การย้ายตัวอ่อนเป็นขั้นตอนต่อไปในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือ การรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ART) เรามีบทความดีๆ...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
ประจําเดือน หมายถึงเลือดและเยื่อบุโพรงมดลูกที่ลอกหลุดออกมาทุกรอบเดือน เป็นเรื่องธรรมชาติของผู้หญิงเรานะคะ ประจำเดือนเกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมน 4 ชนิดซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง ระดับฮอร์โมนเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นและลดลงในแต่ละรอบเดือน เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมกับการตั้งครรภ์ หากไม่มีการปฏิสนธิระหว่างไข่และอสุจิ ร่างกายจะขับเลือดออกจากช่องคลอดทุกรอบเดือนค่ะ
ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับภาวะการมีประจำเดือน ได้แก่
1. ฮอร์โมน Follicle Stimulating Hormone (FSH) หรือฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของไข่ ควบคุมการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน 2. ฮอร์โมน Estrogen Hormone หรือเอสโตรเจน เป็นฮอร์โมนที่ผลิตออกมาจากไข่สุกเต็มที่ โดยระดับฮอร์โมนจะสูงสุดช่วงก่อนวันตกไข่ 3. ฮอร์โมน Luteinizing Hormone (LH) หรือลูทิไนซิงก์ เป็นตัวกระตุ้นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดกระบวนการตกไข่อย่างสมบูรณ์ 4. ฮอร์โมน Progesterone Hormone หรือโปรเจสเตอโรน ทำให้ผนังมดลูกหนาขึ้น เพื่อรองรับไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว
ช่วงเวลามีรอบเดือน โดยเฉลี่ยของผู้หญิงทั่วไปประมาณ 28 วัน แต่คุณผู้หญิงส่วนใหญ่มีรอบเดือนแตกต่างกันไป อาจคลาดเคลื่อนจากนี้ 2-3 วัน มาเร็วหรือช้าไปบ้างเล็กน้อยค่ะ เมื่อถึงอายุและระยะเวลาที่เหมาะสม ร่างกายของผู้หญิงจะเริ่มเปลี่ยนแปลงและมีประจำเดือนตามธรรมชาติ คุณผู้หญิงส่วนใหญ่เริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุประมาณ 12 ปีขึ้นไป เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเริ่มเป็นสาวแล้ว ร่างกายกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ภาวะเจริญพันธุ์และพร้อมที่จะมีลูก อายุของเด็กหญิงที่จะมีประจำเดือนครั้งแรกแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม ความเครียด การออกกำลังกาย อาหารที่ถูกหลักโภชนาการ หรือแม้แต่อัตราส่วนของไขมันในร่างกายและกล้ามเนื้อ ล้วนมีผลต่ออายุที่เด็กหญิงเริ่มมีประจำเดือนทั้งนั้นเลยค่ะ
เหตุผลที่ต้องกังวลใจกับประจำเดือน
สิ่งแรกที่สำคัญคือ ถ้าประจำเดือนมาแสดงว่าคุณไม่ได้ตั้งครรภ์ค่ะ แต่ก็ยังเป็นช่วงสัปดาห์ที่สำคัญ เพราะการปฏิสนธิมักเกิดขึ้นประมาณสัปดาห์ที่สอง หรือ 14 วันหลังจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย เรียกว่า LNMP หรือ Last Normal Menstrual Period แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งครรภ์ในขณะนั้นก็อย่าพึ่งไม่ละเลยการดูแลตัวเองและการนับรอบนะคะ หากคุณกำลังเตรียมตัววางแผนตั้งครรภ์ในรอบถัดไป
หากคุณผู้หญิงวางแผนตั้งครรภ์ในช่วงเดือนนี้ ช่วงเวลาสำคัญคือ 2 สัปดาห์ก่อนกำหนดวันประจำเดือนมา ซึ่งจะตรงกับจังหวะการตกไข่รอบใหม่นั่นเอง ซึ่งการคำนวณวันตกไข่ได้แม่นยำช่วยให้ตั้งท้องง่ายและยังช่วยคำนวณวันครบกำหนดคลอดของลูกน้อยได้แม่นยำอีกด้วยนะคะ
หากคุณผู้หญิงกำลังพยายามมีลูก ควรจดบันทึกไดอารี่หรือบันทึกในปฏิทินเอาไว้ว่าเริ่มมีประจำเดือนวันแรกตรงกับวันไหนในแต่ละเดือน เพื่อให้เข้าใจวัฏจักรรอบเดือนและวางแผนตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว มดลูกจะใช้เวลาประมาณ 5 วันขับเยื่อบุโพรงมดลูกเป็นประจำทุกเดือน ทำให้ผนังมดลูกนั้นบางลง และเริ่มกระบวนการสร้างใหม่ทำให้ผนังหนาเตรียมรองรับการฝังตัวของไข่กับอสุจิที่ปฏิสนธิเกิดเป็นตัวอ่อนค่ะ
วันมีประจำเดือนแต่ละวันเกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายอย่างไรบ้าง มาดูกันเลย
