การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
การคลอดทารกท่าก้นคือการที่ทารกคลอดส่วนล่างของร่างกายออกมาก่อนศีรษะ เช่น ขา หรือ เข่า อันเนื่องจากทารกไม่กลับศีรษะลงมาที่อุ้งเชิงกรานของคุณแม่ และส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในทารกที่มีอายุครรภ์ไม่ครบกำหนดค่ะ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์เช่นนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับลูกน้อยที่คลอดก่อนกำหนดเสมอไป แต่จะเกิดขึ้นกับครรภ์แม่ที่มีอายุครรภ์ 29-32 สัปดาห์ โดยปกติท่าก้นนี้จะเกิดขึ้นในไตรมาสที่สองของอายุครรภ์ ทั้งนี้ยังคงมีความเสี่ยงที่ลูกจะยังคงท่านี้จนไปถึงวันคลอดค่ะ เมื่อคุณแม่เกิดอาการเจ็บครรภ์คลอด ลูกน้อยส่วนใหญ่จะนอนตะแคง โดยหันศีรษะไปทังฝั่งใดฝั่งหนึ่งในครรภ์ของคุณแม่ แต่สำหรับทารกท่าก้นนั้นศีรษะของทารกจะอยู่ใต้บริเวณกระบังลมและกรงซี่โครง คุณแม่จะรู้สึกถึงความแข็งของกระดูกศีรษะอย่างเห็นได้ชัดมากกว่าก้นกลมนุ่ม ๆ ของลูกบริเวณท้องน้อยค่ะ
ประเภทของทารกท่าก้น • Complete breech – ทารกนำก้นนำ อยู่ในท่างอเข่าและสะโพก และขาทั้งสองข้างวางทับประสานกัน คิดถึงท่าคลอดปกติค่ะ เพียงแต่ศีรษะของเขาไม่ได้กลับด้านแค่นั้นเอง • Frank breech – ทารกนำก้นนำและงอสะโพก แต่เหยียดขาขึ้นตรงแนบกับท้องเหมือนกับท่าของนักกีฬายิมนาสติกค่ะ • Footling breech – ทารกเหยียดขาตรงข้างใดข้างหนึ่ง หรือ ทั้งสองข้าง สะโพกไม่งอ ซึ่งเกิดจากถุงน้ำคร่ำแตกออก ทำให้ขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือ ทั้งสองข้างหล่นออกมาจากมดลูก และปลายเท้าจะจ่ออยู่ในบริเวณช่องคลอดค่ะ
จะรู้ได้อย่างไรว่าทารกอยู่ในท่าก้น คุณแม่จะยังไม่รู้จนกว่าทางพยาบาลครรภ์ หรือ สูติแพทย์บอกค่ะ ซึ่งอาจมีสัญญาณบางอย่างที่ทำให้เหล่าแพทย์เกิดข้อสงสัยได้ บางครั้งก็ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าทารกอยู่ในท่าก้นจนคุณแม่จะมีอาการเจ็บครรภ์คลอด แต่ก็ไม่ชัดเจนเช่นนี้เสมอไปค่ะ สัญญาณที่บ่งบอกถึงการคลอดท่าก้นมีดังต่อไปนี้ • เห็นก้น ขา หรือ เท้าคลอดออกมาก่อน • รู้สึกถึงศีรษะของทารกอยู่บริเวณด้านบนของมดลูก คุณแม่จะรู้สึกถึงหัวแข็ง ๆ ของลูกที่เคลื่อนไหวไปมา ในขณะที่ก้นจะมีความนุ่ม และดูผิดปกติมากกว่า เพราะมันไม่เคลื่อนไหวอย่างอิสระเหมือนกับศีรษะของลูกนั่นเอง • คุณแม่อาจรู้สึกถึงของแข็ง ๆ ภายใต้กรงซี่โครง และขยับตัวไปมาเพื่อไม่ให้ตัวเองรู้สึกอึดอัดค่ะ • หากถุงน้ำคร่ำแตกออก และยังมีขี้เทาหนา ๆ อยู่ ขี้เทาเป็นอุจจาระที่ทารกถ่ายออกมาครั้งแรก และหากทวารหนักของทารกอยู่ใกล้บริเวณช่องคลอดของคุณแม่ เราจะสามารถเห็นขี้เทาที่ลูกพึ่งถ่ายออกมาได้ง่ายค่ะ • สายสะดือหย่อนคล้อย • การบันทึกการเต้นของหัวใจ (CTG) ผิดปกติ • เมื่อมีการวินิจฉัยว่า ทารกอยู่ในทาก้นจากการอัลตร้าซาวด์ หรือ เอกซเรย์
