การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
การคลอดก่อนกำหนด เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะคลอดก่อนที่จะมีอายุในครรภ์ 37 สัปดาห์ ถ้าเป็นทารกทั่วไปจะคลอดเมื่อมีอายุ 38 ถึง 42 สัปดาห์ค่ะ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีน้ำน้อยกว่าทารกคนอื่น ๆ และเสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพ เพราะว่าอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ได้ค่ะ การคลอดก่อนกำหนดอาจเป็นประสบการณ์ที่น่ากลัวและตกใจเป็นอย่างมากค่ะ โดยเฉพาะกำหนดการณ์คลอดที่เร็วกว่าวันคลอดจริงหลายเดือน ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้ทำให้คุณพ่อคุณแม่ใจหายไปตาม ๆ กัน การคลอดก่อนกำหนดสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคนนะคะ แม้กระทั่งกับคุณแม่ที่มีความเสี่ยงต่ำในเรื่องนี้ แต่หากเรารู้สัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดไว้ก่อน อาจทำให้เราเข้าใจและรับมือกับปัญหานี้ได้ค่ะ โอกาสรอดชีวิตของทารกคลอดก่อนกำหนด เด็กทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีอายุ 8 สัปดาห์ต้นๆ ก็สามารถมีโอกาสรอดชีวิตและมีแนวโน้มที่จะมีพัฒนาการเทียบเท่ากับเด็กทารกที่โตเต็มที่ ซึ่งหากว่าน้องเติบโตและมีอายุ 24 ถึง 25 สัปดาห์ไปแล้ว น้องก็เติบโตมากพอที่จะมีชีวิตรอดแน่ๆแล้วค่ะคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลมากแล้วแต่อย่างใด แต่เด็ก ๆ อาจจะต้องใช้เวลาในห้องอภิบาลทารกแรกเกิด (NICU) นานสักหน่อยและต้องการการดูแลเป็นพิเศษเมื่อกลับบ้านค่ะ ได้ยินแบบนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่ก็อย่าพึ่งท้อใจกันไปนะคะ การคลอดก่อนกำหนดนั้นสามารถป้องกันได้ หากเราฝากครรภ์อย่างมีคุณภาพตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เพื่อที่ทางแพทย์จะได้ตรวจสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยและในระหว่างนั้นก็ยังได้รับคำแนะนำในการดูแลตัวเองและลูกอย่างถูกต้อง เมื่อพบปัญหาการคลอดก่อนกำหนด ทางโรงพยาบาลก็จะสามารถวางแผนการคลอดและการรักษาได้อย่างทันท่วงทีค่ะ
อะไรเป็นสาเหตุให้ทารกคลอดก่อนกำหนด? 50 เปอร์เซ็นต์ของทารกที่คลอดก่อนกำหนดนั้นไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ค่ะ แม้ว่านักวิจัยจะระบุกลุ่มคุณแม่ที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดไว้แล้วก็ตาม ซึ่งปัจจัยที่ทำให้คุณแม่ที่มีความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดมีดังนี้ • คุณแม่ที่มีประวัติคลอดก่อนกำหนด • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกแฝด แฝดสาม หรือ มากกว่า • คุณแม่ที่มีความผิดปกติของมดลูก หรือ ปากมดลูก • คุณแม่วัยรุ่นที่ให้กำเนิดลูกครั้งแรก • คุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 37 ปีขึ้นไปและมีลูกครั้งแรก • ความเสี่ยงด้านสุขภาพที่ก่อให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด
ความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจส่งผลภาวะการคลอดก่อนกำหนด สภาพร่างกายระหว่างตั้งครรภ์สามารถเพิ่มโอกาสการคลอดก่อนกำหนดได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้ • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อในช่องคลอด การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และการติดเชื้ออื่น ๆ • โรคเบาหวาน • ความดันโลหิตสูง • การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน) • มีเลือดออกจากช่องคลอด • ความพิการหรือความผิดปกติของทารกแต่กำเนิด • การตั้งครรภ์ทารกคนเดียวหลังการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF) • มีน้ำหนักน้อยก่อนตั้งครรภ์ • โรคอ้วน • ระยะห่างของการตั้งครรภ์แต่ละครั้งสั้นเกินไป (น้อยกว่า 6-9 เดือนระหว่างการเกิดของทารกคนก่อนและการเริ่มตั้งครรภ์ครั้งต่อไป)
รูปแบบการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยการดำเนินชีวิตบางอย่างเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งมีปัจจัยดังต่อไปนี้ • การไม่ดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ • การสูบบุหรี่ ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของคุณแม่ที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนดเกิดจากคุณแม่ที่สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่จากคนรอบตัว • การดื่มแอลกอฮอล์ หรือ ใช้ยามากเกินไป • ความรุนแรงในครอบครัว เช่น ความเครียดจากการถูกล่วงละเมิดทางร่างกาย ทางเพศและอารมณ์