วันที่ 1 วันแรกที่มีประจำเดือน มดลูกของคุณจะมีขนาดเท่ากับผลพลัมสุกนะคะ ปริมาณการขับเลือดออกมาจากช่องคลอดประมาณ 30 มล. ในช่วง 5 วันต่อจากนี้ไป อวัยวะสำคัญที่อยู่ลึกลงไปในอุ้งเชิงกราน โดยกระดูกเชิงกรานและอวัยวะรอบข้างจะช่วยในการปกป้องกระดูกและอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง
วันที่ 2 วันนี้มีเลือดออกมาจากช่องคลอดมากขึ้น อาจเป็นวันที่หนักหนาสาหัสที่สุดสำหรับคุณผู้หญิงหลายคน เริ่มมีอาการปวดประจำเดือน เนื่องจากมดลูกบีบตัวอย่างมากเพื่อขับไล่เลือดออกไป ไข่จะเริ่มเจริญเติบโตและมีเพียงฟองเดียวเท่านั้นที่จะเคลื่อนไปตามท่อนำไข่ถึงเวลาที่จะตกไข่ นอกจากปวดท้องแล้วยังรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลียและอารมณ์แปรปรวน มีความผันผวนของฮอร์โมนมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพภายในมดลูกเพื่อช่วยรองรับการการตั้งครรภ์ในเดือนต่อไปด้วยค่ะ
วันที่ 3 ไข่ยังอยู่ในรังไข่ของผู้หญิงรอให้ถึงเวลาตกไข่ มดลูกกำลังขับเลือดและเริ่มมีผนังบางลงไปเรื่อย ๆ ถ้าคุณผู้หญิงมีอาการปวดท้องมากผิดปกติ หรือมีประจำเดือนยาวนานเป็นพิเศษ แนะนำว่าให้ไปพบกับแพทย์ที่มีความชำนาญด้านระบบการสืบพันธุ์ เพื่อตรวจหาสาเหตุได้ชัดเจน และเลือกการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมต่อไปค่ะ
วันที่ 4 ถึงตอนนี้เลือดประจำเดือนออกไม่มากแล้ว รู้สึกสบายตัวไม่อึดอัดท้องเหมือนสองสามวันก่อน แม้ว่าประจำเดือนจะยังไม่หมด แต่ร่างกายของคุณผู้หญิงพร้อมที่จะพัฒนาไข่ชุดใหม่ออกมาแล้ว ในแต่ละเดือนจะมีเซลล์ไข่ 15-20 ฟองเติบโตขึ้น แต่จะมีเพียงใบเดียวที่ปล่อยออกมาจากรังไข่ หากร่างกายปล่อยไข่ออกมา 2 ฟองขึ้นไปคุณมีโอกาสที่จะท้องลูกแฝดได้นะคะ
วันที่ 5 ช่วงเวลาวันสุดท้ายของรอบเดือน หากรอบเดือนของคุณผู้หญิงหมดลงตามเกณฑ์เฉลี่ยของสาว ๆ ทั่วไป นับเป็นเรื่องน่ายินดีค่ะ แสดงว่าคุณเองก็มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ไม่ยาก และอาจเป็นผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพดีอีกด้วยนะคะ
หากต้องการทำความเข้าใจกับการเป็นประจำเดือนและวางแผนในการตั้งครรภ์ รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ Huggies และหากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
การย้ายตัวอ่อนเป็นขั้นตอนต่อไปในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือ การรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ART) เรามีบทความดีๆ มาฝากกันค่ะ
เมื่อนาฬิกาชีวิตส่งสัญญาณเตือนภาวะมีลูกยาก คุณแม่พยายามสังเกตประจำเดือนแล้วแต่เจ้าตัวน้อยก็ไม่มาสักที เราแนะนำให้คุณแม่พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเบื้องต้นว่ามีความผิดปกติหรือไม่
ถ้าคุณพยายามจะมีลูกมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่เห็นวี่แววว่าจะเจ้าตัวน้อยจะมาเสียที ไม่ต้องกังวลนะคะ เรามีวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากมากฝากค่ะ
ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องหยุดกดดันตัวเองเรื่องอาหารการกิน เพราะมันอาจทำให้เราปรับเปลี่ยนไปกินอาหารเพื่อสุขภาพได้ยากขึ้น มาดูวิธีลดน้ำหนักหลังคลอดกันค่ะ
คุณแม่ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ในอนาคตอันใกล้ หรือหยุดทานยาคุมกำเนิดและเริ่มบันทึกเวลาตกไข่อีกครั้งเพื่อปล่อยให้มีลูกตามธรรมชาติ เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
ว่าที่คุณแม่กำลังวางแผนตั้งครรภ์อยู่รึเปล่าคะ? สิ่งที่ควรตรวจสอบต่อไปนี้เป็นคำแนะนำดีๆ ที่ช่วยให้ว่าที่คุณแม่วางแผนเตรียมพร้อมให้ดีกันค่ะ
กรณีศึกษาของผู้หญิงตั้งครรภ์ที่รู้สึกเป็นครั้งแรกว่ามีก้อนเนื้ออยู่ในเต้านมในระหว่างที่กำลังให้นมลูกน้อยวัย 4 เดือน เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
การวางแผนและเลือกของใช้ในห้องเด็กอ่อนเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นใช่ไหมคะคุณแม่ เพราะมีของใช้เฟอร์นิเจอร์มากมายที่ให้เลือกได้ มาดูกันค่ะมีอะไรบ้าง
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090