แนวโน้มที่ก่อให้เกิดทารกท่าก้น การคลอดก่อนกำหนดเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีผลกระทบให้เกิดการคลอดลูกท่าก้น อัตราการเกิดทารกท่าก้นมีประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์จากคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ แต่ถ้าหากคุณแม่คลอดหลังจากนั้น 8 สัปดาห์ อัตราการเกิดทารกท่าก้นจะเหลือแค่เพียง 3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เนื่องจากทารกจะเติบโตขึ้นมากจนเกือบเต็มพื้นที่ใน 2 เดือนสุดท้ายก่อนคลอดและไม่สามารถเคลื่อนไหวตัวได้มากนัก ศีรษะของพวกเขาก็จะเคลื่อนลงสู่กระดูกเชิงกรานของคุณแม่ เพราะศีรษะของทารกมีน้ำหนักมากจึงมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนตัวลงไปยังพื้นที่ที่กว้างและสบายกว่าอย่างช่วงอุ้งเชิงกรานของคุณแม่และจะคงอยู่ท่านี้จนกว่าจะคลอดค่ะ ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ • ตั้งครรภ์ลูกหลายคน ไม่ว่าจะแฝดสอง แฝดสาม หรือ แฝดสี่ • เมื่อปริมาณน้ำคร่ำมีความผิดปกติ ไม่ว่าจะมีมากเกินไปที่เรียกว่า ครรภ์แฝดน้ำ หรือ ครรภ์มานน้ำ (Polyhydramnios) และมีน้อยเกินไป หรือ น้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios) ทั้งสองภาวะนี้บ่งชี้ได้ว่า มีภาวะแทรกซ้อนในครรภ์คุณแม่ หรือ ทารกค่ะ • เมื่อมีปัญหา หรือ ความผิดปกติเกิดขึ้นกับทารก แม้ระดับน้ำคร่ำจะปกติก็ตาม • เมื่อคุณแม่มีลูกมากกว่า 4 คน ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อมดลูก และกล้ามเนื้อท้องยืดจนหย่อนคล้อยค่ะ • หากมีความผิดปกติกับมดลูกของคุณแม่ รูปร่างของมดลูกจะส่งผลต่อท่าและวิธีการคลอดของลูกน้อยเป็นอย่างมากค่ะ • รกเกาะอยู่ที่ผนังมดลูกส่วนล่าง เช่น รกเกาะต่ำ • หากคุณมีกระดูกเชิงกรานที่เล็กมาก หรือ เคยมีอาการบาดเจ็บบริเวณนี้มาก่อน เช่น กระดูกเชิงกรานร้าวในอดีต • คุณแม่ที่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อน
ความเสี่ยงต่อการคลอดทางช่องคลอดสำหรับทารกท่าก้น แรกเริ่มมดลูกจะเริ่มบีบรัดตัวเหมือนการคลอดทั่วไป เมื่อทารกอยู่ในท่าก้นเหมือนในขณะที่ทารกคนอื่น ๆ กำลังเอาศีรษะลง แต่เนื่องจากแรงกดดันก้นนิ่ม ๆ หรือ เท้าไม่ดีเท่ากะโหลกศีรษะ จึงทำให้ใช้เวลานานกว่าคุณแม่จะเกิดอาการเจ็บครรภ์ การเจ็บครรภ์คลอดและการทำคลอดของทารกท่าก้นจะทำให้คุณแม่รู้สึกเหนื่อย และล้ามากกว่า โดยเฉพาะระยะแรกของการคลอด แม้ว่าคุณแม่และแพทย์จะตั้งใจทำคลอดให้ดีที่สุดแล้ว แต่กับคุณแม่บางคนต้องได้รับการผ่าตัดคลอด เนื่องจากพวกเธอเหนื่อยล้ามากจนเกินกว่าจะคลอดท่าช่องคลอดค่ะ สายสะดือหย่อยคล้อยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยกับทารกท่าก้น