การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
พญ. สินดี จำเริญนุสิต กุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก โรงพยาบาลเวชธานี
คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกได้เคลื่อนไหวอย่างอิสระ เมื่อลูกน้อยถึงวัย 6-7 เดือน จะมีพัฒนาการหลายด้านที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด การเคลื่อนไหวร่างกายของลูกจะมีเป้าหมายมากขึ้น โดยเริ่มจะพัฒนาความสามารถใหม่ๆ เช่น การใช้มือ การหยิบจับ ซึ่งเป็นทักษะใหม่ที่ลูกกำลังตื่นเต้น และเป็นแรงผลักดันให้ลูกน้อยอยากสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว
พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของลูกน้อยวัยนี้ บางคนจะสามารถคลาน หรือคืบไปมาได้ดีขึ้น ลูกจะสามารถเอาเท้าวางกับพื้นแล้วเด้งตัวขึ้นคล้ายกระโดด หากคุณพ่อคุณแม่ยกตัวลูกขึ้น หรือเมื่อจับให้นั่งลูกก็จะสามารถนั่งทรงตัวได้โดยมีมือช่วยยัน หรือนั่งพิงเก้าอี้ได้ ด้วยเหตุนี้คุณพ่อคุณแม่จึงควรส่งเสริมให้ลูกได้มีอิสระในการเคลื่อนไหว เปิดโอกาสให้ลูกได้สำรวจสิ่งต่างๆ และเรียนรู้สิ่งรอบด้านด้วยตัวเองบ้าง เพราะพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อนั้นส่วนหนึ่งต้องมาจากการได้ลองผิดลองถูก ภายใต้การดูแลของคุณแม่ ที่สำคัญลูกจะต้องมีแรงจูงใจที่อยากจะเคลื่อนไหวด้วย เช่น ให้คุณแม่นำของเล่นมาล่อเพื่อให้เด็กลูกอยากคลานมาหยิบ หรือ เริ่มเล่นจ๊ะเอ๋ ทำหน้าตาตลกๆ เพื่อให้ลูกสนใจและรู้สึกสนุก ซึ่งการนำของเล่นมาวางให้ ลูก หรือชักชวนลูกมาหยิบจับ ลูกก็จะพยายามเอื้อมหยิบของได้ และฝึกการคว้าจับได้แม่นยำขึ้น รวมถึงลูกยังได้หยิบของเล่นมามองและพิจารณา เรียนรู้สีสัน รูปทรง และอาจเริ่มใช้นิ้วโป้งและนิ้วอื่นหยิบของได้มากขึ้น ซึ่งคุณแม่จึงควรใส่ใจดูแลของเล่น ว่าสะอาดปลอดภัย ไม่มีชิ้นส่วนเล็กๆที่อาจจะหลุดจนทำให้ลูกหยิบเข้าปากเป็นอันตรายได้ค่ะ
นอกจากการเล่นกับลูกให้เคลื่อนไหวอย่างสนุกสนานแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรต้องใส่ใจเสื้อผ้าของลูกด้วย เพราะการไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น มีเนื้อผ้านุ่มสบาย ไม่เสียดสีผิวหนัง จะช่วยให้ลูกเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่ว ผ้าอ้อมที่สวมใส่ก็ควรกระชับพอดีตัว ไม่เทอะทะ รวมทั้งควรเป็นผ้าอ้อมที่ใส่ง่ายและถอดออกได้สะดวก แต่หากให้ลูกใส่ผ้าอ้อมที่หนาเทอะทะเกินไป ก็จะยิ่งทำให้ลูกอึดอัด รำคาญ นั่งหรือเคลื่อนไหวเวลาเล่นเรียนรู้ได้ลำบาก ทั้งยังอาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ของลูก ทำให้ลูกหงุดหงิดอารมณ์ไม่ดีได้อีกด้วย
สุดท้ายคือ ลูกน้อยวัยนี้เริ่มสนุกกับการเล่น และสร้างความผูกพันกับพ่อแม่ จดจำเสียง หน้าตาของพ่อแม่ได้ และเมื่อเริ่มเล่นเป็นมากขึ้นก็จะส่งผลให้ไม่อยากนอนหลับโดยเฉพาะการนอนกลางวัน ดังนั้นเมื่อถึงเวลานอนควรสร้างบรรยากาศให้น่านอน และควรให้ลูกใส่ผ้าอ้อมที่กระชับและซึมซับดี เพื่อช่วยให้ลูกนอนหลับได้ดีและสบายตัวค่ะ
PopupSummary
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน แต่บางครั้งก็อาจรู้สึกว่าตารางชีวิตแน่นเกินกว่าจะหยุดพักและนึกถึงความชื่นใจของการเป็นแม่ ดังนั้น ลองหาเวลาเล่นกับลูก มอบความรักความอบอุ่นที่มีคุณค่าที่สุดให้แก่ดวงใจดวงน้อยของคุณ ในช่วงเวลาเงียบๆ แบบที่ไม่ต้องรีบร้อนไปไหน
ลูกน้อยวัย 2 เดือน
สำหรับคุณแม่โดยส่วนใหญ่แล้ว ระยะแรกของการเจ็บครรภ์คลอดนั้นมักจะเป็นช่วงเวลายาวนานที่สุดและเจ็บที่สุดของคุณแม่ เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
เด็กวัย 5 เดือน
คุณพ่อคุณแม่ทุกคนคงเคยเห็นตารางพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยที่แปะไว้ในห้องคุณหมอเด็กกันแล้วใช่ไหมคะ ถ้าอยากช่วยให้กล้ามเนื้อของลูกน้อยมีพัฒนาการสมวัย ลองทำกิจกรรมเหล่านี้ดูค่ะ
ช่วงวันแรก ๆ หลังคลอด เด็กน้อยจะเอาแต่นอนแทบทั้งวันทั้งคืน บางทีอาจนอนมากถึง 20 ชั่วโมง! ระหว่างที่ลูกหลับ คุณพ่อคุณแม่อาจเห็นเขายิ้ม หัวเราะคิกคัก ร้องไห้ หรือแม้แต่ร้องคราง ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าการนอนมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตวัยแรกเริ่ม เพราะการเจริญเติบโตส่วนใหญ่ของเด็กทารกก็เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้นี่เอง นี่คือเกร็ดความรู้เรื่องการนอนของเด็กทารกที่คุณอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน
มีความท้าทายอยู่มากมายเลยสำหรับการเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ในสัปดาห์แรกหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นการพักฟื้นหลังคลอด การให้นมและการกล่อมลูกน้อยเรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
อาจารย์แพทย์หญิงดวงรัตน์ วังเกล็ดแก้ว
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090