การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
เราเชื่อว่าคุณแม่ทุกคนปรารถนาให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่ดี ซึ่งอะไรจะดีไปกว่าการดื่มนมจากเต้าของคุณแม่ อย่างไรก็ตามคุณแม่บางท่านอาจจำเป็นต้องปั๊มนมใส่ขวดไว้หรือใช้นมผงชงเพื่อให้ลูกดูดจากขวด ระหว่างที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ซึ่งเป็นไลฟ์สไตล์ของคุณแม่ยุค 2020 ทั้งนี้ คุณแม่อาจเคยสังเกตพบอาการแปลก ๆ ของลูกในบางครั้ง เช่น ลูกแหวะบ่อย อาเจียน บิดตัวบ่อย ร้องไห้งอแง ฯลฯ ซึ่งตรงกับภาวะที่ทางการแพทย์เรียกว่า อาการ overfeeding ที่เกิดจากการดื่มนมมากเกินไป ก็เป็นไปได้ อยากให้ลูกน้อยเติบโตสมวัย อารมณ์แจ่มใส สุขภาพดีและที่สำคัญคือเลี้ยงง่าย ร่าเริงเป็นที่น่าเอ็นดูของคุณพ่อคุณแม่และทุกคนที่ได้พบเห็น คุณแม่ทุกท่านต้องไม่พลาดอ่านบทความนี้จนจบ เพื่อให้รู้ถึงที่มาของภาวะ Overfeeding วิธีการสังเกตตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่าที่ลูกวัย ทารกแหวะนม หรืออาเจียนบ่อย เกิดจากการป้อนนมของคุณแม่หรือไม่จะได้แก้ไขได้อย่างถูกจุด
ภาวะ overfeeding คืออาการผิดปกติในลูกน้อยวัยทารกที่เกิดขึ้นภายในระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากระบบย่อยอาหารลูกยังไม่สมบูรณ์ เมื่อมีการดื่มนมเข้าไปปริมาณมากเกินไปจึงเกิดความไม่สบาย อึดอัด แน่นท้อง สังเกตได้จาก ทารกอาเจียน แหวะนมหรือบิดตัวบ่อย หากลูกของคุณแม่ท่านใด แสดงอาการไม่สบายตัว โดยเฉพาะหลังดื่มนม ร้องไห้โยเยบ่อยหลังกินนม โดยไม่ทราบสาเหตุและเมื่อชั่งน้ำหนักแล้วเกินเกณฑ์มาตรฐาน ก็อาจจะเกิดจากการดื่มนมมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นนมจากเต้าหรือนมขวดก็ได้
1. ทารกดื่มนมขวด แทนดูดจากเต้านมแม่โดยตรง โดยธรรมชาติแล้วลูกน้อยหลังคลอดจะสามารถเข้าเต้านมแม่แล้วใช้ปากดูดที่หัวนมแม่ เป็นการกระตุ้นการไหลของน้ำนมได้โดยอัตโนมัติ เมื่อไหร่ที่รู้สึกหิวลูกน้อยก็จะใช้ลิ้นดุนเพื่อเป็นการกระตุ้นให้นมไหลและเมื่ออิ่มก็จะหยุดพฤติกรรมนี้ทำให้น้ำนมไหลออกจากเต้านมแม่เพิ่ม จึงทำให้ลูกได้รับนมเพียงพอดีกับปริมาณกระเพาะน้อย ๆ ที่รับได้ ไม่พบปัญหา overfeeding หรือ การได้นมมากเกินไป ส่วนลูกที่ดื่มนมจากขวด คุณแม่มักมีการวัดตวงปริมาตรเอาไว้ ว่าลูกเคยดื่มนมกี่ออนซ์หรือกี่ซีซี ทำให้คาดหวังว่าลูกจะต้องดื่มนมปริมาณเท่ากันในทุก ๆ ครั้งที่ป้อนนม จึงเกิดการเขย่าให้ลูกดื่มจนหมดขวดอยู่บ่อย ๆ ซึ่งจะทำให้ลูกเกิดอาการแหวะนม อาเจียน บิดตัวปวดท้องตามมา เพราะนมที่ดูดจากขวดได้มากเกินกว่าความจุของกระเพาะนั่นเอง
