การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
คุณแม่อาจต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุนเพิ่มเติมหลังคลอด ซึ่งช่วยให้คุณแม่รู้ว่า ตัวเองต้องการอะไร และสามารถหาข้อมูลที่ต้องการได้จากที่ไหนบ้าง ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (PND) เป็นภาวะที่พบบ่อยในคุณแม่หลังคลอด ซึ่งมีส่งผลกระทบราว 15 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่มคุณแม่มือใหม่ ซึ่งคุณแม่เหล่านี้อาจรู้สึกเหนื่อยอ่อน น้อยเนื้อต่ำใจ บางครั้งก็รู้สึกกระวนกระวาย อยากปลีกตัวออกจากผู้คนหมู่มากและรู้สึกโดดเดี่ยว โดยปกติภาวะนี้จะเริ่มประมาณ 3 สัปดาห์หลังคลอด แต่กับบางคนก็อาจเห็นได้หลังจากคลอดนานหลายเดือน ซึ่งไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนที่จะบ่งบอกได้ว่า คุณแม่จะเริ่มเข้าสู่ภาวะนี้ตอนไหนค่ะ การปลีกตัวออกจากผู้คนดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ทำให้คุณแม่ยากที่จะออกไปเผชิญกับโลกภายนอก หรือ ติดต่อกับเพื่อน ๆ เมื่อมีลูกคนใหม่ หรือ เมื่อคุณแม่ออกไปแล้ว อาจเห็นว่า ทุกคนมีชีวิตที่ดีกว่า จึงทำให้ความรู้สึกแย่ลงไปกว่าเดิมค่ะ ความรู้สึกผิดและความผิดหวังอาจเป็นส่วนหนึ่งของภาวะซึมเศร้าได้ บางทีคุณแม่อาจรู้สึกแย่ เพราะคิดว่าตัวเองรักลูกไม่มากพอเท่าที่ควร หรือ คุณแม่อาจคิดว่า การได้เป็นแม่คือสิ่งมหัศจรรย์แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้คุณแม่รู้สึกว่า เธอรับมือกับบทบาทของความเป็นแม่ไม่ดีพอ ผู้เชี่ยวชาญบางคนคิดว่า สาเหตุของภาวะซึมเศร้าอาจมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง แต่เหนือสิ่งอื่นใดมันอาจไปกระทบกับความสามารถในการรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ได้ค่ะ และนี่คือความรู้สึกที่คุณแม่อาจมี หากคุณแม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
• ตื่นนอนแล้วรู้สึกเหนื่อยล้าในทุก ๆ วัน แม้หลังจากที่ได้นอนพักผ่อนนาน • นอนไม่หลับ แม้จะรู้สึกเหนื่อยและเพลียแค่ไหน • รู้สึกไม่มีสมาธิในการจดจ่อกับบางสิ่งบางอย่าง การจัดระเบียบตัวเอง หรือ ทำสิ่งง่าย ๆ ได้ • เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ และยากที่จะแยกแยะเรื่องต่าง ๆ ได้ • รู้สึกว่าตัวเองเป็นแม่ที่ล้มเหลว • รู้สึกอะไรได้ไม่มากนัก ราวกับสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นกับคนอื่น • รู้สึกน้ำตาไหล และบางครั้งก็ร้องไห้แบบไม่มีสาเหตุ • หลงลืมเวลา และพบว่า เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่รู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ คุณแม่อาจต้องการความช่วยเหลือ หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งจนทำให้เป็นกังวล ทุก ๆ คนรู้สึกเหนื่อย เศร้าและร้องไห้เป็นครั้งคราว แต่ถ้าอาการเกิดขึ้นกับคุณแม่เป็นประจำ คุณแม่อาจมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดก็เป็นได้ค่ะ
ขอความช่วยเหลือจากใครได้บ้าง ศูนย์สุขภาพจิตที่ได้รับการฝึกอบรมมาเพื่อคอยช่วยเหลือคุณแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ข้อเน้นย้ำว่าการปรึกษาศูนย์สุขภาพจิตไม่ใช่สถานที่สำหรับคนบ้าหรือมีภาวะทางจิตรุนแรงเท่านั้นนะคะ แต่เป็นแพทย์และพยาบาลที่ให้คำแนะนำกับคุณแม่ให้รู้สึกเข้าใจตนเอง และคนรอบข้างและเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณแม่ได้ค่ะ แพทย์อาจสั่งยาต่อต้านโรคซึมเศร้า หรือ ช่วยเหลือคุณแม่ในรูปแบบต่าง ๆ ยาบางชนิดอาจมีผลกระทบต่อลูกน้อยในช่วงที่กำลังให้นมค่ะ ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องพิจารณาการจัดการการรักษาของตนเองให้ดี คุณแม่ไม่จำเป็นต้องปิดบังว่า ตัวเองรู้สึกแย่มากแค่ไหน เพราะคุณแม่ควรได้รับความช่วยเหลือมากในเวลานี้ที่ปรึกษา หรือ นักจิตอายุรเวท (ผู้ร่วมรักษากับแพทย์ประจำตัว) สามารถช่วยเหลือคุณแม่ได้เช่นกัน โดยใช้ “การบำบัดด้วยการพูดคุย” ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดในการรักษาภาวะซึมเศร้า แถมปัจจุบันในบ้านเรายังสามารถใช้บัตรทองเพื่อรับการรักษาโรคบางอย่างโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย ประเด็นสำคัญคือภาวะซึมเศร้าสามารถจัดการได้ และทำการรักษาได้ด้วยความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ทั้งนี้ลูกน้อยก็ต้องการให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้นเช่นกัน ดังนั้นมันก็คุ้มค่าที่คุณแม่จะขอความช่วยเหลือที่จำเป็นกับคนอื่นค่ะ