เนื่องมาจากก้น ขา และเท้าของทารกไม่พอดีกับกระดูกเชิงกรานของคุณแม่เท่ากับศีรษะ สายสะดือมีความลื่นและง่ายต่อการที่จะหลุดผ่านไปยังปากมดลูกและช่องคลอดได้ หากมีพื้นที่ว่างระหว่างส่วนนำของทารกและปากมดลูกที่เปิดอยู่ เมื่อสายสะดือหลุดออกไปภายนอกและได้รับอากาศและอุณหภูมิ มันจะหดตัวลง สายสะดือที่มีการไหลเวียนของเลือดที่ทำการหล่อเลี้ยงออกซิเจนและอาหารไปยังทารกก็จะหยุดทำงานทันทีค่ะ ความเสี่ยงอื่น ๆ ของสายสะดือหย่อนคล้อยคือสายสะดือจะบีบตัว และความสามารถในการส่งถ่ายออกซิเจนก็จะลดลง จึงเป็นเหตุให้ทางฝ่ายสูติกรรมฉุกเฉินต้องทำส่งมอบคุณแม่ให้ไปรับการผ่าตัดคลอดหากจำเป็นค่ะ ศีรษะของทารกอาจติดอยู่ข้างในช่องคลอดได้ เมื่อส่วนอื่น ๆ ของร่างกายทารกคลอดออกมาหมดแล้ว แต่ไม่สามารถนำศีรษะออกมาได้ เรื่องนี้จึงเป็นที่น่ากังวลกับออกซิเจนของทารกและการทำคลอด เมื่อถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ทางแพทย์ต้องทำการผ่าตัดคลอดให้คุณแม่และจะมีแนวโน้มผ่าตัดมากยิ่งขึ้น หากปากมดลูกของคุณแม่เปิดออกไม่เต็มที่เมื่อร่างกายส่วนล่างของทารกคลอดออกมาเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากศีรษะเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดที่ปากมดลูกจะต้องเปิดออกเต็มที่ เพื่อให้ศีรษะของทารกผ่านออกมาได้ ยิ่งทารกอาศัยอยู่บริเวณด้านบนของมดลูก ก็ยิ่งทำให้ส่วนนำของทารกมีขนาดใหญ่ขึ้นค่ะ แนวโน้มที่จะผ่าตัดคลอดก็มีมากขึ้น เมื่อใกล้ถึงกำหนดวันคลอด เนื่องจากในระยะนั้นระยะห่างระหว่างสะโพกและส่วนที่ใหญ่ที่สุดอย่างกะโหลกศีรษะจะมีขนาดเท่ากัน ส่วนทารกที่คลอดก่อนกำหนดศีรษะจะกว่าและก้นของพวกเขาจะแคบกว่าค่ะ ความหมายของการกลับหัวทารก จากการคาดการณว่า ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ของเด็กทารกทั้งหมดที่อยู่ในท่ากันจะทำการกลับหัวเองหลังจากมีอายุครรภ์ครบ 35 สัปดาห์โดยไม่ต้องรับความช่วยเหลือทางการแพทย์ใด ๆ ค่ะ การตัดสินใจกลับหัวทารกจากภายนอก หรือ จากหมุนเปลี่ยนท่าจะต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากค่ะ ทางสูติแพทย์ต้องมั่นใจว่า วิธีกลับหัวทารกทางการแพทย์จะลดความเสี่ยงมากกว่าที่จะไม่ทำอะไรเลย และต้องได้รับการสนับสนุนจากคุณแม่ที่ยืนยันว่า จะคลอดลูกแบบธรรมชาติค่ะ เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่จะต้องระบุตำแหน่งสายสะดือหย่อนคล้อยและรกที่แม่นยำก่อนที่จะทำการกลับหัวทารกจากภายนอก ไม่เช่นนั้นโอกาสที่รกในครรภ์จะถูกลอกออกจากผนังมดลูกหรือทารกอาจจะเข้าไปพันกับสายสะดือที่หย่อนคล้อยก็เป็นได้ค่ะ บางครั้งคุณแม่จะได้รับยาเพื่อให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายก่อน อัตราความสำเร็จของการกลับหัวทารกจากภายนอกมีประมาณ 40-70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของแพทย์แต่ละคนค่ะ แม้ว่าการกลับหัวทารกภายนอกจะมีประสิทธิภาพ แต่ทารกบางคนก็จะพลิกกลับท่าเดิมเองโดยอัตโนมัติ การตั้งครรภ์ในสมัยก่อนมักมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมการอายุครรภ์ 37 สัปดาห์เหมาะสมที่สุดสำหรับการคลอดลูก
