ผู้หญิงส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์และจะเริ่มรู้ตัวเมื่อเข้าสู่ช่วงสัปดาห์ที่ 6 แล้วเพราะบางคนไม่มีอาการคนท้องใดๆ...
เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่แต่ละท่านจะมีอาการแพ้ท้องแตกต่างกัน...
สำหรับคุณแม่แล้วการตั้งครรภ์ในระยะ 1 สัปดาห์แรกฟังดูแล้วน่าตื่นเต้นแต่คุณผู้หญิง ยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังเริ่มตั้งครรภ์...
การเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกเป็นบทเรียนแรกที่คุณแม่มือใหม่ต้องรีบทำความคุ้นเคย ในช่วงแรกอาจต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
สารพันเรื่องผ้าอ้อม
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
มีลูกยาก! ปัญหาใหญ่สำหรับคู่รัก? คู่รักบางคู่โชคดีมีลูกง่ายโดยไม่ต้องพยายามมากนัก แต่มีอีกหลายคู่ที่พยายามกันแล้ว ใช้เวลานานก็ไม่สำเร็จ ไม่ตั้งครรภ์สักที ปัญหามีลูกยากแท้จริงแล้วอธิบายง่าย ๆ ว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติ การใช้ชีวิตประจำวันและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราเป็นสาเหตุสำคัญทำให้มีลูกยากค่ะ ความเครียดนั้นเกิดจาก ภารกิจที่ยุ่งวุ่นวายในแต่ละวัน ใจผูกติดอยู่กับงาน ส่งผลต่อฮอร์โมนและการตกไข่ การตกไข่ไม่สม่ำเสมอ ยิ่งเจอกันน้อย มีเพศสัมพันธ์น้อยเกินไป ทำให้โอกาสตั้งครรภ์น้อยลงไปด้วยนะคะ
อยากมีลูกต้องขยันทำการบ้าน!
อยากมีลูกต้องขยันทำการบ้านค่ะ ถึงแม้จะฟังดูธรรมดาและเป็นเรื่องพื้นฐานที่ใคร ๆ ก็รู้กันอยู่แล้ว ถ้าสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ต่างฝ่ายไม่มีปัญหาอะไร คุณผู้หญิงสะกิดสามีบ่อย ๆ ทุกอย่างจะดำเนินไปตามวิถีธรรมชาติ ไม่นานก็จะได้ลูกน้อยมาอุ้มสมใจ หากพยายามกันสุดความสามารถแล้วยังไม่ได้ผล ทุกวันนี้เรามีทางเลือกใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เข้ามาช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์ง่ายขึ้นนะคะ
ต้องรอนานแค่ไหน ถึงควรใช้เทคโนโลยีการแพทย์มาช่วย
สำหรับคู่รักที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ มีเพศสัมพันธ์กันเป็นประจำ และไม่ได้คุมกำเนิด หากพยายามมีลูกด้วยวิธีธรรมชาติจะมีโอกาสตั้งครรภ์ภายใน 1 ปีค่ะ แต่ถ้าประเมินจากวิถีชีวิตที่รีบเร่งของคนรุ่นใหม่แล้ว ควรต่อขยายเวลาออกไปอีกนะคะ บางคู่มีลูกช้าจากภาวะมีบุตรยากอย่างอ่อน หมายถึงมีโอกาสตั้งครรภ์ต่ำ ทั้งที่ฝ่ายชายผลิตอสุจิปริมาณเพียงพอและมีสุขภาพดี ฝ่ายหญิงตกไข่เป็นประจำ แต่มีสาเหตุบางประการทำให้มีลูกยากกว่าปกติ หลายคนตั้งครรภ์หลังจากพยายามมีลูกกันอยู่ 2-3 ปี มาช้าแต่ก็มา โดยไม่ต้องใช้วิทยาการทางการแพทย์เข้าช่วย เป็นเพราะการมองโลกในแง่ดีค่ะ คู่สมรสมีความหวังว่าจะได้อุ้มลูกแน่นอน แม้ว่าจะใช้ระยะเวลาในการรอนานกว่าที่คาดไว้ สำหรับคู่สมรสไม่ได้ตรวจร่างกายละเอียดเพื่อยืนยันว่าสุขภาพสมบูรณ์ตั้งครรภ์ได้จริง อาจต้องรอเก้อ ด้วยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีลูกยาก เช่น ฝ่ายชายมีจำนวนอสุจิน้อย หรือไม่มีการผลิตอสุจิ ฝ่ายหญิงท่อนำไข่อุดตันทำให้ตั้งครรภ์ยาก รอแล้วรอเล่าก็ยังไม่ท้องเพราะปัญหาเหล่านี้นั่นเอง ยิ่งปล่อยเวลาให้ผ่านนานไปเท่าใด สามีและภรรยาอายุมากขึ้น ยิ่งทำให้มีลูกยากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ด้วย อยากมีลูกควรรีบปรึกษาแพทย์นะคะ การมีลูกยากเกิดได้จากหลายสาเหตุ และการรักษาก็ไม่ได้ยุ่งยากเสมอไปนะคะ ส่วนใหญ่แพทย์จ่ายยาปรับฮอร์โมนให้คุณแม่กินติดต่อกันระยะสั้น ๆ ช่วยกระตุ้นการตกไข่ทำให้ตั้งครรภ์ง่ายขึ้น แต่จะมีผลให้ไข่ตกมากกว่าหนึ่งฟองในแต่ละเดือน ซึ่งปกติแล้วผู้หญิงจะตกไข่เดือนละ 1 ฟองเท่านั้น โอกาสที่คุณแม่จะตั้งครรภ์แฝดก็มีมากขึ้นค่ะ
สาเหตุที่ทำให้มีลูกยาก
สาเหตุที่ทำให้มีลูกยากแบ่งได้เป็น 2 ฝ่าย ดังนี้
1.สาเหตุจากฝ่ายหญิง
คุณแม่ที่มีปัญหาตั้งครรภ์ยาก อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ได้แก่ • ท่อนำไข่อุดตัน • ภาวะไข่ไม่ตก หรือภาวะตกไข่ผิดปกติทำให้ไข่ตกน้อย ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหามีลูกยากที่พบได้บ่อย ๆ ค่ะ • มูกปากมดลูกไม่เป็นมิตรกับอสุจิ ซึ่งปกติในช่วงตกไข่ มูกจะนำอสุจิเข้าไปในมดลูก แต่ในกรณีนี้มูกอาจทำลายอสุจิไม่ให้เข้าไปในมดลูก • ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovarian Syndrome หรือ PCOS) ซึ่งมีผลต่อการผลิตอินซูลิน ประจำเดือนไม่ปกติ ถ้าไม่รีบรักษาอาจทำให้มีลูกยากนะคะ
สาเหตุของการมีลูกยากบางครั้งก็ไม่ชัดเจนนะคะ แพทย์อาจวินิจฉัยสาเหตุทั่วไปก่อนและตัดออกไปทีละข้อจนพบต้นตอปัญหามีลูกยากที่แท้จริง ทางที่ดีคือไปตรวจพร้อมกันทั้งสามีภรรยา หากคุณและคู่รักเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเรา สาเหตุที่ไม่ท้องเกิดจากอะไร และจะแก้ไขได้อย่างไร ก็จะไม่ต้องโทษตัวเองหรือโทษกันไปมาว่าใครเป็นสาเหตุทำให้มีลูกยากซึ่งอาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่สั่นคลอนชีวิตคู่ได้ค่ะ
อายุเท่าไร ถือว่าแก่เกินไปที่จะมีลูก?
