การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
ไวรัสอาร์เอสวี เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างในวัยทารกและวัยเด็กที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งสามารถติดต่อได้ง่ายมาก ราว ๆ 50% ของเด็กทารกทั้งหมดติดเชื้อจากไวรัสอาร์เอสวีในช่วงขวบปีแรก และเด็ก ๆ เกือบทั้งหมดติดเชื้ออย่างน้อย 1 ครั้งจนมีอายุครบ 2 ขวบค่ะ อาการติดเชื้อของไวรัสอาร์เอสวีคล้ายกับหวัดธรรมดาค่ะ แต่อาจเป็นพาหะนำไปสู่ภาวะหายใจลำบากได้ หากลูกน้อยมีปัญหาเกี่ยวกับปอดอยู่แล้ว
ทารกที่คลอดก่อนกำหนด เด็กเล็กที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง หรือ โรคหัวใจพิการ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดที่จะเป็นโรคร้ายแรง และจะต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลอันเนื่องมาจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ในขณะที่ผู้ใหญ่และเด็กทั่วไปสามารถรับมือกับการติดเชื้อของโรคหวัดประเภทนี้ได้ แต่สำหรับเด็กทารกแล้วมีความเสี่ยงสูงที่จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลค่ะ ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือ เด็กที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคหัวใจและปอด การติดเชื้ออาร์เอสวีอาจทำให้ทารกเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ จึงต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดค่ะ
พบเชื้อไวรัสอาร์เอสวีบ่อยแค่ไหน? เชื้ออาร์เอสวี โดยปกติจะพบในผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ แต่ล้วนแล้วเป็นสาเหตุหลักของโรคระบบทางเดินหายใจในเด็กต่ำกว่าอายุ 5 ปีทั่วโลก ในแต่ละปีมีเด็กเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลประมาณ 3 ล้านครั้ง หรือราว ๆ ปีละ 33.8 ล้านราย และมีเด็กเสียชีวิตประมาณ 60,000 – 200,000 คน
เชื้ออาร์เอสวีจะแพร่ระบาดมากที่สุดในช่วงไหน? ชื้อเอสอาร์วีจะติดต่อโดยการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ โดยไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางตา จมูก ปาก หรือ การสัมผัสเชื้อโดยตรง เชื้อตัวนี้จะเริ่มแพร่กระจายในฤดูกาลที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลง อย่างการเข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาวในประเทศไทย การติดเชื้ออาร์เอสวีมักเกิดในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนกรกฎาคม – ตุลาคมของทุกปีค่ะ
โดยทั่วไปแล้วอาการของเชื้ออาร์เอสวีจะเริ่มต้นจากการมีไข้อ่อน ๆ มีน้ำมูก เจ็บคอนืดหน่อย ไอเล็กน้อย หายใจไม่ออกและหูส่วนกลางติดเชื้อ จากนั้นสัญญาณเตือนของโรคก็จะรุนแรงขึ้น หากมีอาการหายใจเสียงหวีด หายใจลำบาก หรือ มีปัญหาในการกิน การดื่ม หรือ การนอนหลับค่ะ ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทารกที่เป็นโรคหัวใจพิการ ทารกที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง หรือ ทารกที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไวรัสอาร์เอสวีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงกับเด็กทารกกลุ่มนี้ได้ เช่น ปอดบวม หรือ หลอดลมฝอยอักเสบ สำหรับผู้ใหญ่ หรือ เด็กโตที่มีสุขภาพดี เชื้ออาร์เอสวีมักจะทำให้พวกเขาเป็นหวัดเล็กน้อยเท่านั้น แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 3-5 วัน อาการเหล่านี้จะทำให้พวกเขามีอาการแย่ลง เนื่องจากไวรัสได้แพร่กระจายไปทั่วปอด ซึ่งรวมไปถึงอาการหอบหืด หายใจเร็ว หายใจเสียงหวีดและไออย่างรุนแรงค่ะ นอกจากนี้ไวรัสเอสอาร์วียังก่อให้เกิดหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน หรือ โรคปวดบวมจากไวรัสได้อีกด้วย