ความเสี่ยงของทารกท่าก้น • หากการเจ็บครรภ์คลอดของคุณแม่ได้รับการจัดการและการดูแลที่ดี ความเสี่ยงก็จะลดลงค่ะ คุณแม่บางคนก็เลือกที่จะทำคลอดที่บ้านกับหมอตำแย และมั่นใจว่า ทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดี แต่ทั้งนี้จะต้องมีแผนสำรองในกรณีที่เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นค่ะ • ทารกบางคนอาจมีสะโพกที่บอบช้ำจากการคลอด ซึ่งโดยปกติแล้วสะโพกส่วนใหญ่จะต้องผ่านกระดูกเชิงกรานของคุณแม่ • อวัยวะเพศของทารกอาจบวมและบอบช้ำเป็นบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้ทารกชายเกิดโรคถุงน้ำลูกอัณฑะได้ ที่ซึ่งเป็นแหล่งสะสมน้ำเชื้อในอัณฑะของเขา • เด็กทารกที่คลอดท่า Frank breech มีแนวโน้มที่ขาของเขาจะเหยียดตึงอยู่ท่าเดิมเป็นเวลา 2-3 วันหลังคลอด • ทารกท่าก้นมีแนวโน้มที่จะมีหัวกลมมากขึ้น เนื่องจากกะโหลกศีรษะไม่ได้รับการหล่อรูปในบริเวณเชิงกรานเหมือนกับทารกที่เอาศีรษะลง • ความคลาดเคลื่อนของกระดูกสะโพกพิการ ซึ่งพบบ่อยในทารกที่คลอดท่าก้น • มีความเสี่ยงที่ศีรษะของทารกจะบาดเจ็บ โดยเฉพาะกับทารกที่คลอดก่อนกำหนด ด้วยเหตุผลนี้จังทำให้แพทย์ต้องใช้คีมในการดึงศีรษะทารกออกมา แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป หากทางแพทย์สามารถใช้มือของพวกเขาดึงทารกออกมาได้ค่ะ
เคล็ดลับสำหรับการคลอดทารกท่าก้น • เมื่อทารกอยู่ในท่าก้น อาการเจ็บครรภ์คลอดจะเริ่มเหมือนกับทารกที่คลอดท่าปกติ • ไม่แนะนำให้เจาะถุงน้ำคร่ำ • หากการเจ็บครรภ์คลอดเป็นไปได้ด้วยดี โอกาสในการคลอดลูกท่าก้นทางช่องคลอดก็จะเพิ่มมากขึ้น • การเคลื่อนตัวของทารก สภาวะ ความคืบหน้า สถานะทางร่างกายและอารมณ์ของคุณแม่ทั้งหมดมีผลต่อการคลอดทางช่องคลอดของคุณแม่ค่ะ • พยาบาลผดุงครรภ์และสูตินรีแพทย์หลายคนใช้วิธี Hand off หรือ การทิ้งระยะเอาไว้ให้ทารกคลอดเอง และเฝ้าสังเกตการณ์การ เว้นแต่จะมีความจำเป็นจริง ๆ ที่ต้องใช้การแทรกแซงทางการแพทย์เข้าช่วย โดยทารกอาจจะไม่ได้รับการแตะต้องจากแพทย์จนกว่าจะคลอดเสร็จค่ะ โดยปกติแล้วทารกจะค่อย ๆ เคลื่อนตัวลง เกร็งตัวและยืดร่างกายเพื่อจะได้เกิดออกมาตามสัญชาตญาณค่ะ • ยังมีเทคนิคที่เฉพาะทางที่พยาบาลผดุงครรภ์ หรือ สูตินรีแพทย์สนับสนุนและใช้เทคนิคเหล่านี้ในการคลอดท่ารกท่าก้น จนทำให้มีการดำเนินคดีเกี่ยวกับการคลอดทารกมากมายในปัจจุบัน เนื่องจากแพทย์ไม่ได้คำนึงถึงการได้รับอนุญาตจากคุณแม่ในการทำคลอดทารกท่าก้นทางช่องคลอด ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องหาแพทย์ฝึกหัดที่มีความสามารถและเต็มใจที่จะสนับสนุนการทดลองให้คลอด ทางช่องคลอดค่ะ • ทารกที่อยู่ในท่าก้นส่วนใหญ่จะนำไปผ่าตัดคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่แม่ไม่เคยคลอดทางช่อง คลอดมาก่อน
