การเติบโตในโลกยุคใหม่การตั้งชื่อลูกนั้นสำคัญมาก เพื่อส่งผลที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อย ให้เข้ากับสังคมไร้พรมแดนในอนาคตได้อย่างดี...
การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณน้อยแค่ไหนก็ไม่ปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์...
เมื่อกำหนดเวลาคลอดกำลังใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการคลอดด้วยตัวเองหรือคลอดธรรมชาติ...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
ลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มหัดเดินด้วยตัวเองแม้ว่ายังทรงตัวได้ไม่ดีนัก พัฒนาการในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับการปรับตัว
พัฒนาการลูกน้อยเริ่มต้นที่การเลี้ยงดู
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเป็นเรื่องสำคัญในทุกช่วงวัยของชีวิตนะคะ อย่างไรก็ตามในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ก็มีสารอาหารบางอย่างที่จำเป็นต้องเสริมเพิ่มเติมให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยมากเป็นพิเศษ ได้แก่ ธาตุเหล็ก, แคลเซียม, ไอโอดีน รวมถึง กรดโฟลิก (Folic Acid) จะต้องได้รับในปริมาณสูงกว่าปกติ หลักการรับประทานอาหารของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ควรเลือกอาหารที่มีความหลากหลายและมีสารอาหารครบถ้วน บำรุงร่างกายด้วยวิตามินและเกลือแร่อย่างเพียงพอเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อย พร้อมส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายแม่ในช่วงตั้งครรภ์ แต่ถึงแม้ว่าคุณแม่จะได้รับสารอาหารที่ดีที่สุดแล้ว ยังจำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริมให้เพียงพอและเหมาะสมกับร่างกายของคนท้องด้วยนะคะ
แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนรับประทานวิตามินเสริมโดยเฉพาะกรดโฟลิก ที่ต้องเสริมก่อนหน้าตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือนและตลอดระยะเวลา 3 เดือนของการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก กรดโฟลิกจำเป็นอย่างยิ่งต่อพัฒนาการด้านหลอดประสาทของทารก หากคุณแม่มีข้อสงสัยสามารถปรึกษากับแพทย์เรื่องการดูแลสุขภาพก่อนที่จะเลือกรับประทานวิตามินและอาหารเสริมใด ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยระหว่างอุ้มท้องนะคะ
กรดโฟลิกเป็นวิตามินในกลุ่มวิตามินบี เป็นรูปแบบอาหารเสริมเรียกว่าโฟเลต พบในผักสดหลายชนิด ในขั้นต้นกรดโฟลิกจะช่วยป้องกันไม่ให้เด็กมีพัฒนาการด้านหลอดประสาทที่ผิดปกติ โดยหลอดประสาทจะสร้างอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ในร่างกายของทารก ได้แก่ สมองและไขสันหลัง รวมถึงกระดูกที่เชื่อม 2 ส่วนเข้าด้วยกัน ดังนั้น จำเป็นมากนะคะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องได้รับกรดโฟลิกในปริมาณที่แพทย์กำหนดและเพียงพอ ถ้าคุณแม่ที่ยังไม่ได้ตั้งครรภ์แต่วางแผนว่าจะตั้งครรภ์เมื่อใด ควรจะต้องรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิกและเสริมสารวิตามินนี้ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ 1 เดือนและตลอดไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เพราะกรดโฟลิกนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เด็กทารกมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำเกินไป ทั้งยังช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตให้มีพัฒนาการทางสมอง ป้องกันโรคพิการแต่กำเนิดและและช่วยให้ร่างกายลูกน้อยแข็งแรสมบูรณ์ด้วยค่ะ