อายุของคุณแม่เป็นปัจจัยแรกที่สำคัญมากต่อการวางแผนตั้งครรภ์เลยนะคะ เมื่อแรกเกิดเด็กผู้หญิงทุกคนเกิดมาพร้อมกับเซลล์ไข่ พอถึงวัยเจริญพันธุ์มีประจำเดือนครั้งแรก จะเริ่มวงจรการตกไข่เป็นประจำทุกเดือน เมื่ออายุมากขึ้นคุณภาพและจำนวนไข่ที่ตกจะลดลง ไข่สุกจะสมบูรณ์ที่สุดในช่วงอายุ 20-30 ปี เมื่ออายุย่างเข้าเลขสี่ ความสมบูรณ์จะน้อยลงไปเรื่อย ๆ หากคุณแม่วางแผนมีลูกตอนอายุมากแล้วย่อมเสี่ยงจะมีลูกยากค่ะ
2. สาเหตุจากฝ่ายชาย
• จำนวนอสุจิน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ หรือไม่มีอสุจิหลั่งออกมาเลย • เคยบาดเจ็บหรือผ่าตัดบริเวณลูกอัณฑะ หรือท่อนำตัวอสุจิที่ใช้ขนส่งอสุจิ • มีประวัติเป็นโรคคางทูม หรือเคยทำเคมีบำบัด ซึ่งทำให้เป็นหมันได้ • ทำหมันแล้ว
คนมีลูกยาก หาทางออกอย่างไรได้บ้าง
• คุณพ่อคุณแม่ที่อยากมีเจ้าตัวน้อย ก่อนอื่นต้องเริ่มจากความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะเจริญพันธุ์และการตั้งครรภ์ อ่านหนังสือเกี่ยวกับนรีเวชศาสตร์เพื่อให้เข้าใจระบบสืบพันธุ์เพศหญิง เช่น มดลูก ช่องคลอดและรังไข่ ความรู้เรื่องการปฏิสนธิและช่วงเวลาเหมาะสมเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมกับการมีลูกน้อย หาอ่านจากหนังสือและเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้มากมายค่ะ • กำหนดวันที่จะมีเพศสัมพันธ์ก่อนวันตกไข่ เพราะไข่ที่ตกพร้อมที่จะมีการปฏิสนธิใน 12-24 ชั่วโมงเท่านั้นนะคะ หากไม่มีการผสมกับอสุจิ ร่างกายจะขับออกมาเป็นประจำเดือน แตกต่างจากอสุจิที่มีอายุอยู่ในร่างกายได้หลายวัน คุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการมีลูก จึงไม่ควรรอให้ไข่ตก เพราะอาจไม่ทันเวลาค่ะ สมัยนี้มีเครื่องคำนวณนับวันตกไข่เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ง่ายขึ้น หาอ่านได้ง่าย ๆ ทางออนไลน์ หรือดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเพื่อให้คำนวณวันตกไข่ของแต่ละคนอย่างแม่นยำค่ะ • เลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ควรรับประทานธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี เนื้อสัตว์ไขมันน้อย นมสด และผักผลไม้สด เพื่อช่วยให้อวัยวะระบบการเจริญพันธุ์ทำงานได้อย่างปกติ • พยายามควบคุมน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่ว่าตัวคุณพ่อหรือคุณแม่ ถ้าที่มีน้ำหนักมากเกินไปจะมีลูกยากกว่าคนทั่วไปนะคะ แนะนำให้ลดน้ำหนักอย่างแรกเลยค่ะ จะช่วยให้มีโอกาสท้องมากขึ้นและยังลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน ดีต่อตัวเองและลูกที่จะเกิดมาด้วย ส่วนน้ำหนักเกินหรือไม่ ให้พิจารณาจากดัชนีมวลร่างกาย หรือ Basal Metabolic Index (BMI) คำนวณจากน้ำหนักหารด้วยส่วนสูง คุณผู้หญิงก่อนตั้งครรภ์ควรอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยปกติ 20-25 กก./ตร.เมตร หากคุณแม่มีค่า BMI ตั้งแต่ 29 กก./ตร.เมตร ขึ้นไป อยู่ในเกณฑ์ภาวะน้ำหนักเกิน ทำให้มีลูกยากซึ่งจะพึงวิธีมีลูกแบบธรรมชาติไม่ค่อยได้ผลนั่นเองค่ะ
