การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
เจ็บครรภ์คลอดระยะแรก สำหรับคุณแม่โดยส่วนใหญ่แล้ว ระยะแรกของการเจ็บครรภ์คลอดนั้นมักจะเป็นช่วงเวลายาวนานที่สุดและเจ็บที่สุดค่ะคุณแม่ ในช่วงนี้มดลูกจะทำการบีบตัวอย่างรุนแรงเพื่อทำการเปิดปากมดลูก (กล้ามเนื้อระหว่างมดลูกและช่องคลอด) ซึ่งจะเปิดออกเต็มที่ราว 10 เซนติเมตร เพื่อให้ลูกน้อยสามารถออกมาลืมตาดูโลกได้นั่นเองค่ะ
อาการแรกของการเจ็บครรภ์คลอด ประสบการณ์การเจ็บครรภ์คลอดและการคลอดลูกของคุณแม่แต่ละคนล้วนแตกต่างกันออกไป และมีความเป็นไปได้หลายอย่างที่บ่งบอกได้ว่า คุณแม่จะเริ่มเจ็บครรภ์คลอดตอนไหน ซึ่งหลายคนอาจสับสนได้ง่ายกับอาการเจ็บก่อนคลอด (การเจ็บครรภ์แบบหลอก) กับการเจ็บครรภ์จริง
สัญญาณเตือนที่ชี้ว่า คุณแม่เริ่มมีอาการเจ็บครรภ์คลอด • มีมูกเลือดไหลออกทางช่องคลอด เมื่อเนื้อเยื่อที่ปากมดลูกเปิดออก คุณแม่จะเห็นเลือดและมูกออกมาทางช่องคลอดเล็กน้อย ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับคุณแม่บางคนเมื่อเริ่มเจ็บครรภ์คลอด แต่กับคนอื่น ๆ อาจจะมีอาการนี้ประมาณ 2-3 วัน หรือ 1 สัปดาห์ก่อนเจ็บครรภ์คลอดค่ะ หากคุณแม่มีเลือดออกและคิดว่านี่คือการเจ็บครรภ์คลอด แต่เพื่อความแน่ใจ คุณแม่ควรโทรหาโรงพยาบาลที่ฝากท้อง เพื่อสอบถามข้อมูลโดยตรงจะดีที่สุดนะคะ • มีอาการน้ำเดิน เมื่อเนื้อเยื่อหุ้มถุงน้ำคร่ำแตก ของเหลวที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำก็จะเริ่มไหลออกมาค่ะ คุณแม่อาจพบกับน้ำคร่ำที่แตกออกมาโดยไม่ทันตั้งตัวหรืออาจจะไหลคล้ายปัสสาวะและอาจทำให้คุณแม่ลื่นน้ำคร่ำได้ ดังนั้นคุณแม่ควรซื้อผ้าอนามัยหนาแบบพิเศษเก็บไว้หรือใช้ผ้าขนหนูเก่าก็ได้ค่ะ เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่ส่วนใหญ่จะมีน้ำคร่ำไหลออกมาภายใน 24 ชั่วโมงก่อนคลอด แต่ก็มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนทางสายสะดือค่ะ หากไม่มีอาการเจ็บครรภ์ในระยะนี้ คุณแม่ควรโทรหาโรงพยาบาลที่ดูแลการตั้งครรภ์ เพื่อขอคำแนะนำหลังจากที่ถุงน้ำคร่ำแตกค่ะ • มดลูกเกิดการบีบตัว การหดตัวของมดลูกในช่วงแรกจะมีความรู้สึกคล้ายกับการปวดประจำเดือนค่ะ จะเกิดตะคริวบนหน้าท้องเล็กน้อย และอาจมีอาการปวดหลังตามมาด้วย หยิบสมุดและปากกาเตรียมไว้ค่ะ ดูนาฬิกาและเริ่มจับระยะเวลาการบีบตัวของมดลูกตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ รวมถึงสังเกตความถี่เพื่อดูว่า มดลูกยังบีบตัวอยู่หรือไม่ ณ ตอนนั้นคุณแม่อาจอยู่ในภาวะการเจ็บครรภ์คลอดก็เป็นได้ค่ะ หากการหดตัวของมดลูกกินเวลานานกว่าครึ่งนาที และเริ่มบีบตัวเข้าหากันมากขึ้นและหนักขึ้น ลองใช้แผ่นจับเวลาการบีบตัวของมดลูกของเรา เพื่อช่วยให้คุณแม่ดูการบีบตัวของมดลูกได้ง่ายขึ้นค่ะ
การบีบตัวของมดลูก เพื่อให้ปากมดลูกเปิดออก กล้ามเนื้อรอบมดลูกจะเกร็งตัวขึ้น และรัดแน่นไปทางด้านบนมดลูก กล้ามเนื้อจะทำการบีบรัดตัวให้แน่นที่สุดและคลายตัวออก มดลูกจะค่อย ๆ คลายตัวออกทีละน้อยเพื่อเปิดปากมดลูกในแต่ละครั้งค่ะคุณแม่ อาการเจ็บครรภ์คลอดของผู้หญิงส่วนใหญ่นั้นค่อนข้างจะรุนแรง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เจ็บที่สุดของผู้หญิงเลยก็ว่าได้นะคะ เนื่องจากร่างกายพยายามจะเปิดปากมดลูกออกและการบีบตัวของมดลูกนั้นจัดได้ว่าเป็นงานหนักสำหรับคุณแม่มากเลยทีเดียว