2. คุณแม่มือใหม่ อยากให้ลูกหยุดงอแง คุณแม่ที่มีลูกคนแรกหลายท่านจะยังสังเกตอาการลูกไม่ค่อยเป็น เมื่อลูกน้อยตื่นแล้วร้องไห้งอแง ก็มักจะคิดว่าลูกกำลังหิวนมจึงชงนมให้ลูกดูดเพื่อให้ลูกหยุดร้องทำให้ลูกได้นมมากเกินความต้องการของร่างกาย แบบนี้จะทำให้น้ำหนักลูกมากเกินเกณฑ์มาตรฐานได้
3. รูของหัวนมแม่ใหญ่เกินไป สรีระของคุณแม่แต่ละท่านมีความแตกต่างกัน ส่วนปลายรูของหัวนมที่เป็นจุดปล่อยน้ำนมให้แก่ลูกของบางท่านอาจจะมีรูที่ใหญ่และหากคลอดลูกทารกตัวเล็ก ก็จะทำให้กระเพาะมีขนาดเล็กตามไปด้วย ผลคือเมื่อลูกดูดนมก็จะมีน้ำนมไหลออกมาเป็นปริมาณมากต่อครั้ง สังเกตได้จาก ทารกบิดตัวบ่อย หรือแหวะนม หลังจากดูดนมจากเต้าได้สักพัก
4. คุณแม่มีอาการซึมเศร้าหรือย้ำคิดย้ำทำหลังคลอด ฮอร์โมนของคุณแม่หลังคลอดจะยังไม่ปกติ ทำให้หลายท่านมีภาวะซึมเศร้าหรือยังคิดย้ำทำ โดยมีอาการหลงลืมบ่อยไม่แน่ใจว่าให้นมลูกไปแล้วหรือยังหรือให้นมเพียงพอหรือไม่ ฯลฯ เมื่อลูกร้องไห้งอแงโยเย ก็จะรีบเอาเข้าเต้าหรือชงนมขวดป้อนให้ลูกเพิ่มอยู่เรื่อย ๆ จนกว่าลูกจะหลับ เป็นต้น
ที่จริงแล้วปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการในแต่ละวันนั้น มีการศึกษาไว้โดยคุณหมอกุมารแพทย์ทั่วโลก ถ้าเป็นการเข้าเต้าลูกจะดูดนมเมื่อหิว แล้วจะหยุดเองตอนอิ่ม โดยคุณแม่ต้องเอาลูกเข้าเต้าประมาณ 2-3 ชั่วโมงครั้งหนึ่ง ส่วนคุณแม่ที่ปั๊มนมใส่ขวดหรือมีการชงนมผงใส่ขวดให้ลูกดูด ลูกจะดื่มจากขวดในปริมาตรไม่เกิน 100 ซีซี (ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 60-90 ซีซี) ต่อการดูดนมขวด 1 ครั้ง ทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง ซึ่งเป็นปริมาณที่เล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ ก็ในเมื่อกระเพาะของลูกมีขนาดเล็กตามสัดส่วนร่างกาย คุณแม่จึงต้องเข้าใจในจุดนี้และอย่ากังวลมากเกินไปหากลูกดื่มนมไม่หมดขวด
นอกจากนี้คุณแม่ที่เกรงว่าลูกจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจากน้ำนม จนเติมธัญพืช งา ถั่วเหลือง น้ำผลไม้ หรือผงโปรตีนเสริมสารอาหารต่าง ๆ ลงไปในนมขวด ตั้งแต่ลูกดื่มนมช่วงอายุไม่ถึง 6 เดือน ในจุดนี้คุณหมอผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นไว้ว่าไม่มีความจำเป็น เพราะน้ำนมของคุณแม่หรือนมผงสำหรับทารกวัยเล็กมีคุณค่าสารอาหารทางโภชนาการเพียงพออยู่แล้วสำหรับพัฒนาการของลูกน้อยวัยนี้ หากเติมสิ่งต่าง ๆ มากเกินไปจะทำให้ลูกน้ำหนักเกินเกณฑ์ได้