• ดัชนีมวลกายเหมาะสม มีสุขภาพดี ลูกในท้องถึงจะสุขภาพดีแข็งแรงนะคะ คุณแม่ที่น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานต้องลดก่อนตั้งครรภ์ แต่ถ้าแม่ผอมเกินไปก็ไม่ดี ตั้งครรภ์ยากไม่ต่างกันเลยค่ะ • คุณแม่ที่มีพฤติกรรมผิดปกติ กินน้อยมากจนผอม รวมถึงออกกำลังกายมากเกินไปอาจส่งผลต่อการตกไข่และประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ลองเช็คตัวเองว่าเป็นหรือเปล่าแล้วปรับพฤติกรรมการกินให้ถูกหลักโภชนาการเพื่อน้ำหนักกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติได้ มีโอกาสท้องได้แน่นอนค่ะ • พยายามไม่เครียดนะคะ ความเครียดมีผลกระทบหลายทาง ส่งผลต่อสุขภาพทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ การตกไข่ไม่สม่ำเสมอ รอบเดือนไม่แน่นอน อาจรวมไปถึงลดกิจกรรมการมีเพศสัมพันธ์ซึ่งลดโอกาสในการตั้งครรภ์ไปโดยปริยาย • ลองหาวิธีระงับอารมณ์แปรปรวนเพื่อลดความเครียดไม่ให้บานปลายทำลายสุขภาพและลดโอกาสตั้งครรภ์ด้วยนะคะ ลองหาเวลาออกกำลังกายเป็นประจำ เล่นโยคะ นั่งสมาธิ แม้แต่การฝึกจิตและฟังดนตรีเป็นวิธีช่วยลดความเครียดได้ค่ะ คู่รักอยากมีลูกมาก บางครั้งตัดสินใจเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต อาจเปลี่ยนงาน ลาออกจากงาน ย้ายบ้าน หรือลดภาระค่าใช้จ่าย ทั้งนี้อย่าพึ่งหมกมุ่นจนเกินไปนะคะลองทำจิตใจให้สบาย ทำกิจกรรมคลายเครียด ทำให้อารมณ์ดี จะมีโอกาสตั้งครรภ์มากขึ้นค่ะ • เลิกสูบบุหรี่ รวมถึงยาเสพติด ที่เป็นสาเหตุให้มีลูกยากแม้จะไม่ใช่การเสพประจำ ก็ยังเกิดผลเสียต่อร่างกาย • ลดปริมาณหรือหยุดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
การแพทย์ทางเลือก ช่วยให้มีลูกง่ายขึ้นไหม ?
สามีภรรยาบางคู่ปรึกษาแพทย์ทางเลือกพบวิธีบำบัดบางรูปแบบที่ช่วยให้มีลูกง่ายขึ้น แต่ความจริงแล้วยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนเรื่องนี้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการฝังเข็ม การบำบัดด้วยกลิ่นหอม การฝึกสติ หรือธรรมชาติบำบัด ล้วนไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่จะช่วยเรื่องมีลูกได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับคนที่เลือกปรึกษาด้วยค่ะ
เคล็ดลับการเลี่ยงอาหารบางประเภทเพื่อช่วยให้ตั้งครรภ์ง่ายขึ้น
คุณผู้หญิงที่อยากมีลูกต้องเลือกกินมากขึ้น อาหารบางประเภทงดไปได้ก็จะมีโอกาสตั้งครรภ์ง่ายขึ้นค่ะ
เมนูอาหารที่ควรลด มีดังนี้ :
• อาหารกลุ่มไขมันอิ่มตัว • อาหารประเภทสะดวกซื้อ หรืออาหารจานด่วน • อาหารที่มีสารเคมี หรือสารสังเคราะห์ต่าง ๆ เป็นส่วนผสม • โปรตีนจากสัตว์ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเนื้อแดงมากเกินไป • ลดการบริโภคน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต โดยเฉพาะแป้งขาวและเส้นพาสต้าที่มีการฟอกสีเพื่อให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น
เมนูอาหารที่ควรเพิ่ม มีดังนี้ : • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ได้แก่ น้ำมันมะกอก อะโวคาโด ปลาและอาหารทะเล • ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี ผักผลไม้สด ส่วนขนมปัง เส้นพาสตา ข้าวไม่ขัดสี ข้าวกล้อง น้ำตาลไม่ฟอกสี และซีเรียล ควรจะผ่านการแปรรูปหรือปรุงแต่งน้อยที่สุด เป็นอาหารที่มาจากธรรมชาติมากที่สุด • ไขมันบางประเภทเป็นไขมันที่จำเป็น เช่น ไขมันในผลิตภัณฑ์จากนม ถั่ว และน้ำมันพืช ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้ • สำหรับฝ่ายคุณพ่อ ควรบริโภคอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีเป็นประจำทุกวัน เช่น อาหารทะเล ผักใบเขียว และเนื้อแดง เพราะช่วยให้อสุจิแข็งแรง เคลื่อนไหวเร็วและไปถึงไข่ง่ายขึ้น ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์มากขึ้นค่ะ