ผลกระทบของทารกที่คลอดก่อนกำหนด การคลอดก่อนกำหนดยังเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย มีทารกมากมายที่โตขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ แต่กับบางคนก็ไม่โชคดีเช่นนั้นค่ะ ถึงแม้ทารกจะได้รับการดูแลที่ดีที่สุดจากพ่อแม่ แต่ทว่าการคลอดก่อนกำหนดนั้นอาจส่งผลให้เด็กพิการถาวร เช่น สมองพิการ ความบกพร่องทางสติปัญญา ปัญหาการเรียนรู้ โรคปอดเรื้อรังและปัญหาการมองเห็นและการได้ยิน ความพิการทางระบบประสาทในเด็กล้วนเกี่ยวข้องกับการคลอดก่อนกำหนดค่ะ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดยังมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ (RSV) ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่างในทารกและเด็ก อีกทั้งยังเป็นโรคที่มีโอกาสติดต่อกันได้สูง สำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่ติดเชื้อ RSV อาจเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ค่ะ
แล้วคุณแม่สามารถทำอะไรได้บ้าง? คุณแม่จำไว้นะคะ แม้ว่าคุณแม่จะมีปัจจัยเสี่ยง แต่การคลอดก่อนกำหนดอาจจะไม่เกิดขึ้นกับคุณแม่ก็ได้ค่ะ ถ้าคุณแม่รู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงด้านนี้ การเรียนรู้สัญญาณเตือนของการเจ็บครรภ์ไว้ก่อนจะช่วยให้คุณแม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ระดับหนึ่งค่ะ การตั้งครรภ์ล้วนมีจุดมุ่งหมายให้ทั้งแม่และลูกมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีค่ะ คุณแม่สามารถเริ่มต้นดูแลตัวเองและลูกได้ง่าย ๆ ด้วยการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและเน้นการออกกำลังกายที่ดี งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยาทุกชนิดค่ะ นอกจากนี้คุณแม่ควรไปหาสูติแพทย์ทันที เมื่อรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์เพื่อวางแผนดูแลการฝากครรภ์และอัลตราซาวด์ลูกในท้องค่ะ ความเครียดเป็นปัจจัยต่อการคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นคุณแม่ทำใจให้สบาย และเรียนรู้เทคนิคการผ่อนคลายเข้าไว้นะคะ หากคุณแม่มีแนวโน้มที่จะมีความเครียด ให้ปลีกตัวออกจากภาระหน้าที่ และผู้คนที่ก่อให้เกิดความเครียดทันทีค่ะ การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาสุดพิเศษของผู้หญิงก็ว่าได้ เพียงคุณแม่นั่งสบาย ๆ ผ่อนคลาย และทำใจให้มีความสุขเพลิดเพลินไปกับทุกสิ่งรอบตัวก็พอค่ะ คุณแม่สามารถอ่านพัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนด หรืออาจสังเกตุพบอาการวิตกกังวลหลังคลอดของตนเอง และอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถอ่านข้อมูลจากเว็บไซต์ Huggies ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และหากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ บอกได้เลยนะคะว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
เคยสงสัยกันไหมคะว่า ทำไมเด็กบางคนพอคลอดปุ๊บ ถูกจับแยกออกจากอ้อมอกแม่ ไปนอนอยู่ในตู้อบทารกอย่างโดดเดี่ยว เจ้าหนูน้อยผู้น่าสงสารจะรู้สึกเจ็บปวด และว้าเหว่ขนาดไหนนะ
ในระหว่างการทำคลอด อาจมีสถานการณ์ที่มีจำเป็นต้องใช้ความช่วยเหลือทางการแพทย์เพื่อช่วยให้คุณแม่คลอดลูกน้อยได้ง่ายขึ้น เรามีเกร็ดความรู้ดีๆ มาฝากกันค่ะ
คู่รักส่วนมากจะยังไม่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ราวๆ 4 สัปดาห์แรกหลังการคลอดและช่วงปลายปีแรกของการคลอด อาจทำให้มีปัญหาได้ เรามีคำแนะนำดีๆ มากฝากค่ะ
มีวิธีการบริหารร่างกายที่ยอดเยี่ยมอยู่ 3 แบบ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อบรรเทาความเครียดและความตึงเครียดทางร่างกาย เรามีท่าบริหารร่างกาย มาฝากกันค่ะ
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด ซึ่งความกังวลทั่วไปนั้นเกี่ยวกับความสามารถในการผลิตน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการของลูก และการจัดการกับการให้นมลูกทั้งสองคนในเวลาเดียวกัน แม้ว่ากลไกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับลูกสองคนหรือคนเดียวจะเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงการจัดการการให้นมลูกทั้งสองคนถือเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อยเลยค่ะ
สำหรับคุณแม่โดยส่วนใหญ่แล้ว ระยะแรกของการเจ็บครรภ์คลอดนั้นมักจะเป็นช่วงเวลายาวนานที่สุดและเจ็บที่สุดของคุณแม่ เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090