ถ้าคุณแม่วางแผนที่จะตั้งครรภ์ แนะนำให้เริ่มรับประทานอาหารเสริมกรดโฟลิกล่วงหน้าทันทีเลยค่ะ เพื่อเสริมความแข็งแรงให้ทารกในครรภ์เติบโตอย่างมีคุณภาพ กรดโฟลิกมีความสำคัญในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ แต่ถึงจะไม่ได้ตั้งครรภ์ การรับประทานกรดโฟลิกยังเป็นประโยชน์ต่อร่างกายผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์มากทีเดียว ควรเสริมกรดโฟลิกในมื้อเช้า ซึ่งจะพบมากในอาหารจำพวกขนมปังและธัญพืชนะคะ
ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ แนะนำให้คุณแม่รับประทานอาหารเสริมกรดโฟลิกทุกวัน การเลือก อาหารสำหรับคนท้อง เป็นเรื่องสำคัญนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งคุณแม่และลูกน้อยควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลตตามธรรมชาติ หรือคุณแม่ลองสอบถามแพทย์ผู้ดูแลก็ได้ค่ะว่าคนท้องควรเสริมวิตามินชนิดใดบ้าง เพราะวิตามินแต่ละยี่ห้อมีปริมาณแตกต่างกัน จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนว่ารับประทานยี่ห้อใดและปริมาณเท่าไรจึงจะเพียงพอ โดยปริมาณกรดโฟลิกที่แนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์คือ 400 ไมโครกรัมต่อวัน อาหารเสริมกรดโฟลิกโดยเฉพาะและวิตามินการตั้งครรภ์บางชนิด โดยทั่วไปมีปริมาณกรดโฟลิกเพียงพอต่อการรับประทาน 1 เม็ดต่อ 1 วัน คุณแม่จึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับสารอาหารเสริมปริมาณเพียงพอแน่นอนค่ะ แต่ถ้าคุณแม่เลือกซื้อและเลือกทานในรูปแบบวิตามินรวม ที่ใน 1 เม็ดจะมีวิตามินรวมกับวิตามินประเภทอื่น ๆ จำเป็นต้องตรวจสอบฉลากว่าแต่ละเม็ดมีปริมาณโฟเลตเท่าไรด้วยนะคะ เพราะอาหารเสริมแต่ละชนิดมีระดับวิตามินแตกต่างกันไป ควรเช็คให้ดีว่ารับประทานเท่าไรจึงจะเหมาะสมกับสารอาหารที่แม่ท้องแต่ละคนต้องการ
การรับประทานอาหารเสริมโฟเลตในระหว่างตั้งครรภ์เป็นหลักโภชนาการที่แม่ท้องควรรู้ค่ะ เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์ แหล่งอาหารที่มีโฟเลตตามธรรมชาติมากที่สุด ได้แก่ ผักใบเขียว ผักโขม หน่อไม้ฝรั่ง บล็อกโคลี่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผลไม้ตระกูลส้ม พาสลี่ จมูกข้าวสาลี ธัญพืชที่เป็นส่วนผสมในขนมปัง รวมถึงถั่วเมล็ดแห้ง และคุณสามารถลองดูปริมาณกรดโฟลิกคร่าวๆตามอาหารที่ยกตัวอย่างมาดังนี้ค่ะ • ถั่วเลนทิลต้มครึ่งถ้วย ให้โฟลิก 180 ไมโครกรัม • กระเจี๊ยบมอญต้มครึ่งถ้วย ให้โฟลิก 134 ไมโครกรัม • หน่อไม้ฝรั่งต้มสุก 6 หน่อ ให้โฟลิก 132 ไมโครกรัม • ผักปวยเล้งต้มสุกครึ่งถ้วย ให้โฟลิก 130 ไมโครกรัม • ถั่วแดงครึ่งถ้วย ให้โฟลิก 114 ไมโครกรัม • อะโวคาโดสดครึ่งผล ให้โฟลิก 80 ไมโครกรัม • น้ำส้มคั้น 1 แก้ว ให้โฟลิก 80 ไมโครกรัม • ข้าวโพดนึ่ง 1 ฝักใหญ่ ให้โฟลิก 52 ไมโครกรัม • สับปะรด 1 ขีด ให้โฟลิก 54 ไมโครกรัม
ผู้หญิงที่วางแผนมีลูกควรเสริมกรดโฟลิกอย่างน้อยเป็นเวลา 6 เดือน - 1 ปีก่อนที่จะตั้งครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนดได้มากถึง 50% หรืออย่างน้อยที่สุดควรรับประทานอาหารเสริมกรดโฟลิกก่อนตั้งครรภ์ 1 เดือนนะคะ
ข้อกำหนดขนาดของกรดโฟลิกที่เหมาะกับหญิงตั้งครรภ์ มีดังนี้ • ช่วงก่อนตั้งครรภ์ควรได้รับ 400 ไมโครกรัมต่อวัน • ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ได้รับอย่างน้อย 400 ไมโครกรัมต่อวัน • ช่วงเดือนที่ 4 ถึงเดือนที่ 9 ของการตั้งครรภ์ (ไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์) ควรได้รับ 600 ไมโครกรัมต่อวัน • ช่วงให้นมบุตรควรได้รับ 500 ไมโครกรัมต่อวัน
การขาดกรดโฟลิกทำให้เด็กทารกเกิดภาวะหลอดประสาทไม่เชื่อมติดกันหรือ Neural Tube Defect (NTD) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ • Spina Bifida หรือพัฒนาการของไขสันหลังไม่สมบูรณ์ และ • Anencephaly หมายถึงพัฒนาการของสมองส่วนสำคัญไม่สมบูรณ์
