การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
การให้อาหารและโภชนาการของเด็กทารก มื้ออาหารที่มีความสมดุลและดีต่อสุขภาพ คือสิ่งที่ดีที่คุณแม่มอบให้กับลูกน้อยได้ค่ะ ในช่วงเดือนแรก ๆ การให้อาหารเด็กทารกจะไม่มีอะไรมาก เนื่องจากช่วงนี้ลูกน้อยรับอาหารด้วยการดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียว แต่เมื่อลูกน้อยมีอายุประมาณ 6 เดือน พวกเขาจะเปลี่ยนจากการดื่มมาเป็นการกินของเหลวแทนค่ะ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจจะมองว่าเป็นเรื่องใหญ่ และไม่รู้ว่าจะต้องให้อะไรเจ้าตัวน้อยกิน อีกทั้งยังต้องกังวลถึงเรื่องสุขอนามัยและการแพ้อาหารประเภทต่าง ๆ ของเด็กที่เราพบเห็นกันทั่วไปในทุกวันนี้อีกด้วย สำหรับฮักกี้ส์แล้ว การดูแลลูกน้อยคือหัวใจของเรา เราจึงได้คัดสรรข้อมูลต่าง ๆ ในการดูแลลูกน้อยไว้ที่นี่ รวมถึงสูตรอาหารและเคล็ดลับต่าง ๆ ในการเลี้ยงลูกจากคุณแม่ที่มีประสบการณ์จริงมาฝากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่กันค่ะ การเริ่มต้นให้อาหารเด็กทารก การเตรียมอาหารให้กับน้อง ๆ เป็นเรื่องสนุกสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังหัดทำค่ะ คุณจะเพลิดไปกับการดูลูกน้อยหม่ำกล้วยบด หรือ แอปเปิ้ลตุ๋น เต็มปากน้อย ๆ ของเขาเป็นครั้งแรกอีกด้วย คุณพ่อคุณแม่เตรียมกล้องให้พร้อม และรอถ่ายหน้าน่ารัก ๆ ของลูก ๆ ไว้ได้เลยค่ะ สีหน้าของลูก ๆ จะมีตั้งแต่ประหลาดใจ สะอิดสะเอียน ขุ่นเคืองไปจนถึงมีความสุขแบบฟินสุด ๆ ไปเลยล่ะค่ะ โดยทั่วไปแล้ว ลูกน้อยจะต้องรับสารอาหารครบถ้วนที่หลากหลาย และเป็นอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูปใด ๆ เช่น ผัก ผลไม้ สัตว์เนื้อแดงและเนื้อขาว หากคุณจะให้ลูกทานมังสวิรัติ คุณจะต้องทำการปรึกษาแพทย์เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่เพียงพอในแต่ละมื้อค่ะ แล้วจะรู้ได้อย่างไรเมื่อทารกทานอาหารได้? คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่าเมื่อไหร่ลูกถึงจะเริ่มทานอาหารแข็งได้ โดยปกติแล้วลูกน้อยจะเริ่มทานอาหารได้ช่วงประมาณ 6 เดือนขึ้นไปค่ะ เมื่อน้อง ๆ อายุ 6 เดือนสารอาหารในนมแม่และนมต่าง ๆ อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการในการพัฒนาร่างกายของลูก เราจึงต้องเสริมอาหารบดเหลวที่เป็นการทำอาหารจากของสดใหม่ ผลไม้ หรือผักต่างๆ เพื่อให้ลูก ๆ ได้รับสารอาหารตามความเหมาะสมอย่างครบถ้วน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรปล่อยให้ลูกทานอาหารเดิม ๆ เมื่อเข้าสู่ระยะนี้นะคะ หมั่นสังเกตลูกเป็นประจำว่าเค้าจะเริ่มสนใจในสิ่งที่คุณกินมากขึ้น และพยายามหาอาหารใส่ปากของตัวเอง นี่คือสัญญาณที่ดีว่า เด็ก ๆ พร้อมที่จะเริ่มกินอาหารผู้ใหญ่แล้วค่ะ! เมื่อลูกเริ่มทานอาหารอื่นๆนอกจากนมแม่แล้ว อาหารเหล่านั้นจะต้องบดละเอียดให้มีลักษณะเป็นน้ำข้น ๆ หรือเรียกว่า พูเร เราแนะนำให้ทำเมนูที่หลากหลาย หรือ เมนูละมื้อสับเปลี่ยนวนไปในแต่ละสัปดาห์ เพื่อให้อาหารมีความหลากหลาย และให้สารอาหารที่มีความสมดุลตามที่น้อง ๆ ควรได้รับ อีกทั้งควรเปลี่ยนเมนูอาหารทุก ๆ 3-5 วันเพื่อสังเกตดูอาการแพ้อาหารแต่ละชนิดของลูกค่ะ เนื่องจากการกินเป็นประสบการณ์แปลกใหม่ของพวกเขา ดังนั้นอาหารแข็งของทารกจำเป็นจะต้องมีความนุ่มนวลและชุ่มฉ่ำเพื่อให้ง่ายต่อการกลืน ความอร่อยและความดึงดูดใจของอาหารยังสามารถกระตุ้นการกินของเด็ก ๆ ได้อีกด้วย ดูคำแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับอาหารของลูกน้อยได้ที่ การเริ่มต้นกินอาหารแข็งและโภชนาการของเด็กทารก ค่ะ
