การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
1. ประจำเดือนจะเปลี่ยนไปหรือไม่หลังจากคลอดลูกแล้ว? - โดยปกติการกลับมาของประจำเดือนหลังคลอดจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ จากที่คุณแม่เคยเป็นค่ะ เนื่องจากร่างกายจะกลับคืนสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนตั้งครรภ์ภายในสัปดาห์ที่หกหลังคลอด อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือน เช่น ประจำเดือนมามากกว่าปกติ หรือ เป็นตะคริวบ่อย ๆ หากพบอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ค่ะ
2. สามารถใส่ผ้าอนามัยแบบสอดได้หรือไม่หลังจากคลอดลูกแล้ว? - ผู้หญิงในไทยส่วนใหญ่มักใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่นแปะเปนปกติอยู่แล้ว แต่ในกรณีที่บางท่านอาจคุ้นเคยการใส่ผ้าอนามัยแบบสอดจากการใช้ชีวิตอยู่ต่างแดนมาเป็นเวลานาน ซึ่งเราไม่แนะนำให้คุณแม่ใช้มันในช่วงสัปดาห์แรก ๆ หลังจากคลอดนะคะ เนื่องจากปากมดลูก หรือ คอช่องคลอดบางส่วนยังเปิดอยู่ และตำแหน่งที่รกเกาะติดกับผนังมดลูกยังไม่ฟื้นตัวดี ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย การใช้ผ้าอนามัยแบบสอดในช่วงนั้นมีแต่จะทำให้ร่างกายของคุณแม่แย่ลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อค่ะ
3. น้ำคาวปลาหรือเลือดออกหลังคลอด จะมานานแค่ไหน? เป็นเรื่องปกติหรือไม่? - ไม่ว่าคุณแม่จะคลอดลูกแบบไหน คุณแม่จะมีเลือด หรือ น้ำคาวปลา ออกมาจากช่องคลอดเสมอค่ะ เนื่องจากร่างกายไม่ต้องใช้เยื่อบุโพรงมดลูกอีกต่อไป สีของเลือดที่ออกมาจะค่อย ๆ อ่อนลงจากสีแดงสด ชมพู ไปจนถึงสีน้ำตาลภายใน 10 วัน และเปลี่ยนเป็นสีขาวอมเหลือง ซึ่งจะหยุดไหลภายใน 3-4 สัปดาห์ หากคุณแม่พบความผิดปกติว่า ช่องคลอดมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ซึ่งกลิ่นของน้ำคาวปลาควรจะเป็นกลิ่นเดียวกับประจำเดือน หรือ มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ไหลออกมามากกว่า 1 ครั้ง และมีกังวลเกี่ยวกับปริมาณและความสม่ำเสมอของเลือด คุณแม่ควรแจ้งพยาบาลผดุงครรภ์ หรือ แพทย์เพื่อขอคำปรึกษานะคะ
4. มีคำแนะนำใดบ้างในการลดอาการเจ็บ หรือ อาการบวมรอบ ๆ ช่องคลอด? บางครั้งอาการช้ำของช่องคลอดก็ทำให้เรารู้สึกไม่สบายตัวได้ค่ะ ซึ่งสามารถทำให้เจ็บน้อยลงด้วยการประคบด้วยน้ำแข็งในบริเวณนั้นสัก 2-3 วันหลังคลอดค่ะ นอกเหนือจากนี้ยังมีวิธีอื่นง่าย ๆ ที่จะช่วยลดอาการเจ็บและบวมหลังคลอดได้ ซึ่งมีดังต่อไปนี้ • สวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ และใส่ชุดชั้นในผ้าฝ้าย • เปลี่ยนแผ่นผ้าอนามัยอยู่เสมอ เพื่อสุขอนามัยที่ดีและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อค่ะ • หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการท้องผูกด้วยการทานอาหารที่มีไฟเบอร์ และดื่มน้ำให้มาก ๆ ค่ะ • สิ่งสำคัญคือการเริ่มออกกำลังกายแบบเบา ๆ เป็นประจำ เช่น พาลูกน้อยออกไปเดินเล่น และบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานตามคำแนะนำของแพทย์ หรือ พยาบาลผดุงครรภ์ เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และการฟื้นตัวของร่างกายค่ะ • แจ้งแพทย์ หรือ พยาบาลผดุงครรภ์เมื่อคุณแม่มีอาการเจ็บ หรือ บวมบริเวณช่องคลอด ที่ทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัวเป็นอย่างมาก
5. ฉันจะมีเพศสัมพันธ์ได้อีกครั้งเมื่อไหร่หลังคลอด? คู่รักส่วนใหญ่จะเริ่มกลับมามีเพศสัมพันธ์อีกครั้งหลังคลอดลูกได้ 3 เดือน อย่างไรก็ตาม การสูญเสียความต้องการทางเพศเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดได้กับทั้งสองเพศ โดยเฉพาะกับผู้หญิงค่ะ หากคุณแม่รู้สึกเจ็บในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ อาจเป็นเพราะแผลจากการตัดฝีเย็บยังไม่หายดีค่ะ ดังนั้นคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ไปก่อน ในระหว่างนี้หากคุณแม่เป็นกังวล เราแนะนำให้คุณแม่ปรึกษาแพทย์ค่ะ
6. หลังจากมีลูกแล้ว ประจำเดือนจะกลับมาเมื่อไหร่? หากคุณแม่หยุดให้นมลูกแล้ว ประจำเดือนของคุณแม่จะกลับมาภายใน 2-4 สัปดาห์หลังคลอดค่ะ อย่างไรก็ตามหากคุณแม่ยังให้นมลูกอยู่ ประจำเดือนหลังคลอดจะยังไม่มาจนกว่าลูกน้อยจะหย่านมค่ะ
7. ฉันสามารถตั้งครรภ์ได้หรือไม่ ก่อนที่ประจำเดือนจะมาหลังคลอด? แน่นอนว่าได้ค่ะ หากคุณแม่ไม่ต้องการตั้งครรภ์อีก คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ หรือ พยาบาลผดุงครรภ์เกี่ยวกับวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณแม่และคุณพ่อค่ะ
8. สำหรับคุณแม่ที่ผ่าตัดคลอด เลือดน้ำคาวปลาจะไหลออกมาน้อยลงหรือไม่ เพราะเหตุใด? เป็นคำถามที่น่าสนใจค่ะ โดยปกติเลือดที่หลังออกมาหลังคลอดควรจะมีปริมาณที่เท่ากัน ไม่ว่าจะคลอดลูกแบบธรรมชาติ หรือ ผ่าตัดคลอด ซึ่งเป็นผลมาจากเยื่อบุโพรงมดลูกหลั่งออกมา และประเภทของการคลอดก็ไม่มีผลต่อปริมาณของเลือด หรือ น้ำคาวปลาที่ไหลออกมาค่ะ
9. เป็นเรื่องปกติหรือไม่ หากมีน้ำคาวปลาไหลออกมามากในขณะให้นมลูก? - เป็นเรื่องปกติค่ะ คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะมีน้ำคาวปลาไหลออกมามากขึ้นในขณะที่ให้นมลูก เนื่องจากฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากการให้นมลูกจะไปกระตุ้นให้มดลูกหดตัวค่ะ ดังนั้นการให้นมลูกน้อยจึงเป็นหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้ร่างกายของคุณแม่ฟื้นตัวได้เร็วขึ้นค่ะ
10. ช่วยอธิบายหน่อยได้ไหมว่า ทำไมน้ำคาวปลาถึงไหลไม่สม่ำเสมอในระหว่างวัน? - คุณแม่ส่วนใหญ่พบว่า น้ำคาวปลาไหลออกมาไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งวัน น้ำคาวปลาจะไหลเยอะขึ้นหากคุณแม่ยืนขึ้นหลังจากที่นอนราบได้สักพักค่ะ น้ำคาวปลาอาจจะไหลน้อยลงเมื่อคุณแม่นอนราบตอนกลางคืน แต่อาจจะไหลเยอะขึ้นทันทีหลังจากตื่นนอน ซึ่งเป็นผลมาจากแรงโน้มถ่วงค่ะ เมื่อคุณแม่ให้นมลูก คุณแม่อาจสังเกตว่าน้ำคาวปลาจะไหลเยอะขึ้นในช่วงนั้น หรือ อาจจะพบลิ่มเลือดที่มีขนาดไม่ใหญ่มากไหลออกมาด้วย หากคุณแม่เป็นกังวลในปริมาณ หรือ ความสม่ำเสมอในการไหลของเลือด เราแนะนำให้คุณแม่ปรึกษาแพทย์ หรือ พยาบาลผดุงครรภ์ค่ะ