หากเด็กที่เกิดมามีภาวะไม่มีสมองหรือกะโหลกศีรษะจะทำให้เด็กเสียชีวิตตั้งแต่อายุน้อย ส่วนเด็กที่เป็นโรคที่มีความบกพร่องของไขสันหลังจะพิการไปตลอดชีวิต การรับประทานอาหารเสริมโฟลิกอย่างเพียงพอตามที่กล่าวมาจะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้กับทารกในครรภ์ค่ะ ทั้งยังลดความเสี่ยงของภาวะหลอดประสาทไม่ปิดได้ถึง 70% หากคุณแม่เคยมีประสบการณ์คลอดลูกแล้วมีปัญหา NTD มาก่อน ยิ่งจำเป็นจะต้องเพิ่มปริมาณกรดโฟลิกที่ได้รับต่อวันให้มากขึ้นกว่าคนอื่น ประมาณ 4,000 ไมโครกรัมต่อวัน หรือมากกว่าคนอื่นประมาณ 10 เท่านะคะ
ประโยชน์ข้อสำคัญคือ กรดโฟลิกจะช่วยลดความเสี่ยงพิการในลักษณะโรคปากแหว่งเพดานโหว่ การแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง โรคหัวใจ รวมถึงโรคหลอดเลือดสมองในของคุณแม่ได้ด้วยค่ะ เหตุผลที่ต้องปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์ก่อน เพราะการรับประทานกรดโฟลิกมากเกินไปจะเกิดผลเสียได้เหมือนกัน อาจส่งผลทำให้เด็กเสี่ยงเป็นโรคออทิสติก และถ้าเป็นลูกผู้หญิงอาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนเมื่อโตขึ้นค่ะ
นอกจากนี้แล้วก็ยังมีอาหารอีก 1 ชนิดที่ดีต่อสุขภาพคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ที่คุณแม่สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ น้ำมันปลาและกรดไขมันโอเมก้า 3 คุณแม่สามารถอ่านรายละเอียดในหัวข้ออื่นๆเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies ได้ตลอดเวลานะคะ และหากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
PopupSummary
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน แต่บางครั้งก็อาจรู้สึกว่าตารางชีวิตแน่นเกินกว่าจะหยุดพักและนึกถึงความชื่นใจของการเป็นแม่ ดังนั้น ลองหาเวลาเล่นกับลูก มอบความรักความอบอุ่นที่มีคุณค่าที่สุดให้แก่ดวงใจดวงน้อยของคุณ ในช่วงเวลาเงียบๆ แบบที่ไม่ต้องรีบร้อนไปไหน
ลูกน้อยวัย 2 เดือน
เคยสงสัยกันไหมคะว่า ทำไมเด็กบางคนพอคลอดปุ๊บ ถูกจับแยกออกจากอ้อมอกแม่ ไปนอนอยู่ในตู้อบทารกอย่างโดดเดี่ยว เจ้าหนูน้อยผู้น่าสงสารจะรู้สึกเจ็บปวด และว้าเหว่ขนาดไหนนะ
พอย่างเข้าสู่วัย 7 เดือนขึ้นไป คุณแม่น่าจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากของลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นการกินที่อาจจะเบื่ออาหารเดิมที่เคยชอบ การนอนที่ยาวนานมากขึ้นในตอนกลางคืน น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของน้ำหนักเมื่อแรกเกิด หรือแม้แต่บุคลิกภาพที่เค้าแสดงความต้องการของตัวเองออกมามากขึ้น และมีความพยายามลองทำสิ่งที่ไม่เคยทำ หรือแสดงอาการต่อต้านออกมาให้เห็นในช่วงนี้แล้วล่ะค่ะ ซึ่งคุณแม่ควรใจเย็น เฝ้าดูอย่างใกล้ชิดนะคะ
อาจารย์แพทย์หญิงดวงรัตน์ วังเกล็ดแก้ว กุมารแพทย์ที่ปรึกษาศูนย์พัฒนาการและการเรียนรู้ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช ศรีนครินทร์ พัฒนาการด้านร่างกายที่ดีของลูกน้อย นำไปสู่พัฒนาการการเคลื่อนไหวที่ดีตามมาค่ะ ซึ่งทุกการเคลื่อนไหวของลูกจะเป็นพื้นฐานของพัฒนาการด้านอื่นๆ ที่คุณแม่สามารถส่งเสริมให้มีศักยภาพมากขึ้นต่อไปได้ในอนาคตค่ะ
เด็กวัย 5 เดือน
การตั้งครรภ์เป็นเรื่องปกติของผู้หญิงที่มีสุขภาพดีส่วนใหญ่ หากมีภาวะแทรกซ้อนก็เพียงเล็กน้อย คุณแม่ตั้งท้องร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง มีคำแนะนำมาฝาก
ตรวจสอบข้อมูลโดย
หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อลงทะเบียน
รหัสลงทะเบียน (ตัวเลข 6 หลัก) ได้ถูกส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ 9999999999 ตามที่คุณแม่ได้ลงทะเบียนไว้ กรุณากรอกรหัสด้านล่าง เพื่อเปิดใช้งานบัญชี
รหัสการยืนยันไม่ถูกต้อง กรุณากรอกใหม่อีกครั้งค่ะ
หากคุณแม่ไม่ได้รับ รหัสดังกล่าว คลิกที่นี่
กรุณาตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้บัญชี 9090909090