การแพ้อาหารในเด็กทารก การแพ้อาหารในปัจจุบันกลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก และเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องเข้าพบแพทย์หากสงสัยว่า ลูก ๆ กำลังแพ้อาหารที่คุณให้ทาน ซึ่งอาการแพ้อาหารที่พบมากที่สุดมีดังต่อไปนี้ • ภูมิน้ำตาลแลคโตส • ภูมิแพ้ถั่วลิสง • ภูมิแพ้ข้าวสาลี หรือ กลูเตน • ภูมิแพ้นม • ภูมิแพ้ไข่ • ภูมิแพ้ถั่วเหลือง • ภูมิแพ้อาหารทะเลเปลือกแข็ง จับตาดูลูกไว้เสมอหากลูกน้อยมีปฏิกิริยาผิดปกติต่ออาหารที่คุณให้เขาลองทานเป็นครั้งแรก อาการแพ้จะเกิดขึ้นในไม่ช้าหลังจากที่ทานอาหารค่ะ หากลูกมีอาการที่รุนแรง (หายใจลำบาก / หายใจเสียงวี้ด / อาเจียนอย่างรุนแรง) จำเป็นต้องพาเขาไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วนค่ะ หากคุณได้ลองทำเมนูแปลกใหม่ให้ลูกน้อยวัย 6 เดือนขึ้นไปแล้วสักหนึ่งเมนู และลูกน้อยชอบอกชอบใจทานจนหมด รับรองว่าคุณแม่จะมีความคิดสร้างสรรค์และอยากทำเมนูใหม่ ๆ ให้ลูกไม่รู้เบื่อเลยล่ะค่ะ คุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ Huggies หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน แต่บางครั้งก็อาจรู้สึกว่าตารางชีวิตแน่นเกินกว่าจะหยุดพักและนึกถึงความชื่นใจของการเป็นแม่ ดังนั้น ลองหาเวลาเล่นกับลูก มอบความรักความอบอุ่นที่มีคุณค่าที่สุดให้แก่ดวงใจดวงน้อยของคุณ ในช่วงเวลาเงียบๆ แบบที่ไม่ต้องรีบร้อนไปไหน
ลูกน้อยวัย 2 เดือน
ผ้าอ้อมเป็นของใช้จำเป็นที่สุดสิ่งหนึ่งที่ต้องใช้ เพราะการขับถ่ายของลูกๆ โดยเฉพาะทารกในช่วงแรกยังไม่สามารถควบคุมได้ ผ้าอ้อมที่เรารู้จักกันมีทั้งผ้าอ้อมชนิดผ้า และผ้าอ้อมสำเร็จรูป ลองมาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียเพื่อตัดสินใจกันดีกว่าค่ะ
วิธีเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อย ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป พบกับบทความเกี่ยวกับการดูแลลูกน้อยวัยซน เคล็ดลับต่างๆ พร้อมวิธีเพิ่มพัฒนาการของลูกรัก
คุณพ่อคุณแม่ทุกคนคงเคยเห็นตารางพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยที่แปะไว้ในห้องคุณหมอเด็กกันแล้วใช่ไหมคะ ถ้าอยากช่วยให้กล้ามเนื้อของลูกน้อยมีพัฒนาการสมวัย ลองทำกิจกรรมเหล่านี้ดูค่ะ
เมื่อลูกรักของคุณแม่เริ่มเข้าสู่วัย 3 เดือน หลายคนน่าจะเริ่มสังเกตเห็นว่า เค้ามีการแสดงอารมณ์ออกมาได้ชัดเจนแล้วใช่ไหมคะ ไม่ว่าจะเป็นอาการดีใจ โกรธ หงุดหงิด หรือสงสัย นอกจากนั้นยังเริ่มมีการช่างคุยด้วยภาษาอ้อแอ้ จนคุณพ่อคุณแม่หลงซะแล้วล่ะ ที่สำคัญคือ เจ้าตัวน้อยเริ่มเรียนรู้ที่จะเล่นของเล่นเป็นแล้วอีกด้วยนะคะ
การมีสมาชิกใหม่เข้ามาอยู่ในครอบครัวเป็นเรื่องน่าตื่นเต้น ถึงเวลามองหาของใช้จำเป็นสำหรับทารกแล้ว แม้ว่าเด็กแรกเกิดไม่ได้ต้องการของใช้อะไรมากมาย มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
หากคุณแม่หยุดให้นมลูกแล้ว ประจำเดือนจะมาเป็นปกติหลังคลอดลูกประมาณ 4-8 สัปดาห์ค่ะ แต่ก็ไม่ตายตัวเสมอไปค่ะ เรามีคำเคล็ดลับดีๆ มาฝากกันค่ะ
พอเจ้าตัวน้อยเติบโตเข้าสู่ช่วงวัย 6 เดือน คุณแม่จะได้เจอเรื่องน่าดีใจอย่างหนึ่งก็คือ ฟันซี่แรกของลูกจะงอกออกมาให้เห็นแล้ว คุณแม่สามารถเริ่มให้น้องกินอาหารเสริมประเภทอาหารบดนุ่มๆเสริมจากนมแม่ได้แล้วนะคะเพื่อให้เขาอิ่มพอดีในแต่ละมื้อ