อาการ overfeeding เป็นเรื่องที่คุณแม่สามารถสังเกตได้จากการเลี้ยงลูกในทุก ๆ วัน เมื่อใดที่ลูกวัยทารกดื่มนมมากเกินไป มักจะมีอาการดังต่อไปนี้ 1. ทารกแหวะนม บ่อยกว่าปกติ ลูกน้อยมักมีอาการแหวะนมบ่อยจนผิดสังเกตร่วมกับท้องเสียถ่ายเหลว ตรงจุดนี้คุณแม่มือใหม่ต้องระวัง หากมั่นใจว่าไม่ได้เกิดหลังจากการดื่มนมมากเกินไป แต่ลูกมีอาการอาเจียน ท้องเสียและมีไข้ร่วมด้วย อาจเกิดการติดเชื้อในร่างกาย ลักษณะนี้ต้องรีบพาไปพบคุณหมอเด็กโดยด่วน เพื่อหาสาเหตุและรีบรักษา 2. ทารกบิดตัวบ่อย พร้อมกับร้องไห้งอแง นั่นเป็นเพราะปริมาณน้ำนมที่แน่นกระเพาะมากเกินไป ทำให้ลูกไม่สบายท้อง ท้องอืด จึงหงุดหงิด ไม่สบายตัว แสดงออกโดยการบิดตัวไปมา ซึ่งเป็นสัญชาตญาณโดยธรรมชาติของทารก ซึ่งจะแตกต่างจากการร้องไห้ด้วยสาเหตุแบบอื่น เช่น งอแง เพราะนอนไม่ตรงเวลาจากการมีผู้ใหญ่มาเล่นด้วยจนผิดเวลานอน หรือลูกร้องไห้เพราะไม่สบายเจ็บป่วย ซึ่งมักจะมีอาการไข้หรือมีผดผื่นตามลำตัวหรืออาการโคลิคที่ลูกจะร้องไห้เป็นเวลา เช่น ช่วงเวลาเย็นหรือหัวค่ำของทุกวัน เป็นต้น 3. ลูกน้อยมีเสียงร้องผิดปกติ ลูกน้อยวัยแบเบาะยังไม่สามารถสื่อสารเป็นคำพูดได้ หากรู้สึกไม่สบายตัวก็จะร้องเป็นเสียงคล้ายแพะ แกะ เป็นเสียงตัวสะกด ออ อ่าง เช่น แอะ ๆ แอ๊ะ ๆ เฉพาะช่วงหลังดื่มนม หากลูกร้องแบบนี้หลังเข้าเต้าหรือดูดนมจากขวด คุณแม่ต้องเอะใจแล้วว่าอาจจะเกิดจากการให้นมมากเกินไป 4. มีเสียงครืดคราดจากนมล้นมาที่คอหอย โดยธรรมชาติแล้ว ปริมาตรความจุในกระเพาะของลูกวัยทารกจะค่อนข้างน้อยและระบบทางเดินอาหารก็ยังย่อยไม่สมบูรณ์ ถ้าลูกน้อยได้นมมากเกินไป เด็กจะมีอาการงอแงและมีเสียงครืดคราดในลำคอ คล้ายกับมีเสมหะอยู่ข้างใน สื่อถึงปริมาณน้ำนมที่มากเกินไป จนล้นออกมาที่คอหอย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ ลูกแหวะนมบ่อย นั่นเอง
เมื่อลูกได้รับนมมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นนมจากเต้าหรือดูดนมขวด หากคุณแม่สังเกตได้ว่า ลูกวัย ทารก อาเจียน หรือ ลูกแหวะนมบ่อย งอแง โยเย บิดตัวบ่อย ลองลดความถี่และปริมาตรนมที่ให้แต่ละครั้งลงและหมั่นชั่งน้ำหนักลูกให้เพิ่มตามเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยเด็กทารกช่วงขวบปีแรก ช่วงอายุ 0-3 เดือน น้ำหนักควรเพิ่ม 600 ถึง 900 กรัมในแต่ละเดือน ช่วงอายุ 4-6 เดือน น้ำหนักจะเพิ่มในอัตราน้อยลงคือ 450 ถึง 600 กรัมในแต่ละเดือนและช่วงอายุ 7-12 เดือน น้ำหนักจะเพิ่มช้าที่สุดคือประมาณ 300 กรัมต่อเดือน หากน้ำหนักลูกเพิ่มเร็วกว่าเกณฑ์นี้ ควบคู่กับมีอาการที่กล่าวมาก็แสดงว่าลูกได้น้ำนมปริมาณมากเกินไปแล้ว คุณแม่ต้องปรับแก้ไขที่สาเหตุ เพื่อให้ลูกรู้สึกสบายตัว อารมณ์แจ่มใส ร่าเริงตลอดวัน
หากคุณแม่อยากรู้เคล็ดลับในการเลี้ยงลูกน้อยด้วยนมแม่เพื่อให้ลูกมีสุขภาพกายและใจที่ดี ขอแนะนำให้ติดตามเรื่องราวดี ๆ จาก https://www.huggies.co.th/th-th/baby เว็บไซต์ฮักกี้อย่างสม่ำเสมอเพราะมีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแม่และเด็กมาให้ความรู้แบบอ่านง่ายตอบโจทย์สำหรับคุณแม่มือใหม่