ความเจ็บป่วยทางจิตใจหลังคลอด คุณแม่อย่าสับสนว่า ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดคืออาการเดียวกับภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Baby Blues) คุณแม่บางคนมีอาการนี้หลังคลอด และอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นหลังจากนั้น 2-3 วันค่ะ จากการวิจัยพบว่า คุณแม่ 1 ใน 500 คนจะมีอาการทางจิตที่รุนแรง โดยเฉพาะกลุ่มอาการความเจ็บป่วยทางจิตใจหลังคลอดที่เรียกว่า โรคจิตหลังคลอด (Postpartum Psychosis) โดยคุณแม่จะมีอาการประสาทหลอน ตื่นตัวเป็นเวลาหลายวัน ไม่มีสมาธิและกระสับกระส่ายอยู่ไม่สุข ซึ่งเป็นอาการที่คนรอบข้างคุณแม่เห็นได้ชัดว่า มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น และต้องได้รับการรักษาในทันที คุณแม่บางคนถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง หน่วยงานทางสังคมช่วยแก้ปัญหาภาวะซึมเศร้าอย่างไร ในประเทศไทยมีการศึกษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และพบคุณแม่ที่อยู่ในภาวะนี้ถึง 16.8 เปอร์เซ็นต์ คุณแม่หลังคลอดมีความเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้ามากขึ้น 3 เท่าหากเทียบกับช่วงเวลาอื่น ๆ คุณแม่มักจะมีปัญหาในการเลี้ยงดูบุตร ดังนั้นการช่วยเหลือแม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดตั้งแต่เริ่มแรกจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทางสถาบันสถาบันราชานุกูลได้ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาและทดสอบคุณภาพโปรแกรมช่วยเหลือคุณแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด โดยการเยี่ยมบ้านให้ความรู้และแนวทางการปฏิบัติตน ตลอดจนทักษะต่างๆ ในการดูแลสุขภาพ การรู้เท่าทันอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง การสร้างความสัมพันธ์กับลูกและบุคคลรอบข้าง แล้วพบว่า อาการซึมเศร้าของแม่หลังคลอดมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้โปรแกรมอยู่ระหว่างการพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนานวัตกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับแม่และเด็กต่อไปค่ะ
โรคไบโพลาร์หลังคลอด โรคอารมณ์สองขั้ว (เป็นที่รู้จักกันอย่างเป็นทางการว่า โรคซึมเศร้าที่มีอาการฟุ้งพล่าน) ทำให้คุณแม่มีอาการของโรคซึมเศร้า รู้สึกต่ำต้อย ไม่มีเรี่ยวแรงและอารมณ์ดีผิดปกติในเวลาเดียวกัน (มีอาการเพ้อ ครึกครื้นรื่นเริงและมีพละกำลังมากเกินกว่าปกติ) ไม่ว่าจะพบภาวะโรคซึมเศร้า หรือ ภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ เป็นเรื่องสำคัญมากที่คนไข้จะต้องรับการรักษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ บ่อยครั้งที่คุณแม่ส่วนใหญ่ไม่ยอมรับว่า ตัวเองมีอาการเหล่านี้ ดังนั้นคุณพ่อและสมาชิกครอบครัวคนอื่น ๆ จึงมีหน้าที่สำคัญในการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของลักษณะนิสัยและคอยดูแลเพื่อให้คุณแม่ได้รับความช่วยเหลือตั้งแต่เนิ่น ๆ ค่ะ โรคอารมณ์สองขั้วมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความสามารถของคุณแม่ในการดูแลลูกน้อยและตัวเองค่ะ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนจากแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป การบริการด้านสุขภาพจิต หรือ หน่วยงานฉุกเฉินของโรงพยาบาลเพื่อให้คุณแม่ปลอดภัย และได้รับการรักษาโรคนี้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเร็วที่สุด