เชื้ออาร์เอสวีแพร่กระจายได้ง่ายมากจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสทางร่างกาย การไอและการจาม เชื้ออาร์เอสวีสามารถมีชีวิตอยู่ได้ 30 นาทีบนมือของคนหรืออาจจะนานกว่านั้น และอาศัยอยู่ตามพื้นผิวของสิ่งของได้หลายชั่วโมง เช่น ลูกบิดประตู เนื่องจากเชื้ออาร์เอสวีแพร่กระจายได้ง่ายมาก ดังนั้นการควบคุมการติดเชื้อจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ โดยเฉพาะกับกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูงค่ะ
การป้องกันเชื้ออาร์เอสวีสำหรับคุณพ่อคุณแม่และลูกมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดก่อนสัมผัส และอุ้มลูกน้อย • อยู่ให้ห่างจากคนที่เป็นหวัด หรือ มีไข้ • ใช้ทิชชู่เมื่อไอ หรือ จาม และทิ้งทันทีเมื่อใช้เสร็จ • ให้ลูกน้อยอยู่ห่างจากคนที่มีอาการไอ หรือ เป็นหวัด โดยเฉพาะในช่วงฤดูที่เชื้ออาร์เอสวีกำลังแพร่กระจาย หากลูกน้อยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แออัดค่ะ • ทำความสะอาดของเล่นของลูก ๆ ที่เป็นหวัด เพราะไวรัสจะอาศัยอยู่ตามพื้นผิวของสิ่งของต่าง ๆ อย่างโต๊ะและของเล่นได้หลายชั่วโมง • พยายามอย่าให้คนอื่นหอมแก้มลูกค่ะ • อย่าให้ลูกน้อยสัมผัสกับหมอกควันจากบุหรี่ทั้งในบ้านและนอกบ้าน • พบแพทย์หากอาการของเชื้อเอสอาร์วียังอยู่
ทารกคลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวีอย่างรุนแรง และจะต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล ปอดของทารกที่คลอดก่อนกำหนดยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคอาร์เอสวีและภาวะแทรกซ้อนของปอดและหัวใจค่ะ
ทารกที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (เกิดจากข้อบกพร่องทางโครงสร้างและการทำงานของหัวใจตั้งแต่กำเนิด) หรือ โรคปอดเรื้อรังก็มีความเสี่ยงในการพัฒนาไปสู่โรคเอสอาร์วีอย่างรุนแรง จนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือ อาจเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ค่ะ
ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ในการติดเชื้ออาร์เอสวียังเกี่ยวเนื่องกับทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อย (น้อยกว่า 2,500 กรัม หรือ 2.5 กิโลกรัม) และระบบภูมิคุ้มกันที่บกพร่องของทารกอีกด้วย
ปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การสัมผัสกับควันบุหรี่ การมีพี่น้องวัยเรียน การฝากลูกไว้เนอสเซอรี่หรือโรงเรียน และการใช้ชีวิตอยู่สภาพแวดล้อมที่แออัด
ขึ้นอยู่กับว่าลูกน้อยได้รับผลกระทบจากไวรัสรุนแรงมากแค่ไหนค่ะ เหตุผลหลักที่ทารกต้องเข้าทำการรักษาในโรงพยาบาลคือการเกิดภาวะหายใจลำบากค่ะ หากในเวลานั้นลูกน้อยไม่สามารถหายใจเองได้ จะต้องห้ามให้อาหารเขาเป็นอันขาดค่ะ เพราะผลที่ตามมาคือ เขาจะเกิดสภาวะขาดน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการเข้ารับการรักษาที่แผนกกุมารเวชศาสตร์ (PICU) ค่ะ เมื่อไวรัสแพร่กระจายสู่ปอดแล้ว เนื้อเยื่อปอดจะอักเสบ พื้นผิวของเยื่อหุ้มทั้งสองจะหยาบตัวขึ้น และไปขัดขวางทางเดินหายใจ ซึ่งจะทำให้ลูกมีอาการหายใจเสียงหวีด และหายใจลำบาก บางกรณีที่ทารกมีอาการที่รุนแรงมาก พวกเขาจะต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และบางครั้งอาจจะต้องใส่อยู่เป็นวัน ๆ เลยค่ะ
โชคไม่ดีนักค่ะที่การติดเชื้อจากไวรัสอาร์เอสวีเพียงครั้งเดียว ไม่สามารถเป็นภูมิคุ้มกันป้องกันเด็ก ๆ ไม่ให้ติดเชื้ออีกได้ ดังนั้นเด็กเล็กสามารถกลับมาเป็นได้อีกเมื่อได้รับเชื้อค่ะ
ทารกบางคนที่ยังมีเชื้ออาร์เอสวีอยู่จะยังคงมีปัญหาระบบทางเดินหายใจอยู่ตลอดวัยเด็ก เป็นที่คาดกันว่าในเด็กทารกทุกคนที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยโรคนี้ถึง 30% จะยังคงมีอาการหายใจเสียงหวีด และยังคงเกิดขึ้นในอีก 10 ปีต่อมา สำหรับทารกบางคน อาการจากไวรัสอาร์เอสวีอาจพัฒนาไปสู่โรคหอบหืดได้ค่ะ
ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนในการต่อต้านเชื้อไวรัสอาร์เอสวีโดยตรงค่ะ แต่ทางแพทย์จะใช้วิธีการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ไอละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม ยาลดไข้ หรือพ่นยา ตามแต่อาการของลูกน้อย ซึ่งมีผลให้เด็ก ๆ มีอาการดีขึ้น แต่ถ้าลูกน้อยมีอาการเหนื่อย หรือ หายใจไม่ค่อยดี อาจจะรักษาด้วยการให้สารน้ำทางหลอดเลือด ให้ยาพ่นขยายหลอดลม เคาะปอด ดูดเสมหะ รวมถึงการให้ออกซิเจน และอาจจะต้องใส่เครื่องช่วยหายใจหากลูกน้อยไม่สามารถหายใจได้เองค่ะ
นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันลูกได้ง่าย ๆ เริ่มต้นจากการสร้างสุขอนามัยในครอบครัว เช่น การหมั่นล้างมือที่ช่วยลดการติดเชื้อทางร่างกายได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงทำความสะอาดของใช้รอบตัว รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ควรอยู่ในสถานที่แออัดค่ะ คุณพ่อคุณแม่สามารถสอบถามและปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการรักษาค่ะ
คุณพ่อคุณแม่สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและแนวทางการเลี้ยงดูลูกคลอดก่อนกำหนดได้ที่ พ่อแม่ของทารกคลอดก่อนกำหนด และพัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนด รวมถึงในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด ซึ่งความกังวลทั่วไปนั้นเกี่ยวกับความสามารถในการผลิตน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการของลูก และการจัดการกับการให้นมลูกทั้งสองคนในเวลาเดียวกัน แม้ว่ากลไกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับลูกสองคนหรือคนเดียวจะเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงการจัดการการให้นมลูกทั้งสองคนถือเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อยเลยค่ะ
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ บอกได้เลยนะคะว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
การใช้ผ้าอ้อมคือรูปแบบการดูแลที่ใกล้ชิดที่สุดรูปแบบหนึ่งที่คุณสามารถมอบให้กับทารกน้อยของคุณได้ และก็เหมือนกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่คุณต้องการตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยของคุณ
สิ่งสุดท้ายที่คุณแม่จะนึกถึงหลังคลอดนั่นก็คือการออกกำลังกายค่ะ คุณแม่ต้องพบเจออะไรมากมายในแต่ละสัปดาห์หลังคลอด มาดูวิธีบริหารร่างกายสำหรับคุณแม่กันค่ะ
แม่ทุกคนย่อมคาดหวังว่าลูกในท้องจะเกิดมาพร้อมร่างกายและพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรงครบ 32 แต่รู้ไหมว่าทุกวันนี้คุณแม่ๆ มีโอกาสเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด 7-10% เลยทีเดียว!
สำหรับคุณแม่แล้วการตั้งครรภ์ในระยะ 1 สัปดาห์แรกฟังดูแล้วน่าตื่นเต้นแต่คุณผู้หญิง ยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังเริ่มตั้งครรภ์ ต้องเตรียมตัวอย่างไรมาดูกันค่ะ
ทารกตัวน้อยๆ อายุยังไม่ถึง 37 สัปดาห์ หนูช่างดูบอบบางเกินกว่าจะเผชิญกับโลกใบใหญ่ พ่อแม่หลายคนเริ่มใจหาย เกรงว่าคุณหมอจะไม่อนุญาตให้ใกล้ชิดกับลูกน้อยในตู้อบ แต่ความจริงแล้วคุณพ่อคุณแม่ก็มีส่วนสำคัญอย่างมากในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดค่ะ
หลังจากเฝ้ามองพัฒนาการทารกใน NICU มาหลายสัปดาห์ จนลูกเติบโตพร้อมกลับสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของทุกคนในบ้านแล้ว ต่อจากนี้ไปก็จะเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของครอบครัวซะที แต่..คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าเพิ่งวางใจนะ เพราะลูกน้อยคลอดก่อนกำหนดมีหลายเรื่องที่ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