ลิ้งค์อ้างอิง -https://www.pobpad.com/overfeeding-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1 -https://happymom.in.th/th/tips/baby-general/Overfeeding-%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%A1/923 https://www.babycareadvice.com/article/detail/Is_baby_overfeeding=
PopupSummary
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน แต่บางครั้งก็อาจรู้สึกว่าตารางชีวิตแน่นเกินกว่าจะหยุดพักและนึกถึงความชื่นใจของการเป็นแม่ ดังนั้น ลองหาเวลาเล่นกับลูก มอบความรักความอบอุ่นที่มีคุณค่าที่สุดให้แก่ดวงใจดวงน้อยของคุณ ในช่วงเวลาเงียบๆ แบบที่ไม่ต้องรีบร้อนไปไหน
ลูกน้อยวัย 2 เดือน
ไวรัสอาร์เอสวี เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างในวัยทารกและวัยเด็กที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งสามารถติดต่อได้ง่ายมาก เรามีคำแนะนำมาฝากค่ะ
การขึ้นของฟัน คือ ฟันซี่แรกที่งอกออกมาจากเหงือกของลูกน้อย หรือ เรียกอีกอย่างว่า “ฟันน้ำนม” นั่นเองค่ะ เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากกันค่ะ
คุณพ่อคุณแม่ทุกคนคงเคยเห็นตารางพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยที่แปะไว้ในห้องคุณหมอเด็กกันแล้วใช่ไหมคะ ถ้าอยากช่วยให้กล้ามเนื้อของลูกน้อยมีพัฒนาการสมวัย ลองทำกิจกรรมเหล่านี้ดูค่ะ
อาจารย์แพทย์หญิงดวงรัตน์ วังเกล็ดแก้ว
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการคลานเกี่ยวข้องกับความสามารถในการเรียนรู้ในช่วงเด็กกำลังโตย่างเข้าวัย 10 เดือนถึงขวบนึง เพราะการเคลื่อนไหวแขนขาแต่ละข้างเป็นการช่วยเชื่อมสมองซีกซ้ายและขวา โดยช่วงนี้คุณแม่ไม่จำเป็นต้องใช้รถหัดเดินเพราะจะทำให้ลูกน้อยมีโอกาสในการคลานลดลงและยังไม่ปลอดภัยอีกด้วย อีกสิ่งที่สำคัญ คือ ความสะอาดที่เป็นเรื่องยากที่คุณแม่จะดูแลความสะอาดให้กับลูกน้อยวัยนี้โดยเฉพาะเมื่อเค้าออกสำรวจตามที่ลานดินหรือสวนสาธารณะ ดังนั้น หลังลูกเล่นเสร็จคุณแม่ควรเลือกใช้สินค้าที่อ่อนโยนและปลอดภัยต่อเด็ก
ทารกที่คลอดก่อนกำหนด คือ ทารกที่คลอดก่อนมีอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ โดยปกติของมนุษย์เรา คุณแม่จะต้องมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 38-42 สัปดาห์ค่ะ
นมแม่เป็นอาหารที่มีคุณค่ามากที่สุดสำหรับลูกน้อยได้ตั้งแต่แรกเกิด เป็นอาหารที่หล่อเลี้ยงชีวิตเสริมสุขภาพของเด็กทารกให้มีความแข็งแรง มาดูกันค่ะมีอะไรบ้าง
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090