงหลังหมดประจำเดือนรอบก่อน ส่วนฮอร์โมน FSH จะเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้มดลูกสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนทารก • ในกระบวนการเกิดรอบเดือน รังไข่จะสร้างถุงไข่ประมาณ 5-7 ถุง แต่ละถุงผลิตไข่หนึ่งฟอง แต่จะมีไข่เพียงใบเดียวที่ถูกเลือกและเจริญเติบโตในถุงน้ำที่อยู่ภายในรังไข่จนกระทั่งสมบูรณ์ที่สุด และถูกผลักดันให้เข้าไปในท่อนำไข่เพื่อรอรับการผสมกับอสุจิ เรียกว่า “เกิดการตกไข่”นั่นเองค่ะ • โดยปกติร่างกายจะตกไข่ออกมาใบเดียวเท่านั้น การตกไข่มากกว่าหนึ่งใบถือว่าไม่ปกติและนั้นหมายถึงคุณแม่มีโอกาสตั้งครรภ์แฝดนะคะ • ในเวลานั้นรังไข่จะปล่อยฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมากระตุ้นให้มดลูกสร้างเยื่อบุผนังมดลูกหนาขึ้นเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อนทารก • ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงมีผลให้มูกบริเวณปากมดลูกบางลงและลื่นขึ้น ช่วยให้อสุจิเคลื่อนไปตามท่อรังไข่ง่ายขึ้น การเกิดปฏิสนธิในช่วงนี้มีโอกาสท้องมากขึ้นค่ะ ให้สังเกตว่ามีมูกเหลวลักษณะเหมือนไข่ขาวดิบออกมาจากช่องคลอด เป็นเวลาที่ไข่สุกพร้อมตั้งครรภ์ค่ะ • การตกไข่แต่ละครั้งโดยเฉลี่ยเกิดขึ้นประมาณวันที่ 12 ของวงจรรอบเดือน ไข่เพียงใบเดียวถูกปล่อยออกมาจากรังไข่ ส่วนที่เหลือจะฝ่อไปเอง • ช่วงเวลาตกไข่มีโอกาสเกิดตั้งครรภ์มากที่สุด ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนแอนโดรเจนกระตุ้นความต้องการทางเพศเองนะคะ ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติทำให้คุณผู้หญิงมีโอกาสท้องในช่วงวันไข่ตกพอดี
วงจรการตกไข่ : ระยะที่สาม – ระยะวันไข่ตก (Ovulation) ระยะวันไข่ตกเป็นช่วงที่ควรมีเพศสัมพันธ์เพื่อให้ตั้งครรภ์ค่ะ หลังจากพ้นระยะไข่ตกไปแล้ว ประจำเดือนรอบต่อไปจะมาในอีก 12-16 วันถัดไป • ในช่วงระยะวันไข่ตก ร่างกายของผู้หญิงจะหลั่งฮอร์โมนลูทิไนซิงเพิ่มขึ้น จากนั้นการตกไข่จะเกิดขึ้นภายใน 12 ชั่วโมง • ช่วงนี้เองร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มีผลให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นหลังไข่ตก ช่วยในการสังเกตและทราบช่วงวันไข่ตกได้นะคะ • ในแต่ละเดือนร่างกายจะสร้างไข่หลายใบในรังไข่ แต่จะมีเพียงใบเดียวที่เติบโตเต็มที่และหลุดจากถุงไข่เข้าสู่ท่อนำไข่เพื่อผสมกับอสุจิ • เมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้วจะกลายเป็นตัวอ่อนทารก หรือเรียกว่าไซโกต ตัวอ่อนจะใช้เวลาหลายวันก่อนจะฝังตัวในผนังมดลูก ทันทีที่ตัวอ่อนฝังตัวสำเร็จถือว่าคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์แล้วค่ะ วงจรการตกไข่ : ระยะที่สี่ – ระยะหลังไข่ตก (Secretory phase) ร่างกายเข้าสู่ระยะสุดท้ายของวงจรการตกไข่ เรียกกันว่าระยะหลังไข่ตก ซึ่งจะนับตั้งแต่วันตกไข่เรื่อยไปจนถึงวันที่มีประจำเดือนของรอบถัดไป