การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
พัฒนาการของทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกที่คลอดก่อนกำหนด คือ ทารกที่คลอดก่อนมีอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ โดยปกติของมนุษย์เรา คุณแม่จะต้องมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 38-42 สัปดาห์ค่ะ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดเราเรียกอีกชื่อหนึ่งกันว่า พรีมมี่ (Preemie) ที่ย่อมาจาก Premature Baby นั่นเอง ตามหลักการแล้วทารกจะอยู่ในมดลูกจนกว่าจะโตเต็มที่ตามระยะเวลาที่กำหนด แต่ด้วยเหตุผลหลายประการจึงทำให้การตั้งครรภ์ไม่ได้เป็นไปตามที่เราคาดหวังเสมอไป ทุกวันทุกสัปดาห์ทารกน้อยจะเจริญเติบโตในมดลูกของคุณแม่ ทำให้ขนาดลำตัว การเจริญเติบโตและพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามวันและเวลา แต่สำหรับลูกน้อยที่คลอดก่อนกำหนดแล้ว เราอาจจะไม่ได้เห็นการเจริญเติบโตของเขาที่ชัดเจนเหมือนเด็กคนอื่น ๆ จึงทำให้เราต้องใส่ใจดูแลเขามากเป็นพิเศษค่ะ เมื่อลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลกก่อนกำหนด อาจก่อเกิดปัญหาทางสุขภาพและพัฒนาการของพวกเขาที่เราต้องคอยจัดการกันอย่างระมัดระวังในทุกขั้นตอน คุณแม่จะต้องจำไว้ว่า เด็กทารกแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เด็กบางคนอาจมีระยะเวลาการตั้งครรภ์เท่ากัน แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะมีภาวะแทรกซ้อนเหมือนกันค่ะ เช่นเดียวกับกรณีของทารกที่มีอายุครรภ์ครบตามกำหนดที่ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่า ทารกน้อยจะออกมามีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์หลังคลอด เพราะสภาวะการตั้งครรภ์ คุณแม่และลูกน้อยทุกคนล้วนมีความแตกต่างกันค่ะ ยิ่งลูกน้อยคลอดก่อนกำหนดเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีแนวโน้มจะมีปัญหาด้านสุขภาพและพัฒนาการมากขึ้นเท่านั้น เราจึงต้องเฝ้าระวังตั้งแต่เนิ่นๆ และดูแลครรภ์ก่อนถึงเวลาคลอดให้ดีที่สุด การเฝ้าระวังการคลอดก่อนกำหนดเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับทุกคน โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีความเสี่ยงสูงค่ะ อายุของทารกคลอดก่อนกำหนด • อายุครรภ์ของทารกที่น้อยที่สุดจะคลอดก่อนกำหนดมีอายุครบ 26 สัปดาห์ • อายุครรภ์ของทารกที่มีระดับปานกลางจะคลอดก่อนกำหนดระหว่าง 32-35 สัปดาห์ • อายุครรภ์ของทารกที่นานที่สุดจะคลอดก่อนกำหนดระหว่าง 35-37 สัปดาห์ ปัญหาของการคลอดก่อนกำหนด • ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย เด็กทารกทั่วไปมีน้ำหนัก 3,500 กรัม หรือ 3.5 กิโลกรัม • มีภาวะหายใจลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกที่คลอดก่อนมีอายุครบ 28 สัปดาห์ ซึ่งเป็นอาการของทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่จะมีสภาวะหยุดหายใจชั่วขณะ หรือ การหยุดหายใจในระยะสั้น ๆ • มีภาวะหัวใจเต้นช้า หรือ อัตราการเต้นของหัวใจเต้นช้าลง ซึ่งสามารถให้ยาได้เพื่อช่วยการเต้นของหัวใจ และ มีรูปแบบการหายใจทำงานได้เป็นปกติ • โรคดีซ่าน เนื่องจากตับยังเติบโตไม่เต็มที่ • โรคโลหิตจาง • ระดับแคลเซียมและกลูโคสในเลือดต่ำ • อวัยวะหรือระบบต่างๆ ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ • ให้อาหารลำบาก และมีปัญหาในการย่อยอาหาร • รับนมแม่ได้ช้ากว่าทารกทั่วไป • พักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน • มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ และมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ • ควบคุมอุณหภูมิร่างกายของตัวเองได้ยาก • สมองพิการ • มีปัญหาด้านการมองเห็นและการได้ยิน • มีความบกพร่องทางสติปัญญาและมีปัญหาด้านการเรียนรู้ • การคลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงสูงที่ลูกน้อยจะมีปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรมตลอดวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น • ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับความผูกพันทางอารมณ์และความรัก • บางครั้งทารกที่คลอดก่อนกำหนดก็เสียชีวิตก่อน