11. ทำไมฉันถึงรู้สึกปวดแสบเมื่อปัสสาวะ? ในระหว่างที่คลอดลูกน้อย คุณแม่อาจมีรอยถลอก หรือ การฉีกขาดของผิวหนังรอบบริเวณปากช่องคลอดที่เปิดอยู่ ซึ่งแผลเหล่านี้มักเป็นเหตุให้รู้สึกปวดแสบเวลาปัสสาวะช่วง 2-3 วันหลังคลอด
ข้อสำคัญที่คุณแม่ควรปฏิบัติ • รักษาช่องคลอดให้สะอาดและเช็ดให้แห้งอยู่เสมอ • เปลี่ยนแผ่นผ้าอนามัยอยู่เสมอ เพื่อสุขอนามัยที่ดีและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ • หลังจากเข้าห้องน้ำ ให้ทำความสะอาดด้วยการเช็ดจากข้างหน้าไปข้างหลัง ล้างให้สะอาดด้วยน้ำเปล่า และซับเบา ๆ ด้วยทิชชู่แห้ง • ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อทำให้ปัสสาวะเจือจาง • อาการปวดแสบควรดีขึ้นภายใน 2-3 วันหลังคลอด แต่ถ้าคุณแม่ยังรู้สึกแสบอยู่ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณแม่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะก็ได้ค่ะ หากพบอาการใด ๆ เกี่ยวกับโรคนี้ คุณแม่คุณควรแจ้งพยาบาลผดุงครรภ์หรือแพทย์ให้ทราบ เช่น ความถี่ของอาการ อุณหภูมิ ความต่อเนื่องของอาการ หรือ ความรู้สึกปวดแสบเมื่อปัสสาวะ
12. ฉันจะเสียเลือดหลังคลอดมากขึ้นไหมหากมีลูกแฝด? - อาจจะเสียเลือดมากกว่าการมีลูกเพียงคนเดียวค่ะ แต่ก็ไม่ควรเสียเลือดจนใช้ผ้าอนามัยมากกว่า 1 แผ่นต่อ 3-4 ชั่วโมง หากใช้ผ้าอนามัยเกินกว่านี้ให้ขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์นะคะ
13. วิธีที่ดีที่สุดในการดูแลฝีเย็บหลังคลอดที่ฉีกขาด หรือ จากทำหัตถการระหว่างคลอดมีอะไรบ้าง? ระหว่างการคลอดลูก ช่องคลอดก็จะเกิดการฉีกขาดตามธรรมชาติ แม้แต่การทำหัตถการก็เช่นกัน จึงจำเป็นต้องมีการเย็บแผล ซึ่งทำให้คุณแม่เจ็บช่องคลอดอยู่หลายวันค่ะ ฝีเย็บหลังคลอดไม่จำเป็นต้องทำการตัดไหม เพราะไหมจะละลายไปเอง ให้คุณแม่ลองทำตามวิธีเหล่านี้ที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดและช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในบริเวณช่องคลอด • รักษาช่องคลอดให้สะอาดและเช็ดให้แห้งอยู่เสมอ • เปลี่ยนแผ่นผ้าอนามัยอยู่เสมอ เพื่อสุขอนามัยที่ดีและหลีกเลี่ยงการติดเชื้อค่ะ • หลังเข้าห้องน้ำ ให้ทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดจากหน้าไปหลัง ล้างด้วยน้ำเปล่าและซับให้แห้งด้วยกระดาษชำระ • การใช้ไดร์เป่าผมอาจช่วยได้ค่ะ ให้เป่าในบริเวณนั้นประมาณ 2-3 วินาทีให้แห้งสนิทหลังจากอาบน้ำ • ใช้น้ำแข็งประคบที่ฝีเย็บสัก 2-3 วันหลังคลอด ซึ่งจะช่วยลดอาการบวมบริเวณนั้นได้ • สวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ และใส่ชุดชั้นในผ้าฝ้าย • หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการท้องผูกด้วยการทานอาหารที่มีไฟเบอร์ และดื่มน้ำให้มาก ๆ ค่ะ
