การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
นมแม่คือลูกคือสุดยอดอาหารสำหรับลูกน้อย องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าลูกควรได้รับนมแม่ตลอดช่วงหกเดือนแรกจนถึงอายุ 2 ปีหรือกว่าแม่จะไม่มีน้ำนมให้ นี่คืองานหนักของคุณแม่ เพราะต้องใช้ทั้งเวลา พลังงาน และต้องเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตด้วย
เมื่อต้องเดินทาง การให้นมแม่อาจจะยิ่งยุ่งยากขึ้นกว่าเดิม คุณแม่ที่เคยมีประสบการณ์เรื่องนี้จะพูดว่า การให้นมแม่คือกุญแจสำคัญของการเดินทางโดยพาลูกไปเที่ยวด้วย รวมถึงการจัดการเมื่อต้องฝากเจ้าตัวเล็กไว้เมื่อคุณแม่ต้องเดินทางด้วย
เรามีข้อแนะนำเล็กๆน้อยเพื่อให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้ตลอดการเดินทางมาฝากกันค่ะ
เมื่อเดินทางโดยพาเจ้าตัวเล็กไปด้วย ป้อนโดยตรง: ตามธรรมชาติแล้วคุณแม่จะมีน้ำนมเพียงพอแล้วสำหรับช่วง 6 เดือนแรก ซึ่งทำให้การเดินทางโดยพาเด็กทารกอายุ 6 เดือนหรือต่ำกว่าไปด้วยนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ไม่จำเป็นต้องกังวลว่าจะให้ลูกกินอะไรในระหว่างที่อยู่บนรถ เพราะแค่มีคุณแม่อยู่ด้วยก็พอแล้ว!
ผ้าคลุมให้นม ผ้าสารพัดประโยชน์: ผ้าคลุมจะช่วยให้คุณให้นมลูกได้อย่างสบายใจยิ่งขึ้นในขณะเดินทาง ควรลองซ้อมจัดท่าอุ้มป้อนที่สะดวกสบายดูหลายๆ ท่าตั้งแต่ก่อนออกเดินทาง
ถ้าคุณใช้เครื่องปั๊มน้ำนมขนาดใหญ่อยู่ ให้ลองมองหาเครื่องปั๊มอีกเครื่องที่พกพาได้ คุณอาจจะต้องพกน้ำนมที่ปั๊มออกมาแล้วไปด้วยหากต้องเดินทางไกล ภาชนะเก็บน้ำนมหรือกระติกที่เก็บความเย็นจะช่วยยืดอายุของน้ำนมนี้ได้
ถ้าคุณเดินทางด้วยเครื่องบิน ให้ลองศึกษาดูว่านโยบายของสายการบินและสนามบินได้กำหนดเรื่องการพกพาของเหลวประเภทน้ำนมแม่เอาไว้ว่าอย่างไร และขอให้เจ้าหน้าที่บนเครื่องบินช่วยดูแลเรื่องการเก็บน้ำนมไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม
ต้องแน่ใจว่าน้ำนมนั้นปลอดเชื้อ และใส่ในหีบห่อที่อากาศเข้าไม่ได้ เพื่อไม่ให้เชื้อโรคปนเปื้อน อาจจะขอความช่วยเหลือจากพนักงานบนเครื่องบินที่จะช่วยเตรียมน้ำนมให้อยู่ในอุณภูมิที่พอเหมาะได้ จำไว้ว่าอย่าอุ่นนมแม่โดยตรงเด็ดขาด เพราะจะทำลายสารอาหารและภูมิคุ้มกันที่อยู่ในน้ำนม แต่ให้อุ่นนมด้วยการนำขวดนมไปวางในน้ำอุ่น จนน้ำนมในขวดมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิร่างกาย
เก็บสต็อกน้ำนมยามต้องเดินทางไกล บางครั้งอาจมีสถานการณ์จำเป็นที่ทำให้คุณต้องเดินทางโดยไม่พาลูกไปด้วย ในกรณีนั้น คุณจำเป็นต้องวางแผนจัดเก็บน้ำนมไว้ล่วงหน้า ให้เริ่มปั๊มน้ำนมไว้มากกว่าปริมาณที่ลูกกิน ตั้งแต่ 2-3 สัปดาห์ก่อนถึงกำหนดเดินทาง
อย่าลืมเขียนฉลากติดถุงน้ำนมไว้ให้ชัดเจนและกำชับวิธีดูแลและวิธีอุ่นนมให้กับคนที่มาดูแลลูกให้คุณด้วย
ระหว่างเดินทาง คุณแม่อาจจะมีอาการแน่นคัดเต้าเป็นระยะ แม้ว่าการบีบน้ำนมออกจะพอบรรเทาอาการได้ แต่การลงทุนซื้อเครื่องปั๊มนมขนาดพกพาก็จะมีประโยชน์มากสำหรับการเดินทาง อย่าลืมนำถุงเก็บน้ำนม กระเป๋าเก็บความเย็น และ และอุปกรณ์เสริมของเครื่องปั๊มติดตัวไปด้วย
