ผู้หญิงส่วนใหญ่มักไม่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์และจะเริ่มรู้ตัวเมื่อเข้าสู่ช่วงสัปดาห์ที่ 6 แล้วเพราะบางคนไม่มีอาการคนท้องใดๆ...
เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่แต่ละท่านจะมีอาการแพ้ท้องแตกต่างกัน...
สำหรับคุณแม่แล้วการตั้งครรภ์ในระยะ 1 สัปดาห์แรกฟังดูแล้วน่าตื่นเต้นแต่คุณผู้หญิง ยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังเริ่มตั้งครรภ์...
การเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกเป็นบทเรียนแรกที่คุณแม่มือใหม่ต้องรีบทำความคุ้นเคย ในช่วงแรกอาจต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
สารพันเรื่องผ้าอ้อม
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
คุณแม่ส่วนใหญ่ตั้งตารอคอยวันที่ลูกน้อยจะลืมตาขึ้นมาดูโลกด้วยความคาดหวังและตื่นเต้น แม้ว่าจะยังอยู่ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ มีเวลาอุ้มท้องอีกหลายเดือนกว่าจะคลอด แต่คุณแม่บางคนทั้งตื่นเต้นระคนไปด้วยความวิตกกังวลผสมกับความกลัว เป็นความรู้สึกที่ยากจะอธิบายค่ะ เหตุผลโดยรวมที่คุณแม่กลัวการคลอดลูก มีดังนี้ค่ะ - ความกลัวที่ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น - กลัวเพราะไม่รู้ว่าการคลอดลูกเจ็บไหม - ประสบการณ์คลอดลูกคนก่อน ไม่ค่อยราบรื่น - กังวลว่าเกิดความไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะตัวคุณแม่หรือคุณลูก ถ้ามีปัญหาระหว่างคลอดจะทำยังไง - กังวลว่าคุณพ่อที่เข้าไปให้กำลังใจคุณแม่ตอนคลอด จะรับมือกับการเฝ้าคลอดอย่างไร - กลัวว่าหลังคลอดแล้วสามีเปลี่ยนไป กังวลว่าเสน่ห์ดึงดูดทางเพศลดลง ทำให้สามีคิดนอกใจ - กลัวอับอายเวลาเบ่งคลอดแล้วร้องโอดโอยเสียงดัง หน้าตาท่าทางดูไม่ได้ - กังวลเรื่องรูปร่างและน้ำหนักหลังคลอดลูก การกังวลระดับไหนที่ถือว่าวิตกกังวลมากเกินไป โดยทั่วไปแล้วคุณแม่จะมีความวิตกกังวลอยู่บ้างกับคำถามที่ว่า “คลอดลูกเจ็บไหม” แต่ก็ไม่มากนัก ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่คุณแม่มือใหม่จะรู้สึกหวั่นใจบ้างเมื่อใกล้ครบกำหนดคลอดลูก สิ่งที่ต้องระวัง ถ้ามีอาการต่อไปนี้ แสดงว่าคุณแม่อาจวิตกกังวลมากเกินไป - วิตกกังวลมากผิดปกติจนกระทบกับชีวิตประจำวัน - ไม่สบายใจ คิดมาก กังวลเรื่องการคลอดตลอดเวลาจนไม่สามารถคิดเรื่องอื่นได้เลย - นอนไม่หลับ ฝันร้าย นอนกระสับกระส่าย ตื่นไวกว่าปกติ และข่มตานอนหลับต่อไม่ได้ - ส่งผลต่อพฤติกรรมการกิน รับประทานไม่ได้ เพราะความเครียด - เครียดตั้งแต่ตั้งท้อง รู้สึกหดหู่ กังวล ไม่รู้สึกผูกพันกับลูกในท้อง - รู้สึกหงุดหงิดไม่พอใจลูกในท้อง ไม่พอใจสามี - ไม่อยากคลอดเองตามธรรมชาติและยืนยันจะผ่าคลอดอย่างเดียว เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณแม่จะกลัวการเจ็บท้องเบ่งคลอดนะคะ - คิดกลัวไปต่าง ๆ นานา เพราะไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ในกรณีที่คุณแม่บางคนเกิดความวิตกกังวลอย่างรุนแรงถึงขั้นตื่นตระหนัก แพทย์อาจวินิจฉัยว่าเป็นโทโคโฟเบีย (Tocophobia) มาจากภาษากรีก คำว่า Tocos แปลว่าการคลอด และ phobia แปลว่าหวาดกลัว มีผู้หญิงตั้งครรภ์ประมาณ 6%-10% เข้าข่ายเป็นภาวะผิดปกติอย่างนี้ ซึ่งมีโอกาสป่วยทางจิตมากกว่าคุณแม่คนอื่นที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกัน อาการโทโคโฟเบียมักจะเกิดกับคุณแม่ที่เคยมีประสบการณ์คลอดลูกเจ็บปวดทรมานที่สุดมาก่อน ความเจ็บปวดแทบขาดใจยังคงหลอกหลอนให้หวาดกลัวไม่หาย หากคุณแม่รู้สึกว่าตนเองวิตกกังวลมากเกินไปควรพบผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวชคอยดูแลให้คำปรึกษาและช่วยเหลือตลอดการตั้งครรภ์จนถึงระยะหลังคลอดค่ะ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่รับมือกับภาวะความกลัวสุดขีดและผ่านพ้นไปได้ด้วยดีนะคะ วิธีอะไรบ้างที่ช่วยสยบความกลัวการคลอดลูกได้ ความกลัวการคลอดลูกเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน การเตรียมพร้อมที่จะรับมือ ช่วยคลายความหวั่นใจในช่วงตั้งครรภ์ไปได้มาก คุณแม่ควรหาข้อมูลให้มากที่สุดทั้งเรื่องการเจ็บท้อง การเบ่งคลอด และการพักฟื้นหลังคลอด มองไปข้างหน้าดีกว่าจะมัวแต่มากังวลเรื่องคลอด เรามีวิธีช่วยสยบความกลัวที่ได้ผลมาฝากว่าที่คุณแม่ดังนี้ค่ะ - ปรึกษาพยาบาลผดุงครรภ์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเปิดใจยอมรับว่าตนเองมีความวิตกกังวลมากเกินไปเพื่อที่จะหาทางรับมือและแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพนะคะ - คุยกับสามีและสมาชิกครอบครัว รวมถึงเพื่อน ๆ เล่าและระบายว่ามีอาการของความวิตกกังวลอย่างไร คนรอบตัวที่ห่วงใยจะเต็มใจช่วยเหลือ และแบ่งปันประสบการณ์ที่คล้ายกันช่วยให้คุณแม่คลายความกังวลใจได้ - ไม่ฟังเรื่องการคลอดที่เจ็บปวดน่ากลัวของคุณแม่ท่านอื่น เพราะจะทำให้หวาดกลัวมากขึ้นไปอีก - วางแผนการคลอดเป็นขั้นตอน ทั้งสิ่งที่คาดหวังและเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด อย่าลืมว่าการคลอดเองแบบธรรมชาติไม่มีอะไรรับประกันความแน่นอน อาจเกิดเหตุฉุกเฉินไม่คาดคิดซึ่งจะต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปตามสถานการณ์ - ค้นหาข้อมูลทุกเรื่องเกี่ยวกับการคลอด ทางเลือกในการบรรเทาอาการปวดและการฟื้นตัวหลังคลอด อาจช่วยคลายความกังวลได้บ้าง - ควรไว้วางใจทีมแพทย์ที่ฝากครรภ์ที่จะคอยดูแลคุณแม่และลูกในระหว่างคลอดด้วยอุปกรณ์และสถานที่ที่ออกแบบมาเพื่อให้ปลอดภัยและสะดวกสบายที่สุด - กล้าถามและขอข้อมูลที่ชัดเจนจากพยาบาลผดุงครรภ์หรือสูติแพทย์ ช่วยลดความวิตกกังวลและคลอดง่าย ความเครียดและหวาดวิตกอาจทำให้การคลอดขลุกขลัก ไม่ราบรื่นได้นะคะ - คุณแม่ลองหากิจกรรมช่วยให้ผ่อนคลายดูนะคะ เช่น การเล่นโยคะผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เข้ากลุ่มอบรมเกี่ยวกับคุณแม่ตั้งครรภ์ การนั่งสมาธิ และการนวดก็ช่วยผ่อนคลายได้ดีทีเดียวค่ะ - การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาช่วยให้คลายความวิตกกังวลและสร้างความเชื่อมั่นมากขึ้น การคลอดลูกเป็นประสบการณ์ที่มีค่าในชีวิตลูกผู้หญิงนะคะ คุณแม่ส่วนใหญ่รอคอยวันคลอดชีวิตน้อย ๆ ด้วยใจจดใจจ่อ มีทั้งความตื่นเต้น กังวล แม้ว่าคุณแม่มือใหม่จะคาดเดาไม่ถูกว่าจะต้องเจออะไรบ้าง แต่ลูกตัวน้อยจะเป็นสิ่งสวยงามที่เข้ามาเติมเต็มชีวิต อย่ากังวลมากเกินไปเลยค่ะ เปลี่ยนความเจ็บปวดให้เป็นความสุข ความเจ็บปวดระหว่างคลอดลูกสิ้นสุดลงด้วยความสุขและอิ่มเอมใจนะคะ เป็นประสบการณ์ที่ไม่มีใครคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างในระหว่างคลอดเองแบบธรรมชาติ แต่การคลอดเองนั้นมีขั้นตอนและกรอบเวลาอยู่เพื่อความปลอดภัยของแม่และลูก ตั้งแต่เจ็บท้อง เบ่งคลอด สุดท้ายการรอคอยก็สิ้นสุดลง ทารกคลอดออกมาสู่โลกภายนอกแล้ว หากคุณแม่อ่านข้อมูลเข้าใจขั้นตอนแล้ว แม้ว่าจะไม่สามารถบอกได้ว่าจะเจ็บปวดมากน้อยเพียงไร แต่จะรู้ระยะเวลาและอดทนจนผ่านพ้นความเจ็บปวดที่สุดไปได้ คุณแม่หลายคนไม่ต้องการใช้ยาระงับปวดในระหว่างคลอด เพราะต้องการประสบการณ์ที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด คิดว่าไม่เกินความอดทนของคนเป็นแม่จึงไม่ต้องพึ่งพาตัวช่วยอื่น ๆ ที่อาจกระทบต่อสุขภาพตนเองและลูกในท้อง แต่คุณแม่บางท่านขอยาแก้ปวดตั้งแต่ช่วงแรก เพราะคนเราอดทนต่อความเจ็บปวดได้ไม่เท่ากัน จะเจ็บมากเจ็บน้อยวัดความเป็นแม่คนได้เท่ากันค่ะ ไม่ต้องพิสูจน์ด้วยการทนเจ็บหรอกนะคะ ทุกคนมีสิทธิเลือกทางเลือกที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด สิ่งที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการคลอดลูกทั่วไป - คุณพ่อคุณแม่ควรอ่านข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดลูกให้มาก ๆ เมื่อเข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร จะต้องเจอกับอะไรบ้างแล้ว ความรู้สึกวิตกกังวลก็จะน้อยลงค่ะ - มีความคล่องตัวกระฉับกระเฉง ทำให้ร่างกายมีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เว้นแต่จะมีภาวะบางอย่างทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบาก ท่าคลอดที่เคลื่อนไหวได้อิสระจะช่วยให้คลอดลูกง่ายขึ้นด้วยค่ะ - ฝึกทำสมาธิอย่างมีสติจะช่วยให้คุณแม่เพ่งสมาธิจดจ่ออยู่กับการคลอดลูกมากขึ้น ตั้งใจออกแรงเบ่งทำให้การคลอดผ่านไปอย่างรวดเร็วและราบรื่น ไม่เหนื่อยจนหมดแรงเสียก่อน - คุณสามีควรอยู่ใกล้ ๆ เป็นกำลังใจเฝ้าคลอด คุณแม่บางท่านอยากให้มีคนอยู่ด้วยในห้องคลอดอีกคนเพื่อให้รู้สึกว่าปลอดภัยและอบอุ่นใจ แต่อย่าลืมตรวจสอบกับทางโรงพยาบาลก่อนนะคะว่าอนุญาตให้มีคนเข้าไปอยู่ในห้องคลอดด้วยได้ไหม - คุณแม่ต้องพยายามตั้งใจที่จะเบ่งคลอดเต็มที่ให้ลูกน้อยออกมาอย่างปลอดภัย