14. ฉันควรทำอย่างไรเมื่อพบว่า มีลิ่มเลือด หรือ เลือดไหลออกมาเป็นจำนวนมาก? เป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณแม่ต้องรายงานอาการเหล่านี้ให้ทางพยาบาลผดุงครรภ์หรือแพทย์ให้ทราบและหมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอ เช็คว่าคุณแม่ใช้ผ้าอนามัยวันละกี่แผ่น และดูคร่าว ๆ ว่า มีจำนวนลิ่มเลือดออกมามากน้อยแค่ไหนและมีขนาดเท่าไหร่ค่ะ เพราะคุณแม่อาจต้องให้ข้อมูลเหล่านี้กับแพทย์ที่ดูแลค่ะ
15. ฉันจะหลีกเลี่ยงอาการท้องผูกหลังจากมีลูกได้อย่างไร เป็นเรื่องปกติค่ะที่คุณแม่จะไม่ถ่าย 2-3 วันหลังคลอด คุณแม่หลายคนพบว่า อาการท้องผูกเป็นปัญหาในช่วงวันแรก ๆ อาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ไม่กล้าเข้าห้องน้ำเพราะมีแผลฝีเย็บ เพื่อหลีกเลี่ยงการท้องผูก เราแนะนำให้คุณแม่ทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง ดื่มน้ำมาก ๆ และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำด้วยการเดินง่าย ๆ ก็ได้ค่ะ หากคุณแม่มีอาการเจ็บบริเวณฝีเย็บ (พื้นที่ระหว่างช่องคลอดและทวารหนัก) คุณแม่ควรใช้ยาบรรเทาอาการปวดตามคำแนะนำของพยาบาลผดุงครรภ์หรือแพทย์ เช่น พาราเซตามอลก่อนการขับถ่าย คุณแม่จะรู้สึกสบายตัวมากขึ้นหากใส่แผ่นผ้าอนามัยสะอาดบริเวณฝีเย็บ เมื่อทำการขับถ่าย แต่ถ้าคุณแม่ยังมีอาการเจ็บอยู่ คุณแม่ต้องรายงานอาการให้ทางพยาบาลผดุงครรภ์หรือแพทย์ทราบ
16. ช่วยบอกได้ไหมว่า การตรวจร่างกาย 6 สัปดาห์หลังคลอดมีอะไรบ้าง? โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะต้องได้รับการตรวจร่างกายหลังคลอดลูก 6 สัปดาห์ แพทย์จะเช็คว่า ร่างกายของคุณแม่กลับสู่สภาพเดิมแล้วมากน้อยแค่ไหน หรือ มีความผิดปกติใด ๆ หรือไม่ โดยทางแพทย์จะทำการตรวจสอบร่างกายดังนี้ • ตรวจหน้าท้องเพื่อตรวจดูว่า มดลูกกลับสู่ขนาดเดิมเหมือนก่อนตั้งครรภ์หรือไม่ • ตรวจแผลผ่าคลอด ในกรณีที่คุณแม่ได้รับการผ่าตัดคลอด • ตรวจพื้นที่ระหว่างช่องคลอดและทวารหนัก โดยเฉพาะบริเวณแผลที่ถูกเย็บเพื่อทำการรักษา • คุณแม่อาจได้รับการตรวจปากมดลูกแบบแปปสเมียร์ (Pap Smear) หากไม่ได้ตรวจในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ให้คุณแม่คว้าโอกาสในการตรวจนี้ไว้นะคะ • คุณแม่จะมีโอกาสได้พูดคุยเกี่ยวกับการวางแผนชีวิตครอบครัว และวิธีคุมกำเนิดแบบต่าง ๆ แม้คุณแม่กำลังให้นมลูก คุณแม่ก็มีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ค่ะ • คุณแม่อาจถูกสอบถามเกี่ยวกับระดับพละกำลังของร่างกายและอารมณ์ • อย่าลืมนำลูกน้อยไปด้วยนะคะ เพื่อที่แพทย์จะได้ทำการตรวจให้กับลูกน้อยได้ • คุณแม่จะมีโอกาสได้พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่คุณแม่เป็นกังวล พยายามอย่าเขินอายค่ะ เนื่องจากปัญหาเหล่านั้นยังไม่ได้รับการรักษา หรือ ไม่มีแนวทางการแก้ไขที่ชัดเจน อีกทั้งคุณแม่ไม่ใช่คนไข้คนแรกที่รู้สึกและเผชิญกับเหตุการณ์แบบนี้ค่ะ