นอกจากความรู้เรื่องการคลอดทารกท่าก้นแล้วมักมีคำถามที่พบบ่อยหลังคลอด หรืออาการวิตกกังวลหลังคลอด ที่คุณแม่สามารถคลิกไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงหัวข้ออื่น ๆ เกี่ยวกับทารกแรกคลอดและการเลี้ยงดูลูก หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด ซึ่งความกังวลทั่วไปนั้นเกี่ยวกับความสามารถในการผลิตน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการของลูก และการจัดการกับการให้นมลูกทั้งสองคนในเวลาเดียวกัน แม้ว่ากลไกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับลูกสองคนหรือคนเดียวจะเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงการจัดการการให้นมลูกทั้งสองคนถือเป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อยเลยค่ะ
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ บอกได้เลยนะคะว่าไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก ว่าลูกจะต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย มีคุณภาพ และสบายตัว
แม่ทุกคนย่อมคาดหวังว่าลูกในท้องจะเกิดมาพร้อมร่างกายและพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรงครบ 32 แต่รู้ไหมว่าทุกวันนี้คุณแม่ๆ มีโอกาสเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด 7-10% เลยทีเดียว!
ไวรัสอาร์เอสวี เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างในวัยทารกและวัยเด็กที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งสามารถติดต่อได้ง่ายมาก เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ได้พบกับลูกน้อยเมื่อตั้งครรภ์ได้เต็มที่ 9 เดือนซึ่งเป็นหนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตที่ต้องเผชิญกับการคลอดก่อนกำหนด มาดูคำแนะนำกันค่ะ
สำหรับคุณแม่แล้วการตั้งครรภ์ในระยะ 1 สัปดาห์แรกฟังดูแล้วน่าตื่นเต้นแต่คุณผู้หญิง ยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังเริ่มตั้งครรภ์ ต้องเตรียมตัวอย่างไรมาดูกันค่ะ
คุณแม่ส่วนใหญ่ตั้งตารอคอยวันที่ลูกน้อยจะลืมตาขึ้นมาดูโลกด้วยความคาดหวังและตื่นเต้นและกังวลกับการคลอดลูก มาดูวิธีขจัดความกลัวเมื่อคลอดลูกว่ามีอะไรบ้างค่ะ
คุณแม่อาจต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุนเพิ่มเติมหลังคลอด ซึ่งช่วยให้คุณแม่รู้ว่า ตัวเองต้องการอะไร เรามีคำแนะนำ ให้คุณแม่สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่