เพราะพวกเขายังเจริญเติบโตไม่เต็มที่พอจะมีชีวิตรอดได้ ปัญหาการคลอดก่อนกำหนดในระยะยาว • การติดเชื้อทางเดินหายใจ • มีแนวโน้มจะเป็นโรคหอบหืด • มีโอกาสที่จะต้องเข้าโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง • มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคการเสียชีวิตเฉียบพลันในเด็กทารก (SIDS) สาเหตุการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด การคลอดก่อนกำหนดไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดค่ะ ในงานวิจัยบางชิ้นก็อ้างว่า โรคอ้วนทั้งก่อนและระหว่างคลอดของคุณแม่เป็นสาเหตุที่ทำให้อัตราทารกที่คลอดก่อนกำหนดเพิ่มสูงขึ้นในปีที่ผ่าน ๆ มา อีกทั้งเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ก็เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกหลายคน และคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมาก ทั้งสองปัจจัยนี้มีผลให้อัตราการคลอดก่อนกำหนดเพิ่มมากขึ้น คุณแม่บางคนก็มีการเจ็บครรภ์คลอดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และแม้ว่าจะทำการรักษาเพื่อยับยั้งการคลอดก่อนกำหนดแล้วก็ไม่สามารถหยุด และยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดไว้ได้ค่ะ สภาวะสุขภาพบางอย่างของคุณแม่อาจทำให้มดลูกเกิดความเสี่ยงบางอย่าง จึงมีผลให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาให้ทารกต้องคลอดก่อนกำหนด เพื่อความปลอดภัยของทารกมากกว่าที่จะอยู่ในมดลูกต่อไปค่ะ นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่คุณแม่จะมีความปลอดภัยในการคลอดลูกก่อนกำหนดมากกว่าการคลอดตามแผนที่วางไว้ค่ะ ในกรณีเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่จะต้องพิจารณาให้ดีในการเลือกประโยชน์ด้านสุขภาพของทารกในครรภ์กับการคลอดก่อนกำหนดที่จะต้องเกิดขึ้น
คุณแม่จะได้คลอดลูกแบบธรรมชาติอยู่หรือไม่ คำตอบคือทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีโอกาสที่จะคลอดออกมาได้ทั้งทางช่องคลอดและการผ่าคลอดค่ะ หากคุณแม่มีอาการน้ำเดินก่อนกำหนด หรือ ถุงน้ำคร่ำแตกและไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ คุณแม่ก็สามารถคลอดลูกได้ทางช่องคลอดค่ะ แต่ถ้าหากมีข้อกังวลว่า การคลอดทางช่องคลอดอาจทำให้ทารกเกิดความเครียด และบาดเจ็บ เนื่องจากความรุนแรงของภาวะคลอดกำหนด จึงจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อนำลูกน้อยออกมาค่ะ ปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด • คุณแม่เคยผ่านการคลอดก่อนกำหนดมาก่อน • คุณแม่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ • คุณแม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (PIH) • คุณแม่ตั้งครรภ์ลูกแฝด แฝด 3 หรือมากกว่านั้น • คุณแม่ผ่านการมีลูกมาแล้วมากกว่า 4 คนหรือมากกว่านั้น • คุณแม่มีการบาดเจ็บ • คุณแม่มีภาวะรกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนดหรือรกเสื่อม • คุณแม่เป็นโรคอ้วน • มดลูก หรือ ปากมดลูกมีความผิดปกติ • คุณแม่มีอาการเจ็บป่วยฉับพลัน • เกิดอาการน้ำเดินก่อนกำหนด กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน อาการกลุ่มนี้พบบ่อยในทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่มีผลมาจากปอดที่เจริญเติบโตไม่เต็มที่ ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดเร็วขึ้นเท่าไหร่ ก็สุ่มเสี่ยงที่จะมีภาวะหายใจลำบากเฉียบพลันมากขึ้นเท่านั้น ภาวะนี้เกิดจากสารที่เรียกว่า สารลดแรงตึงผิวจะเริ่มถูกผลิตหลังการตั้งครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์ ดังนั้นทารกที่คลอดก่อนมีอายุครบ 28 สัปดาห์จึงมีภาวะการหายใจลำบากค่ะ เนื่องจากสารลดแรงตึงผิวจะช่วยให้ถุงลมเล็ก ๆ ของทารกเปิดรับอากาศเข้ามาหายใจและถ้าหากปอดของทารกรับอากาศไม่เพียงพอ ก็ไม่สามารถทำให้ช่องทางเดินหายใจทำการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ได้ค่ะ นอกจากนี้โรคอาการหายใจลำบากเฉียบพลันยังมีอากาศพัฒนาไปสู่โรคหอบหืดในทารกได้ในปีแรก ๆ ค่ะ