โดยปกติการบีบตัวของมดลูกจะทำให้รู้สึกเกร็งทั่วบริเวณหน้าท้องเล็กน้อย ซึ่งคล้ายกับการปวดประจำเดือนหรือการเป็นตะคริว แต่อาการจะรุนแรงกว่านั้นมากค่ะ เมื่อมดลูกเกิดการบีบตัว เป็นธรรมดาค่ะที่คุณแม่จะพูดไม่ค่อยออกและยากที่จะขยับเขยื้อนตัวจนกว่าจะคลอดเสร็จ ดังนั้นหากคุณแม่ไม่มีอาการเหล่านี้แสดงว่า คุณแม่ยังไม่เจ็บครรภ์จริงค่ะ เมื่อการเจ็บครรภ์เริ่มขึ้น การบีบตัวของมดลูกจะมาพร้อมกับความเจ็บเป็นธรรมดาในเวลาที่ลูกน้อยพร้อมจะออกมาดูโลกแล้ว การบีบตัวของมดลูกในแต่ละครั้งจะใช้เวลามากกว่า 1 นาทีและมีระยะเวลาห่างกันน้อยกว่า 1 นาทีค่ะ
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้ายไม่ต้องเป็นกังวลไปนะคะ หากเรารู้สัญญาณเตือนเมื่อมีอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนล่วงหน้าก็จะช่วยให้คุณแม่เตรียมตัวได้ทันเวลาค่ะ และคุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลเพื่อเตรียมตัวต้อนรับรวมถึงเทคนิคการดูแลลูกน้อยได้ที่บทความ เด็กทารกแรกเกิด รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ บอกได้เลยนะคะว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
เคยสงสัยกันไหมคะว่า ทำไมเด็กบางคนพอคลอดปุ๊บ ถูกจับแยกออกจากอ้อมอกแม่ ไปนอนอยู่ในตู้อบทารกอย่างโดดเดี่ยว เจ้าหนูน้อยผู้น่าสงสารจะรู้สึกเจ็บปวด และว้าเหว่ขนาดไหนนะ
ใกล้ช่วงเดือนสุดท้ายแล้วนะคะ คุณแม่เริ่มนับเวลาถอยหลังสู่กำหนดคลอดได้แล้วค่ะ ถ้าคุณยังทำงานอยู่อาจจะรู้สึกเหนื่อยล้ากว่าสัปดาห์ก่อนๆ มาดูคำแนะนำกันค่ะ
กำลังใจและความอดทนของคุณแม่ คือสิ่งสำคัญที่จะกำหนดชะตาชีวิตน้อยๆ มาติดตามเรื่องราวการตั้งครรภ์ของคุณแม่ลูกสองหัวใจแกร่ง ในวันที่รู้ว่าตัวเองและลูกในท้องต้องเผชิญกับอุปสรรคไม่คาดคิด เธอกับลูกผ่านเหตุการณ์นั้นมาได้อย่างไร?
คุณแม่ชอบร้องเพลงแนวไหนกันบ้างเอ่ย ลองฝึกร้องเพลงสำหรับเด็กไว้บ้าง เพลงโยกเยก เพลงช้าง แมงมุมลายตัวนั้น A B C ฯลฯ หรือเพลงฟังสบายๆ อื่นๆ ไม่ต้องเขินค่ะเพราะว่าเสียงของแม่เป็นยาวิเศษ ช่วยกระตุ้นพัฒนาการทารกคลอดก่อนกำหนด และฟื้นฟูร่างกายที่อ่อนแอให้กลับมาแข็งแรงได้อย่างรวดเร็ว
คุณแม่ส่วนใหญ่ตั้งตารอคอยวันที่ลูกน้อยจะลืมตาขึ้นมาดูโลกด้วยความคาดหวังและตื่นเต้นและกังวลกับการคลอดลูก มาดูวิธีขจัดความกลัวเมื่อคลอดลูกว่ามีอะไรบ้างค่ะ
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด ซึ่งความกังวลทั่วไปนั้นเกี่ยวกับความสามารถในการผลิตน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการของลูก และการจัดการกับการให้นมลูกทั้งสองคนในเวลาเดียวกัน แม้ว่ากลไกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับลูกสองคนหรือคนเดียวจะเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงการจัดการการให้นมลูกทั้งสองคนถือเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อยเลยค่ะ
ในระหว่างการทำคลอด อาจมีสถานการณ์ที่มีจำเป็นต้องใช้ความช่วยเหลือทางการแพทย์เพื่อช่วยให้คุณแม่คลอดลูกน้อยได้ง่ายขึ้น เรามีเกร็ดความรู้ดีๆ มาฝากกันค่ะ
คุณแม่อาจต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุนเพิ่มเติมหลังคลอด ซึ่งช่วยให้คุณแม่รู้ว่า ตัวเองต้องการอะไร เรามีคำแนะนำ ให้คุณแม่สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090