คุณแม่ต้องจำไว้นะคะ หากมีข้อกังวลใด ๆ ที่สำคัญ คุณแม่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เช่น พยาบาลผดุงครรภ์ สูตินรีแพทย์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปหรือพยาบาลที่ศูนย์สุขภาพเด็กใกล้บ้านค่ะ มีคุณแม่มากมายที่ประสบกับปัญหาหลังคลอด ดังนั้นอย่าเป็นกังวลที่จะพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ค่ะ
คุณแม่สามารถอ่านความรู้เกี่ยวกับการรับมือกับทารกแรกคลอดและติดตามอ่านข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับการดูแลตนเองหลังคลอดลูกเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด ซึ่งความกังวลทั่วไปนั้นเกี่ยวกับความสามารถในการผลิตน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการของลูก และการจัดการกับการให้นมลูกทั้งสองคนในเวลาเดียวกัน แม้ว่ากลไกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับลูกสองคนหรือคนเดียวจะเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงการจัดการการให้นมลูกทั้งสองคนถือเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อยเลยค่ะ
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ บอกได้เลยนะคะว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
เป็นปัญหาผิวสำหรับลูกเล็กที่ยังใส่ผ้าอ้อมเด็ก ซึ่งคุณแม่ทุกคนไม่อยากให้เกิดปัญหานี้ เพราะผื่นผ้าอ้อมจะทำให้ผิวลูกเป็นผื่นแพ้ ผื่นแดง อักเสบ ทำให้ลูกไม่สบายตัว ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลไปถึงอารมณ์ของลูก เขาจะไม่ร่าเริง งอแง ไม่อยากขยับตัวเคลื่อนไหวจนทำให้พัฒนาการไม่ต่อเนื่องเท่าที่ควรค่ะ
เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะคลอดก่อนที่จะมีอายุในครรภ์ 37 สัปดาห์ ถ้าเป็นทารกทั่วไปจะคลอดเมื่อมีอายุ 38 ถึง 42 สัปดาห์ เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
ด่านสุดท้ายของคุณแม่ก่อนที่เจ้าตัวน้อยจะได้ออกมาลืมตาดูโลก พบกับเคล็ดลับวิธีการคลอดลูกกันค่ะ
เคยสงสัยกันไหมคะว่า ทำไมเด็กบางคนพอคลอดปุ๊บ ถูกจับแยกออกจากอ้อมอกแม่ ไปนอนอยู่ในตู้อบทารกอย่างโดดเดี่ยว เจ้าหนูน้อยผู้น่าสงสารจะรู้สึกเจ็บปวด และว้าเหว่ขนาดไหนนะ
กำลังใจและความอดทนของคุณแม่ คือสิ่งสำคัญที่จะกำหนดชะตาชีวิตน้อยๆ มาติดตามเรื่องราวการตั้งครรภ์ของคุณแม่ลูกสองหัวใจแกร่ง ในวันที่รู้ว่าตัวเองและลูกในท้องต้องเผชิญกับอุปสรรคไม่คาดคิด เธอกับลูกผ่านเหตุการณ์นั้นมาได้อย่างไร?
แม่ทุกคนย่อมคาดหวังว่าลูกในท้องจะเกิดมาพร้อมร่างกายและพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรงครบ 32 แต่รู้ไหมว่าทุกวันนี้คุณแม่ๆ มีโอกาสเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด 7-10% เลยทีเดียว!