การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
อาการวิตกกังวลหลังคลอด อาการวิตกกังวลหลังคลอดเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคนค่ะ แต่ถูกมองว่าเป็นความเครียดอยู่บ่อยครั้ง หรือ ถูกจัดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของแต่ละคน อย่างเช่น เป็นคนเจ้าระเบียบ หรือ เป็นคนที่รักความสมบูรณ์แบบ ในขณะที่คนทั่วไปกำลังประสบภาวะวิตกกังวลเป็นบางครั้ง เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด แต่กับคุณแม่บางคนความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นกับพวกเขาตลอดเวลา และสามารถส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงดูและความสุขที่มีต่อลูกน้อยได้ในแต่ละวันค่ะ บ่อยครั้งที่ผู้คนที่มีอาการวิตกกังวลจะหาทางปลีกตัวออกจากผู้คนหรือสถานการณ์ที่ทำให้พวกเขารู้สึกกังวล อย่างไรก็ตามวิธีนี้เป็นเพียงการแก้ปัญหาเบื้องต้นเท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็อาจทำให้ภาวะนี้รุนแรงมากขึ้น และอาจทำให้ภาวะวิตกกังวลนี้เป็นไปในทางที่แย่ลงได้ค่ะ คำว่า วิตกกังวล เป็นคำทั่วไปที่ใช้จํากัดความของสภาวะดังกล่าว ซึ่งภาวะวิตกกังวลที่พบบ่อยมีดังนี้ • มีความรู้สึกกลัวและกังวลที่เริ่มครอบงำความคิดของตัวเองตลอดเวลา • มีความรู้สึกหงุดหงิด กระสับกระส่ายและตึงเครียดที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง • ใจเต้นแรง ใจสั่น หรือ บางครั้งมีภาวะตื่นตระหนก • หวนคิดถึงเรื่องที่ไม่ได้ทำให้ถูกต้องหรือกังวลเกี่ยวกับสิ่งแย่ ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับลูกหรือคนรอบข้าง • นอนไม่หลับ ถึงแม้ว่ามีโอกาสที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่กลัวว่าจะเกิดขึ้นได้ แต่ในปัจจุบันมีการรักษาภาวะวิตกกังวลที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น การให้ยาและการใช้กลยุทธ์ทางจิตวิทยา (ยาบางชนิดสามารถใช้ได้ระหว่างให้นมลูก) ทางที่ดีคุณแม่ควรขอความช่วยเหลือหรือรักษาอาการวิตกกังวลตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการบอกคนรอบข้างอย่างสามี หรือคุณพ่อคุณแม่ของตัวคุณแม่เอง อย่าปล่อยให้ความรู้สึกเหนื่อยหล้า กังวลใจจากการเลี้ยงลูกน้อยมาครอบงำและควบคุมได้นะคะ หากเริ่มรู้สึกว่าอาการหนักหน่วงมากขึ้นคุณแม่ควรจะรีบไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้เร็วที่สุดนะคะ การปรึกษาแพทย์ไม่ใช่คนบ้า แต่เป็นการที่เราจะได้พูดคุยถึงปัญหาและรักษาอย่างถูกวิธีค่ะ
อาการวิตกหลังคลอดสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลายท่านเป็นปกติค่ะ คุณแม่ไม่ต้องกังวลมากเกินไปนะคะ ลองนำเทคนิคดีจากๆเราไปปรับใช้อาจช่วยให้คุณแม่รู้ทันได้ไม่ยากค่ะ และหากคุณแม่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้ออื่น ๆ สามารถติดตามอ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน แต่บางครั้งก็อาจรู้สึกว่าตารางชีวิตแน่นเกินกว่าจะหยุดพักและนึกถึงความชื่นใจของการเป็นแม่ ดังนั้น ลองหาเวลาเล่นกับลูก มอบความรักความอบอุ่นที่มีคุณค่าที่สุดให้แก่ดวงใจดวงน้อยของคุณ ในช่วงเวลาเงียบๆ แบบที่ไม่ต้องรีบร้อนไปไหน
ลูกน้อยวัย 2 เดือน
คุณแม่คะ จำได้ไหมว่านานแค่ไหนแล้วที่คุณไม่ได้หลับสนิท (หลับเพราะเหนื่อยจัดไม่นับนะคะ) นานแค่ไหนแล้วที่คุณไม่ได้ตื่นมาพบกับแสงแดดยามเช้าอันอ่อนละมุน แสงจ้าที่สาดเช้ามาอย่างอบอุ่น (นอนกลางวันแล้วแดดแยงตาก็ไม่นับนะคะ)
พอเจ้าตัวน้อยเติบโตเข้าสู่ช่วงวัย 6 เดือน คุณแม่จะได้เจอเรื่องน่าดีใจอย่างหนึ่งก็คือ ฟันซี่แรกของลูกจะงอกออกมาให้เห็นแล้ว คุณแม่สามารถเริ่มให้น้องกินอาหารเสริมประเภทอาหารบดนุ่มๆเสริมจากนมแม่ได้แล้วนะคะเพื่อให้เขาอิ่มพอดีในแต่ละมื้อ
ลูกน้อยวัย 7 เดือน
อาจารย์แพทย์หญิงดวงรัตน์ วังเกล็ดแก้ว
คุณพ่อคุณแม่ทุกคนคงเคยเห็นตารางพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยที่แปะไว้ในห้องคุณหมอเด็กกันแล้วใช่ไหมคะ ถ้าอยากช่วยให้กล้ามเนื้อของลูกน้อยมีพัฒนาการสมวัย ลองทำกิจกรรมเหล่านี้ดูค่ะ
ทารกที่คลอดก่อนกำหนด คือ ทารกที่คลอดก่อนมีอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ โดยปกติของมนุษย์เรา คุณแม่จะต้องมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 38-42 สัปดาห์ค่ะ
การกลับไปทำงานวันแรกหลังลาคลอดเป็นช่วงเวลาทรมานใจมิใช่น้อย นี่จะเป็นครั้งแรกที่แม่ลูกต้องอยู่ห่างกัน เมื่อไม่ได้อยู่ดูแลลูกอย่างใกล้ชิด คุณแม่ก็มักกังวลไปหมดทั้งเรื่องการเลี้ยง ความสะอาด และอาหารของลูก คุณแม่ที่ทำงานนอกบ้านส่วนใหญ่มักหาผู้ช่วย เช่น พ่อแม่ สามี หรือญาติ ๆ มาดูแลเจ้าตัวเล็กให้ บางคนก็จ้างพี่เลี้ยงมาดูแลโดยเฉพาะหรือพาลูกไปฝากเนอสเซอรี แต่อย่างไรคุณก็ยังสลัดความกังวลออกไปไม่หมดอยู่ดี อย่ากังวลเลยค่ะ คุณแม่ทั้งหลาย นี่คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อให้แน่ใจว่าลูกจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมค่ะ