การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
การผ่าตัดคลอด คือกระบวนการทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการผ่าท้องและมดลูกเพื่อทำคลอด ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของทารกเกิดมาจากการผ่าคลอดค่ะ หรือ ที่รู้จักกันว่า ซี-เซกชัน (C-section) หรือซีซาร์ (Caesar) นั่นเอง การผ่าคลอดฉุกเฉิน จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคุณแม่เริ่มเจ็บครรภ์คลอด ซึ่งการผ่าคลอดนี้เป็นการวางแผนหรือถูกกำหนดไว้โดยคุณพ่อคุณแม่ตั้งแต่ใกล้กำหนดคลอด ก่อนจะเข้าสู่ระยะเจ็บครรภ์คลอดค่ะ
สิ่งที่จำเป็นต้องมีการผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน มีเพียงไม่กี่สาเหตุที่ทางแพทย์อาจแนะนำให้คุณแม่ผ่าตัดคลอดฉุกเฉินค่ะ โดยมีความเป็นไปได้ดังนี้ • อัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติของลูกน้อยชี้ว่า ลูกน้อยไม่สามารถคลอดด้วยวิธีแบบธรรมชาติ หรือ อยู่ในความเครียดที่เรียกว่า ภาวะคับขัน • ปากมดลูกเปิดออกช้าหรือไม่ยอมเปิดออกเลย • รกเริ่มหลุดออกจากผนังมดลูกและมีความเสี่ยงต่อการตกเลือดภายใน • ร่างของทารกไม่สามารถลงมาสู่บริเวณกระดูกเชิงกรานได้หรือหมายความว่า กระดูกเชิงกรานเล็กเกินไปจนทารกไม่สามารถผ่านออกมาได้ค่ะ • วางแผนการผ่าคลอดไว้แล้ว แต่คุณแม่เกิดอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้ค่ะ การผ่าคลอดจะเริ่มภายใน 2-3 ชั่วโมงเมื่อคุณแม่เจ็บครรภ์คลอด ตราบใดที่ทารกยังปกติดีอยู่ค่ะ • หากคุณแม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดนาน ๆ อาจเกิดความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อยได้ค่ะ • คุณแม่ตั้งครรภ์ลูกแฝดหรือแฝดสาม ทำให้ยากที่จะ คลอดตามธรรมชาติ ค่ะ และหากคุณพ่อคุณแม่ไม่รู้มาก่อนว่าตั้งครรภ์ลูกหลายคน การผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดค่ะ • ทารกอยู่ในท่าที่ผิดปกติ เช่น เอาเท้าลงมาทางปากช่องคลอด ซึ่งโดยปกติแล้วทารกต้องกลับหัวไปทางปากช่องคลอด ความเสี่ยงของการผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน โดยปกติ การผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน เป็นวิธีที่ค่อนข้างเสี่ยง ซึ่งมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ดังต่อไปนี้ • การติดเชื้อของมดลูกหรือเยื่อบุมดลูก • เกิดการก่อตัวของลิ่มเลือดหรือมีภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ขา • มีเลือดออกมากเกินไป • มีอันตรายต่อมดลูก กระเพาะปัสสาวะหรือกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน • ทารกที่เกิดมาอาจมีร่างกายอ่อนแอง่ายต่อการติดเชื้อหรือมีภาวะหายใจลำบาก • ทารกบางคนอาจได้รับผลกระทบจากยาที่คุณแม่ได้รับเพื่อระงับความรู้สึกในระหว่างการผ่าตัด
สิ่งที่จะเกิดขึ้นในระหว่าง การผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน
ก่อนอื่นคุณแม่จะต้องล้างเล็บ ถอดเครื่องประดับและโกนขนบริเวณหัวหน่าว หลังจากนั้นทางโรงพยาบาลจะให้ยาแก้ปวดหรือยาชาต่อค่ะ วิสัญญีแพทย์จะช่วยทำให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลายก่อนที่การผ่าตัดจะเริ่มขึ้น คุณแม่จะไม่เห็นเลยว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างนั้น จะมีการสวนสายปัสสาวะเพื่อระบายปัสสาวะที่ค้างอยู่ในตัวคุณแม่ออกและทำการผ่าเหนือบริเวณหัวหน่าวเพื่อให้ศัลยแพทย์สามารถเข้าถึงมดลูกเพื่อทำ การผ่าคลอด ค่ะ คุณแม่อาจรู้สึกตึงหรือดูเหมือนมีใครกำลังหาอะไรอยู่บริเวณนั้น แต่จะไม่รู้สึกเจ็บนะคะ ลูกน้อยจะออกมาประมาณ 5-10 นาทีหลังการผ่าครั้งแรก ทางแพทย์จะอุ้มทารกออกมาตรวจดูและทำการตัดสายสะดือทิ้งค่ะ หากทุกอย่างเรียบร้อยเป็นไปด้วยดี ทางแพทย์ก็จะส่งทารกน้อยเข้าสู่อ้อมอกของคุณแม่ได้อย่างปลอดภัย ในขณะที่พวกเขาขูดรกออกจากมดลูก และทำการเย็บแผลต่าง ๆ คุณแม่อาจจะอยากให้คุณพ่ออุ้มลูกน้อยมากกว่าก็เป็นได้ค่ะ การผ่าคลอดทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 30 นาทีค่ะ หลังจากนั้นคุณแม่ก็จะถูกพาไปยังห้องพักฟื้นและไปที่แผนกแม่และเด็กต่อค่ะ หลังจากนั้นพยาบาลผดุงครรภ์ก็จะมาแนะนำ การให้นมลูก กับคุณแม่โดยเร็วที่สุดค่ะ หลังจากการผ่าตัดคลอด สายสวนปัสสาวะจะอยู่ในร่างกายคุณแม่จนถึงเช้าวันต่อมาหลังการผ่าตัดค่ะ คุณแม่จะได้รับสารอาหารและวิตามินทางสายน้ำเกลือ คุณแม่จะได้รับยาแก้ปวด แต่หมอ พยาบาลผดุงครรภ์และพยาบาลทั่วไปจะช่วยให้คุณแม่ลุกออกจากเตียงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อช่วยให้เลือดในร่างกายหมุนเวียน และป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดค่ะ คุณแม่อาจต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลราว ๆ 3 วันและทางโรงพยาบาลจะให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมเมื่อถึงเวลากลับบ้าน เพราะคุณแม่อาจจะเดินได้ลำบากในช่วงแรก ๆ ช่วงเวลาหลังจาก การผ่าคลอด เรียกว่า ระยะหลังคลอด และอาจเป็นเรื่องที่จัดการได้ยากสำหรับตัวคุณแม่เองและครอบครัว ในช่วงระยะเวลานี้คุณแม่จะมีความเสี่ยงเป็นอย่างมากที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจาก ซี-เซกชัน คุณแม่จึงต้องทำตัวสบาย ๆ เพื่อรักษาตัวเองในระยะนี้ ก่อนออกจากโรงพยาบาล คุณแม่ควรพูดคุยกับแพทย์เกี่ยวกับยาบรรเทาอาการปวดที่คุณแม่จะนำกลับบ้าน ไม่ว่าจะเป็นขนาดของยา ความถี่ในการใช้ยา หรือ ผลข้างเคียงของยาที่ควรรู้ มดลูกของคุณแม่จะเริ่มหดตัวหลัง การผ่าคลอด ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้คุณแม่มีเลือดออกทางช่องคลอด ดังนั้นคุณแม่ควรซื้อผ้าอนามัยสำหรับคนท้องมาเก็บไว้ก่อนจะกลับบ้านค่ะ คุณแม่ควรอยู่เดินในระนาบเดียวกันหรือพยายามหลีกเลี่ยงที่จะเดินขึ้นลงบันไดให้มากที่สุด และไม่ควรยกของที่หนักกว่าน้ำหนักของลูกเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจะแผลผ่าตัด ปริ หรือฉีกขาดนะคะ คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่เต็มไปด้วยไฟเบอร์จำพวกผักและผลไม้สด น้ำในร่างกายก็สำคัญเช่นกัน คุณแม่พกขวดน้ำติดตัวไว้ตลอดเวลา เพื่อเป็นการกระตุ้นการดื่มน้ำที่ดีค่ะ จัดที่นอนให้ลูกให้ใกล้คุณแม่ที่สุดเท่าที่จะใกล้ได้ เพื่อที่คุณแม่จะได้ไม่ต้องตื่นบ่อย ๆ เพื่อมาดูลูกน้อยค่ะ คุณแม่จะต้องแจ้งแพทย์ทันที หากคุณแม่มีไข้ หรือ อาการเจ็บปวดใด ๆ ซึ่งเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่จะต้องรับการรักษาโดยด่วน การผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน อาจทิ้งรอยแผลเป็นทางอารมณ์ให้กับคุณแม่บางคนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคุณแม่ที่คาดหวังว่าจะได้ คลอดลูกตามธรรมชาติ คุณแม่ที่มีภาวะนี้ควรใช้เวลาผ่อนคลายความเครียดและทำใจให้สบาย หากคุณแม่มีอาการซึมเศร้าหลังคลอดลูก (Baby Blue) คุณแม่อาจต้องเข้าพบจิตแพทย์ หรือ นักจิตวิทยาเพื่อทำการรักษาค่ะ