โอกาสมีชีวิตรอดของทารกคลอดก่อนกำหนด โอกาสที่ทารกจะมีชีวิตรอดขึ้นอยู่กับอายุครรภ์และน้ำหนักแรกเกิดค่ะ สำหรับทารกที่คลอดเมื่อมีอายุ 24 สัปดาห์จะมีอัตราการรอดชีวิตประมาณ 58 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้ามีอายุประมาณ 28-30 สัปดาห์ อัตราการรอดชีวิตก็จะสูงขึ้นถึง 98 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่านั้น ศูนย์ทารกแรกเกิดวิกฤตจะอยู่ในแผนกโรงพยาบาลสำหรับคลอดบุตร การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษจากแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ การให้ความอบอุ่นลูกน้อยด้วยการพักลูกอยู่ในตู้อบเป็นสิ่งที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ อีกยังจะต้องให้ของเหลวและยาปฏิชีวนะทางเส้นหลอดเลือดดำยามจำเป็นค่ะ เมื่อลูกน้อยยังเจริญเติบโตไม่พอที่จะหายใจได้เอง พวกเขาจึงต้องทำให้ใส่ท่อเข้าไปทางปาก หรือ จมูกลงไปยังหลอดลม (ท่อลม) และใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อให้ทารกหายใจนำออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้เป็นปกติค่ะ อีกทั้งพวกเขายังต้องติดเครื่องวัดชีพจรและตรวจสอบอุณหภูมิ รวมถึงการเจาะน้ำเกลือที่แขน หรือ ผ่านสะดือค่ะ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะแจ้งเตือนกับทางโรงพยาบาล หากสภาพร่างกายของทารกมีการเปลี่ยนแปลงโดยทันทีค่ะ ทารกบางคนจะต้องอยู่ในห้องดูแลพิเศษ หรือ ในห้องทารกวิกฤตแรกเกิดเป็นเวลาหลายสัปดาห์ แต่ถ้าในกรณีทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจจะต้องอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายเดือนค่ะ ด้วยการดูแลที่ดีก็สามารถเพิ่มโอกาสให้ลูกน้อยที่คลอดก่อนกำหนดมีชีวิตและสุขภาพที่ดีได้ค่ะ การตรวจพบ และการจัดการกับลูกน้อยที่มีพัฒนาการล่าช้าตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของลูกน้อยและครอบครัวดีขึ้นได้ หน่วยทารกแรกเกิดในแต่ละที่มีการติดตามผล และกระบวนการประเมินพัฒนาการและสุขภาพเด็กในโรงพยาบาล ซึ่งขึ้นอยู่สภาพของทารกที่คลอดก่อนกำหนดในแต่ละคน การตรวจสภาพร่างกายพื้นฐานจะเริ่มสามารถตรวจได้ในวัยเด็ก โดยทีมแพทย์ที่ดูแลเด็ก ๆ จะประกอบไปด้วยกุมารแพทย์ นักประสาทวิทยา พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด อรรถบำบัดและนักโภชนาการล้วนมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดค่ะ หากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ว่า พ่อแม่ของทารกที่คลอดก่อนกำหนด ควรปฏิบัติอย่างไร? สามารถคลิกไปอ่านข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน แต่บางครั้งก็อาจรู้สึกว่าตารางชีวิตแน่นเกินกว่าจะหยุดพักและนึกถึงความชื่นใจของการเป็นแม่ ดังนั้น ลองหาเวลาเล่นกับลูก มอบความรักความอบอุ่นที่มีคุณค่าที่สุดให้แก่ดวงใจดวงน้อยของคุณ ในช่วงเวลาเงียบๆ แบบที่ไม่ต้องรีบร้อนไปไหน
ลูกน้อยวัย 2 เดือน
ปัจจุบันผ้าอ้อมในท้องตลาดมีหลายประเภทและหลายขนาด ซึ่งอาจนับว่าเป็นงานช้างสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่เลยทีเดียว ที่จะเลือกผ้าอ้อมที่ดีที่สุดให้กับลูก
การได้กลับไปทำงานนับเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายคน ซึ่งเป็นโอกาสครั้งใหญ่ในการพิจารณาเปลี่ยนงานใหม่ เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการคลานเกี่ยวข้องกับความสามารถในการเรียนรู้ในช่วงเด็กกำลังโตย่างเข้าวัย 10 เดือนถึงขวบนึง เพราะการเคลื่อนไหวแขนขาแต่ละข้างเป็นการช่วยเชื่อมสมองซีกซ้ายและขวา โดยช่วงนี้คุณแม่ไม่จำเป็นต้องใช้รถหัดเดินเพราะจะทำให้ลูกน้อยมีโอกาสในการคลานลดลงและยังไม่ปลอดภัยอีกด้วย อีกสิ่งที่สำคัญ คือ ความสะอาดที่เป็นเรื่องยากที่คุณแม่จะดูแลความสะอาดให้กับลูกน้อยวัยนี้โดยเฉพาะเมื่อเค้าออกสำรวจตามที่ลานดินหรือสวนสาธารณะ ดังนั้น หลังลูกเล่นเสร็จคุณแม่ควรเลือกใช้สินค้าที่อ่อนโยนและปลอดภัยต่อเด็ก
อาจารย์แพทย์หญิงดวงรัตน์ วังเกล็ดแก้ว
นมแม่เป็นอาหารที่มีคุณค่ามากที่สุดสำหรับลูกน้อยได้ตั้งแต่แรกเกิด เป็นอาหารที่หล่อเลี้ยงชีวิตเสริมสุขภาพของเด็กทารกให้มีความแข็งแรง มาดูกันค่ะมีอะไรบ้าง
วิธีเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อย ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป พบกับบทความเกี่ยวกับการดูแลลูกน้อยวัยซน เคล็ดลับต่างๆ พร้อมวิธีเพิ่มพัฒนาการของลูกรัก