ข้อแนะนำ
หลังจากพยายามมีลูกด้วยกันแบบธรรมชาตินานเป็นปีแล้ว แต่ยังไม่ท้อง อย่าเพิ่งถอดใจนะคะ เพราะยังมีโอกาสเป็นว่าที่คุณพ่อคุณแม่อยู่ ลองปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านช่วยค้นหาสาเหตุและหาวิธีแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม บางครั้งทางออกไม่ได้ยากอย่างที่คิด ช่วยให้คู่รักที่อยากมีลูกเหลือเกินได้อุ้มเจ้าตัวน้อยสมใจค่ะ คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลในหัวข้ออื่นๆเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดีๆจากเรานะคะ
ผู้หญิงส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์และจะเริ่มรู้ตัวเมื่อเข้าสู่ช่วงสัปดาห์ที่ 6 แล้วเพราะบางคนไม่มีอาการคนท้องใดๆ เลยอาจจะยังไม่รู้ตัวในช่วงแรกค่ะ
แบบทดสอบอาการคนท้องเบื้องต้นสำหรับคุณแม่ ท้ายที่สุดแล้วคุณผู้หญิงควรซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์ที่ให้ผลค่อนข้างแม่นยำมาตรวจจะได้ผลที่ชัดเจนกว่านะค่ะ
คุณพ่อคุณแม่ทุกคนคงเคยเห็นตารางพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยที่แปะไว้ในห้องคุณหมอเด็กกันแล้วใช่ไหมคะ ถ้าอยากช่วยให้กล้ามเนื้อของลูกน้อยมีพัฒนาการสมวัย ลองทำกิจกรรมเหล่านี้ดูค่ะ
เมื่อนาฬิกาชีวิตส่งสัญญาณเตือนภาวะมีลูกยาก คุณแม่พยายามสังเกตประจำเดือนแล้วแต่เจ้าตัวน้อยก็ไม่มาสักที เราแนะนำให้คุณแม่พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเบื้องต้นว่ามีความผิดปกติหรือไม่
เชื่อเหลือเกินว่าคุณผู้หญิงที่ต้องการมีลูก หากรู้สึกได้ว่าร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแล้วแต่ยังไม่แน่ใจว่าคิดไปเองหรือเปล่า คงอดใจไม่ไหวกับการตรวจสอบว่าตัวเองนั้นท้องแล้วหรือยัง
มีเหตุผลมากมาย ที่ทำให้คู่รักหลายคู่อยากมีลูกเร็วขึ้น บางคู่ถึงกับดู “ฤกษ์การคลอด” หรือกำหนดวันคลอดที่ดีให้กับลูกน้อยในอนาคต ทั้งนี้ยังมีหลายคู่ที่อยู่ไกลกันแล้วอยากมีลูก ดังนั้นการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ จึงเป็นสิ่งที่ควรวางแผนให้รอบคอบที่สุดนะคะ
แม่ทุกคนย่อมคาดหวังว่าลูกในท้องจะเกิดมาพร้อมร่างกายและพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรงครบ 32 แต่รู้ไหมว่าทุกวันนี้คุณแม่ๆ มีโอกาสเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด 7-10% เลยทีเดียว!
พูดกันตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วคนเรามีโอกาสตั้งครรภ์แฝดได้บ่อยกว่าที่เราคิดกันอีกนะคะ เพราะการตั้งครรภ์ครั้งเดียวแต่มีตัวอ่อนฝังตัวมากกว่าหนึ่งเป็นเรื่องธรรมดา แต่ธรรมชาติจะคัดสรรให้มีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่มีชีวิตรอดต่อไปค่ะ
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090