หากประจำเดือนของว่าที่คุณแม่ไม่มาตามปกตินั่นคือข่าวดีเพราะเป็นสัญญาณว่ากำลังตั้งครรภ์นะคะ • หลังตัวอ่อนฝังตัวที่มดลูกแล้ว ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนตั้งครรภ์ที่เรียกว่า hCG ขึ้นมา ถุงน้ำในรังไข่ช่วยในการตั้งครรภ์ระยะแรกโดยห่อหุ้มตัวอ่อนต่อไปหลายสัปดาห์จนกว่าร่างกายจะสร้างรกขึ้นมา และถุงน้ำจะสลายตัวไป รกที่ถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกับตัวอ่อนทารก จะเริ่มส่งอาหารและออกซิเจนจากแม่ไปสู่ลูกผ่านทางสายสะดือค่ะ • หากไม่มีการตั้งครรภ์ ถุงน้ำจะเริ่มฝ่อลงและหลุดลอกออกไปเนื่องจากระดับฮอร์โมนตั้งครรภ์ลดลงนะคะ หลังจากนั้นร่างกายจะเริ่มสร้างผนังโพรงมดลูกเพื่อเตรียมพร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อนสำหรับประจำเดือนในรอบถัดไปอีกครั้ง เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับข้อมูลที่นำมาฝากนี้ ว่าที่คุณแม่ลองคำนวณหาวันตกไข่ของตัวเองว่าวันไหนเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้มากที่สุด เพื่อเตรียมพร้อมต้อนรับสมาชิกคนใหม่ในครอบครัวอย่างมีความสุขกันนะคะ ว่าที่คุณพ่อคุณแม่สามารถอ่านข้อมูลในหัวข้ออื่นๆเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดีๆจากเรานะคะ
การนับวันไข่ตก เป็นสาระประโยชน์ดี ๆ ที่ว่าที่คุณแม่ทุกคนควรรู้ เพื่อให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย หรือช่วงเวลาที่สภาพร่างกายมีความพร้อมและเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น
ว่าที่คุณแม่หรือคุณแม่มือใหม่ที่กำลังเลือกผ้าอ้อมเด็กหรือกำลังจะซื้อผ้าอ้อมเด็กให้ลูก ลองมาดู 5 คำแนะนำจากเราค่ะ รับรองว่าการเลือกซื้อผ้าอ้อมเด็กรอรับลูกแรกเกิดจะไม่ใช่เรื่องยาก แถมยังได้ผ้าอ้อมเด็กที่หมาะกับลูกสุดๆ ทั้งความสบาย การซึมซับ และพัฒนาการเด็กที่ดีเยี่ยม
หลังการคลอดคุณแม่มีปัญหาด้านการกลั้นปัสสาวะหรือมีอาการปัสสาวะเล็ดหรือไม่ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปด้วยการบริหารอุ้งเชิงกราน มาดูวิธีบริหารกันค่ะ
คู่สมรสหลายคู่ที่อยากมีลูกกำลังมองหาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อโอกาสการตั้งครรภ์ จะพบว่ามีหลายวิธีที่ช่วยให้คุณผู้หญิงตั้งท้องได้สำเร็จ เรามีคำแนะนำดีๆ ค่ะ
การมีลูกแฝดสามหรือการตั้งครรภ์ลูกมากกว่าสองคนเป็นเรื่องที่พบได้ยาก แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติกับคุณแม่ทุกคน เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
Implantation Bleeding หรือ อาการเลือดล้างหน้าเด็ก อาจเป็นสิ่งที่คุณแม่หลายคนไม่คุ้นหูนักนะคะและหากมีอาการแบบนี้ขึ้น มาดูกันค่ะว่าอาการเป็นอย่างไร
การให้นมแม่ ซึ่งเป็นอาหารหลักของลูกน้อยในวัยทารกนั้นเป็นอีกเรื่องละเอียดอ่อนที่คุณแม่มือใหม่ต้องค่อย ๆ เรียนรู้และทำความเข้าใจมาดูวิธีการให้นมอย่างถูกต้องกัน