การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
กรณีศึกษาของผู้หญิงตั้งครรภ์ที่รู้สึกเป็นครั้งแรกว่ามีก้อนเนื้ออยู่ในเต้านมในระหว่างที่กำลังให้นมลูกน้อยวัย 4 เดือน ในครั้งแรกนั้นคิดว่าเป็นถุงก้อนเกิดจากท่อน้ำนมหนาตัวขึ้น แต่หลังจากเข้ากลุ่มคุณแม่ตั้งครรภ์ในสัปดาห์ต่อมา ทุกคนแนะนำให้ไปตรวจ ซึ่งแพทย์สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการอุดตันในท่อน้ำนม แต่ผลการตรวจอัลตร้าซาวด์วินิจฉัยได้ว่าเป็นมะเร็งเต้านม โชคดีที่สังเกตเห็นและตรวจพบเร็วตั้งแต่ระยะแรก จึงเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ
ผู้หญิงหลายคนมองข้ามการตรวจเต้านมด้วยตนเองระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพราะร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างและนอนหลับไม่เพียงพอจึงเป็นเหตุให้ละเลยการตรวจเต้านม ในระหว่างตั้งครรภ์มีก้อนในเต้านมเกิดขึ้นหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำนมอุดตัน หรือก้อนเนื้อไขมันที่เรียกว่า Lipoma ใต้ชั้นผิวหนัง ซึ่งกดแล้วไม่มีอาการเจ็บ
สำหรับคุณแม่ที่อยู่ในช่วง ให้นมลูกด้วยนมแม่ คงเป็นเรื่องยากที่จะรู้ว่าว่าก้อนในเต้านมนั้นเป็นอันตรายหรือไม่ แนะนำว่าให้ตรวจความผิดปกติของเต้านมเสมอนะคะ โดยทั่วไปแพทย์จะสอบถามประวัติของครอบครัวโดยการตรวจอัลตร้าซาวด์ และถ้าจำเป็นอาจต้องตัดชิ้นเนื้อออกมาตรวจว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ ถ้าการวินิจฉัยพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมจะได้รักษาอย่างเหมาะสม รวมถึงขอความช่วยเหลือในการดูแลเด็กทารกหลังคลอด ซึ่งบางประเทศมีหน่วยงานที่ดูแลทารกแรกเกิดในระหว่างที่คุณแม่รักษามะเร็งเต้านมด้วยนะคะ
การที่จะบอกลูก ๆ ว่าคุณแม่เป็นมะเร็งเต้านมเป็นเรื่องท้าทาย ถ้าลูกยังเล็กมาก ยิ่งอธิบายยากขึ้น ทุกวันนี้มีหนังสือบางเล่มจัดทำขึ้นมาเพื่อให้เด็ก ๆ ได้อ่านทำความเข้าใจกับโรคมะเร็งเพราะจะมีคำอธิบายให้เด็กๆเข้าใจได้ง่ายในช่วงวัยของเขานับว่ามีประโยชน์มากนะคะ และถ้าคุณแม่มีเพื่อนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม อย่าลืมแนะนำให้เข้าถึงบริการเหล่านี้ เพื่อรับการรักษาและฟื้นฟูร่างกายได้รวดเร็วค่ะ
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองเป็นวิธีการดีที่สุดเพื่อที่จะพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ และควรจะตรวจกับแพทย์หลายคนเพื่อที่จะหาความเห็นในการยืนยันให้ตรงกัน หรือคุณแม่อาจจะไปตรวจที่สถาบันมะเร็งโดยเฉพาะก็ได้นะคะ เพื่อที่จะได้คำวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุด
ในช่วง 2-3 เดือนแรกที่ตั้งครรภ์ ปกติแล้วสูติแพทย์จะทำการตรวจเต้านมหาความผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ ถ้าพบสิ่งผิดปกติจะได้ประสานกับศัลยแพทย์ในการรักษาอย่างเหมาะสม การพบก้อนในเต้านมเป็นเรื่องที่ปกติโดยอาจจะเกิดจากเนื้อเต้านมที่โตขึ้นจนมีลักษณะเป็นก้อนคล้ายเนื้องอก หรือมีโอกาสเป็นเนื้องอกจริง ๆ ซึ่งมี 2 แบบ คือ เนื้องอกธรรมดา และเนื้องอกที่จะโตขึ้นเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งเต้านม บางกรณีก็อาจเป็นถุงน้ำที่เกิดใต้เต้านมก็ได้
ก้อนที่เต้านมส่วนใหญ่มีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยมาก เพราะว่าหญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงวัย 20- 25 ปี ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ นอกจากนี้เต้านมยังมีเนื้อค่อนข้างหนาทำให้ผลตรวจไม่ชัด แต่กรณีที่ก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนเกินกว่าค่าเฉลี่ยที่พบในผู้หญิงทั่วไป อาจเป็นก้อนเนื้อจากมะเร็งก็ได้ และหากเป็นมะเร็ง ก้อนเนื้อจะเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์ ผลการรักษาจึงควบคุมได้ไม่ดีเท่ากับในช่วงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ค่ะ
