การย้ายตัวอ่อนเป็นขั้นตอนต่อไปในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือ การรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ART) เรามีบทความดีๆ...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
สิ่งแรกที่ควรทราบคือ คุณผู้หญิงเองและแพทย์ที่ดูแลคุณอยู่เท่านั้นที่จะบอกได้ว่าคุณจะตกไข่เมื่อไร โดยสังเกตจากรอบเดือนของตนเอง แนะนำให้ใช้เครื่องมือช่วยคำนวณการตกไข่ออนไลน์ที่เรียกว่า Ovulation Calculator เพื่อนับวันตกไข่ ทำความเข้าใจเรื่องอาการปวดประจำเดือน และข้อมูลสำคัญอื่น ๆ
การรู้เวลาตกไข่ของตนเองช่วยกำหนดจังหวะเวลาการร่วมรักกับคุณสามีและมีโอกาสตั้งท้องตามต้องการ คุณผู้หญิงควรมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลา 1-2 วัน ก่อนวันตกไข่ไปจนถึง 24 ชั่วโมงหลังการตกไข่ เป็นจังหวะที่มีโอกาสตั้งครรภ์มากที่สุดค่ะ เนื่องจากอสุจิมีชีวิตอยู่ในร่างกายผู้หญิงได้ถึง 5 วัน แต่ไข่จะมีอายุอยู่ได้เพียง 12-24 ชั่วโมงหลังการตกไข่เท่านั้นค่ะ
การตกไข่เกิดขึ้นในช่วงมีประจำเดือนใช่หรือไม่?
ในทางทฤษฎีเชื่อว่าผู้หญิงเราตกไข่ในวันที่ 14 ของวัฏจักรรอบเดือน แต่ความจริงแล้วคุณผู้หญิงแต่ละคนมีวันตกไข่ไม่ตรงกัน ช่วงเวลาอาจแตกต่างไปในแต่ละเดือนด้วย หากคุณมีรอบเดือนห่างกัน 28-32 วัน อาจมีวันตกไข่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 11-21 การตกไข่ไม่แน่นอนหรือคาดเดาไม่ได้ค่ะ
การตกไข่คืออะไร?
การตกไข่คือช่วงเวลาเหมาะที่ไข่สุกเต็มที่ของรอบเดือน บางครั้งมีมากกว่าหนึ่งฟอง ไข่จะถูกปล่อยออกมาจากรังไข่เคลื่อนที่เข้าสู่ท่อนำไข่ นับเป็นจังหวะเหมาะจะมีเพศสัมพันธ์เพื่อให้ไข่และอสุจิเกิดการปฏิสนธิ ซึ่งคาดเดาไม่ได้ว่ารังไข่ข้างใดจะปล่อยไข่ออกมา บางกรณีเกิดการอุดตันในท่อนำไข่หนึ่งข้างหรือทั้งสองข้าง หมายความว่าแม้ว่าผู้หญิงจะตกไข่ แต่ไข่และอสุจิไม่สามารถเคลื่อนที่เข้าหากันเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ ทำให้โอกาสตั้งครรภ์น้อยลงไปได้ค่ะ
• ช่วงเวลาของการตกไข่อาจได้รับผลกระทบจากความเครียด ความเจ็บป่วย หรือการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน • โดยปกติการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิจะเกิดขึ้นภายใน 6-12 วันหลังการตกไข่ • ร่างกายผู้หญิงเกิดมาพร้อมกับไข่จำนวนหนึ่งซึ่งจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อไข่สุกถูกปล่อยออกมาในแต่ละเดือน • ประจำเดือนอาจเกิดขึ้นได้แม้จะไม่เกิดการตกไข่ และการตกไข่เกิดขึ้นได้แม้จะไม่มีประจำเดือนเช่นเดียวกันค่ะ • ผู้หญิงบางคนมีอาการปวดท้องน้อยหรือที่อุ้งเชิงกรานในช่วงการตกไข่ • โดยปกติรังไข่แต่ละข้างจะปล่อยไข่ 1 ฟองออกมาสลับกัน ยกเว้นบางกรณีมีการตกไข่พร้อมกันหลายฟอง
อาการตกไข่เป็นอย่างไร?
