การย้ายตัวอ่อนเป็นขั้นตอนต่อไปในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หรือ การรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ART) เรามีบทความดีๆ...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
อาจารย์แพทย์หญิงดวงรัตน์ วังเกล็ดแก้ว กุมารแพทย์ที่ปรึกษาศูนย์พัฒนาการและการเรียนรู้ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช ศรีนครินทร์
หากคุณแม่สังเกตเจ้าตัวน้อยของเราดีๆ จะเห็นได้เลยค่ะว่าเมื่อไหร่ที่ลูกน้อยรู้สึกสบายตัว เขาจะมีอารมณ์ดี สดใส และส่งยิ้มหวานให้เราตลอดวัน ที่สำคัญลูกยังสามารถเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อสำรวจสิ่งรอบตัวได้อย่างราบรื่นและมีความสุขในทุกอิริยาบทอีกด้วย
สร้างหนูอารมณ์ดี จุดเริ่มต้นพัฒนาการการเคลื่อนไหว ความอารมณ์ดีของลูกน้อย ก็คือการทำให้ลูกสบายตัว และสบายใจค่ะ ซึ่งลูกวัยตั้งแต่ 5-12 เดือน คุณแม่สามารถสร้างให้เขาเป็นเด็กที่มีอารมณ์ดี อันเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อต่อยอดสู่พัฒนาการด้านอื่นๆ ตามมาได้ค่ะ
1. ยิ่งแห้งสบายตัว หนูยิ่งอารมณ์ดี๊ดี
ความอารมณ์ดีของลูกน้อย ก็คือการทำให้ลูกสบายตัว และสบายใจค่ะ ซึ่งลูกวัยตั้งแต่ 5-12 เดือน คุณแม่สามารถสร้างให้เขาเป็นเด็กที่มีอารมณ์ดี อันเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อต่อยอดสู่พัฒนาการด้านอื่นๆ ตามมาได้ค่ะ
2. พ่อแม่ของเล่นชิ้นโปรด
ลูกน้อยวัย 5 เดือน จะเริ่มใส่ใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น ยิ่งเป็นคนใกล้ตัวอย่างคุณพ่อคุณแม่ด้วยแล้ว เจ้าตัวเล็กของเราจะยิ่งจดจำได้ดีค่ะ หากคุณแม่ถ่ายทอดความอารมณ์ดี ยิ้มแย้ม และหมั่นพูดคุยกับลูกอยู่เสมอ เขาก็จะซึมซับอารมณ์ที่ดีจากคุณแม่ การเล่นกับลูกจึงเป็นการสร้างความมั่นคงทาง อารมณ์ ช่วยทำให้เขารู้สึกอบอุ่นปลอดภัย โดยไม่ต้องลงทุนซื้อของเล่นใดๆ เลยค่ะ
3. กระตุ้นให้หนูได้สัมผัส พาสมองแจ่มเจ๋ว
ในช่วงวัย 9-12 เดือน ลูกเริ่มคลานได้คล่องมากขึ้น คุณแม่จึงควรกระตุ้นให้ลูกได้เรียนรู้ผ่านสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัส อาจเป็นของเล่นขนาดพอเหมาะมือที่มีรูปร่าง สี ขนาด ผิวสัมผัสที่แตกต่างกัน รวมทั้งเสียงต่างๆ รอบตัวด้วย เช่น เสียงของคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกจะจดจำได้ดีค่ะ
การที่ลูกได้สัมผัสของเล่น หรือธรรมชาติรอบตัวที่มีลักษณะแตกต่างกัน ลูกน้อยจะได้ฝึกการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ และเมื่อสมองเริ่มทำงานสัมพันธ์กันมากขึ้น เขาก็สามารถต่อยอดไปสู่พัฒนาการการเคลื่อนไหวที่ดียิ่งขึ้นได้
4. หนูคลานคล่องแคล่ว ในบรรยากาศปลอดภัย
นอกจากคุณแม่จะสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการการเคลื่อนไหวของลูกน้อย ด้วยการหาตุ๊กตาหรือหมอนมาขวางไว้เพื่อฝึกทักษะและสร้างความมั่นใจ ในการคลานให้ลูกมากขึ้นแล้ว ความปลอดภัย ความสะอาดและบรรยากาศภายในบ้านขณะที่ลูกคลานก็สำคัญไม่แพ้กันค่ะ คุณแม่ควรจัดบริเวณบ้านให้สะอาด มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และปลอดภัยอยู่เสมอ เช่น อาจกั้นไม่ให้ลูกปีนบันไดได้ พื้นที่ลูกคลานต้องไม่ลื่นจนเกินไป และควรเก็บของเล่นหรือเศษวิสดุชิ้นเล็กๆ ที่อยู่ตามพื้นออกให้หมดเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยหยิบเข้าปากจนอาจติดคอได้
