การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
คุณแม่ทุกคนจะต้องมีการปรับตัวหลายอย่างหลังคลอดค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการรับมือกับทารกตัวน้อย หรือ การอดหลับอดนอนระหว่างเลี้ยงลูก อีกทั้งยังมีการปรับและการฟื้นฟูของสภาพร่างกายหลังจากอุ้มท้องมานาน 9 เดือน แต่อีกหนึ่งสิ่งที่คุณแม่จะต้องเผชิญคือ อาการเลือดออกหลังคลอด ซึ่งเป็นอาการที่ทำให้คุณแม่หลายคนเป็นกังวลอยู่เป็นประจำเลยล่ะค่ะ อาการนี้เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของร่างกายที่คนไทยเรียกกันว่า “น้ำคาวปลา” อาการนี้จะเกิดขึ้นไม่ว่าคุณแม่จะคลอดแบบธรรมชาติ หรือ ผ่าคลอด ซึ่งเป็นกระบวนการของร่างกายในการกำจัดน้ำเมือก เนื้อรกและเลือดที่ตกค้างหลังคลอดที่จะไหลออกมาคล้ายกับประจำเดือนของผู้หญิง แต่อาการจะหนักกว่ามากในช่วงแรก ๆ ค่ะ น้ำคาวปลาจะไหลออกมาในไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอดและยาวต่อเนื่องไปจนถึงสองหรือสามสัปดาห์ แต่กับคุณแม่บางคนอาจใช้เวลาถึง 6 สัปดาห์ค่ะ หากคุณแม่มีข้อสงสัยหรือพบอาการดังต่อไปนี้ คุณแม่ควรติดต่อแพทย์ผู้ที่ดูแลสุขภาพของคุณแม่โดยตรงนะคะ • มีเลือดออกมากกว่าปกติ จนต้องใช้ผ้าอนามัย 1 แผ่นต่อชั่วโมง • เลือดออกเป็นสีแดงสดติดต่อกัน 4 วัน หรือ มากกว่านั้น เมื่อเอนตัวนอนหรือพักผ่อนก็ไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น • มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ • รู้สึกเวียนหัวและอ่อนเพลีย • หัวใจเต้นเร็ว หรือ เต้นผิดปกติ หากคุณแม่พบอาการเหล่านี้ คุณแม่อาจอยู่ในภาวะตกเลือดหลังคลอดก็เป็นได้ค่ะ อาการตกเลือดจะเกิดขึ้นเมื่อมดลูกไม่หดตัวหลังคลอด ทำให้มีเลือดออกมาจากมดลูกอยู่เรื่อย ๆ ค่ะ การตกเลือดเป็นสิ่งที่อันตรายสำหรับคุณแม่มากนะคะ ดังนั้นคุณแม่ควรโทรปรึกษาหรือไปพบแพทย์เพื่อลดความกังวลและขอคำแนะนำเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นค่ะ หากผลการวินิจฉัยของแพทย์บ่งชี้ว่า คุณแม่อยู่ในภาวะตกเลือด คุณแม่จะต้องรีบไปทำการรักษาที่โรงพยาบาลโดยด่วนด้วยการห้ามเลือด นวดมดลูกหรือขั้นตอนอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ เพื่อกำจัดเนื้อรกที่ตกค้างในมดลูกค่ะ หากห้ามเลือดไม่ได้ก็จำเป็นที่จะต้องถ่ายเลือด ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ค่ะ อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดที่คุณแม่ต้องทำคือ การหมั่นเช็คสภาพร่างกายของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ คุณแม่สามารถจัดการกับน้ำคาวปลาด้วยตนเองได้ เพียงคุณแม่ซื้อผ้าอนามัยมาเก็บไว้ก่อนคลอดประมาณ 2-3 แพ็คค่ะและที่สำคัญหากคุณแม่เคยใช้ผ้าอนามันแบบสอดมาโดยตลอด หากหลังคลอดจำเป็นต้องงดใช้อย่างน้อยหกสัปดาห์นะคะ เพราะผ้าอนามัยแบบสอดอาจนำพาหะเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ช่องคลอด และทำให้มดลูกติดเชื้อได้ค่ะ ประสบการณ์เลือดออกหลังคลอดอาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัวเท่าไหร่ค่ะ อาการที่เกิดขึ้นกับคุณแม่แต่ละคนก็จะแตกต่างกันไปและคุณแม่ควรทำตามคำแนะนำของสูติแพทย์อย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตามหากการใช้ยาแก้ปวดไม่สามารถช่วยระงับความเจ็บปวดในเบื้องต้นได้ หรือ ทำให้อาการแย่ลง คุณแม่ควรได้รับการดูแลจากคนใกล้ตัวหรือแพทย์อย่างใกล้ชิดค่ะ นอกจากความกังวลเรื่องเลือดออกหลังคลอด คุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับอาการหลังคลอดอื่นๆหรือการมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด ซึ่งความกังวลทั่วไปนั้นเกี่ยวกับความสามารถในการผลิตน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการของลูก และการจัดการกับการให้นมลูกทั้งสองคนในเวลาเดียวกัน แม้ว่ากลไกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับลูกสองคนหรือคนเดียวจะเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงการจัดการการให้นมลูกทั้งสองคนถือเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อยเลยค่ะ
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ บอกได้เลยนะคะว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
เคยสงสัยกันไหมคะว่า ทำไมเด็กบางคนพอคลอดปุ๊บ ถูกจับแยกออกจากอ้อมอกแม่ ไปนอนอยู่ในตู้อบทารกอย่างโดดเดี่ยว เจ้าหนูน้อยผู้น่าสงสารจะรู้สึกเจ็บปวด และว้าเหว่ขนาดไหนนะ
สิ่งสุดท้ายที่คุณแม่จะนึกถึงหลังคลอดนั่นก็คือการออกกำลังกายค่ะ คุณแม่ต้องพบเจออะไรมากมายในแต่ละสัปดาห์หลังคลอด มาดูวิธีบริหารร่างกายสำหรับคุณแม่กันค่ะ
หลังจากเฝ้ามองพัฒนาการทารกใน NICU มาหลายสัปดาห์ จนลูกเติบโตพร้อมกลับสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของทุกคนในบ้านแล้ว ต่อจากนี้ไปก็จะเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของครอบครัวซะที แต่..คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าเพิ่งวางใจนะ เพราะลูกน้อยคลอดก่อนกำหนดมีหลายเรื่องที่ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ
การคลอดทารกท่าก้นคือการที่ทารกคลอดส่วนล่างของร่างกายออกมาก่อนศีรษะ อันเนื่องจากทารกไม่กลับศีรษะลงมาที่อุ้งเชิงกรานของคุณแม่ เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
เมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณแม่ใกล้คลอดเราแนะนำให้จัดกระเป๋าเตรียมคลอดเพื่อใส่สิ่งของที่จำเป็นไว้ให้เรียบร้อยก่อนเวลาคลอดมาถึงมาดูว่ามีอะไรบ้างค่ะ