อาการที่เป็นสัญญาณของช่วงเวลาการตกไข่ของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน มีอาการบางอย่างที่ผู้หญิงบางคนรู้อยู่แล้วนะคะ แต่มีบางอาการที่ไม่รู้มาก่อนว่าเกิดจากการตกไข่ แนะนำให้สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิร่างกายที่เพิ่มขึ้น ผู้หญิงบางคนอาจมีความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ
อาการปวดประจำเดือนในช่วงตกไข่
มีอาการปวดหน่วงบริเวณท้องน้อยหรือท้องอืดเป็นสัญญาณว่าไข่สุกกำลังจะถูกปลดปล่อยออกมาสู่ท่อนำไข่เพื่อรอการปฏิสนธิกับอสุจิ ผู้หญิงบางคนปวดประจำเดือนช่วงใกล้การตกไข่เป็นประจำทุกเดือนหรือเป็นบางครั้ง ลองสังเกตดูนะคะว่าคุณมีอาการนี้หรือเปล่า
วิธีการทดสอบการตกไข่
การตรวจสอบการตกไข่นั้นจะมีชุดทดสอบวัดระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในช่วงตกไข่ ควรศึกษาคู่มือการใช้งานให้ดีและทำให้ถูกวิธีตามคำแนะนำเพื่อให้ผลทดสอบออกมาแม่นยำ ความถูกต้องแม่นยำยังขึ้นอยู่กับภาวะร่างกายของผู้หญิงแต่ละคนด้วยค่ะ
สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการตกไข่
สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังการตกไข่มีสองทาง ทางแรกคือไข่และอสุจิเกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนฝังตัวในมดลูก ถือว่าเริ่มต้นตั้งครรภ์แล้วนะคะ อีกทางคือไม่เกิดการปฏิสนธิ ไข่ถูกดูดซึมเข้าสู่เยื่อบุมดลูกถูกกำจัดออกจากร่างกายเป็นประจำเดือนรอบถัดไป คุณผู้หญิงแต่ละคนควรสังเกตตัวเองว่ามีช่วงจังหวะตกไข่เวลาใดเพื่อทำความรู้จักร่างกายตัวเองและสามารถวางแผนให้มีลูกง่ายขึ้นค่ะ
หากกำลังวางแผนตั้งครรภ์สามารถติดตามอ่านข้อมูลเกี่ยวกับภาวะตกไข่เพื่อเตรียมตัวในการตั้งครรภ์ รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
การย้ายตัวอ่อนเป็นขั้นตอนต่อไปในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือ การรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ART) เรามีบทความดีๆ มาฝากกันค่ะ
เมื่อนาฬิกาชีวิตส่งสัญญาณเตือนภาวะมีลูกยาก คุณแม่พยายามสังเกตประจำเดือนแล้วแต่เจ้าตัวน้อยก็ไม่มาสักที เราแนะนำให้คุณแม่พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเบื้องต้นว่ามีความผิดปกติหรือไม่
กรณีศึกษาของผู้หญิงตั้งครรภ์ที่รู้สึกเป็นครั้งแรกว่ามีก้อนเนื้ออยู่ในเต้านมในระหว่างที่กำลังให้นมลูกน้อยวัย 4 เดือน เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
การมีลูกแฝดสามหรือการตั้งครรภ์ลูกมากกว่าสองคนเป็นเรื่องที่พบได้ยาก แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติกับคุณแม่ทุกคน เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
Implantation Bleeding หรือ อาการเลือดล้างหน้าเด็ก อาจเป็นสิ่งที่คุณแม่หลายคนไม่คุ้นหูนักนะคะและหากมีอาการแบบนี้ขึ้น มาดูกันค่ะว่าอาการเป็นอย่างไร
เชื่อเหลือเกินว่าคุณผู้หญิงที่ต้องการมีลูก หากรู้สึกได้ว่าร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแล้วแต่ยังไม่แน่ใจว่าคิดไปเองหรือเปล่า คงอดใจไม่ไหวกับการตรวจสอบว่าตัวเองนั้นท้องแล้วหรือยัง
อาการตกขา เป็นเรื่องธรรมชาติของผู้หญิงทุกคน ไม่ว่าจะตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม เมื่ออยู่ในวัยเจริญพันธุ์หรือมีประจำเดือนครั้งแรกจะมีตกขาวออกมาทางช่องคลอด
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090