ทุกการเคลื่อนไหวของลูกน้อย ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่คุณแม่จะส่งเสริมพัฒนาการพร้อมกับสร้างให้เจ้าตัวเล็กของเรามีอารมณ์ที่ดีอยู่เสมอ เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ให้ก้าวไกลต่อไปในอนาคต
PopupSummary
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน แต่บางครั้งก็อาจรู้สึกว่าตารางชีวิตแน่นเกินกว่าจะหยุดพักและนึกถึงความชื่นใจของการเป็นแม่ ดังนั้น ลองหาเวลาเล่นกับลูก มอบความรักความอบอุ่นที่มีคุณค่าที่สุดให้แก่ดวงใจดวงน้อยของคุณ ในช่วงเวลาเงียบๆ แบบที่ไม่ต้องรีบร้อนไปไหน
ลูกน้อยวัย 2 เดือน
เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ คุณแม่ควรวางแผนเมนูอาหารแต่ละมื้อให้มีความหลากหลาย มีความสดใหม่และน่ารับประทานทำให้ไม่รู้สึกเบื่อค่ะ
การเปลี่ยนแปลงของเต้านมเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการตั้งครรภ์ได้ค่ะ เริ่มตั้งครรภ์ คุณแม่จะเห็นได้ว่าหน้าอกเปลี่ยนแปลงจากเดิมหลายอย่าง
เมื่อลูกของคุณอายุเข้าหกเดือนจนถึงหนึ่งขวบจะมีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ก็จะเริ่มออกสำรวจสิ่งแวดล้อม และมีการฝึกกำลังกล้ามเนื้อด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น ในช่วงนี้ลูกจะมีความสุขกับการเล่น เริ่มตื่นนานขึ้น และพร้อมที่จะกินอาหารเหลวเสริมจากนมแม่ การที่ทารกได้เคลื่อนไหวอย่างอิสระ โดยไม่มีอะไรมากีดขวาง จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกได้
การเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกเป็นบทเรียนแรกที่คุณแม่มือใหม่ต้องรีบทำความคุ้นเคย ในช่วงแรกอาจต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย เพราะเด็กทารกในช่วงแรกเกิดจะกินบ่อยและถ่ายบ่อยมากเป็นพิเศษ ไม่ควรปล่อยให้ลูกใส่ผ้าอ้อมแผ่นเดิมนานหลายชั่วโมง
ตรวจสอบข้อมูลโดย
เมื่อลูกรักของคุณแม่เริ่มเข้าสู่วัย 3 เดือน หลายคนน่าจะเริ่มสังเกตเห็นว่า เค้ามีการแสดงอารมณ์ออกมาได้ชัดเจนแล้วใช่ไหมคะ ไม่ว่าจะเป็นอาการดีใจ โกรธ หงุดหงิด หรือสงสัย นอกจากนั้นยังเริ่มมีการช่างคุยด้วยภาษาอ้อแอ้ จนคุณพ่อคุณแม่หลงซะแล้วล่ะ ที่สำคัญคือ เจ้าตัวน้อยเริ่มเรียนรู้ที่จะเล่นของเล่นเป็นแล้วอีกด้วยนะคะ
พอย่างเข้าสู่วัย 7 เดือนขึ้นไป คุณแม่น่าจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากของลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นการกินที่อาจจะเบื่ออาหารเดิมที่เคยชอบ การนอนที่ยาวนานมากขึ้นในตอนกลางคืน น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของน้ำหนักเมื่อแรกเกิด หรือแม้แต่บุคลิกภาพที่เค้าแสดงความต้องการของตัวเองออกมามากขึ้น และมีความพยายามลองทำสิ่งที่ไม่เคยทำ หรือแสดงอาการต่อต้านออกมาให้เห็นในช่วงนี้แล้วล่ะค่ะ ซึ่งคุณแม่ควรใจเย็น เฝ้าดูอย่างใกล้ชิดนะคะ
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090