การรักษามะเร็งเต้านมระหว่างตั้งครรภ์มีความซับซ้อนหลายอย่าง เพราะอาจกระทบต่อเด็กในท้องได้ค่ะ ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออกหรือต้องนำชิ้นเนื้อไปตรวจสอบ อาจต้องใช้ยาสลบซึ่งถ้าทำในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์อาจมีผลกระทบต่อเด็กในท้องได้นะคะ แต่ถ้าเลือกฉีดยาชาเฉพาะที่ ไม่ต้องใช้ยาสลบ ก็เป็นไปได้และปลอดภัยกว่าค่ะ แต่ก็จะมีเงื่อนไขว่าจะทำได้ต่อเมื่อก้อนเนื้อมีขนาดเล็ก ทำให้ความเสี่ยงต่อการแท้งลดลง
แต่ถ้าพบก้อนเนื้อในช่วงใกล้คลอด และตรวจพบว่าเป็นเนื้องอกแบบธรรมดา หมออาจจะเลื่อนการผ่าตัดให้พ้นช่วงหลังคลอดไปก่อน เนื่องจากถ้าผ่าตัดตอนท้องแก่จะยุ่งยากมาก สาเหตุเพราะเต้านมขยายตัวมีเส้นเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก ทรวงอกเริ่มผลิตน้ำนมเหลืองแน่นในเต้านมและอาจเสี่ยงที่จะเสียเลือดมากกว่าปกติ เกิดการอักเสบและภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ดังนั้น หลังจากตรวจพบว่าก้อนเนื้อเต้านมนั้นไม่ได้เป็นมะเร็ง อาจนัดผ่าตัดหลังคลอดหรือหลังจากหย่านมลูกไปแล้ว โดยจะนัดให้มาตรวจอย่างสม่ำเสมอทุก 3 เดือนค่ะ
โรคมะเร็งเต้านมในช่วงระหว่างตั้งครรภ์และในสภาวะปกติสามารถรักษาให้หายได้นะคะ หากคุณแม่คอยหมั่นสังเกตตัวเองและดูแลตนเองเป็นประจำค่ะ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์สามารถติดตามอ่านข้อมูลหัวข้อที่เกี่ยวข้องในช่วงตั้งครรภ์ได้ที่ ปัญหาท้องแตกลาย หรือ วิตามินสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือ การวางแผนเมนูอาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies ได้ตลอดเวลานะคะ หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
การนับวันไข่ตก เป็นสาระประโยชน์ดี ๆ ที่ว่าที่คุณแม่ทุกคนควรรู้ เพื่อให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย หรือช่วงเวลาที่สภาพร่างกายมีความพร้อมและเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น
คุณแม่ ๆ ลองคิดดูสิว่า ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่เหมาะสมแทบจะเป็นเครื่องแต่งกายชิ้นสำคัญที่สุดตลอด 2-3 ขวบปีแรกในชีวิตของลูกเลยไม่ใช่หรือ
หลังจากคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ระยะหนึ่งแล้ว คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าเสื้อผ้าที่สวมใส่คับแน่นขึ้น คุณแม่จึงต้องเปลี่ยนไปใส่ชุดคลุมท้องแทน เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
คุณแม่หลายคนอยากมีลูกแฝด และมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตั้งครรภ์แฝดมากมาย คุณแม่ที่ท้องลูกแฝดมีโอกาสท้องแฝดประมาณ 90 %
คู่รักบางคู่โชคดีมีลูกง่ายโดยไม่ต้องพยายามมากนัก แต่มีอีกหลายคู่ที่พยายามแล้วใช้เวลานานก็ไม่ตั้งครรภ์สักที มาดูกันว่ามีสาเหตุอะไรบ้างทำให้มีลูกยากค่ะ
เชื่อเหลือเกินว่าคุณผู้หญิงที่ต้องการมีลูก หากรู้สึกได้ว่าร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแล้วแต่ยังไม่แน่ใจว่าคิดไปเองหรือเปล่า คงอดใจไม่ไหวกับการตรวจสอบว่าตัวเองนั้นท้องแล้วหรือยัง
การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี เพื่อการเข้ากับเพื่อนๆต่างชาติ การศึกษาต่อในต่างประเทศ หรือการทำธุรกิจในอนาคต เพราะชื่อคือตัวตนของลูก ความหมายที่ดี ที่ไพเราะก็ช่วยเพิ่มความเป็นศิริมงคลให้กับลูกอีกด้วย
กำลังใจและความอดทนของคุณแม่ คือสิ่งสำคัญที่จะกำหนดชะตาชีวิตน้อยๆ มาติดตามเรื่องราวการตั้งครรภ์ของคุณแม่ลูกสองหัวใจแกร่ง ในวันที่รู้ว่าตัวเองและลูกในท้องต้องเผชิญกับอุปสรรคไม่คาดคิด เธอกับลูกผ่านเหตุการณ์นั้นมาได้อย่างไร?