โรคจิตหลังคลอด โรคจิตหลังคลอดเป็นภาวะที่พบได้ยาก โดยจะเกิดขึ้นกับคุณแม่ 1 หรือ 2 คนจากคุณแม่หลายพันคนค่ะ ซึ่งเป็นโรคทางสุขภาพจิตที่ร้ายแรงที่ต้องให้ความสนใจ และรับการรักษาโดยด่วน โรคจิตหลังคลอดเกิดขึ้นใน 2-3 วันแรกหรือหลายสัปดาห์หลังคลอด ภาวะนี้นำไปสู่พฤติกรรมของคุณแม่ที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงสัญญาณเริ่มต้นที่สามารถสังเกตได้ดังต่อไปนี้ • นอนหลับยาก • รู้สึกมีพละกำลัง กระสับกระส่ายและหงุดหงิด • รู้สึกเป็นอมตะ แข็งแกร่งและมีพลังเหนือคนอื่น • มีความเชื่อแปลก ๆ และไม่มีเหตุผลและผล เช่น มีคนพยายามจะทำร้ายลูก
อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายใน 2 วัน หรือ 2 สัปดาห์หลังคลอด แต่ในบางกรณีก็อาจเกิดขึ้นได้หลังจากนี้ค่ะ (นานสุด 12 สัปดาห์หลังคลอด) เมื่อเวลาผ่านไป อาการเหล่านี้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากกลุ่มโรคเดียวกัน เมื่อภาวะเหล่านี้รวมเข้าด้วยกันอาจส่งผลกระทบต่อพละกำลัง ความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมและอารมณ์ของคุณแม่ได้ค่ะ หากคุณสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ ซึ่งดูผิดแปลกไปจากลักษณะนิสัยของตัวคุณเองหรือคู่ของคุณ ให้พูดคุยปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเกี่ยวกับสิ่งที่คุณสังเกตได้โดยเร็วที่สุด การตรวจและรักษาโรคในระยะแรกคือสิ่งจำเป็น ซึ่งต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและคุณแม่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะต้องใช้เวลาไปกับโรงพยาบาลเพื่อได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด การรักษาต้องใช้เวลาและมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสมาชิกทุกคนในครอบครัว ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องตระหนักและทำการบริหารจัดการครอบครัวให้ดีค่ะ
คุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับอาการหลังคลอดและการเลี้ยงดูลูกน้อย เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ บอกได้เลยนะคะว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
เคยสงสัยกันไหมคะว่า ทำไมเด็กบางคนพอคลอดปุ๊บ ถูกจับแยกออกจากอ้อมอกแม่ ไปนอนอยู่ในตู้อบทารกอย่างโดดเดี่ยว เจ้าหนูน้อยผู้น่าสงสารจะรู้สึกเจ็บปวด และว้าเหว่ขนาดไหนนะ
คุณแม่ชอบร้องเพลงแนวไหนกันบ้างเอ่ย ลองฝึกร้องเพลงสำหรับเด็กไว้บ้าง เพลงโยกเยก เพลงช้าง แมงมุมลายตัวนั้น A B C ฯลฯ หรือเพลงฟังสบายๆ อื่นๆ ไม่ต้องเขินค่ะเพราะว่าเสียงของแม่เป็นยาวิเศษ ช่วยกระตุ้นพัฒนาการทารกคลอดก่อนกำหนด และฟื้นฟูร่างกายที่อ่อนแอให้กลับมาแข็งแรงได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับคุณแม่โดยส่วนใหญ่แล้ว ระยะแรกของการเจ็บครรภ์คลอดนั้นมักจะเป็นช่วงเวลายาวนานที่สุดและเจ็บที่สุดของคุณแม่ เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
เมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณแม่ใกล้คลอดเราแนะนำให้จัดกระเป๋าเตรียมคลอดเพื่อใส่สิ่งของที่จำเป็นไว้ให้เรียบร้อยก่อนเวลาคลอดมาถึงมาดูว่ามีอะไรบ้างค่ะ
การคลอดทารกท่าก้นคือการที่ทารกคลอดส่วนล่างของร่างกายออกมาก่อนศีรษะ อันเนื่องจากทารกไม่กลับศีรษะลงมาที่อุ้งเชิงกรานของคุณแม่ เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
ไวรัสอาร์เอสวี เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างในวัยทารกและวัยเด็กที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งสามารถติดต่อได้ง่ายมาก เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
พบกับ 16 คำถามที่พบบ่อยหลังคลอดลูกว่ามีอาการอะไรบ้าง เรามีคำแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่ได้เรียนรู้ไปด้วยกันค่ะ
หากคุณแม่กำลังตัดสินใจเลือกสถานที่เพื่อฝากครรภ์หรือวางแผนเตรียมตัวคลอดลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นการคลอดเองแบบธรรมชาติหรือผ่า วันนี้เรามีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากค่ะ
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090