ถ้าไม่มองความเจ็บปวดเป็นแง่ลบไปทั้งหมด จะทำให้คลอดได้เร็วขึ้น - ระหว่างคลอดลูกควรฝึกจังหวะหายใจที่จะช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายและมีพลังในการเบ่งคลอดง่ายขึ้น - คุณแม่อย่าอับอายกลัวขายหน้าเวลาเบ่งคลอดเลยนะคะ เพราะว่าสูตินรีแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์และเจ้าหน้าที่ในห้องคลอด ต่างมีประสบการณ์ผ่านการทำคลอดมาอย่างโชกโชน อยากร้องไห้ อยากกรีดร้องตะโกนก็ร้องไปไม่ต้องอายใครค่ะ จะช่วยลดความเครียด บรรเทาอาการเจ็บ ช่วยให้ลูกน้อยคลอดออกมาได้ง่าย รวดเร็ว และคุณแม่เจ็บน้อยที่สุดด้วย แม้ว่าการคลอดลูกจะไม่ได้เป็นอย่างที่คุณแม่คาดคิดไว้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่มีหลายอย่างที่วางแผนรับมือได้ ควรเตรียมตัวให้พร้อมไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นการดีที่สุดค่ะ ทั้งนี้คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
สำหรับคุณแม่แล้วการตั้งครรภ์ในระยะ 1 สัปดาห์แรกฟังดูแล้วน่าตื่นเต้นแต่คุณผู้หญิง ยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังเริ่มตั้งครรภ์ ต้องเตรียมตัวอย่างไรมาดูกันค่ะ
หากคุณแม่กำลังตัดสินใจเลือกสถานที่เพื่อฝากครรภ์หรือวางแผนเตรียมตัวคลอดลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นการคลอดเองแบบธรรมชาติหรือผ่า วันนี้เรามีข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากค่ะ
คุณแม่ชอบร้องเพลงแนวไหนกันบ้างเอ่ย ลองฝึกร้องเพลงสำหรับเด็กไว้บ้าง เพลงโยกเยก เพลงช้าง แมงมุมลายตัวนั้น A B C ฯลฯ หรือเพลงฟังสบายๆ อื่นๆ ไม่ต้องเขินค่ะเพราะว่าเสียงของแม่เป็นยาวิเศษ ช่วยกระตุ้นพัฒนาการทารกคลอดก่อนกำหนด และฟื้นฟูร่างกายที่อ่อนแอให้กลับมาแข็งแรงได้อย่างรวดเร็ว
กำลังใจและความอดทนของคุณแม่ คือสิ่งสำคัญที่จะกำหนดชะตาชีวิตน้อยๆ มาติดตามเรื่องราวการตั้งครรภ์ของคุณแม่ลูกสองหัวใจแกร่ง ในวันที่รู้ว่าตัวเองและลูกในท้องต้องเผชิญกับอุปสรรคไม่คาดคิด เธอกับลูกผ่านเหตุการณ์นั้นมาได้อย่างไร?
หลังจากเฝ้ามองพัฒนาการทารกใน NICU มาหลายสัปดาห์ จนลูกเติบโตพร้อมกลับสู่อ้อมกอดอันอบอุ่นของทุกคนในบ้านแล้ว ต่อจากนี้ไปก็จะเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของครอบครัวซะที แต่..คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าเพิ่งวางใจนะ เพราะลูกน้อยคลอดก่อนกำหนดมีหลายเรื่องที่ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ
ด่านสุดท้ายของคุณแม่ก่อนที่เจ้าตัวน้อยจะได้ออกมาลืมตาดูโลก พบกับเคล็ดลับวิธีการคลอดลูกกันค่ะ
เมื่ออายุครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณแม่ใกล้คลอดเราแนะนำให้จัดกระเป๋าเตรียมคลอดเพื่อใส่สิ่งของที่จำเป็นไว้ให้เรียบร้อยก่อนเวลาคลอดมาถึงมาดูว่ามีอะไรบ้างค่ะ
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090