ควรโทรหาหมอเมื่อมีอาการแบบไหน
มีหลายกรณีที่คุณแม่ควรพึงระวังหลัง การผ่าตัดคลอด ที่คุณแม่ควรโทรหาแพทย์โดยทันที ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้ • มีอุณหภูมิในร่างกายสูง และไม่มีแนวโน้มจะลดลง • มีอาการปวดหัวหลังผ่าคลอด อาการรุนแรงมากขึ้นและไม่มีแนวโน้มจะลดลง • มีอาการปวดหนักขึ้นเรื่อย ๆ ในท้องหรือบริเวณหน้าท้อง • ตกขาวมีกลิ่นแรงผิดปกติ • ขาบวมและมีรอยแดง • มีอาการเจ็บและมีเลือดปนอยู่ในปัสสาวะเมื่อเข้าห้องน้ำ • มีอาการแพ้และมีผื่นแดงบริเวณหน้าอก หากคุณแม่สังเกตได้เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ กับร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน คุณแม่จึงต้องรีบโทรหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วนค่ะ มีคนเคยพูดว่า ให้เราคาดหวังในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิต แต่ต้องเตรียมพร้อมเสมอในการรับมือกับสิ่งที่ร้ายที่สุด ซึ่งเป็นคำพูดที่เหมาะเจาะกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับคนเป็นพ่อเป็นแม่จริง ๆ ค่ะ เช่นเดียวกับการวางแผน การผ่าตัดคลอด หรือ การคลอดแบบธรรมชาติ ดังนั้นไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น การเตรียมการทุกสิ่งไว้ล่วงหน้าย่อมดีกว่าค่ะ ซึ่งจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ตื่นตระหนกน้อยลง อีกทั้งยังมีความรู้สึกในการควบคุมสถานการณ์ที่ดีขึ้นและมีทางเลือกส่วนตัวกับสิ่งต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า โปรดจำไว้ว่า ทารกน้อยจะเกิดมาจากสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่เตรียมการไว้แล้ว จงภูมิใจในตัวเองกับความพยายามที่ทุ่มเทให้เขาอย่างเต็มที่ค่ะ คุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และวางแผนคลอด รวมถึงหัวข้ออื่น ๆ จากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ บอกได้เลยนะคะว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
เคยสงสัยกันไหมคะว่า ทำไมเด็กบางคนพอคลอดปุ๊บ ถูกจับแยกออกจากอ้อมอกแม่ ไปนอนอยู่ในตู้อบทารกอย่างโดดเดี่ยว เจ้าหนูน้อยผู้น่าสงสารจะรู้สึกเจ็บปวด และว้าเหว่ขนาดไหนนะ
คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ได้พบกับลูกน้อยเมื่อตั้งครรภ์ได้เต็มที่ 9 เดือนซึ่งเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตที่ต้องเผชิญกับการคลอดก่อนกำหนด มาดูคำแนะนำกันค่ะ
พบกับ 16 คำถามที่พบบ่อยหลังคลอดลูกว่ามีอาการอะไรบ้าง เรามีคำแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่ได้เรียนรู้ไปด้วยกันค่ะ
สิ่งสุดท้ายที่คุณแม่จะนึกถึงหลังคลอดนั่นก็คือการออกกำลังกายค่ะ คุณแม่ต้องพบเจออะไรมากมายในแต่ละสัปดาห์หลังคลอด มาดูวิธีบริหารร่างกายสำหรับคุณแม่กันค่ะ
คู่รักส่วนมากจะยังไม่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ราวๆ 4 สัปดาห์แรกหลังการคลอดและช่วงปลายปีแรกของการคลอด อาจทำให้มีปัญหาได้ เรามีคำแนะนำดีๆ มากฝากค่ะ
เมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณแม่ใกล้คลอดเราแนะนำให้จัดกระเป๋าเตรียมคลอดเพื่อใส่สิ่งของที่จำเป็นไว้ให้เรียบร้อยก่อนเวลาคลอดมาถึงมาดูว่ามีอะไรบ้างค่ะ
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090