กันไว้ดีกว่าแก้ด้วยการซื้อเจลเย็นถนอมอาหารเตรียมไว้สักอัน บางครั้งเที่ยวบินอาจล่าช้าได้ และคุณจะได้ไม่ต้องจะมานั่งเครียดว่าน้ำนมจะเสียหรือไม่
ถ้าคุณวางแผนที่จะจัดเก็บน้ำนม แล้วโหลดลงใต้ท้องเครื่อง ก็ต้องค้นคว้านโยบายของสายการบิน/สนามบินก่อนเช่นกัน และควรเผื่อเวลาสำหรับไปหาซื้อน้ำแข็งแห้งไว้ในตารางเดินทางด้วย
และคุณอาจต้องการสอบถามโรงแรมที่คุณจะไปพักด้วยว่า ที่โรงแรมมีเครื่องฆ่าเชื้อที่คุณจะสามารถใช้ได้หรือเปล่า ถ้าไม่เช่นนั้นคุณก็สามารถหาเครื่องฆ่าเชื้อที่มีขนาดเล็ก หรืออุปกรณ์เสริมที่พกพาในระหว่างเดินทางได้ เพื่อนำมาใช้งานร่วมกับเครื่องปั๊มของคุณ
สิ่งที่แม่ให้นมต้องเตรียม นี่คือรายการคร่าวๆ ที่คุณต้องนำไปด้วย
• เครื่องปั๊ม และกระเป๋าเก็บน้ำนม
• ผ้าคลุมให้นม
• กล่องหรือกระติกสำหรับใส่น้ำนม และเจลเย็น
รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม ถ้าคุณไม่คุ้นเคยกับการใช้เครื่องปั๊มเครื่องใหม่ และจะต้องใช้เครื่องนี้ในช่วงเดินทาง ให้ลองใช้เครื่องก่อนถึงวันเดินทางหลายๆ สัปดาห์ เพื่อที่จะได้เคยชินกับเครื่องและไม่ไปเครียดในช่วงเดินทาง
ถ้าคุณวางแผนเดินทางไว้ว่าจะต้องอยู่ห่างกับลูกเป็นช่วงเวลาค่อนข้างนาน และตั้งใจจะให้นมแม่ต่อหลังจากที่กลับมาแล้ว คุณจะต้องรักษาระดับการผลิตน้ำนมไว้ให้สม่ำเสมอ ด้วยการปั๊มน้ำนมบ่อยครั้งและนานมากขึ้น ร่วมกับการกินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และใช้อาหารเสริมช่วยบำรุงน้ำนม หรือลองสอบถามคุณหมอ หรือที่ปรึกษาด้านการให้น้ำนมของคุณเพื่อให้ช่วงวางแผนดู
การเดินทางมักจะทำให้เกิดความเครียด แต่อย่าทำให้การให้นมแม่มาเพิ่มความเครียดให้มากขึ้น เพราะเพียงทำตามที่เราแนะนำ ก็สนุกกับการเดินทางและให้นมไปพร้อมกันได้ ขอให้เหล่าคุณแม่เดินทางอย่างมีความสุข!
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน แต่บางครั้งก็อาจรู้สึกว่าตารางชีวิตแน่นเกินกว่าจะหยุดพักและนึกถึงความชื่นใจของการเป็นแม่ ดังนั้น ลองหาเวลาเล่นกับลูก มอบความรักความอบอุ่นที่มีคุณค่าที่สุดให้แก่ดวงใจดวงน้อยของคุณ ในช่วงเวลาเงียบๆ แบบที่ไม่ต้องรีบร้อนไปไหน
ลูกน้อยวัย 2 เดือน
ผ้าอ้อมเป็นของใช้จำเป็นที่สุดสิ่งหนึ่งที่ต้องใช้ เพราะการขับถ่ายของลูกๆ โดยเฉพาะทารกในช่วงแรกยังไม่สามารถควบคุมได้ ผ้าอ้อมที่เรารู้จักกันมีทั้งผ้าอ้อมชนิดผ้า และผ้าอ้อมสำเร็จรูป ลองมาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียเพื่อตัดสินใจกันดีกว่าค่ะ
วิธีเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อย ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป พบกับบทความเกี่ยวกับการดูแลลูกน้อยวัยซน เคล็ดลับต่างๆ พร้อมวิธีเพิ่มพัฒนาการของลูกรัก
เมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 6 เดือน เด็กจะคอแข็งขึ้น สามารถจับให้นั่งอยู่บนเก้าอี้สูงเพื่อรับประทานอาหารเองได้แล้วค่ะคุณแม่
ตรวจสอบข้อมูลโดย
ลูกน้อยวัย 8เดือน
ลูกน้อยวัย 1 เดือน